หลังจากการควบคุมอำนาจการปกครองผ่านมาสองสัปดาห์แล้ว ก็เริ่มมีความชัดเจนมาจากทางฝ่าย คสช.ว่าต่อไปนี้จะขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางใด
อย่างที่ทราบและต้องยอมรับกันว่า ที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ประเทศสะดุดล้มเป็นขาลงอย่างหนัก เพราะความขัดแย้งที่ฝังลึกมานาน ถ้านับตั้งแต่การขับไล่รัฐบาลทักษิณครั้งแรก ก็ร่วม 9 ปี แต่หากพิจารณากันดูจริงๆ แล้ว คงต้องยอมรับว่าความขัดแย้งนั้นเริ่มต้นมาก่อนหน้านั้นนานมาก นับตั้งแต่การทักท้วงเรื่องการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ การละเมิดสิทธิมนุษยชนฆ่าตัดตอนยาเสพติด ถ้านับไปจนถึงต้นเหตุความขัดแย้งจนเกิดการชุมนุมที่ก่อตัวพัฒนามาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงปี 2548 นั้น ก็นับว่าเกิน 10 ปี
สรุปได้คือเป็น 10 กว่าปีที่ประเทศเต็มไปด้วยความขัดแย้ง จนมีผู้กล่าวว่าเป็นศตวรรษแห่งความสูญเสีย
พลเอกประยุทธ์จึงกล่าวไว้ในการแถลงข่าวเรื่องโรดแมปเพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าว่า “ไม่มีเวลาให้เสียเปล่าไปกับความขัดแย้งอีกแล้ว”
โรดแมปที่ว่าของ คสช.แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเพื่อความปรองดองในช่วงแรก ในกรอบระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ส่วนระยะที่สอง จึงจะให้มีการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เริ่มตั้งสภานิติบัญญัติตั้งนายกรัฐมนตรีไปคู่ขนานกับคณะทำงานปฏิรูป ทั้งในทางการเมือง และกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อปฏิรูปการเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความร่วมมือ ซึ่งถ้าหากปฏิรูปสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ระยะที่สาม คือการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ซึ่งการวางแผนครั้งนี้เห็นได้ว่า ทาง คมช.นั้นทำการบ้านมาดี และใช้ความผิดพลาดจากการรัฐประหารครั้งก่อนหน้า คือ 19 กันยายน 2549 มาใช้
การรัฐประหารโดย คมช.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ครั้งนั้น ถูกมองว่าเป็นบทเรียนของรัฐประหารที่ล้มเหลวเสียเปล่าที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเป็นรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบอบทักษิณที่ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา นั่นเพราะเป็นการรัฐประหารเพียงเพื่อล้มรัฐบาลทักษิณลงไปในขณะนั้นเท่านั้น และรีบร้อนตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศ ในเวลาเพียงแค่ 10 กว่าวันหลังจากการรัฐประหาร และตั้งสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในตอนนั้นแม้จะเรียกว่ารัฐบาลพลเรือนไม่ได้เพราะนายกฯ ในตอนนั้นคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นทหาร แต่ก็ถือว่าเป็นนายทหารที่ไม่ได้รับราชการแล้ว และไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มคณะผู้ทำการยึดอำนาจ
ผลของการรัฐประหารในครั้งนั้นจึงไม่อาจตอบโจทย์และแก้ปัญหาใดๆ หรือช่วยปฏิรูปการเมืองที่เริ่มเห็นว่าเป็นช่องว่างของระบบการเมืองเดิมภายใต้รัฐธรรมนูญ 40 ได้เลย ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ที่ร่างขึ้นมานั้นก็เป็นเหมือนเพียงฉบับ “ปะผุ” ที่เอารัฐธรรมนูญ 40 เป็นตัวตั้ง แล้วแก้ไขบางส่วนบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในส่วนที่นักวิชาการและผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีการศึกษาให้ลึกลงไปถึงปัญหาอย่างเป็นระบบ
