เป็นอีกครั้งที่ความรู้สึกปลอดภัยของสังคมถูกสั่นคลอน โดยเฉพาะประชาชนที่ต้องเดินทางโดยบริการขนส่งมวลชนสาธารณะ กับกรณีข่าวเด็กหญิงเคราะห์ร้ายถูกข่มขืนแล้วฆ่า และโยนร่างลงมาจากรถไฟที่กำลังวิ่ง
โดยผู้กระทำผิด เป็นพนักงานปูเตียงของตู้นอนรถไฟขบวนนั้นนั่นเอง
เป็นข่าวช็อกความรู้สึกของคนในสังคมในสองประเด็นหลักๆ ทั้งในเรื่องของปัญหาการกระทำผิดทางเพศ การข่มขืนกระทำชำเรา และความล้มเหลวในการบริหารจัดการการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดการดูแลระบบขนส่งสำคัญที่สุดของประเทศ
ปัญหาเรื่องการข่มขืนกระทำชำเรานั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน มีผู้ทำสถิติว่า ทั่วประเทศมีกรณีที่แจ้งความว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศวันละเกือบ 40 คดี ที่มีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ หรือถ้าเฉลี่ยกันหยาบๆ ก็แทบว่าในทุกสองชั่วโมงกว่าๆ จะมีคนถูกล่วงละเมิดทางเพศหนึ่งราย
อันนี้นับแค่กรณีที่มีการแจ้งความเท่านั้น และอย่างที่ทราบ กรณีที่ไม่แจ้งความน่าจะมากกว่านี้ เพราะกลายเป็นว่าในคดีเช่นนี้ ผู้เสียหายกลับเป็นฝ่ายได้รับความอับอายเสียเอง อย่างเช่นกรณีของผู้ก่อเหตุบนรถไฟรอบนี้ ก็สารภาพว่าได้เคยกระทำการเช่นนี้มาแล้วสองครั้งกับพนักงานบนรถไฟด้วยกันที่เป็นผู้หญิง แต่เจ้าทุกข์ไม่กล้าแจ้งความ
หลายฝ่ายมองว่า โทษสำหรับผู้กระทำความผิดในกรณีนี้น้อยเกินไป ทำให้ผู้คิดจะกระทำไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง หรือแม้แต่ผู้กระทำผิดไปแล้ว ก็ได้รับโทษน้อยเกินไปจนไม่เข็ดหลาบกลับมากระทำความผิดอีกอย่างซ้ำซาก
มีเสียงเรียกร้องให้ลงโทษขั้นสูงสุดกับผู้กระทำผิดในเรื่องนี้ คือการประหารชีวิต เสียงเรียกร้องนี้ดังกระหึ่มไปทั่วสังคม จนหัวหน้า คสช.ยังต้องกล่าวถึงคดีนี้
คิดเล่นๆ ว่าถ้าเป็นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เจ้าตัวผู้ก่อเหตุบนรถไฟ อาจจะถูกจับมายิงเป้าในที่เกิดเหตุไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างไปแล้วก็ได้ ทว่าในสมัยนี้คงทำเช่นนั้นไม่ได้ แต่ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อเรื่องถึงหูถึงตา คสช.แล้ว ในการดำเนินคดีคงเป็นไปโดยเฉียบขาด รวดเร็ว เท่าที่เป็นไปได้ตามกฎหมายและกระบวนยุติธรรมที่สมควร
ส่วนอีกด้านของปัญหาที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ความล้มเหลวของการรถไฟฯ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ก็มีกรณีผู้หญิงพนักงานบริษัทถูกข่มขืนบนรถไฟตู้นอนสายใต้นี้เช่นกัน หากกรณีนั้นยังพอมีโชคอยู่บ้างคือไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ชีวิตของเหยื่อก็ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ตามที่เธอได้เขียนจดหมายเปิดผนึกออกมาเผยแพร่หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญกับเด็กหญิงในคดีล่าสุดนี้
