หลังจากที่มีคนติงติงว่า นโยบายหลายๆ อย่างของ คสช.นั้นคล้ายๆ กับการประชานิยม ทั้งการเร่งจ่ายเงินจำนำข้าว หรือเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเจรจาให้ทาง RS เจ้าของลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกยอมปล่อยสัญญาณให้ถ่ายทอดกันได้ผ่านฟรีทีวี เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (13 มิ.ย. 57) “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ถึงกับต้องออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้ทำโครงการประชานิยม และจะไม่คืนความสุขให้คนไทยถึงขนาด “สำลักความสุข” เป็นอันขาด แต่แล้วในวันรุ่งขึ้น คือวันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทางทหารหรือฝ่าย คสช.จะต้องทบทวนมาตรการเกี่ยวกับการคืนความสุขกันใหม่
นั่นเพราะภาพของการจลาจลแย่งชิงกันชมภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี” ที่มีการฉายให้ชมฟรีในรอบเช้า ทั่วทุกโรงในประเทศไทย
การจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือกันของภาคเอกชน ผู้ประกอบการและทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร ที่จะจัดฉายภาพยนตร์ที่แสดงถึงวีรกรรมบูรพกษัตริย์ไทย ผู้กอบกู้เอกราช ซึ่งไม่มีโอกาสไหนที่ควรจะฉายหรือคนไทยควรจะได้ดูไปมากกว่าช่วงเวลาแห่งการแตกแยกความสามัคคีเช่นนี้แล้ว
เจตนาที่ดีก็จริง แต่ทางทหารและฝ่ายผู้จัดคงประเมินความ “กระหายของฟรี” ของคนไทยต่ำเกินไปหน่อย ภาพอันน่าสลดอุจาดจึงเกิดขึ้น ว่ากันตั้งแต่ผู้คนที่แห่กรูแย่งกันเข้าไปในโรงหนังจนกระจกแตก จอมอนิเตอร์พังเสียหาย กลุ่มผู้อยากดูหนังฟรียื้อแย่งชกต่อยกัน หรือยื่นมือขึ้นไปไขว่คว้าแย่งตั๋วฟรีจากทหารที่แจกบัตร
หลายคนเปรียบเทียบว่าเหมือนสภาพ “ซอมบี้” ในหนังฝรั่งประเภทซอมบี้ล้างโลกอย่างไรอย่างนั้นแหละ
คลิปบางคลิปถ้าไม่คิดอะไรมากก็คงตลกดี เช่น คลิปลุงป้าที่คิดหาทางลัด พยายามวิ่งสวนขึ้นบันไดเลื่อนขาลง เพื่อจะไปให้เร็วกว่าคนอื่น แต่แล้วก็หมดแรงเลื่อนลงมา จนป้าคนนึงทำกระเป๋าสตางค์หรือไม่ก็โทรศัพท์มือถือนี่แหละตกหายไปเลย
แต่ในที่สุด ภาพรวมที่เห็นออกมา ก็ทำให้โครงการที่น่าจะดีกลายเป็นมีรอยให้ตำหนิไป และถูกเยาะเย้ยถากถางจากฝ่ายไม่เอารัฐประหารอย่างสนุกสนานตามสื่อโซเชียลต่างๆ แบบที่แก้ตัวให้ก็ไม่ได้ เถียงอะไรก็ไม่ออกจริงๆ หรือบางคนเอาผูกโยงกับโทษของความคลั่งชาติ อะไรพวกนี้กันไปเลย
คงต้องถือเป็นบทเรียนที่ดีให้ฝ่ายทหารในการวางแผนรับมือกับโครงการหรือกิจกรรมอะไรก็ตามในเชิงคืนความสุขหรือต้องทำงานกับฝูงชนมวลชนจำนวนมาก
หากสิ่งที่จะต้องรีบทบทวนกันโดยด่วน ก็คือความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมของคนไทยซึ่งเป็นที่มาอันแท้จริงของภาพน่าหดหู่ใจเมื่อวันเสาร์
กว่าที่เราจะรู้ตัว สังคมไทยก็เลื่อนไหลไปสู่จุดที่คนยื้อแย่งทำร้ายกัน หรือทำอะไรอย่างไร้ยางอาย เพียงเพื่อตั๋วดูหนังฟรีหนึ่งใบเสียแล้ว
ในขณะที่มีผู้เอาไปเปรียบเทียบกับภาพข่าวตอนที่เกิดแผ่นดินไหว และสึนามิครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้รอดชีวิตมายืนรอรับเครื่องดื่ม อาหาร ของใช้ยังชีพกันเป็นแถว อย่างสงบท่ามกลางอากาศอันหนาวเย็นและทุกคนรับไปเพียงตามสิทธิ หนึ่งชิ้น หนึ่งชุด ต่อหนึ่งครอบครัว ไม่มีใครแย่งไปเกินกว่านั้น หรือไม่มีการนำไปค้ากำไรเกินควร
ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องความเป็นความตาย ความอดยากหิวโหย ไม่ใช่เพียงแค่ความบันเทิงสองสามชั่วโมงอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ในบ้านเรา
เราจะกล่าวโทษใครไม่ได้ (แม้แต่ระบอบทักษิณก็ตาม) หรือหากจะกล่าวว่าเป็นพิษของทุนนิยม ก็คงจะไม่ตรงเช่นนั้นเสียทีเดียว เพราะประเทศที่เราได้เห็นว่าผู้คนมีระเบียบวินัย มีความรู้สึกเห็นแก่คนอื่น ก็เป็นประเทศทุนนิยมทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือที่ไหนๆ ในขณะที่ประเทศที่เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือจำกัดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่า ก็ปรากฏว่าผู้คนก็ไม่ได้มีความเจริญทางจิตใจ
ปัญหาคือความพยายามสร้างสภาพของการดิ้นรน แข่งขัน แย่งกันรวย แข่งกันสบาย เสียจนเกินไปต่างหาก ที่ทำให้ผู้คนนั้นกระหายและยื้อแย่งกันเพื่อชิงความได้เปรียบ โดยไม่สนใจถูกผิดดีชั่ว รวมทั้งการสั่งสอนและสั่งสมในสังคมที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ประโยชน์พึงมีพึงได้จนเกินพอดี สร้างสมเป็นนิสัยของผู้คนว่า “สิทธิของเรา เราต้องได้ ถ้าต้องแย่ง ก็จงแย่งมา เพราะมันเป็นของเรา” จนขาดสำนึกสาธารณะ
เป็นที่น่ายินดีว่า ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา มีการดำริที่จะนำเอาเรื่องการฟื้นฟูหลักสูตรการเรียนการสอนเก่าๆ เช่น วิชาหน้าที่พลเมือง และประวัติศาสตร์ ที่ได้ถูกนำไปสอนเกลื่อนๆ กลืนๆ ไปกับวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) หรือสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.) สำหรับเด็กประถมในยุคหลังๆ จะได้นำมาแยกเป็นวิชาของตัวเองชัดเจนให้นักเรียนได้เรียน
แต่เหนือไปกว่าการสร้างวิชาเข้าไปสอน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการจะต้องทำให้คนในสังคม เห็นได้จริงว่า ระเบียบ วินัย กฎต่างๆ นั้นใช้ได้จริง มีผลบังคับ หาไม่แล้ว หลักการต่างๆ ที่สอนกัน ก็จะอยู่แค่ในแบบเรียน ในหนังสือเท่านั้น
เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะสอนว่าทางเท้าเป็นทางเดินของคน ถนนเป็นทางวิ่งของรถ ตราบที่ทางเท้าในบางย่านถูกรถจักรยานยนต์ไปยึดครองเป็นทางพิเศษ บีบแตรไล่คนที่ควรมีสิทธิเดินบนทางเท้านั้น ไม่ก็ถูกตั้งเป็นโต๊ะขายตั๋วรถตู้ หรือวางขายสินค้าราวกับตลาดนัด จนคนต้องไปเดินบนถนน และแม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีราคาขายกำหนดไว้เห็นๆ บนสลาก แต่เอาจริงก็ไม่มีที่ไหนขายตามราคา ใครไปขอซื้อตามราคาเป็นเรื่องตลก
ความย่อหย่อนของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจริงๆ นั้นหมายถึงการรักษาระเบียบในสังคม หมักหมม ยืดเยื้อยาวนาน และไม่มีผู้ใดมีอำนาจที่แท้จริงที่จะมาจัดการให้อยู่ในร่องในรอย อาจจะด้วยลูบหน้าปะจมูก แตะไปตรงโน้นก็ของเฮียคนนี้ แตะไปทีก็ของพี่คนนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้
ในฐานะที่ คสช.ประกาศว่าไม่มีพวก ไม่มีใครมีอำนาจเต็ม ขออาสาเข้ามาคืนความสุขปฏิรูปประเทศ ก็ได้เริ่มเห็นปัญหานี้ และมีแนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว ซึ่งอาจจะถือเป็นภารกิจที่ยั่งยืนที่จะต้องจับตากันต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการฟื้นฟูในด้านระเบียบวินัยและวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกัน.