คำตอบก็ได้ปรากฏว่า ในการใช้รัฐธรรมนูญ 50 ดังกล่าวเลือกตั้งออกมากี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม คือเครือข่ายทักษิณกลับมาครองอำนาจได้ และก็ใช้อำนาจได้อย่างเดิม มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและการยอมรับจากประชาชนเหมือนเดิม และในที่สุดก็ทำให้ประชาชนออกมาขับไล่ในวังวนเดิมๆ โดยทวีความรุนแรงของความขัดแย้งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะทางฝ่ายระบอบทักษิณก็เริ่มมีการตั้งกองกำลังประชาชนผู้นิยมฝ่ายตัวเองเป็นกลุ่มเสื้อแดงขึ้นมาต่อต้าน และบานปลายเป็นการต่อสู้กันกลางเมืองหลายครั้ง
ที่กล่าวไปนั้นคือบทเรียนของการรัฐประหารที่เสียเปล่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่ คมช. ยอมปล่อยมือวางอำนาจการบริหารจัดการเร็วเกินไป อาจจะเพราะไม่อยากให้ประเทศได้ชื่อว่าปกครองอยู่ในระบอบทหาร จึงรีบร้อนให้มีนายกมีรัฐบาล
ซึ่ง คสช.ในวันนี้ไม่ยอมซ้ำรอยบทเรียนดังกล่าวนั้น เพราะทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมที่จะนั่งรักษาตำแหน่งประธาน คสช.และกุมอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศไว้เองก่อนต่างนายกรัฐมนตรี และมีคณะทำงานของ คสช.ทำหน้าที่ต่างรัฐมนตรี ก็เพื่อโรดแมประยะแรก ช่วงสร้างความปรองดองสลายความขัดแย้งนี้เอง
เพราะหากไม่มีช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ แล้วให้ตั้งนายกฯ ตั้งรัฐบาลบริหารชั่วคราวเลย ปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายก็จะไม่ถูกแก้ไข และในที่สุดก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นในช่วงที่ทาง คสช.ยังมีอำนาจเต็มและไม่มีรัฐธรรมนูญเช่นนี้ จึงจะจัดการปัญหาได้เต็มที่
หากกล่าวว่าประเทศในตอนนี้เป็นคอมพิวเตอร์ ช่วงนี้ก็นับว่าเหมือนการล้างเครื่อง ล้างพาร์ติชั่นครั้งใหญ่ โดยยังไม่ต้องลงระบบปฏิบัติการหรือ “วินโดวส์” เพราะเอาเข้าจริงๆ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เพราะการรีบร้อนลง “วินโดวส์” โดยไม่เช็กระบบฮาร์ดแวร์ต่างๆ ให้ดีก่อนหรือเปล่าที่ทำให้เครื่องยิ่งซ่อมยิ่งพัง
อาจจะเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้ เพราะแม้ในระบบที่ในทางทฤษฎีอาจจะเรียกว่าเป็นการปกครองในระบอบทหาร แต่ก็ไม่ปรากฏว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเท่าไรนักในภาพรวม การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศก็ไม่ลดลง ตลาดหุ้นก็กลับมาคึกคัก ประชาชนก็ยังมีสิทธิเสรีภาพใช้ชีวิตได้ตามเดิม เว้นแต่ยังมีเคอร์ฟิวอยู่บ้าง กับพวกที่ยังสร้างปัญหาให้ตัวเองและคนอื่น ด้วยการประท้วงที่ไร้ประโยชน์ต่อต้านรัฐประหาร ซึ่งทำให้ทั้งฝ่ายความมั่นคงต้องออกมาป้องกันการต่อต้าน ซึ่งเป็นผลให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารเดือดร้อน ต้องปิดห้าง ปิดอนุสาวรีย์ชัยฯ ปิดสถานีรถไฟฟ้า เพราะคนกลุ่มเล็กๆไม่กี่ร้อยคน
ซึ่งอยากขอบอกฝากไปยังคนกลุ่มชูกระดาษเปล่า ชูสามนิ้วเหล่านั้นว่า ถ้าเป็นผู้ที่มาเองจริงๆ ไม่ได้รับสินจ้าง ก็ขอให้เห็นแก่คนส่วนใหญ่ที่เขาอยากใช้ชีวิตปกติด้วย ถ้าคนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายถูกละเมิดสิทธิจากการรัฐประหารจริงอย่างที่คุณตีโพยตีพาย ไม่ต้องกลัวหรอกครับ แนวร่วมต้องออกมาท่วมถนนเหมือนสมัยมวลมหาประชาชนแน่ๆ ไม่ใช่แค่หลักสิบหลักร้อยคนอย่างนี้
นั่นแปลว่าคนทั่วไปเขาไม่ได้เดือดร้อนไปด้วยใช่ไหม? ในขณะที่พวกคุณกลับทำให้คนส่วนใหญ่เป็นหมื่นเป็นแสนคนเสียหาย แทนที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตปกติไปห้าง จัดงานแต่งงาน ขึ้นรถไฟฟ้ากลับจากที่ทำงาน
ถ้าเชื่อในระบอบประชาธิปไตยอย่างสุจริตใจจริงๆ ว่าการตัดสินใจต้องมาจากเสียงข้างมาก ก็เลิกเถิดครับ เพราะคนส่วนใหญ่เขาไม่ได้เดือดร้อนอะไรไปกับพวกคุณด้วย เขาแค่อยากใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องหวาดผวาเช็กข่าวว่า วันนี้ที่ไหน สถานีรถไฟฟ้าไหนจะปิด ถนนไหนจะเข้าไม่ได้ เพราะมีคนไปต่อต้านรัฐประหารกระหย่อมเดียว.
อย่างที่ทราบและต้องยอมรับกันว่า ที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ประเทศสะดุดล้มเป็นขาลงอย่างหนัก เพราะความขัดแย้งที่ฝังลึกมานาน ถ้านับตั้งแต่การขับไล่รัฐบาลทักษิณครั้งแรก ก็ร่วม 9 ปี แต่หากพิจารณากันดูจริงๆ แล้ว คงต้องยอมรับว่าความขัดแย้งนั้นเริ่มต้นมาก่อนหน้านั้นนานมาก นับตั้งแต่การทักท้วงเรื่องการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ การละเมิดสิทธิมนุษยชนฆ่าตัดตอนยาเสพติด ถ้านับไปจนถึงต้นเหตุความขัดแย้งจนเกิดการชุมนุมที่ก่อตัวพัฒนามาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในช่วงปี 2548 นั้น ก็นับว่าเกิน 10 ปี
สรุปได้คือเป็น 10 กว่าปีที่ประเทศเต็มไปด้วยความขัดแย้ง จนมีผู้กล่าวว่าเป็นศตวรรษแห่งความสูญเสีย
พลเอกประยุทธ์จึงกล่าวไว้ในการแถลงข่าวเรื่องโรดแมปเพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าว่า “ไม่มีเวลาให้เสียเปล่าไปกับความขัดแย้งอีกแล้ว”
โรดแมปที่ว่าของ คสช.แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเพื่อความปรองดองในช่วงแรก ในกรอบระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ส่วนระยะที่สอง จึงจะให้มีการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว เริ่มตั้งสภานิติบัญญัติตั้งนายกรัฐมนตรีไปคู่ขนานกับคณะทำงานปฏิรูป ทั้งในทางการเมือง และกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อปฏิรูปการเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความร่วมมือ ซึ่งถ้าหากปฏิรูปสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่ระยะที่สาม คือการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ซึ่งการวางแผนครั้งนี้เห็นได้ว่า ทาง คมช.นั้นทำการบ้านมาดี และใช้ความผิดพลาดจากการรัฐประหารครั้งก่อนหน้า คือ 19 กันยายน 2549 มาใช้
การรัฐประหารโดย คมช.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ครั้งนั้น ถูกมองว่าเป็นบทเรียนของรัฐประหารที่ล้มเหลวเสียเปล่าที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเป็นรัฐประหารเพื่อล้มล้างระบอบทักษิณที่ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา นั่นเพราะเป็นการรัฐประหารเพียงเพื่อล้มรัฐบาลทักษิณลงไปในขณะนั้นเท่านั้น และรีบร้อนตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศ ในเวลาเพียงแค่ 10 กว่าวันหลังจากการรัฐประหาร และตั้งสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในตอนนั้นแม้จะเรียกว่ารัฐบาลพลเรือนไม่ได้เพราะนายกฯ ในตอนนั้นคือ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นทหาร แต่ก็ถือว่าเป็นนายทหารที่ไม่ได้รับราชการแล้ว และไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มคณะผู้ทำการยึดอำนาจ
ผลของการรัฐประหารในครั้งนั้นจึงไม่อาจตอบโจทย์และแก้ปัญหาใดๆ หรือช่วยปฏิรูปการเมืองที่เริ่มเห็นว่าเป็นช่องว่างของระบบการเมืองเดิมภายใต้รัฐธรรมนูญ 40 ได้เลย ซึ่งรัฐธรรมนูญ 50 ที่ร่างขึ้นมานั้นก็เป็นเหมือนเพียงฉบับ “ปะผุ” ที่เอารัฐธรรมนูญ 40 เป็นตัวตั้ง แล้วแก้ไขบางส่วนบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในส่วนที่นักวิชาการและผู้ร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีการศึกษาให้ลึกลงไปถึงปัญหาอย่างเป็นระบบ
คำตอบก็ได้ปรากฏว่า ในการใช้รัฐธรรมนูญ 50 ดังกล่าวเลือกตั้งออกมากี่ครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม คือเครือข่ายทักษิณกลับมาครองอำนาจได้ และก็ใช้อำนาจได้อย่างเดิม มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสและการยอมรับจากประชาชนเหมือนเดิม และในที่สุดก็ทำให้ประชาชนออกมาขับไล่ในวังวนเดิมๆ โดยทวีความรุนแรงของความขัดแย้งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะทางฝ่ายระบอบทักษิณก็เริ่มมีการตั้งกองกำลังประชาชนผู้นิยมฝ่ายตัวเองเป็นกลุ่มเสื้อแดงขึ้นมาต่อต้าน และบานปลายเป็นการต่อสู้กันกลางเมืองหลายครั้ง