และเป็นที่น่าตกใจปนเศร้าใจ ว่าการรถไฟฯ พยายามยื้อเรื่องของการชดเชยชดใช้ค่าเสียหายให้เธออย่างถึงที่สุด โดยต่อสู้ในศาลทุกชั้น ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของการรถไฟฯ เต็มๆ โดยปฏิเสธไม่ได้ และ “เงิน” ก็ไม่สามารถเยียวยาความเสียหายใดๆ ได้อย่างแท้จริง นอกจากเป็นสิ่งเดียวที่พอเป็นรูปธรรมที่จะชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายได้
แต่กระนั้นการรถไฟฯ ก็ยัง “ใจดำ” ยืดเยื้อในเรื่องนี้ไว้ จริงๆ เรื่องนี้แหละ ที่ คสช. อาจจะ “คืนความสุข” หรือ “คลายความทุกข์” ให้ผู้เสียหายและสังคมได้ โดยไม่มีปัญหาติฉินเรื่องสิทธิมนุษยชนใดๆ ให้ต้องมาปวดหัวถกเถียงกัน คือใช้อำนาจสั่งให้การรถไฟฯ จ่ายค่าเสียหายเยียวยาแก่ทุกกรณีตามที่ศาลสั่งอย่างไม่บิดพลิ้ว
มีวาทกรรมที่พยายามสร้างกันเองของการรถไฟฯ ว่า “การเดินทางโดยรถไฟคือการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด”
อันที่จริงแล้ว ใครเคยเดินทางโดยรถไฟ คงจะรู้ว่าเรื่องนี้ไม่จริงเลย แม้ในแง่อุบัติเหตุอาจจะถือว่าต่ำ ซึ่งนั่นก็เป็นไปโดยสภาพ เพราะรถไฟแล่นบนราง จะให้ไปชนกับใครง่ายๆ ก็คงยาก หรือถ้าเป็นฝ่ายชน รถไฟก็เสียหายน้อยกว่า กระทบกับผู้โดยสารน้อยกว่า
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า รถไฟเองก็ตกรางกันไม่เว้นแต่ละวันในช่วงหนึ่ง จนรัฐมนตรีในตอนนั้น คือคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่สร้างกระแสกันว่าเป็น “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุด” ต้องกลั้นใจปิดเส้นทางรถไฟซ่อมใหญ่ ปัญหาดังกล่าวถึงทุเลาลงได้
ส่วนความปลอดภัยของผู้โดยสารนั้นเป็นเรื่องที่รถไฟไทยสอบตกมาแต่ไหนแต่ไร แม้จะนานๆ มีข่าวสะเทือนขวัญถึงขนาดข่มขืนหรือฆ่าทำร้ายกันบนรถไฟออกมาสักทีหนึ่ง แต่ปัญหาเรื้อรังที่ทุกคนรู้กันดี คือ การลักทรัพย์ ขโมยของบนรถไฟ ที่ถ้าต้องวางของไว้นอกที่นอน แทบต้องหาเชือกมาล่ามไว้กับข้อมือ หรือแม้แต่รองเท้าก็มีถูกขโมยกัน
มีการปล่อยให้ใครๆ ก็ขึ้นมาบนขบวนรถได้ ขึ้นมาขายของ หรือขึ้นมาเดินเล่นได้อย่างเสรีตามสถานีต่างๆ จนเป็นภาพที่ผู้คนรู้สึกปกติไปได้ ทั้งๆ ที่นี่ถือเป็นเรื่องไม่ปกติและอันตรายอย่างยิ่ง
หรือแม้แต่ “คนใน” หรือพนักงานบนขบวนรถไฟเองก็มีระบบการจัดการดูแลที่หละหลวมหรือไม่ เช่น ที่ผู้ก่อเหตุในคดีนี้ให้การว่า ก่อนก่อเหตุเพิ่งเสพยาบ้า และดื่มเบียร์เข้าไปอย่างเต็มที่ และแอบเฝ้ามองผู้เสียหายมาตลอดทาง
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการถไฟแห่งประเทศไทย พยายามปัดความรับผิดชอบเมื่อมีเสียงเรียกร้องให้ลาออก ว่าตัวเองไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่องการกระทำผิดของพนักงานที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งตอนแรกก็ป้ายความผิดว่า ฆาตกรไม่ใช่คนของการรถไฟฯ เป็นคนของบริษัทจ้างเหมาบริการ หรือ Out Source แต่พอปรากฏหลักฐาน มีเอกสาร และรูปถ่ายเจ้าตัวก่อเหตุใส่เครื่องแบบการรถไฟฯ อยู่ทนโท่ ก็เล่นเอาท่านผู้ว่าฯ หน้าหงาย และพยายามแก้เกี้ยวด้วยการออกกฎว่า ห้ามพนักงานดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งทำให้ประชาชนประหลาดใจแกมเอือมระอา ว่า อ้าว งั้นที่แล้วมา แปลว่าพนักงานการรถไฟฯ กินเหล้าตอนทำงานได้ด้วยหรือ
ลองคิดว่าเป็นบริษัทเอกชน หากลูกจ้างของบริษัทเสพทั้งยาเสพติด ดื่มทั้งสุรา ปฏิบัติหน้าที่ แถมเป็นหน้าที่ที่เข้านอกออกในขณะที่ลูกค้ากำลังนอนหลับพักผ่อนในยามวิกาล ฝากทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินไว้อย่างนั้นจนเกิดเรื่องร้ายแรง ผู้บริหารบริษัทเช่นนี้ควรต้องรับผิดชอบหรือไม่
สังคมไทยกำลังชั่งใจและรอดูว่า นายประภัสร์จะแสดงความรับผิดชอบแค่ไหน
และส่งสายตาถามไปทาง คสช.จะเอาอย่างไร กับผู้ว่าการการรถไฟฯ ผู้แนบแน่นกับพรรคเพื่อไทย หนึ่งในคู่ขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เป็นสาเหตุของการรัฐประหาร ขนาดเคยได้รับความไว้วางใจให้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในนามของพรรคมาแล้ว!
โดยผู้กระทำผิด เป็นพนักงานปูเตียงของตู้นอนรถไฟขบวนนั้นนั่นเอง
เป็นข่าวช็อกความรู้สึกของคนในสังคมในสองประเด็นหลักๆ ทั้งในเรื่องของปัญหาการกระทำผิดทางเพศ การข่มขืนกระทำชำเรา และความล้มเหลวในการบริหารจัดการการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดการดูแลระบบขนส่งสำคัญที่สุดของประเทศ
ปัญหาเรื่องการข่มขืนกระทำชำเรานั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน มีผู้ทำสถิติว่า ทั่วประเทศมีกรณีที่แจ้งความว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศวันละเกือบ 40 คดี ที่มีการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ หรือถ้าเฉลี่ยกันหยาบๆ ก็แทบว่าในทุกสองชั่วโมงกว่าๆ จะมีคนถูกล่วงละเมิดทางเพศหนึ่งราย
อันนี้นับแค่กรณีที่มีการแจ้งความเท่านั้น และอย่างที่ทราบ กรณีที่ไม่แจ้งความน่าจะมากกว่านี้ เพราะกลายเป็นว่าในคดีเช่นนี้ ผู้เสียหายกลับเป็นฝ่ายได้รับความอับอายเสียเอง อย่างเช่นกรณีของผู้ก่อเหตุบนรถไฟรอบนี้ ก็สารภาพว่าได้เคยกระทำการเช่นนี้มาแล้วสองครั้งกับพนักงานบนรถไฟด้วยกันที่เป็นผู้หญิง แต่เจ้าทุกข์ไม่กล้าแจ้งความ
