ปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้ถูกส่งตัวไปที่ “สาธารณรัฐเกาหลี” ร่วมกับคณะสื่อมวลชนค่ายอื่นๆ เพื่อดูกิจการของ บ.โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น หรือ เค-วอเตอร์ ตามบัญชาของกองบรรณาธิการเพื่อดูให้เห็นกะตาว่า เขาทำอะไรกันบ้าง เป็นเรื่องที่ผมค่อนข้างตกใจไม่น้อยที่อยู่ดีๆ จะต้องไป เพราะเชื่อว่าน่าจะมีผู้ครหาในเรื่องต่างๆ จากสังคมภายนอกแน่ แต่ตรงนี้ผมก็เชื่อมั่นในปณิธานว่า เราถูกส่งไปทำข่าวไม่ใช่ไปรับใช้ใคร
ผมบินในกลางดึกโดยที่ไม่ได้หลับบนเครื่องบินตามโรคส่วนตัวที่เป็นประจำคือ นอนแปลกที่ไม่ได้ ทำให้พอมาถึงสนามบินอินชอน จึงอยู่ในสภาพซอมบี้เล็กๆ และทางทัวร์ก็ได้พาทั้งคณะมุ่งตรงไปยังสถานที่ดูงานทันที พูดง่ายๆ คือ แต่ละท่านไม่ได้อาบน้ำกันเลยล่ะครับ อย่างมากก็แค่เปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างหน้า พอ
ในทริปตลอด ๔ วัน ก็มีการพาไปยังสถานที่ที่เขาว่าประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นโครงการผันน้ำ คยอง-อิน อารา ขุดคลองขึ้นใหม่ ๑๙ กิโลเมตร ระบายน้ำจากแม่น้ำฮัน ลงสู่ทะเล พร้อมสวนสาธารณะและถนน ผ่าตรงจุดที่เกิดน้ำท่วมบ่อยของเมือง โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง ซีฮวา ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้ประโยชน์จากน้ำทะเลหนุนมาผลิตไฟฟ้า ในวันต่อมาก็ขึ้นตะวันออกเฉียงเหนือไปเขื่อนอเนกประสงค์โซยองกัง ส่วนอีกวันก็ลงใต้ไปดูศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ สำนักงานใหญ่เค-วอเตอร์ และ ฝายกังจอง หนึ่งในโครงการพัฒนาฟื้นฟูลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย
โปรแกรมที่ว่ามาอย่างแน่นจริงๆ วันแรกผมได้อาบน้ำตอนห้าโมงเย็น ส่วนวันที่ ๓ นี่ไปกลับรวม ๘ ชั่วโมงครับ มาถึงโรงแรมก็ปาไปตี ๑ แล้ว แต่ก็ได้มีโอกาสไปทัศนบ้านเมืองเขาในบางจุดในช่วงเย็นของวันแรก วันที่ ๒ และวันสุดท้ายก่อนบินกลับสุวรรณภูมิ ซึ่งผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไป
มาถึงเรื่องที่จะคุยกันดีกว่า ทาง “เค-วอเตอร์” ค่อนข้างเปิดโอกาสให้สื่อได้ซักกันพอสมควร เช่นเดียวกับผมที่ไปแอบถามมาหลายๆ เรื่อง สำหรับใครที่ได้อ่านรายงานพิเศษที่นำเสนอไปในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการก็คงจะผ่านตามาบ้าง แต่ในส่วนที่ผมยังคาใจจนทุกวันนี้ ก็ยังมีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
จุดหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากคือ “ โครงการคยอง-อิน อารา” อันนี้เป็นโมเดลสำคัญที่บริษัทจะใช้ในการทำฟลัดเวย์ ตามโครงการกู้บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ของรัฐบาลไทย ในโมดูล เอ ๕ ครับ แต่ของบ้านเรานี่อยู่ในชื่อ “โครงการคลองผันน้ำฝั่งตะวันตก” ซึ่งยาวกว่ามากรวม ๒๘๑ กิโลเมตร ขุดใหม่จากแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร ลง ไปยังแม่น้ำแม่กลอง ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับกรมชลประทานเขาวางแนวทางเอาไว้ โดยอ้างว่าเพื่อทำชลประทาน ป้องกันน้ำท่วม พร้อมทั้งมีการสร้างถนน ๔ เลนตัดใหม่อีกด้วย และปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่เขื่อนแม่กลองด้วย
แต่ก่อนออกแผนจัดการน้ำก็ไม่มั่นใจว่า “ชาวบ้านในพื้นที่เขารู้หรือเปล่าว่า ตัวเองจะต้องย้ายถิ่น ...”
อีกส่วนหนึ่งคือ “โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย” ซึ่งน่าจะมีส่วนคล้ายกับ “โครงการคลองผันน้ำฝั่งตะวันออก ๑ และ ๒” ขุดคลองเดิมให้ผันน้ำหลาก ๓๐๐ ลบ.ม.ต่อวินาที ระยะทาง ๑๓๓ กม.และ ๓๘๘ กม.,โครงการปรับปรุงแม่น้ำแม่กลอง ขุดลอกแม่น้ำรองรับฟลัดเวย์ที่มาเชื่อมต่อ โดยขยายให้ผันน้ำได้ ๑,๙๑๐ ลบ.ม./วินาที ระยะทาง ๓๔ กม. และ การปรับปรุงแม่น้ำท่าจีน ให้ผันน้ำหลากได้ ๒๕๐ - ๓๐๐ ลบ.ม./วินาที ระยะทาง ๒๒ กม. และคลองลัด ๖ กม.
ปัญหาของการทำฟลัดเวย์ของโมดูล เอ ๕ ที่แน่ๆ คือการเวนคืนที่ดินที่คาดว่าจะโดนรวม ๖ จังหวัด ตั้งแต่กำแพงเพชร ,นครสวรรค์ ,อุทัยธานี,ชัยนาท,สุพรรณบุรี และ กาญจนบุรี รวม ๔ หมื่นกว่าไร่ เป็นนาข้าวและพืชไร่ กว่า ๓ หมื่นไร่ ที่อยู่อาศัยอีกกว่า ๑ พันไร่ ก็จะต้องถูกให้พ้นไปจากที่อยู่เดิม ก็คงคาดว่าน่าจะมีการต่อต้านกันในพื้นที่พอสมควร ขณะที่การขุดคลองเดิมและแม่น้ำ ปัญหาที่ต้องเจอคือผู้อาศัยริมน้ำ ตรงนี้ทางเค-วอเตอร์ยืนยันชัดเจนว่า ต้องจัดการตามกฏหมายแน่นอนในจุดที่มีการขวางทางน้ำ แต่อำนาจการไล่ที่ เป็นของเจ้าหน้าที่รัฐนั่นก็คือกระทวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรฯ บริษัทมีหน้าที่จ่ายเงินเท่านั้น ทั้งค่าเวนคืน เยียวยา ภายใต้งบ ๑.๒ แสนล้านตามโครงการโมดูล เอ ๕ ซึ่งถ้ายังไม่สามารถเวนคืนได้ภายในกำหนด ๒ ปีครึ่ง ก็ต้องยืดเวลาสร้างกันต่อไป
เอาจริงๆ ส่วนตัวก็ไม่ค่อยสงสัยเรื่องของตัวองค์กรหรอกครับ หลังจากที่ได้ชมงานแล้วก็โอเค เราเชื่อว่าคุณน่าจะมีศักยภาพที่ทำได้ รวมถึงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์และพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็ถือว่าเป็นจุดเด่นพอสมควร แต่ปัญหาที่ว่ามานี้ล่ะ ไหนจะข้อกังวลจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ว่าทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ เป็นการ “ผลักภาระจากแม่น้ำปิงไปให้แม่น้ำแม่กลอง” รับแทนซึ่งถือว่าเป็นการข้ามลุ่มน้ำเลยทีเดียว ตรงนี้อันที่จริงก็ต้องโทษไปยังคนเขียนโมดูลที่ให้ประมูลด้วย เพราะระบุค่อนข้างชัดเจนว่า จะให้ทำอย่างไร
เรื่อง “วิถีริมน้ำ” ก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าห่วง เนื่องจากความต่างระหว่างวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของ ๒ ชาติค่อนข้างต่างกันมาก ชาวไทยนิยมทำประมงและเกษตรกรรมริมคลอง แต่เกาหลีประมงน้ำจืดนี่แทบไม่พบ การปลูกผักพืชก็มีการจัดโซนนิ่งให้อยู่นอกพื้นที่ ตามกฏหมายที่เขาได้ออกมาบังคับใช้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมทางน้ำ ทั้งอาบ ทั้งล้าง ทั้งทางคมนาคมหลัก ก็ไม่มี ไม่นิยม มีแค่เป็นกีฬา กับเน้นการท่องเที่ยว เท่านั้น แน่นอนล่ะว่า ตอนที่ขุดลอกคูคลองแล้วใช้กฏหมายมาจัดระเบียบพวกรุกล้ำได้มันก็ดีตรงที่น้ำจะสะอาดขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนวิถีของคนไทยนี่ไม่ใช่ง่ายนะครับ
“ตรงนี้มันไม่ได้อยู่ที่ให้เงินเวนคืนเท่าไหร่ แต่มันอยู่ที่เขาจะไปทำอะไรถ้าไม่ได้อยู่ตรงนั้น ถ้าไม่ได้เลี้ยงปลาในกระชัง ไม่ได้ปลูกพืชใกล้แหล่งน้ำ ไม่ได้ทำนา ทำไร่ อาชีพหลักตั้งแต่บรรพบุรุษ นี่คืออีกสิ่งนึงที่ผู้เชี่ยวชาญเกาหลีจะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น”
และที่สังคมกำลังวิตกอย่างหนักก็คือการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือ EHIA อย่างในกรณี “การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์” ที่การศึกษาประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในครั้งล่าสุดกลับมีรายงานถึงความไม่โปร่งใส เพราะศึกษาข้อมูลอย่างไม่ครบถ้วน ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาตลอดมาไม่ผ่านคุณสมบัติการก่อสร้างทั้งสิ้น
พูดถึงเรื่องเขื่อนแม่วงก์แล้วก็นึกถึง “ความตื่นตัวของชาวเมือง” ที่ออกมาต่อต้านโครงการเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (๒๒ ก.ย.) ที่ได้เข้าร่วมเดินเท้าเข้าเมืองกับคุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คนนี้แกเป็นตัวเริ่มต้นเดินคัดค้านผล EHIA (อ่านว่า อีเฮชเอไอ นะครับ) มาจากนครสวรรค์ ตั้งแต่ ๑๐ ก.ย. โดยมีจุดมุ่งหมายที่ กทม. ซึ่งบรรยากาศในวันนั้นมีคนน่าจะเกือบถึงหมื่น มาร่วมชุมนุม ... แต่ผมไม่ได้ไปกับเขาหรอกครับ
สิ่งที่สังเกตุได้อย่างหนึ่งคือ “ปรากฏการณ์ความสามัคคีที่แท้จริง”
ผมเชื่อว่า ตั้งแต่ปี ๔๙ มา จนถึงปัจจุบัน ภาพของชาติเรา มันคือ “การแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน” ระหว่างคนที่เห็นต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น เหลือง แดง สลิ่ม ฟ้า ไทยเฉย จนหลายๆ คนพูดว่า เราไม่มีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ บางคน บางกลุ่ม พยายามเรียกร้อง โหยหาให้รักกันไว้เถิด ซึ่งมันก็เป็นแค่คำพ่นจากลมปากที่หลายคนคิดว่าไม่มีทางเป็นจริงได้หรอก
แต่วันนี้คืออีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า “ความสามัคคี มันเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปหาใครสักคนมาเชิญคนนั้นคนนี้มาร่วมปรองดอง”
ผมสังเกตุจากหน้าวอลล์เฟซบุ๊กผมเนี่ยล่ะ ที่ไม่น่าเชื่อคือ ผมเห็นคนที่คิดสนับสนุนเสื้อแดงหัวก้าวหน้า พันธมิตร ประชาธิปัตย์ มาอยู่ร่วมในม็อบเดียวกัน และหลายคนก็เหมือน “งานมีตติ้งเพื่อนเก่า” ที่เคยร่วมกันขับไล่ "ทักษิณ" เมื่อปี ๔๙ แต่พอถึงเหตุการณ์รัฐประหาร ก็ทำให้จุดยืนทางการเมืองแตกต่างกันออกไปจนชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในเหตุพฤษภา ๕๓
หลายคนที่มาร่วมคือจุดประสงค์ "หลัก" เดียวกัน ไม่เอาเขื่อน เอาป่า ส่วนจุดประสงค์อื่นที่เป็นวาระซ้อนเร้นกลายเป็นรองทันทีเมื่อเข้ามาสู่ในขบวน หลายคนถอดสีเสื้อ ถอดสัญลักษณ์ เพื่อเปลี่ยนมาใส่สีขาว ผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียว .... ซึ่งมันคล้ายกับเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปี ๔๙ จริงๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการนำข้อมูลมาสู้กันระหว่างฝ่ายเอาเขื่อนและไม่เอาเขื่อน โดยชี้ให้เห็นถึงข้อดีและเสีย ต่างฝ่ายต่างขุดข้อมูลยกมาอ้างกัน อันนี้เป็นข้อดีที่ทำให้ชาวเมืองได้ศึกษามากขึ้น “แต่ผมไม่รู้ว่า สิ่งที่เอามานำเสนอแบบข้อมูลย่อยให้เข้าใจง่ายบนสังคมออนไลน์ จะไปถึงยังชาวบ้านในพื้นที่ให้ได้รับรู้ด้วยหรือไม่” ซึ่งหากทำได้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่อย่างน้อยคนในนั้นเขาได้รู้ข้อเท็จจริงอย่างละเอียด
ความตื่นตัวของสังคมในกรณีเขื่อนแม่วงก์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐและเอกชนผู้ทำโครงการทั้ง ๒ บริษัทใหญ่จะต้องทบทวนเป็นพิเศษ ต่อการวางแผนของโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งถึงแม้มีการเคาะออกมาแล้วว่า ต้องสร้างแน่ๆ โดยที่ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดก่อน
ทีนี้มันก็เกิดคำถามว่า แล้วถ้าระหว่างดำเนินโครงการผล อีไอเอ และอีเฮชไอเอ ออกมาไม่ผ่านล่ะ ประกอบกับการทำประชาพิจารณ์แล้วชาวบ้านไม่เอาด้วยจะทำอย่างไร ... แต่ผมเชื่อว่ามีหลายคนคิดไปแล้วว่า ยังไงมันก็ต้องดึงดันให้ผ่านจนได้ ความคลางแคลงใจตรงนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ถึงวิชาชีพของผู้สำรวจด้วยว่าจะสร้างมาตรฐานเอาไว้ให้คนไทยได้มั่นใจได้มากแค่ไหน
ผมบินในกลางดึกโดยที่ไม่ได้หลับบนเครื่องบินตามโรคส่วนตัวที่เป็นประจำคือ นอนแปลกที่ไม่ได้ ทำให้พอมาถึงสนามบินอินชอน จึงอยู่ในสภาพซอมบี้เล็กๆ และทางทัวร์ก็ได้พาทั้งคณะมุ่งตรงไปยังสถานที่ดูงานทันที พูดง่ายๆ คือ แต่ละท่านไม่ได้อาบน้ำกันเลยล่ะครับ อย่างมากก็แค่เปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างหน้า พอ
ในทริปตลอด ๔ วัน ก็มีการพาไปยังสถานที่ที่เขาว่าประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นโครงการผันน้ำ คยอง-อิน อารา ขุดคลองขึ้นใหม่ ๑๙ กิโลเมตร ระบายน้ำจากแม่น้ำฮัน ลงสู่ทะเล พร้อมสวนสาธารณะและถนน ผ่าตรงจุดที่เกิดน้ำท่วมบ่อยของเมือง โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง ซีฮวา ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้ประโยชน์จากน้ำทะเลหนุนมาผลิตไฟฟ้า ในวันต่อมาก็ขึ้นตะวันออกเฉียงเหนือไปเขื่อนอเนกประสงค์โซยองกัง ส่วนอีกวันก็ลงใต้ไปดูศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ สำนักงานใหญ่เค-วอเตอร์ และ ฝายกังจอง หนึ่งในโครงการพัฒนาฟื้นฟูลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย
โปรแกรมที่ว่ามาอย่างแน่นจริงๆ วันแรกผมได้อาบน้ำตอนห้าโมงเย็น ส่วนวันที่ ๓ นี่ไปกลับรวม ๘ ชั่วโมงครับ มาถึงโรงแรมก็ปาไปตี ๑ แล้ว แต่ก็ได้มีโอกาสไปทัศนบ้านเมืองเขาในบางจุดในช่วงเย็นของวันแรก วันที่ ๒ และวันสุดท้ายก่อนบินกลับสุวรรณภูมิ ซึ่งผมจะมาเล่าในโอกาสต่อไป
มาถึงเรื่องที่จะคุยกันดีกว่า ทาง “เค-วอเตอร์” ค่อนข้างเปิดโอกาสให้สื่อได้ซักกันพอสมควร เช่นเดียวกับผมที่ไปแอบถามมาหลายๆ เรื่อง สำหรับใครที่ได้อ่านรายงานพิเศษที่นำเสนอไปในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการก็คงจะผ่านตามาบ้าง แต่ในส่วนที่ผมยังคาใจจนทุกวันนี้ ก็ยังมีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
จุดหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากคือ “ โครงการคยอง-อิน อารา” อันนี้เป็นโมเดลสำคัญที่บริษัทจะใช้ในการทำฟลัดเวย์ ตามโครงการกู้บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน ของรัฐบาลไทย ในโมดูล เอ ๕ ครับ แต่ของบ้านเรานี่อยู่ในชื่อ “โครงการคลองผันน้ำฝั่งตะวันตก” ซึ่งยาวกว่ามากรวม ๒๘๑ กิโลเมตร ขุดใหม่จากแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร ลง ไปยังแม่น้ำแม่กลอง ที่ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นแผนที่สอดคล้องกับกรมชลประทานเขาวางแนวทางเอาไว้ โดยอ้างว่าเพื่อทำชลประทาน ป้องกันน้ำท่วม พร้อมทั้งมีการสร้างถนน ๔ เลนตัดใหม่อีกด้วย และปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่เขื่อนแม่กลองด้วย
แต่ก่อนออกแผนจัดการน้ำก็ไม่มั่นใจว่า “ชาวบ้านในพื้นที่เขารู้หรือเปล่าว่า ตัวเองจะต้องย้ายถิ่น ...”
อีกส่วนหนึ่งคือ “โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำ ๔ สาย” ซึ่งน่าจะมีส่วนคล้ายกับ “โครงการคลองผันน้ำฝั่งตะวันออก ๑ และ ๒” ขุดคลองเดิมให้ผันน้ำหลาก ๓๐๐ ลบ.ม.ต่อวินาที ระยะทาง ๑๓๓ กม.และ ๓๘๘ กม.,โครงการปรับปรุงแม่น้ำแม่กลอง ขุดลอกแม่น้ำรองรับฟลัดเวย์ที่มาเชื่อมต่อ โดยขยายให้ผันน้ำได้ ๑,๙๑๐ ลบ.ม./วินาที ระยะทาง ๓๔ กม. และ การปรับปรุงแม่น้ำท่าจีน ให้ผันน้ำหลากได้ ๒๕๐ - ๓๐๐ ลบ.ม./วินาที ระยะทาง ๒๒ กม. และคลองลัด ๖ กม.
ปัญหาของการทำฟลัดเวย์ของโมดูล เอ ๕ ที่แน่ๆ คือการเวนคืนที่ดินที่คาดว่าจะโดนรวม ๖ จังหวัด ตั้งแต่กำแพงเพชร ,นครสวรรค์ ,อุทัยธานี,ชัยนาท,สุพรรณบุรี และ กาญจนบุรี รวม ๔ หมื่นกว่าไร่ เป็นนาข้าวและพืชไร่ กว่า ๓ หมื่นไร่ ที่อยู่อาศัยอีกกว่า ๑ พันไร่ ก็จะต้องถูกให้พ้นไปจากที่อยู่เดิม ก็คงคาดว่าน่าจะมีการต่อต้านกันในพื้นที่พอสมควร ขณะที่การขุดคลองเดิมและแม่น้ำ ปัญหาที่ต้องเจอคือผู้อาศัยริมน้ำ ตรงนี้ทางเค-วอเตอร์ยืนยันชัดเจนว่า ต้องจัดการตามกฏหมายแน่นอนในจุดที่มีการขวางทางน้ำ แต่อำนาจการไล่ที่ เป็นของเจ้าหน้าที่รัฐนั่นก็คือกระทวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรฯ บริษัทมีหน้าที่จ่ายเงินเท่านั้น ทั้งค่าเวนคืน เยียวยา ภายใต้งบ ๑.๒ แสนล้านตามโครงการโมดูล เอ ๕ ซึ่งถ้ายังไม่สามารถเวนคืนได้ภายในกำหนด ๒ ปีครึ่ง ก็ต้องยืดเวลาสร้างกันต่อไป