ที่กล่าวไปนั้นคือบทเรียนของการรัฐประหารที่เสียเปล่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่ คมช. ยอมปล่อยมือวางอำนาจการบริหารจัดการเร็วเกินไป อาจจะเพราะไม่อยากให้ประเทศได้ชื่อว่าปกครองอยู่ในระบอบทหาร จึงรีบร้อนให้มีนายกมีรัฐบาล
ซึ่ง คสช.ในวันนี้ไม่ยอมซ้ำรอยบทเรียนดังกล่าวนั้น เพราะทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมที่จะนั่งรักษาตำแหน่งประธาน คสช.และกุมอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศไว้เองก่อนต่างนายกรัฐมนตรี และมีคณะทำงานของ คสช.ทำหน้าที่ต่างรัฐมนตรี ก็เพื่อโรดแมประยะแรก ช่วงสร้างความปรองดองสลายความขัดแย้งนี้เอง
เพราะหากไม่มีช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ แล้วให้ตั้งนายกฯ ตั้งรัฐบาลบริหารชั่วคราวเลย ปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายก็จะไม่ถูกแก้ไข และในที่สุดก็จะแก้ปัญหาไม่ได้ ดังนั้นในช่วงที่ทาง คสช.ยังมีอำนาจเต็มและไม่มีรัฐธรรมนูญเช่นนี้ จึงจะจัดการปัญหาได้เต็มที่
หากกล่าวว่าประเทศในตอนนี้เป็นคอมพิวเตอร์ ช่วงนี้ก็นับว่าเหมือนการล้างเครื่อง ล้างพาร์ติชั่นครั้งใหญ่ โดยยังไม่ต้องลงระบบปฏิบัติการหรือ “วินโดวส์” เพราะเอาเข้าจริงๆ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เพราะการรีบร้อนลง “วินโดวส์” โดยไม่เช็กระบบฮาร์ดแวร์ต่างๆ ให้ดีก่อนหรือเปล่าที่ทำให้เครื่องยิ่งซ่อมยิ่งพัง
อาจจะเป็นทางออกที่ดีกว่าก็ได้ เพราะแม้ในระบบที่ในทางทฤษฎีอาจจะเรียกว่าเป็นการปกครองในระบอบทหาร แต่ก็ไม่ปรากฏว่าส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเท่าไรนักในภาพรวม การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศก็ไม่ลดลง ตลาดหุ้นก็กลับมาคึกคัก ประชาชนก็ยังมีสิทธิเสรีภาพใช้ชีวิตได้ตามเดิม เว้นแต่ยังมีเคอร์ฟิวอยู่บ้าง กับพวกที่ยังสร้างปัญหาให้ตัวเองและคนอื่น ด้วยการประท้วงที่ไร้ประโยชน์ต่อต้านรัฐประหาร ซึ่งทำให้ทั้งฝ่ายความมั่นคงต้องออกมาป้องกันการต่อต้าน ซึ่งเป็นผลให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารเดือดร้อน ต้องปิดห้าง ปิดอนุสาวรีย์ชัยฯ ปิดสถานีรถไฟฟ้า เพราะคนกลุ่มเล็กๆไม่กี่ร้อยคน
ซึ่งอยากขอบอกฝากไปยังคนกลุ่มชูกระดาษเปล่า ชูสามนิ้วเหล่านั้นว่า ถ้าเป็นผู้ที่มาเองจริงๆ ไม่ได้รับสินจ้าง ก็ขอให้เห็นแก่คนส่วนใหญ่ที่เขาอยากใช้ชีวิตปกติด้วย ถ้าคนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายถูกละเมิดสิทธิจากการรัฐประหารจริงอย่างที่คุณตีโพยตีพาย ไม่ต้องกลัวหรอกครับ แนวร่วมต้องออกมาท่วมถนนเหมือนสมัยมวลมหาประชาชนแน่ๆ ไม่ใช่แค่หลักสิบหลักร้อยคนอย่างนี้
นั่นแปลว่าคนทั่วไปเขาไม่ได้เดือดร้อนไปด้วยใช่ไหม? ในขณะที่พวกคุณกลับทำให้คนส่วนใหญ่เป็นหมื่นเป็นแสนคนเสียหาย แทนที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตปกติไปห้าง จัดงานแต่งงาน ขึ้นรถไฟฟ้ากลับจากที่ทำงาน
ถ้าเชื่อในระบอบประชาธิปไตยอย่างสุจริตใจจริงๆ ว่าการตัดสินใจต้องมาจากเสียงข้างมาก ก็เลิกเถิดครับ เพราะคนส่วนใหญ่เขาไม่ได้เดือดร้อนอะไรไปกับพวกคุณด้วย เขาแค่อยากใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องหวาดผวาเช็กข่าวว่า วันนี้ที่ไหน สถานีรถไฟฟ้าไหนจะปิด ถนนไหนจะเข้าไม่ได้ เพราะมีคนไปต่อต้านรัฐประหารกระหย่อมเดียว.