ในช่วงที่การประมูลทีวีดิจิตอลได้รู้ดำรู้แดงแล้วว่าใครจะได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตสถานีโทรทัศน์มูลค่าหลักพันล้านบาท เราจะเห็นคนในแวดวงสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะคนทำข่าวโทรทัศน์ ทั้งผู้ประกาศข่าว พิธีกรข่าว ผู้สื่อข่าว โปรดิวเซอร์ ช่างภาพ และอีกสารพัดต่างลาออกจากต้นสังกัดเดิมเพื่อไปแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ด้วยเหตุผลแตกต่างกัน
ค่ายสื่อแห่งหนึ่งย่านบางนา คนทำทีวีทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังไหลออกไปเป็นว่าเล่น ส่วนใหญ่จะย้ายไปอยู่ค่ายช่องน้อยสีย่านพระรามสี่ หรือยักษ์หัวสีย่านวิภาวดีรังสิต อีกทั้งยังชักชวนเพื่อนฝูงในแวดวงให้ตามไปร่วมงานที่นั่น ทั้งในรูปแบบร่วมทีมงานในสถานี รวมทั้งเป็นไปในลักษณะเปิดบริษัทผู้ผลิตรายการป้อนให้กับสถานี
ผมเคยพูดคุยกับคนที่ทั้งลาออกไปแล้ว และคิดจะลาออกจากค่ายสื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งผมขอไม่เอ่ยนามก็แล้วกันเพราะไม่ได้ขออนุญาตไว้ ก็ได้คำตอบคล้ายกัน พี่ที่เคารพคนหนึ่งบอกกับผมว่า ทำงานที่นั่นมาหลายปี อย่างน้อยลาออกไปคงจะมีเรื่องให้อยากทำอีกเยอะ พร้อมทั้งปลุกแรงบันดาลใจในการทำงานที่กำลังจะอ่อนล้าลงให้กลับมาฟื้นตัวได้
ส่วนพี่อีกคนหนึ่งยอมรับกับผมว่า ตอนแรกจะลาออกไปอยู่อีกค่ายหนึ่งแล้ว แต่ถอยไปตั้งสติก่อน เพราะเกรงว่าช่องที่จะไปอยู่จะไม่ใช่ช่องที่เน้นไปทำข่าวจริงๆ ทำข่าวขายอย่างเดียว ทำนองว่าเกิดเหตุใหญ่ขึ้นมามาไม่ตัดเข้าข่าวก็ไม่ไหว แต่ในบางเวลาก็เบื่อการเมือง อยากกลับบ้านไปทำกิจการครอบครัวบ้าง
ช่วงหนึ่งเขาถามผมสั้นๆ ว่า “ไม่คิดอยากไปทำที่อื่นหรอวะ ถามจริงๆ”
ผมก็ตอบเขาไปตามตรง ณ เวลานั้นว่า งานที่นี่ลงตัวระดับหนึ่ง ที่อยู่ได้คงเป็นเพราะตัวองค์กรมากกว่าเงิน มีเจ้านายที่เปรียบเหมือนพี่น้อง เหมือนเถ้าแก่ แต่ก็ไม่แน่ เบื่อๆ การเมืองคงจะไปทำอย่างอื่น อาจจะย้ายไปทำสายงานที่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่งั้นปวดหัว เขาก็แนะหาจุดลงตัวดู อยู่กันมานานก็น่าจะคุยกับเจ้านายได้
กลับมาคิดดูอีกที ชีวิตการทำงานของผมผ่านไปแล้วสามปีสี่เดือน ตัวผมเองก็เริ่มจะมีอาการหมดไฟไปบ้าง เพราะทุกวันนี้การที่ต้องมาทำอะไรซ้ำซากแบบเดิมๆ ประกอบกับปัญหาส่วนตัวบางประการ ทำให้อะไรๆ ดูหย่อนยานลง แต่ก็คิดว่าสักวันหนึ่งอาจจะขยับไปอยู่ในตำแหน่งที่คิดว่าใช่มากกว่านี้ หากวันหนึ่งมีคนมารับช่วงต่องานที่ทำอยู่แทน
บางครั้งเรื่องที่น่าปวดหัวมากที่สุดกลับไม่ใช่เรื่องงาน แต่เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจมากกว่า แม้ผมจะทำใจล่วงหน้าไว้แล้วตั้งแต่เข้ามาทำงานที่นี่ว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แต่สิ่งที่ผ่านเข้ามากะทันหันทำเอาบั่นทอนกำลังพอสมควร แต่สุดท้ายก็จบลงตรงที่เจ้านายมักจะบอกกับผมว่า “เอ็งไม่ต้องไปคิดมาก มีหน้าที่ทำอะไรทำไป”
พูดถึงงานข่าว ใช่ว่าจะหาคนเข้ามาร่วมงานได้ง่าย บางคนที่เข้ามาวงการนี้เพราะเห็นความก้าวหน้าในงานเบื้องหน้า อย่างผู้ประกาศข่าว พิธีกรอย่างกรรมกรข่าว หรือนักจัดรายการ รวมทั้งงานวิทยุ โทรทัศน์แขนงอื่นๆ ที่วาดฝันไว้อย่างสวยหรู แต่พอเอาเข้าจริงงานพวกนี้บอกตรงๆ นะ ถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้
เพราะงานพวกนี้เป็นอะไรที่ต้องเสียสละความสุขส่วนตัว โดยเฉพาะวันหยุดที่ไม่เหมือนกับชาวบ้าน คือ ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน และเวลาทำงานที่ต้องมีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ บางวันต้องเลิกยันดึกก็มี หรือต้องทำงานจากที่บ้านก็มี เพราะฉะนั้นหลายคนสู้งานไม่ไหวก็ลาออกไป แม้จะน่าเสียดายแต่ก็เป็นสิทธิ์ของเขา
วันหนึ่งผมเจอข้อความหนึ่งในเฟซบุ๊กของ Parin Parinest Songpracha ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก จึงขออนุญาตคัดบางช่วงบางตอนมาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันดังนี้
“การงานที่มั่นคง...คือความเสี่ยง
คำถามแรก งานคุณอยู่ตัวแล้วใช่หรือไม่ อยู่ตัวคือ งานที่ทำอยู่นี่รู้ทุกขั้นตอน ไล่ได้สบาย พูดอะไรก็ไม่ผิด เรียกว่าอยู่มือหมดแล้ว สบายมาก ยกเว้นแต่ งานมันเยอะจนทำไม่ทัน งานเดิมนี่แหละ แต่ทำไม่ทัน ล้นมากกกก
คำถามที่สอง คุณอยู่ตัวอย่างที่ว่า มานานเกิน 1 ปีแล้ว
คำถามที่สาม คุณไม่เคยถูก Head Hunt ทาบทาม หรือทาบทามมาก็ยังไม่เคยได้ไปสัมภาษณ์เลย
ถ้าคำตอบเป็น ใช่ ทั้ง 3 ข้อ คุณกำลังอยู่ในความเสี่ยงครับ (ผมจำคำคนอื่นมาครับ) ส่วนคำอธิบาย ผมคิดเอง
มันเสี่ยงยังไง???
มันคือกับดัก ที่สูบเวลาของคุณไปครับ เวลาขณะที่คนอื่นๆ วิ่งเข้าหาความยาก วิ่งหาเรื่องใหม่ๆ ได้พบประสบการณ์ผิดถูกเพิ่มขึ้น แต่คุณอยู่กับที่ครับ คุณไม่ได้เก่งขึ้นเลย คุณแค่ทำงานเดิมได้เก่งเท่านั้นเอง
แล้วไม่ดีตรงไหน???
มันก็ดีนะครับ... แต่มันจะดี...จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนไปนั่นแหละครับ คุณจะเริ่มรู้สึกถึงความว่างเปล่าของตัวเอง และส่วนใหญ่เวลาที่คุณรู้ตัว มักเป็นเวลาที่คุณอายุล่วงเลย และสมรรถนะร่างกาย ไม่เอื้อเหมือนตอนจูเนียร์ เพราะนั่งนอนสบายอยู่ใน Comfort Zone มานาน
(อย่าคิดว่าความมั่นคงทางการงาน คือความมั่นคงทางการเงินนะครับ คล้ายกัน แต่คนละประเด็นมากเลย)
สรุปว่า ถ้ายังเป็นคนหาเงินอยู่ (แปลว่าผมไม่นับคนที่มีเงินพออยู่แล้วนะ) ก็จำเป็นต้องวิ่งหาเรื่องใหม่ๆ อยู่ตลอดครับ เพื่อให้สมองเดินให้ทันกับโลกที่หมุนทุกนาที
ถ้าทำเรื่องเดิมๆ อยู่ต้องทำได้เร็วกว่าเมื่อวาน ถ้าทำได้เร็วกว่าเมื่อวาน ต้องไม่มีปัญหาทำงานไม่ทัน ถ้าทำงานทันแล้ว ควรไปถามหัวหน้าเพิ่ม ขอไปลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อหาประสบการณ์ ลองผิดลองถูก ขยายไปเรื่อยๆ
เพราะงานมั่นคง (ชื่อเต็มๆ คือ ย่ำกับที่ไม่พัฒนา อยู่สบายใน Comfort Zone) คือความเสี่ยง ที่ทำให้ล้าหลัง ตามโลกไม่ทัน และสามารถถูกทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีหรือเด็กรุ่นใหม่ครับ
นั่นแหละที่เรียกว่า ความมั่นคง คือความเสี่ยง เครดิต ผู้บริหารคนนึงที่เคยสอนผมมา”
ผมอ่านดูแล้วก็รู้สึกว่า... จริงอย่างที่พูดแฮะ
โดยเฉพาะคำว่า “คุณไม่ได้เก่งขึ้นเลย คุณแค่ทำงานเดิมได้เก่งเท่านั้นเอง”
ครั้งหนึ่งผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนที่ลาออกไปนอกเหนือจากเรื่องค่าตอบแทนแล้ว อะไรคือสิ่งที่ทำให้เป็นแรงจูงใจที่จะออกมาจากจุดนั้น ผมกลับนึกถึงซีอีโอที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง คือ ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้บริหารเบอร์ 2 ของดีแทค เคยพลิกฟื้นบริษัทที่เกือบจะเจ๊งเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ ให้กลับมาเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำอีกครั้ง
เขาลาออกจากดีแทคเมื่อต้นปี 2554 แทบจะเรียกว่าช็อกวงการ เพราะเชื่อว่าหากยังอยู่กับดีแทคอาจมีโอกาสที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป แต่เขาก็ได้ให้เหตุผลหลักเอาไว้ว่า อยากออกจาก Comfort Zone เพราะมีความเชื่อว่า การเผชิญหน้ากับความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่การซ่อนตัวอยู่ใน Comfort Zone ต่างหากที่น่ากลัวและน่าเศร้ายิ่งกว่า
สรกล อดุลยานนท์ เคยเขียนถึงธนาในหนังสือ “ให้โอกาสกับสิ่งที่เราไม่รู้” ของสำนักพิมพ์มติชน ระบุว่า สิ่งที่กระตุ้นให้ธนาลาออกจากดีแทคก็คือ ครั้งหนึ่งเขาเห็น ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน (สามีคุณวีณารัตน์ เลาหภคกุล) อดีตผู้บริหารระดับสูงของบีเอ็มดับบลิว เล่นไอซ์สเก็ตที่เซ็นทรัลเวิล์ด แต่เล่นแล้วก็ล้ม ล้มแล้วก็ลุก
ธนาถาม ดร.วิทย์ว่า ทำไมถึงมาเล่นกีฬาประเภทนี้ คำตอบที่ได้รับก็คือ “ผมอยากออกจาก Comfort Zone อยากลองล้มดูบ้าง จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ” ซึ่งจริงๆ ก็หมายถึงเขาไม่อยากแก่ อยากเล่นอะไรที่คนหนุ่มสาวเล่นกัน
แต่ธนากลับคิดว่า Comfort Zone หรือพื้นที่ที่สุขสบาย น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความปลอดภัยที่มากเกินทำให้เรากลัว ไม่กล้าเดินไปสู่ที่ใหม่ที่ไม่รู้จัก ประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้เขาเริ่มทำอะไรไม่ผิด พูดอะไรก็พูดได้เหมือนรู้ไปหมดทุกอย่าง เรื่องทุกเรื่องก็ผ่านมาหมดแล้ว ไม่เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ เกิดภาวะรู้จนโง่ รู้มากจนกลายเป็นไม่รู้
ธนามีเคล็ดอยู่อย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ มืออาชีพที่ดีต้องนึกถึงจุดจบของตัวเองเสมอ คิดแบบวันนี้คือวันสุดท้ายของชีวิต ในมุมหนึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราทำงานอย่างเต็มที่ ในอนาคตจะได้ไม่ต้องเสียดายว่าทำไมวันนั้นถึงไม่ทำ
อีกด้านหนึ่ง คือเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง คิดว่าจะต้องลาออกวันใด จะได้เตรียมตัวว่าถ้าออกแล้วจะทำอะไร คือ ไม่ได้ลาออกจริงๆ แต่อย่างน้อยจะมีการคิดถึงจุดจบไว้บ้างว่าวันหนึ่งเราก็ไม่ได้อยู่ที่นี่ไปชั่วชีวิต เพราะถ้าคิดว่าจะอยู่องค์กรใดองค์กรหนึ่งไปชั่วชีวิต เราอาจจะนิ่งๆ สบายๆ ไม่ได้ขวนขวายอะไร เหมือนมีดที่ไม่ได้ลับขวานแล้วก็ทื่อ
สิ่งที่ธนากล่าวถึงทำให้ผมเข้าใจเหตุผลว่าทำไมคนๆ หนึ่ง หรืออีกหลายคนต่างลาออกจากงานแห่งหนึ่งเพื่อไปแสวงหาโอกาสในองค์กรอีกแห่งหนึ่ง แน่นอนว่าในองค์กรก็อยากจะรั้งคนที่มีฝีมือไว้ให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ เจ้านายก็ต้องคอยอธิบายให้อยู่เรื่อย หากใจอ่อนก็ยอมกลับมายืนที่เดิม แต่หากใจเข็ง หรือรู้สึกหมดอาลัยตายอยากก็ยากที่จะหน่วงรั้ง
ตัวผมเองก็เริ่มเรียนรู้ถึงความลำบากเวลาอยู่ในพื้นที่ Comfort Zone โดยเฉพาะความกลัวไม่กล้าเดินไปสู่ที่ใหม่ที่ไม่รู้จัก เพราะค่ายอื่นนักข่าวเขาเริ่มมีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเอง ไปที่ไหนก็มีคนรู้จัก และมีจุดเด่นเรื่องภาษาอังกฤษ เทียบกับข้าพเจ้าที่วันๆ หนึ่งนั่งรีไรท์ข่าว นั่งทำข่าว ตกค่ำก็หมดวันแล้ว ไม่ได้มีโอกาสได้ลองผิดลองถูกเหมือนกับใครเขา
ถามว่าเคยจะคิดจะลาออกจากที่นี่ไหม ตอบว่าในยามที่เหนื่อยมากๆ ตอบว่าเคย แต่คงไม่ทำ ที่ผ่านมาก็คิดเล่นๆ ว่าถ้าลาออกจากที่นี่จะไปทำอะไรดี ผมอาจจะเป็นนักข่าวสตริงเกอร์ที่บ้าน หรืออาจจะเป็นบล็อกเกอร์สนองความคิดตัวเอง บางครั้งก็คิดเล่นว่าถ้ามีโอกาสอยากจะทำวิทยุที่เปิดแต่เพลงอกหักทั้งวันทั้งคืน ฟังแล้วนอนหลับทั้งน้ำตาไปเลย
ในออฟฟิศผมมานั่งดูโต๊ะอื่นเขาทำวิดีโอคลิปรายการอย่างโต๊ะไซเบอร์บิซ หรือศูนย์ข่าวภาคใต้แล้ว ก็กระตุ้นให้เราเกิดความอยากรู้อยากลองที่จะทำในสายงานนี้บ้าง ถึงขนาดเคยคุยเล่นๆ กับรุ่นพี่ที่ทำงานว่าอยากจะลองทำแบบนั้นบ้าง ถึงขนาดลองทำอินโทรเข้ารายการแบบเล่นๆ ไว้พร้อมแล้ว แต่สุดท้ายหน้าที่การงานก็เบียดบังสิ่งที่อยากทำไปจนหมด
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คำพูดที่เจ้านายกล่าวกับผมอีกคำหนึ่งเสมอว่า “พี่อยากให้เอ็งอยู่ที่นี่ไปนานๆ” ก็ทำให้ผมมีความรู้สึกเหมือนกับว่าผมคงไม่อยากลาออกไปไหน เพราะที่นี่ให้โอกาสผมทำงานทั้งที่ยังไม่จบปริญญาตรีด้วยซ้ำ หากผมปีกกล้าขาแข็งโบยบินออกไปทั้งที่ปีกเราไม่แข็งแรงก็จะเดี้ยงลงเอาได้
หวังไว้ในใจเพียงอย่างเดียวว่า หากออฟฟิศมีสายงานอื่นที่เราอยากทำ และรู้สึกท้าทาย ก็อาจจะขอย้ายสายงานจากโต๊ะการเมืองออนไลน์ที่ทำอยู่ เพราะผมมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ผมเบื่อการเมือง และการเมืองทุกวันนี้มันไม่รู้สึกชวนให้ผมอินเหมือนแต่ก่อนที่เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมกลางดงระเบิด แก๊สน้ำตา เดี๋ยวนี้เรารู้สันดานนักการเมืองจนไม่รู้อย่างไรแล้ว
บทความในวันนี้ผมอาจจะบ่นเรื่องชีวิตส่วนตัวไปพอสมควรบ้าง แต่ก็อยากที่จะให้คุณผู้อ่านที่มีหน้าที่การงานมั่นคงระดับหนึ่งได้ลองตั้งคำถามดูว่า พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้แล้วหรือยัง และคุณอยู่ตรงจุดที่เรียกว่า Comfort Zone แล้วหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นลองคิดดูว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อถึงจุดที่เรียกว่าหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนั้นจริงๆ
ส่วนใครที่มีความฝันอยากจะทำงานในแวดวงสื่อสารมวลชน ถ้าอยากสบายแบบกรรมกรข่าวร้อยล้านขี้โกงค่าโฆษณา ก็คงจะลำบาก แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เลือกงาน ทราบมาว่าหลายแห่งขาดคนมาก ใครที่กำลังวิจัยฝุ่นอยู่ก็ลองไปสมัครได้ ก่อนที่ในปีหน้าการรับคนเข้าทำงานจะไม่เหมือนเดิม
ขอฝากเพลงนี้ไว้เป็นกำลังใจแก่ทุกท่าน และขอให้โชคดีกับหนทางที่ตัวเองได้เลือกไว้นะครับ...
เพลง - ก้าวไป
ศิลปิน - Jetset'er (เจ็ทเซ็ตเตอร์)
ค่ายสื่อแห่งหนึ่งย่านบางนา คนทำทีวีทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังไหลออกไปเป็นว่าเล่น ส่วนใหญ่จะย้ายไปอยู่ค่ายช่องน้อยสีย่านพระรามสี่ หรือยักษ์หัวสีย่านวิภาวดีรังสิต อีกทั้งยังชักชวนเพื่อนฝูงในแวดวงให้ตามไปร่วมงานที่นั่น ทั้งในรูปแบบร่วมทีมงานในสถานี รวมทั้งเป็นไปในลักษณะเปิดบริษัทผู้ผลิตรายการป้อนให้กับสถานี
ผมเคยพูดคุยกับคนที่ทั้งลาออกไปแล้ว และคิดจะลาออกจากค่ายสื่อแห่งหนึ่ง ซึ่งผมขอไม่เอ่ยนามก็แล้วกันเพราะไม่ได้ขออนุญาตไว้ ก็ได้คำตอบคล้ายกัน พี่ที่เคารพคนหนึ่งบอกกับผมว่า ทำงานที่นั่นมาหลายปี อย่างน้อยลาออกไปคงจะมีเรื่องให้อยากทำอีกเยอะ พร้อมทั้งปลุกแรงบันดาลใจในการทำงานที่กำลังจะอ่อนล้าลงให้กลับมาฟื้นตัวได้
ส่วนพี่อีกคนหนึ่งยอมรับกับผมว่า ตอนแรกจะลาออกไปอยู่อีกค่ายหนึ่งแล้ว แต่ถอยไปตั้งสติก่อน เพราะเกรงว่าช่องที่จะไปอยู่จะไม่ใช่ช่องที่เน้นไปทำข่าวจริงๆ ทำข่าวขายอย่างเดียว ทำนองว่าเกิดเหตุใหญ่ขึ้นมามาไม่ตัดเข้าข่าวก็ไม่ไหว แต่ในบางเวลาก็เบื่อการเมือง อยากกลับบ้านไปทำกิจการครอบครัวบ้าง
ช่วงหนึ่งเขาถามผมสั้นๆ ว่า “ไม่คิดอยากไปทำที่อื่นหรอวะ ถามจริงๆ”
ผมก็ตอบเขาไปตามตรง ณ เวลานั้นว่า งานที่นี่ลงตัวระดับหนึ่ง ที่อยู่ได้คงเป็นเพราะตัวองค์กรมากกว่าเงิน มีเจ้านายที่เปรียบเหมือนพี่น้อง เหมือนเถ้าแก่ แต่ก็ไม่แน่ เบื่อๆ การเมืองคงจะไปทำอย่างอื่น อาจจะย้ายไปทำสายงานที่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่งั้นปวดหัว เขาก็แนะหาจุดลงตัวดู อยู่กันมานานก็น่าจะคุยกับเจ้านายได้
กลับมาคิดดูอีกที ชีวิตการทำงานของผมผ่านไปแล้วสามปีสี่เดือน ตัวผมเองก็เริ่มจะมีอาการหมดไฟไปบ้าง เพราะทุกวันนี้การที่ต้องมาทำอะไรซ้ำซากแบบเดิมๆ ประกอบกับปัญหาส่วนตัวบางประการ ทำให้อะไรๆ ดูหย่อนยานลง แต่ก็คิดว่าสักวันหนึ่งอาจจะขยับไปอยู่ในตำแหน่งที่คิดว่าใช่มากกว่านี้ หากวันหนึ่งมีคนมารับช่วงต่องานที่ทำอยู่แทน
บางครั้งเรื่องที่น่าปวดหัวมากที่สุดกลับไม่ใช่เรื่องงาน แต่เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจมากกว่า แม้ผมจะทำใจล่วงหน้าไว้แล้วตั้งแต่เข้ามาทำงานที่นี่ว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แต่สิ่งที่ผ่านเข้ามากะทันหันทำเอาบั่นทอนกำลังพอสมควร แต่สุดท้ายก็จบลงตรงที่เจ้านายมักจะบอกกับผมว่า “เอ็งไม่ต้องไปคิดมาก มีหน้าที่ทำอะไรทำไป”
พูดถึงงานข่าว ใช่ว่าจะหาคนเข้ามาร่วมงานได้ง่าย บางคนที่เข้ามาวงการนี้เพราะเห็นความก้าวหน้าในงานเบื้องหน้า อย่างผู้ประกาศข่าว พิธีกรอย่างกรรมกรข่าว หรือนักจัดรายการ รวมทั้งงานวิทยุ โทรทัศน์แขนงอื่นๆ ที่วาดฝันไว้อย่างสวยหรู แต่พอเอาเข้าจริงงานพวกนี้บอกตรงๆ นะ ถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้
เพราะงานพวกนี้เป็นอะไรที่ต้องเสียสละความสุขส่วนตัว โดยเฉพาะวันหยุดที่ไม่เหมือนกับชาวบ้าน คือ ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน และเวลาทำงานที่ต้องมีความยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ บางวันต้องเลิกยันดึกก็มี หรือต้องทำงานจากที่บ้านก็มี เพราะฉะนั้นหลายคนสู้งานไม่ไหวก็ลาออกไป แม้จะน่าเสียดายแต่ก็เป็นสิทธิ์ของเขา
วันหนึ่งผมเจอข้อความหนึ่งในเฟซบุ๊กของ Parin Parinest Songpracha ผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่ามันน่าสนใจมาก จึงขออนุญาตคัดบางช่วงบางตอนมาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันดังนี้
“การงานที่มั่นคง...คือความเสี่ยง
คำถามแรก งานคุณอยู่ตัวแล้วใช่หรือไม่ อยู่ตัวคือ งานที่ทำอยู่นี่รู้ทุกขั้นตอน ไล่ได้สบาย พูดอะไรก็ไม่ผิด เรียกว่าอยู่มือหมดแล้ว สบายมาก ยกเว้นแต่ งานมันเยอะจนทำไม่ทัน งานเดิมนี่แหละ แต่ทำไม่ทัน ล้นมากกกก
คำถามที่สอง คุณอยู่ตัวอย่างที่ว่า มานานเกิน 1 ปีแล้ว
คำถามที่สาม คุณไม่เคยถูก Head Hunt ทาบทาม หรือทาบทามมาก็ยังไม่เคยได้ไปสัมภาษณ์เลย
ถ้าคำตอบเป็น ใช่ ทั้ง 3 ข้อ คุณกำลังอยู่ในความเสี่ยงครับ (ผมจำคำคนอื่นมาครับ) ส่วนคำอธิบาย ผมคิดเอง
มันเสี่ยงยังไง???
มันคือกับดัก ที่สูบเวลาของคุณไปครับ เวลาขณะที่คนอื่นๆ วิ่งเข้าหาความยาก วิ่งหาเรื่องใหม่ๆ ได้พบประสบการณ์ผิดถูกเพิ่มขึ้น แต่คุณอยู่กับที่ครับ คุณไม่ได้เก่งขึ้นเลย คุณแค่ทำงานเดิมได้เก่งเท่านั้นเอง
แล้วไม่ดีตรงไหน???
มันก็ดีนะครับ... แต่มันจะดี...จนกระทั่งสถานการณ์เปลี่ยนไปนั่นแหละครับ คุณจะเริ่มรู้สึกถึงความว่างเปล่าของตัวเอง และส่วนใหญ่เวลาที่คุณรู้ตัว มักเป็นเวลาที่คุณอายุล่วงเลย และสมรรถนะร่างกาย ไม่เอื้อเหมือนตอนจูเนียร์ เพราะนั่งนอนสบายอยู่ใน Comfort Zone มานาน
(อย่าคิดว่าความมั่นคงทางการงาน คือความมั่นคงทางการเงินนะครับ คล้ายกัน แต่คนละประเด็นมากเลย)
สรุปว่า ถ้ายังเป็นคนหาเงินอยู่ (แปลว่าผมไม่นับคนที่มีเงินพออยู่แล้วนะ) ก็จำเป็นต้องวิ่งหาเรื่องใหม่ๆ อยู่ตลอดครับ เพื่อให้สมองเดินให้ทันกับโลกที่หมุนทุกนาที
ถ้าทำเรื่องเดิมๆ อยู่ต้องทำได้เร็วกว่าเมื่อวาน ถ้าทำได้เร็วกว่าเมื่อวาน ต้องไม่มีปัญหาทำงานไม่ทัน ถ้าทำงานทันแล้ว ควรไปถามหัวหน้าเพิ่ม ขอไปลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อหาประสบการณ์ ลองผิดลองถูก ขยายไปเรื่อยๆ
เพราะงานมั่นคง (ชื่อเต็มๆ คือ ย่ำกับที่ไม่พัฒนา อยู่สบายใน Comfort Zone) คือความเสี่ยง ที่ทำให้ล้าหลัง ตามโลกไม่ทัน และสามารถถูกทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีหรือเด็กรุ่นใหม่ครับ
นั่นแหละที่เรียกว่า ความมั่นคง คือความเสี่ยง เครดิต ผู้บริหารคนนึงที่เคยสอนผมมา”
ผมอ่านดูแล้วก็รู้สึกว่า... จริงอย่างที่พูดแฮะ
โดยเฉพาะคำว่า “คุณไม่ได้เก่งขึ้นเลย คุณแค่ทำงานเดิมได้เก่งเท่านั้นเอง”
ครั้งหนึ่งผมไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนที่ลาออกไปนอกเหนือจากเรื่องค่าตอบแทนแล้ว อะไรคือสิ่งที่ทำให้เป็นแรงจูงใจที่จะออกมาจากจุดนั้น ผมกลับนึกถึงซีอีโอที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง คือ ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้บริหารเบอร์ 2 ของดีแทค เคยพลิกฟื้นบริษัทที่เกือบจะเจ๊งเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ ให้กลับมาเป็นหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำอีกครั้ง
เขาลาออกจากดีแทคเมื่อต้นปี 2554 แทบจะเรียกว่าช็อกวงการ เพราะเชื่อว่าหากยังอยู่กับดีแทคอาจมีโอกาสที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป แต่เขาก็ได้ให้เหตุผลหลักเอาไว้ว่า อยากออกจาก Comfort Zone เพราะมีความเชื่อว่า การเผชิญหน้ากับความล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่การซ่อนตัวอยู่ใน Comfort Zone ต่างหากที่น่ากลัวและน่าเศร้ายิ่งกว่า
สรกล อดุลยานนท์ เคยเขียนถึงธนาในหนังสือ “ให้โอกาสกับสิ่งที่เราไม่รู้” ของสำนักพิมพ์มติชน ระบุว่า สิ่งที่กระตุ้นให้ธนาลาออกจากดีแทคก็คือ ครั้งหนึ่งเขาเห็น ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน (สามีคุณวีณารัตน์ เลาหภคกุล) อดีตผู้บริหารระดับสูงของบีเอ็มดับบลิว เล่นไอซ์สเก็ตที่เซ็นทรัลเวิล์ด แต่เล่นแล้วก็ล้ม ล้มแล้วก็ลุก
ธนาถาม ดร.วิทย์ว่า ทำไมถึงมาเล่นกีฬาประเภทนี้ คำตอบที่ได้รับก็คือ “ผมอยากออกจาก Comfort Zone อยากลองล้มดูบ้าง จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ” ซึ่งจริงๆ ก็หมายถึงเขาไม่อยากแก่ อยากเล่นอะไรที่คนหนุ่มสาวเล่นกัน
แต่ธนากลับคิดว่า Comfort Zone หรือพื้นที่ที่สุขสบาย น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่ความปลอดภัยที่มากเกินทำให้เรากลัว ไม่กล้าเดินไปสู่ที่ใหม่ที่ไม่รู้จัก ประสบการณ์ที่ยาวนานทำให้เขาเริ่มทำอะไรไม่ผิด พูดอะไรก็พูดได้เหมือนรู้ไปหมดทุกอย่าง เรื่องทุกเรื่องก็ผ่านมาหมดแล้ว ไม่เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ เกิดภาวะรู้จนโง่ รู้มากจนกลายเป็นไม่รู้
ธนามีเคล็ดอยู่อย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ มืออาชีพที่ดีต้องนึกถึงจุดจบของตัวเองเสมอ คิดแบบวันนี้คือวันสุดท้ายของชีวิต ในมุมหนึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นให้เราทำงานอย่างเต็มที่ ในอนาคตจะได้ไม่ต้องเสียดายว่าทำไมวันนั้นถึงไม่ทำ
อีกด้านหนึ่ง คือเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง คิดว่าจะต้องลาออกวันใด จะได้เตรียมตัวว่าถ้าออกแล้วจะทำอะไร คือ ไม่ได้ลาออกจริงๆ แต่อย่างน้อยจะมีการคิดถึงจุดจบไว้บ้างว่าวันหนึ่งเราก็ไม่ได้อยู่ที่นี่ไปชั่วชีวิต เพราะถ้าคิดว่าจะอยู่องค์กรใดองค์กรหนึ่งไปชั่วชีวิต เราอาจจะนิ่งๆ สบายๆ ไม่ได้ขวนขวายอะไร เหมือนมีดที่ไม่ได้ลับขวานแล้วก็ทื่อ
สิ่งที่ธนากล่าวถึงทำให้ผมเข้าใจเหตุผลว่าทำไมคนๆ หนึ่ง หรืออีกหลายคนต่างลาออกจากงานแห่งหนึ่งเพื่อไปแสวงหาโอกาสในองค์กรอีกแห่งหนึ่ง แน่นอนว่าในองค์กรก็อยากจะรั้งคนที่มีฝีมือไว้ให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ เจ้านายก็ต้องคอยอธิบายให้อยู่เรื่อย หากใจอ่อนก็ยอมกลับมายืนที่เดิม แต่หากใจเข็ง หรือรู้สึกหมดอาลัยตายอยากก็ยากที่จะหน่วงรั้ง