เอาจริงๆ ส่วนตัวก็ไม่ค่อยสงสัยเรื่องของตัวองค์กรหรอกครับ หลังจากที่ได้ชมงานแล้วก็โอเค เราเชื่อว่าคุณน่าจะมีศักยภาพที่ทำได้ รวมถึงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์และพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวก็ถือว่าเป็นจุดเด่นพอสมควร แต่ปัญหาที่ว่ามานี้ล่ะ ไหนจะข้อกังวลจากเหล่าผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่ว่าทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ เป็นการ “ผลักภาระจากแม่น้ำปิงไปให้แม่น้ำแม่กลอง” รับแทนซึ่งถือว่าเป็นการข้ามลุ่มน้ำเลยทีเดียว ตรงนี้อันที่จริงก็ต้องโทษไปยังคนเขียนโมดูลที่ให้ประมูลด้วย เพราะระบุค่อนข้างชัดเจนว่า จะให้ทำอย่างไร
เรื่อง “วิถีริมน้ำ” ก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่น่าห่วง เนื่องจากความต่างระหว่างวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของ ๒ ชาติค่อนข้างต่างกันมาก ชาวไทยนิยมทำประมงและเกษตรกรรมริมคลอง แต่เกาหลีประมงน้ำจืดนี่แทบไม่พบ การปลูกผักพืชก็มีการจัดโซนนิ่งให้อยู่นอกพื้นที่ ตามกฏหมายที่เขาได้ออกมาบังคับใช้ ยิ่งไปกว่านั้น กิจกรรมทางน้ำ ทั้งอาบ ทั้งล้าง ทั้งทางคมนาคมหลัก ก็ไม่มี ไม่นิยม มีแค่เป็นกีฬา กับเน้นการท่องเที่ยว เท่านั้น แน่นอนล่ะว่า ตอนที่ขุดลอกคูคลองแล้วใช้กฏหมายมาจัดระเบียบพวกรุกล้ำได้มันก็ดีตรงที่น้ำจะสะอาดขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนวิถีของคนไทยนี่ไม่ใช่ง่ายนะครับ
“ตรงนี้มันไม่ได้อยู่ที่ให้เงินเวนคืนเท่าไหร่ แต่มันอยู่ที่เขาจะไปทำอะไรถ้าไม่ได้อยู่ตรงนั้น ถ้าไม่ได้เลี้ยงปลาในกระชัง ไม่ได้ปลูกพืชใกล้แหล่งน้ำ ไม่ได้ทำนา ทำไร่ อาชีพหลักตั้งแต่บรรพบุรุษ นี่คืออีกสิ่งนึงที่ผู้เชี่ยวชาญเกาหลีจะต้องทำความเข้าใจให้มากขึ้น”
และที่สังคมกำลังวิตกอย่างหนักก็คือการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ หรือ EHIA อย่างในกรณี “การก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์” ที่การศึกษาประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในครั้งล่าสุดกลับมีรายงานถึงความไม่โปร่งใส เพราะศึกษาข้อมูลอย่างไม่ครบถ้วน ทั้งๆ ที่ผลการศึกษาตลอดมาไม่ผ่านคุณสมบัติการก่อสร้างทั้งสิ้น
พูดถึงเรื่องเขื่อนแม่วงก์แล้วก็นึกถึง “ความตื่นตัวของชาวเมือง” ที่ออกมาต่อต้านโครงการเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (๒๒ ก.ย.) ที่ได้เข้าร่วมเดินเท้าเข้าเมืองกับคุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คนนี้แกเป็นตัวเริ่มต้นเดินคัดค้านผล EHIA (อ่านว่า อีเฮชเอไอ นะครับ) มาจากนครสวรรค์ ตั้งแต่ ๑๐ ก.ย. โดยมีจุดมุ่งหมายที่ กทม. ซึ่งบรรยากาศในวันนั้นมีคนน่าจะเกือบถึงหมื่น มาร่วมชุมนุม ... แต่ผมไม่ได้ไปกับเขาหรอกครับ
สิ่งที่สังเกตุได้อย่างหนึ่งคือ “ปรากฏการณ์ความสามัคคีที่แท้จริง”
ผมเชื่อว่า ตั้งแต่ปี ๔๙ มา จนถึงปัจจุบัน ภาพของชาติเรา มันคือ “การแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน” ระหว่างคนที่เห็นต่างทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น เหลือง แดง สลิ่ม ฟ้า ไทยเฉย จนหลายๆ คนพูดว่า เราไม่มีทางกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้ บางคน บางกลุ่ม พยายามเรียกร้อง โหยหาให้รักกันไว้เถิด ซึ่งมันก็เป็นแค่คำพ่นจากลมปากที่หลายคนคิดว่าไม่มีทางเป็นจริงได้หรอก
แต่วันนี้คืออีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า “ความสามัคคี มันเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องไปหาใครสักคนมาเชิญคนนั้นคนนี้มาร่วมปรองดอง”
ผมสังเกตุจากหน้าวอลล์เฟซบุ๊กผมเนี่ยล่ะ ที่ไม่น่าเชื่อคือ ผมเห็นคนที่คิดสนับสนุนเสื้อแดงหัวก้าวหน้า พันธมิตร ประชาธิปัตย์ มาอยู่ร่วมในม็อบเดียวกัน และหลายคนก็เหมือน “งานมีตติ้งเพื่อนเก่า” ที่เคยร่วมกันขับไล่ "ทักษิณ" เมื่อปี ๔๙ แต่พอถึงเหตุการณ์รัฐประหาร ก็ทำให้จุดยืนทางการเมืองแตกต่างกันออกไปจนชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ในเหตุพฤษภา ๕๓
หลายคนที่มาร่วมคือจุดประสงค์ "หลัก" เดียวกัน ไม่เอาเขื่อน เอาป่า ส่วนจุดประสงค์อื่นที่เป็นวาระซ้อนเร้นกลายเป็นรองทันทีเมื่อเข้ามาสู่ในขบวน หลายคนถอดสีเสื้อ ถอดสัญลักษณ์ เพื่อเปลี่ยนมาใส่สีขาว ผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียว .... ซึ่งมันคล้ายกับเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปี ๔๙ จริงๆ
อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการนำข้อมูลมาสู้กันระหว่างฝ่ายเอาเขื่อนและไม่เอาเขื่อน โดยชี้ให้เห็นถึงข้อดีและเสีย ต่างฝ่ายต่างขุดข้อมูลยกมาอ้างกัน อันนี้เป็นข้อดีที่ทำให้ชาวเมืองได้ศึกษามากขึ้น “แต่ผมไม่รู้ว่า สิ่งที่เอามานำเสนอแบบข้อมูลย่อยให้เข้าใจง่ายบนสังคมออนไลน์ จะไปถึงยังชาวบ้านในพื้นที่ให้ได้รับรู้ด้วยหรือไม่” ซึ่งหากทำได้ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี ที่อย่างน้อยคนในนั้นเขาได้รู้ข้อเท็จจริงอย่างละเอียด
ความตื่นตัวของสังคมในกรณีเขื่อนแม่วงก์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ภาครัฐและเอกชนผู้ทำโครงการทั้ง ๒ บริษัทใหญ่จะต้องทบทวนเป็นพิเศษ ต่อการวางแผนของโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งถึงแม้มีการเคาะออกมาแล้วว่า ต้องสร้างแน่ๆ โดยที่ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างละเอียดก่อน
ทีนี้มันก็เกิดคำถามว่า แล้วถ้าระหว่างดำเนินโครงการผล อีไอเอ และอีเฮชไอเอ ออกมาไม่ผ่านล่ะ ประกอบกับการทำประชาพิจารณ์แล้วชาวบ้านไม่เอาด้วยจะทำอย่างไร ... แต่ผมเชื่อว่ามีหลายคนคิดไปแล้วว่า ยังไงมันก็ต้องดึงดันให้ผ่านจนได้ ความคลางแคลงใจตรงนี้ก็จะเป็นบทพิสูจน์ถึงวิชาชีพของผู้สำรวจด้วยว่าจะสร้างมาตรฐานเอาไว้ให้คนไทยได้มั่นใจได้มากแค่ไหน