หลายฝ่ายมองว่า โทษสำหรับผู้กระทำความผิดในกรณีนี้น้อยเกินไป ทำให้ผู้คิดจะกระทำไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง หรือแม้แต่ผู้กระทำผิดไปแล้ว ก็ได้รับโทษน้อยเกินไปจนไม่เข็ดหลาบกลับมากระทำความผิดอีกอย่างซ้ำซาก
มีเสียงเรียกร้องให้ลงโทษขั้นสูงสุดกับผู้กระทำผิดในเรื่องนี้ คือการประหารชีวิต เสียงเรียกร้องนี้ดังกระหึ่มไปทั่วสังคม จนหัวหน้า คสช.ยังต้องกล่าวถึงคดีนี้
คิดเล่นๆ ว่าถ้าเป็นสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เจ้าตัวผู้ก่อเหตุบนรถไฟ อาจจะถูกจับมายิงเป้าในที่เกิดเหตุไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างไปแล้วก็ได้ ทว่าในสมัยนี้คงทำเช่นนั้นไม่ได้ แต่ก็ได้แต่หวังว่า เมื่อเรื่องถึงหูถึงตา คสช.แล้ว ในการดำเนินคดีคงเป็นไปโดยเฉียบขาด รวดเร็ว เท่าที่เป็นไปได้ตามกฎหมายและกระบวนยุติธรรมที่สมควร
ส่วนอีกด้านของปัญหาที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ความล้มเหลวของการรถไฟฯ เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่เมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ก็มีกรณีผู้หญิงพนักงานบริษัทถูกข่มขืนบนรถไฟตู้นอนสายใต้นี้เช่นกัน หากกรณีนั้นยังพอมีโชคอยู่บ้างคือไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ชีวิตของเหยื่อก็ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ตามที่เธอได้เขียนจดหมายเปิดผนึกออกมาเผยแพร่หลังจากเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญกับเด็กหญิงในคดีล่าสุดนี้
และเป็นที่น่าตกใจปนเศร้าใจ ว่าการรถไฟฯ พยายามยื้อเรื่องของการชดเชยชดใช้ค่าเสียหายให้เธออย่างถึงที่สุด โดยต่อสู้ในศาลทุกชั้น ทั้งๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่าเรื่องนี้เป็นความผิดของการรถไฟฯ เต็มๆ โดยปฏิเสธไม่ได้ และ “เงิน” ก็ไม่สามารถเยียวยาความเสียหายใดๆ ได้อย่างแท้จริง นอกจากเป็นสิ่งเดียวที่พอเป็นรูปธรรมที่จะชดเชยความเสียหายให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายได้
แต่กระนั้นการรถไฟฯ ก็ยัง “ใจดำ” ยืดเยื้อในเรื่องนี้ไว้ จริงๆ เรื่องนี้แหละ ที่ คสช. อาจจะ “คืนความสุข” หรือ “คลายความทุกข์” ให้ผู้เสียหายและสังคมได้ โดยไม่มีปัญหาติฉินเรื่องสิทธิมนุษยชนใดๆ ให้ต้องมาปวดหัวถกเถียงกัน คือใช้อำนาจสั่งให้การรถไฟฯ จ่ายค่าเสียหายเยียวยาแก่ทุกกรณีตามที่ศาลสั่งอย่างไม่บิดพลิ้ว
มีวาทกรรมที่พยายามสร้างกันเองของการรถไฟฯ ว่า “การเดินทางโดยรถไฟคือการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด”
อันที่จริงแล้ว ใครเคยเดินทางโดยรถไฟ คงจะรู้ว่าเรื่องนี้ไม่จริงเลย แม้ในแง่อุบัติเหตุอาจจะถือว่าต่ำ ซึ่งนั่นก็เป็นไปโดยสภาพ เพราะรถไฟแล่นบนราง จะให้ไปชนกับใครง่ายๆ ก็คงยาก หรือถ้าเป็นฝ่ายชน รถไฟก็เสียหายน้อยกว่า กระทบกับผู้โดยสารน้อยกว่า