นั่นเพราะภาพของการจลาจลแย่งชิงกันชมภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 5 ยุทธหัตถี” ที่มีการฉายให้ชมฟรีในรอบเช้า ทั่วทุกโรงในประเทศไทย
การจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ถือเป็นความร่วมมือกันของภาคเอกชน ผู้ประกอบการและทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร ที่จะจัดฉายภาพยนตร์ที่แสดงถึงวีรกรรมบูรพกษัตริย์ไทย ผู้กอบกู้เอกราช ซึ่งไม่มีโอกาสไหนที่ควรจะฉายหรือคนไทยควรจะได้ดูไปมากกว่าช่วงเวลาแห่งการแตกแยกความสามัคคีเช่นนี้แล้ว
เจตนาที่ดีก็จริง แต่ทางทหารและฝ่ายผู้จัดคงประเมินความ “กระหายของฟรี” ของคนไทยต่ำเกินไปหน่อย ภาพอันน่าสลดอุจาดจึงเกิดขึ้น ว่ากันตั้งแต่ผู้คนที่แห่กรูแย่งกันเข้าไปในโรงหนังจนกระจกแตก จอมอนิเตอร์พังเสียหาย กลุ่มผู้อยากดูหนังฟรียื้อแย่งชกต่อยกัน หรือยื่นมือขึ้นไปไขว่คว้าแย่งตั๋วฟรีจากทหารที่แจกบัตร
หลายคนเปรียบเทียบว่าเหมือนสภาพ “ซอมบี้” ในหนังฝรั่งประเภทซอมบี้ล้างโลกอย่างไรอย่างนั้นแหละ
คลิปบางคลิปถ้าไม่คิดอะไรมากก็คงตลกดี เช่น คลิปลุงป้าที่คิดหาทางลัด พยายามวิ่งสวนขึ้นบันไดเลื่อนขาลง เพื่อจะไปให้เร็วกว่าคนอื่น แต่แล้วก็หมดแรงเลื่อนลงมา จนป้าคนนึงทำกระเป๋าสตางค์หรือไม่ก็โทรศัพท์มือถือนี่แหละตกหายไปเลย
แต่ในที่สุด ภาพรวมที่เห็นออกมา ก็ทำให้โครงการที่น่าจะดีกลายเป็นมีรอยให้ตำหนิไป และถูกเยาะเย้ยถากถางจากฝ่ายไม่เอารัฐประหารอย่างสนุกสนานตามสื่อโซเชียลต่างๆ แบบที่แก้ตัวให้ก็ไม่ได้ เถียงอะไรก็ไม่ออกจริงๆ หรือบางคนเอาผูกโยงกับโทษของความคลั่งชาติ อะไรพวกนี้กันไปเลย
คงต้องถือเป็นบทเรียนที่ดีให้ฝ่ายทหารในการวางแผนรับมือกับโครงการหรือกิจกรรมอะไรก็ตามในเชิงคืนความสุขหรือต้องทำงานกับฝูงชนมวลชนจำนวนมาก
หากสิ่งที่จะต้องรีบทบทวนกันโดยด่วน ก็คือความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมของคนไทยซึ่งเป็นที่มาอันแท้จริงของภาพน่าหดหู่ใจเมื่อวันเสาร์
กว่าที่เราจะรู้ตัว สังคมไทยก็เลื่อนไหลไปสู่จุดที่คนยื้อแย่งทำร้ายกัน หรือทำอะไรอย่างไร้ยางอาย เพียงเพื่อตั๋วดูหนังฟรีหนึ่งใบเสียแล้ว
ในขณะที่มีผู้เอาไปเปรียบเทียบกับภาพข่าวตอนที่เกิดแผ่นดินไหว และสึนามิครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้รอดชีวิตมายืนรอรับเครื่องดื่ม อาหาร ของใช้ยังชีพกันเป็นแถว อย่างสงบท่ามกลางอากาศอันหนาวเย็นและทุกคนรับไปเพียงตามสิทธิ หนึ่งชิ้น หนึ่งชุด ต่อหนึ่งครอบครัว ไม่มีใครแย่งไปเกินกว่านั้น หรือไม่มีการนำไปค้ากำไรเกินควร
ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องความเป็นความตาย ความอดยากหิวโหย ไม่ใช่เพียงแค่ความบันเทิงสองสามชั่วโมงอย่างเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ในบ้านเรา