ตัวผมเองก็เริ่มเรียนรู้ถึงความลำบากเวลาอยู่ในพื้นที่ Comfort Zone โดยเฉพาะความกลัวไม่กล้าเดินไปสู่ที่ใหม่ที่ไม่รู้จัก เพราะค่ายอื่นนักข่าวเขาเริ่มมีคาแรกเตอร์เป็นของตัวเอง ไปที่ไหนก็มีคนรู้จัก และมีจุดเด่นเรื่องภาษาอังกฤษ เทียบกับข้าพเจ้าที่วันๆ หนึ่งนั่งรีไรท์ข่าว นั่งทำข่าว ตกค่ำก็หมดวันแล้ว ไม่ได้มีโอกาสได้ลองผิดลองถูกเหมือนกับใครเขา
ถามว่าเคยจะคิดจะลาออกจากที่นี่ไหม ตอบว่าในยามที่เหนื่อยมากๆ ตอบว่าเคย แต่คงไม่ทำ ที่ผ่านมาก็คิดเล่นๆ ว่าถ้าลาออกจากที่นี่จะไปทำอะไรดี ผมอาจจะเป็นนักข่าวสตริงเกอร์ที่บ้าน หรืออาจจะเป็นบล็อกเกอร์สนองความคิดตัวเอง บางครั้งก็คิดเล่นว่าถ้ามีโอกาสอยากจะทำวิทยุที่เปิดแต่เพลงอกหักทั้งวันทั้งคืน ฟังแล้วนอนหลับทั้งน้ำตาไปเลย
ในออฟฟิศผมมานั่งดูโต๊ะอื่นเขาทำวิดีโอคลิปรายการอย่างโต๊ะไซเบอร์บิซ หรือศูนย์ข่าวภาคใต้แล้ว ก็กระตุ้นให้เราเกิดความอยากรู้อยากลองที่จะทำในสายงานนี้บ้าง ถึงขนาดเคยคุยเล่นๆ กับรุ่นพี่ที่ทำงานว่าอยากจะลองทำแบบนั้นบ้าง ถึงขนาดลองทำอินโทรเข้ารายการแบบเล่นๆ ไว้พร้อมแล้ว แต่สุดท้ายหน้าที่การงานก็เบียดบังสิ่งที่อยากทำไปจนหมด
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คำพูดที่เจ้านายกล่าวกับผมอีกคำหนึ่งเสมอว่า “พี่อยากให้เอ็งอยู่ที่นี่ไปนานๆ” ก็ทำให้ผมมีความรู้สึกเหมือนกับว่าผมคงไม่อยากลาออกไปไหน เพราะที่นี่ให้โอกาสผมทำงานทั้งที่ยังไม่จบปริญญาตรีด้วยซ้ำ หากผมปีกกล้าขาแข็งโบยบินออกไปทั้งที่ปีกเราไม่แข็งแรงก็จะเดี้ยงลงเอาได้
หวังไว้ในใจเพียงอย่างเดียวว่า หากออฟฟิศมีสายงานอื่นที่เราอยากทำ และรู้สึกท้าทาย ก็อาจจะขอย้ายสายงานจากโต๊ะการเมืองออนไลน์ที่ทำอยู่ เพราะผมมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ผมเบื่อการเมือง และการเมืองทุกวันนี้มันไม่รู้สึกชวนให้ผมอินเหมือนแต่ก่อนที่เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมกลางดงระเบิด แก๊สน้ำตา เดี๋ยวนี้เรารู้สันดานนักการเมืองจนไม่รู้อย่างไรแล้ว
บทความในวันนี้ผมอาจจะบ่นเรื่องชีวิตส่วนตัวไปพอสมควรบ้าง แต่ก็อยากที่จะให้คุณผู้อ่านที่มีหน้าที่การงานมั่นคงระดับหนึ่งได้ลองตั้งคำถามดูว่า พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้แล้วหรือยัง และคุณอยู่ตรงจุดที่เรียกว่า Comfort Zone แล้วหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นลองคิดดูว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อถึงจุดที่เรียกว่าหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนั้นจริงๆ
ส่วนใครที่มีความฝันอยากจะทำงานในแวดวงสื่อสารมวลชน ถ้าอยากสบายแบบกรรมกรข่าวร้อยล้านขี้โกงค่าโฆษณา ก็คงจะลำบาก แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่เลือกงาน ทราบมาว่าหลายแห่งขาดคนมาก ใครที่กำลังวิจัยฝุ่นอยู่ก็ลองไปสมัครได้ ก่อนที่ในปีหน้าการรับคนเข้าทำงานจะไม่เหมือนเดิม
ขอฝากเพลงนี้ไว้เป็นกำลังใจแก่ทุกท่าน และขอให้โชคดีกับหนทางที่ตัวเองได้เลือกไว้นะครับ...
เพลง - ก้าวไป
ศิลปิน - Jetset'er (เจ็ทเซ็ตเตอร์)