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า รถไฟเองก็ตกรางกันไม่เว้นแต่ละวันในช่วงหนึ่ง จนรัฐมนตรีในตอนนั้น คือคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่สร้างกระแสกันว่าเป็น “รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุด” ต้องกลั้นใจปิดเส้นทางรถไฟซ่อมใหญ่ ปัญหาดังกล่าวถึงทุเลาลงได้
ส่วนความปลอดภัยของผู้โดยสารนั้นเป็นเรื่องที่รถไฟไทยสอบตกมาแต่ไหนแต่ไร แม้จะนานๆ มีข่าวสะเทือนขวัญถึงขนาดข่มขืนหรือฆ่าทำร้ายกันบนรถไฟออกมาสักทีหนึ่ง แต่ปัญหาเรื้อรังที่ทุกคนรู้กันดี คือ การลักทรัพย์ ขโมยของบนรถไฟ ที่ถ้าต้องวางของไว้นอกที่นอน แทบต้องหาเชือกมาล่ามไว้กับข้อมือ หรือแม้แต่รองเท้าก็มีถูกขโมยกัน
มีการปล่อยให้ใครๆ ก็ขึ้นมาบนขบวนรถได้ ขึ้นมาขายของ หรือขึ้นมาเดินเล่นได้อย่างเสรีตามสถานีต่างๆ จนเป็นภาพที่ผู้คนรู้สึกปกติไปได้ ทั้งๆ ที่นี่ถือเป็นเรื่องไม่ปกติและอันตรายอย่างยิ่ง
หรือแม้แต่ “คนใน” หรือพนักงานบนขบวนรถไฟเองก็มีระบบการจัดการดูแลที่หละหลวมหรือไม่ เช่น ที่ผู้ก่อเหตุในคดีนี้ให้การว่า ก่อนก่อเหตุเพิ่งเสพยาบ้า และดื่มเบียร์เข้าไปอย่างเต็มที่ และแอบเฝ้ามองผู้เสียหายมาตลอดทาง
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการถไฟแห่งประเทศไทย พยายามปัดความรับผิดชอบเมื่อมีเสียงเรียกร้องให้ลาออก ว่าตัวเองไม่ควรต้องรับผิดชอบ เพราะเป็นเรื่องการกระทำผิดของพนักงานที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งตอนแรกก็ป้ายความผิดว่า ฆาตกรไม่ใช่คนของการรถไฟฯ เป็นคนของบริษัทจ้างเหมาบริการ หรือ Out Source แต่พอปรากฏหลักฐาน มีเอกสาร และรูปถ่ายเจ้าตัวก่อเหตุใส่เครื่องแบบการรถไฟฯ อยู่ทนโท่ ก็เล่นเอาท่านผู้ว่าฯ หน้าหงาย และพยายามแก้เกี้ยวด้วยการออกกฎว่า ห้ามพนักงานดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ ยิ่งทำให้ประชาชนประหลาดใจแกมเอือมระอา ว่า อ้าว งั้นที่แล้วมา แปลว่าพนักงานการรถไฟฯ กินเหล้าตอนทำงานได้ด้วยหรือ
ลองคิดว่าเป็นบริษัทเอกชน หากลูกจ้างของบริษัทเสพทั้งยาเสพติด ดื่มทั้งสุรา ปฏิบัติหน้าที่ แถมเป็นหน้าที่ที่เข้านอกออกในขณะที่ลูกค้ากำลังนอนหลับพักผ่อนในยามวิกาล ฝากทั้งชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินไว้อย่างนั้นจนเกิดเรื่องร้ายแรง ผู้บริหารบริษัทเช่นนี้ควรต้องรับผิดชอบหรือไม่
สังคมไทยกำลังชั่งใจและรอดูว่า นายประภัสร์จะแสดงความรับผิดชอบแค่ไหน
และส่งสายตาถามไปทาง คสช.จะเอาอย่างไร กับผู้ว่าการการรถไฟฯ ผู้แนบแน่นกับพรรคเพื่อไทย หนึ่งในคู่ขัดแย้งทางการเมืองไทยที่เป็นสาเหตุของการรัฐประหาร ขนาดเคยได้รับความไว้วางใจให้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในนามของพรรคมาแล้ว!