เราจะกล่าวโทษใครไม่ได้ (แม้แต่ระบอบทักษิณก็ตาม) หรือหากจะกล่าวว่าเป็นพิษของทุนนิยม ก็คงจะไม่ตรงเช่นนั้นเสียทีเดียว เพราะประเทศที่เราได้เห็นว่าผู้คนมีระเบียบวินัย มีความรู้สึกเห็นแก่คนอื่น ก็เป็นประเทศทุนนิยมทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น สิงคโปร์ หรือที่ไหนๆ ในขณะที่ประเทศที่เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์หรือจำกัดสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่า ก็ปรากฏว่าผู้คนก็ไม่ได้มีความเจริญทางจิตใจ
ปัญหาคือความพยายามสร้างสภาพของการดิ้นรน แข่งขัน แย่งกันรวย แข่งกันสบาย เสียจนเกินไปต่างหาก ที่ทำให้ผู้คนนั้นกระหายและยื้อแย่งกันเพื่อชิงความได้เปรียบ โดยไม่สนใจถูกผิดดีชั่ว รวมทั้งการสั่งสอนและสั่งสมในสังคมที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ ประโยชน์พึงมีพึงได้จนเกินพอดี สร้างสมเป็นนิสัยของผู้คนว่า “สิทธิของเรา เราต้องได้ ถ้าต้องแย่ง ก็จงแย่งมา เพราะมันเป็นของเรา” จนขาดสำนึกสาธารณะ
เป็นที่น่ายินดีว่า ในกระบวนการปฏิรูปการศึกษา มีการดำริที่จะนำเอาเรื่องการฟื้นฟูหลักสูตรการเรียนการสอนเก่าๆ เช่น วิชาหน้าที่พลเมือง และประวัติศาสตร์ ที่ได้ถูกนำไปสอนเกลื่อนๆ กลืนๆ ไปกับวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) หรือสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สลน.) สำหรับเด็กประถมในยุคหลังๆ จะได้นำมาแยกเป็นวิชาของตัวเองชัดเจนให้นักเรียนได้เรียน
แต่เหนือไปกว่าการสร้างวิชาเข้าไปสอน แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือการจะต้องทำให้คนในสังคม เห็นได้จริงว่า ระเบียบ วินัย กฎต่างๆ นั้นใช้ได้จริง มีผลบังคับ หาไม่แล้ว หลักการต่างๆ ที่สอนกัน ก็จะอยู่แค่ในแบบเรียน ในหนังสือเท่านั้น
เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะสอนว่าทางเท้าเป็นทางเดินของคน ถนนเป็นทางวิ่งของรถ ตราบที่ทางเท้าในบางย่านถูกรถจักรยานยนต์ไปยึดครองเป็นทางพิเศษ บีบแตรไล่คนที่ควรมีสิทธิเดินบนทางเท้านั้น ไม่ก็ถูกตั้งเป็นโต๊ะขายตั๋วรถตู้ หรือวางขายสินค้าราวกับตลาดนัด จนคนต้องไปเดินบนถนน และแม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีราคาขายกำหนดไว้เห็นๆ บนสลาก แต่เอาจริงก็ไม่มีที่ไหนขายตามราคา ใครไปขอซื้อตามราคาเป็นเรื่องตลก
ความย่อหย่อนของการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งจริงๆ นั้นหมายถึงการรักษาระเบียบในสังคม หมักหมม ยืดเยื้อยาวนาน และไม่มีผู้ใดมีอำนาจที่แท้จริงที่จะมาจัดการให้อยู่ในร่องในรอย อาจจะด้วยลูบหน้าปะจมูก แตะไปตรงโน้นก็ของเฮียคนนี้ แตะไปทีก็ของพี่คนนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้
ในฐานะที่ คสช.ประกาศว่าไม่มีพวก ไม่มีใครมีอำนาจเต็ม ขออาสาเข้ามาคืนความสุขปฏิรูปประเทศ ก็ได้เริ่มเห็นปัญหานี้ และมีแนวทางในการแก้ปัญหาแล้ว ซึ่งอาจจะถือเป็นภารกิจที่ยั่งยืนที่จะต้องจับตากันต่อไปเพื่อให้ประเทศไทยได้รับการฟื้นฟูในด้านระเบียบวินัยและวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกัน.