ช่วงนี้เห็น คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ฟิตจัดจริงๆ ลงพื้นที่ลิ้มลองปัญหาของชาวกรุงและคนภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อย่างล่าสุดเมื่อวานนี้ (๒๕ ส.ค.) แกก็เพิ่งพาผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย คุณประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ไป จ.ราชบุรี เพื่อดูปัญหากรณีที่มีคนร้องเรียนผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กของคุณชัชชาติ ว่า ห้องน้ำที่อยู่บนรถไฟทิ้งสิ่งปฏิกูลลงบนรางรถไฟ ตกมาใส่รถและหัวชาวบ้านที่ขับขี่สัญจรลอดผ่านใต้สะพานทางรถไฟ ... โหย แค่คิดก็ขนลุกแล้วครับ
แน่นอนว่าตามสไตล์ของน้าทริป (ชื่อเล่นของคุณชัชชาติ) ก็คือสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหา นั่นคือการรถไฟฯ ว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งนั่นก็ว่ากันไป และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อว่าปัญหาต่างๆ จะสำเร็จหรือไม่
ทีนี้มันทำให้ผมสงสัยเหมือนกันครับว่า “หน่วยงานราชการ” เขาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กกันยังไงบ้างหนอ ผมยกตัวอย่างเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งดูเป็นสังคมออนไลน์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด ที่ผู้ใช้สามารถนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ พร้อมให้สมาชิกเว็บไซต์ได้เสนอแนะหรือร้องเรียน ทั้งผ่านใต้ข้อเขียนนั้น หรือบนหน้าเว็บไซต์ หรือจะส่งเข้าทางกล่องข้อความก็ได้
ซึ่งแน่นอนว่า มันทำให้ชาวบ้านที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสามารถ “เข้าถึง” หน่วยงานราชการ ได้มากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานราชการเองก็สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย ด้วยการโฆษณาโครงการต่างๆ ของหน่วยนั้นๆ หรือรับเรื่องราวร้องทุกข์และปรับปรุงแก้ไข
แต่ในความเป็นจริง มันเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เรามาดูกันครับ
หลายหน่วยงานรัฐบาลได้เปิดใช้บริการเว็บไซต์เฟซบุ๊กเพื่อเผยแพร่ข่าวสารขององค์กร ทั้งข่าวประชาสัมพันธ์ภายใน รับสมัครงาน บางองค์กรก็กระจายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งตอบคำถามของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้วย เช่น ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม มีแจ้งอุบัติเหตุให้ได้ทราบกัน ,ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC1111) เป็นตัวกระจายข่าวสารและตอบข้อสักถามข้อมูลเบื้องต้น ,องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เน้นเผยแพร่ข่าวสารงานอีเว้นท์ทางการเกษตร ,กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันนี้นอกจากจะแจ้งข่าวสารแล้วยังให้ความรู้เรื่องสัตว์ต่างๆ ด้วย ,กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แนะนำโบราณสถานที่น่าสนใจ เล่าประวัติย่อๆ ให้ได้ทราบข้อมูล หรืออย่าง กระทรวงพลังงาน ที่เร่งชี้แจงข้อมูลเรื่องปัญหาก๊าซแอลพีจีที่เกิดข้อพิพาทกันอยู่ในขณะนี้
หรืออย่างบางองค์กรนอกจากจะใช้โฆษณาผลงานตัวเองแล้วก็ยังรายงานผลการแก้ปัญหาที่ชาวสังคมออนไลน์ร้องเรียนมาด้วย เช่น The Bangkok Governor หรือ แฟนเพจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ไม่รู้จะตั้งชื่อเพจเป็นภาษาอังกฤษทำไมนะ) ที่ไม่ใช่แค่แจ้งข่าวสารของเขตต่างๆ รวมทั้งงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ชาวเน็ตเขาว่าหายหน้าหายตาไป แต่ยังแจ้งผลการดำเนินงานและติดตาม (บาง) ปัญหาที่สำคัญด้วย
แต่ทั้งนี้ก็มีเว็บไซต์แฟนเพจองค์กรราชการจำนวนไม่น้อยที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้มีการอัพเดตเรื่องราวใดๆ ที่สำคัญบางเพจเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนให้ได้ร้องเรียนหรือได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แต่กลับไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ เลย เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ ,สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,การรถไฟแห่งประเทศไทย
หรือแม้กระทั่งแฟนเพจกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ควรจะมีหน้าที่สื่อสาร ให้ข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนเว็บไซต์เสี่ยงโดยตรงให้สมกับเป็นเจ้าเทคโนโลยี ก็ไม่มีความเคลื่อนไหว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแอดมินและสมาชิกเลยแต่อย่างใด
ขณะที่บางองค์กรก็ใช้ชื่อแบบราชการให้คนงงเล่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้ชื่อเพจ สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข ในการแจ้งข่าวสารของหน่วยงาน ซึ่งถ้าชาวบ้านคนไหนไม่รู้ (ผมเองถ้าไม่เสิร์ชก็ไม่รู้) ก็คงโวยว่าทำไมเพจหลัก กระทรวงสาธารณสุข ถึงหายจ้อยไป ขณะที่บางกรม เช่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก็ใช้ในรูปแบบเฟซบุ๊กธรรมดา เป็นการสื่อสาร ซึ่งมีขั้นตอนที่ต้องรอรับเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊กก่อนอีก อาจไม่สะดวกต่อผู้ร้องเรียนเพราะผู้ที่เป็นแอดมินเฟซบุ๊กนั้น ก็จะสามารถดูข้อมูลส่วนตัวของผู้ร้องเรียนนั้นได้ทั้งหมด
เท่าที่ดูๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า เออ ทำไมเขาถึงทำงานกันประหลาดดีแท้ เหมือนต่างคนต่างทำ กรมไหนขยันก็ทำไป กองไหนเห็นว่าไม่สำคัญก็ไม่ทำ ทั้งๆ ที่จริงมันควรเป็นการบูรณาการกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ (แบบที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชอบเรียก) ให้เป็นนโยบายหลักเพื่ออธิบายหน้าที่และพันธกิจของตน รวมทั้งแจ้งข่าวสารและรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน ยกตัวอย่างรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวง อาจเซ็นคำสั่งให้ทุกหน่วยงานในองค์กรสร้างแฟนเพจขึ้นมา โดยมีสำนักรัฐมนตรีหรือสำนักปลัดฯ เป็นผู้ดูแลเพจหลักของกระทรวง แล้วค่อยโยงไปสู่ศูนย์ร้องเรียน กรม กองต่างๆ เป็นเพจรองลงไปเรื่อยๆ
ลองคิดภาพถึง เวลาเราโทรไปสอบถามข้อมูลสักที่นึง เราก็จะต้องโทรไปที่ศูนย์หลัก จากนั้นเขาก็จะต่อสายไปสู่หน่วยงานภายใน อันนี้ก็เช่นกัน ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนไม่รู้ว่าปัญหานี้กรม กองไหนเป็นผู้ดูแล สมมุติจะสอบถามเรื่องที่ดิน ก็เข้าไปที่เพจกระทรวงมหาดไทย เพื่อสอบถาม แอดมินก็จะส่งลิ้งก์แฟนเพจกรมที่ดินหลัก หรือกรมที่ดิน จว. รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ ให้กับผู้ร้องเรียนได้ไปชี้แจงปัญหาต่อ เฉกเช่นเดียวกัน ถ้าผู้ร้องเรียนรู้ว่าตัวเองมีปัญหาและเกี่ยวข้องกับกรมนั้นๆ แต่ไม่รู้ว่ากรมดังกล่าวมีแฟนเพจหรือไม่ ก็สามารถไล่หาข้อมูลหน่วยงานผ่านทางแฟนเพจหลักได้โดยไม่ต้องถาม
เล่าไปเล่ามาก็มีบางองค์กรใช้เฟซบุ๊กทำงาน “เกินขอบเขต” เช่นกัน ยกตัวอย่างที่เป็นปัญหาล่าสุดคือ แฟนเพจ รัฐสภาไทย ที่หน้าที่ของแฟนเพจควรจะทำได้เพียงนำเสนอข้อมูลการประชุมกฏหมายต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ,วุฒิสภา และการประชุมร่วมรัฐสภา รวมไปถึงผลการประชุมกรรมาธิการต่างๆ ทั้ง ๒ สภา เพื่อได้รับทราบความเป็นไปของรัฐสภาว่าทำอะไรกัน สามารถผ่านกฏหมายอะไรได้บ้าง มติที่ประชุมกรรมาธิการมีเรื่องอะไรบ้าง นั่นคือหน้าที่หลักที่ควรจะเป็น แต่กลับใช้แฟนเพจดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางการเมืองซะงั้น เช่น พยายามให้มีการโหวตความเห็นกรณีนิรโทษกรรมควรทำหรือไม่ หรือนำข้อมูลที่เห็นพ้องกับทางฝั่งรัฐบาลมาเผยแพร่ตอบโต้ขั้วตรงข้าม
ในขณะที่อีกแฟนเพจที่ชื่อ วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา กลับทำหน้าที่ได้ตามที่ผมเอ่ยไว้อย่างครบถ้วน จึงทำให้เป็นที่เคลือบแคลงและสงสัยแก่สังคมว่า แอดมินแฟนเพจดังกล่าวถูกจัดตั้งมาเพื่อจุดประสงค์ใด หรือเขาแยกกันเดิน?
ที่เสนอแนะมาทั้งหมดนอกจากจะทำให้ชาวบ้านรู้ว่าหน่วยงานราชการทำอะไรกันบ้างแล้ว ก็ยังสามารถเป็นที่พึ่งพิงให้แก่ประชาชน ได้รู้สึกว่า เสียงของเขาไปถึงผู้มีอำนาจแล้ว เหมือนที่ท่านชัชชาติ เจ้ากระทรวงคมนาคมทำอยู่ ..... ได้แต่หวังว่าจะมีสักกระทรวงที่ได้ยินข้อเขียนน้อยๆ ของผมจนนำไปสู่การปรับปรุงบ้าง
ส่วนเมื่อได้พบปัญหาของเขาแล้ว แก้ได้หรือไม่ได้ ก็ค่อยว่ากันอีกเรื่อง
แน่นอนว่าตามสไตล์ของน้าทริป (ชื่อเล่นของคุณชัชชาติ) ก็คือสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการปัญหา นั่นคือการรถไฟฯ ว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งนั่นก็ว่ากันไป และเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อว่าปัญหาต่างๆ จะสำเร็จหรือไม่
ทีนี้มันทำให้ผมสงสัยเหมือนกันครับว่า “หน่วยงานราชการ” เขาใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กกันยังไงบ้างหนอ ผมยกตัวอย่างเว็บไซต์เฟซบุ๊ก ซึ่งดูเป็นสังคมออนไลน์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด ที่ผู้ใช้สามารถนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ผ่านหน้าเว็บไซต์ พร้อมให้สมาชิกเว็บไซต์ได้เสนอแนะหรือร้องเรียน ทั้งผ่านใต้ข้อเขียนนั้น หรือบนหน้าเว็บไซต์ หรือจะส่งเข้าทางกล่องข้อความก็ได้
ซึ่งแน่นอนว่า มันทำให้ชาวบ้านที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสามารถ “เข้าถึง” หน่วยงานราชการ ได้มากขึ้น รวมทั้งหน่วยงานราชการเองก็สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย ด้วยการโฆษณาโครงการต่างๆ ของหน่วยนั้นๆ หรือรับเรื่องราวร้องทุกข์และปรับปรุงแก้ไข
แต่ในความเป็นจริง มันเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เรามาดูกันครับ
หลายหน่วยงานรัฐบาลได้เปิดใช้บริการเว็บไซต์เฟซบุ๊กเพื่อเผยแพร่ข่าวสารขององค์กร ทั้งข่าวประชาสัมพันธ์ภายใน รับสมัครงาน บางองค์กรก็กระจายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้งตอบคำถามของสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้วย เช่น ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม กระทรวงคมนาคม มีแจ้งอุบัติเหตุให้ได้ทราบกัน ,ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (GCC1111) เป็นตัวกระจายข่าวสารและตอบข้อสักถามข้อมูลเบื้องต้น ,องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เน้นเผยแพร่ข่าวสารงานอีเว้นท์ทางการเกษตร ,กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อันนี้นอกจากจะแจ้งข่าวสารแล้วยังให้ความรู้เรื่องสัตว์ต่างๆ ด้วย ,กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม แนะนำโบราณสถานที่น่าสนใจ เล่าประวัติย่อๆ ให้ได้ทราบข้อมูล หรืออย่าง กระทรวงพลังงาน ที่เร่งชี้แจงข้อมูลเรื่องปัญหาก๊าซแอลพีจีที่เกิดข้อพิพาทกันอยู่ในขณะนี้
หรืออย่างบางองค์กรนอกจากจะใช้โฆษณาผลงานตัวเองแล้วก็ยังรายงานผลการแก้ปัญหาที่ชาวสังคมออนไลน์ร้องเรียนมาด้วย เช่น The Bangkok Governor หรือ แฟนเพจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ไม่รู้จะตั้งชื่อเพจเป็นภาษาอังกฤษทำไมนะ) ที่ไม่ใช่แค่แจ้งข่าวสารของเขตต่างๆ รวมทั้งงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ที่ชาวเน็ตเขาว่าหายหน้าหายตาไป แต่ยังแจ้งผลการดำเนินงานและติดตาม (บาง) ปัญหาที่สำคัญด้วย
แต่ทั้งนี้ก็มีเว็บไซต์แฟนเพจองค์กรราชการจำนวนไม่น้อยที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้มีการอัพเดตเรื่องราวใดๆ ที่สำคัญบางเพจเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชาชนให้ได้ร้องเรียนหรือได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แต่กลับไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ เลย เช่น กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ ,สำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,การรถไฟแห่งประเทศไทย
หรือแม้กระทั่งแฟนเพจกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่ควรจะมีหน้าที่สื่อสาร ให้ข้อมูลและรับเรื่องร้องเรียนเว็บไซต์เสี่ยงโดยตรงให้สมกับเป็นเจ้าเทคโนโลยี ก็ไม่มีความเคลื่อนไหว ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแอดมินและสมาชิกเลยแต่อย่างใด
ขณะที่บางองค์กรก็ใช้ชื่อแบบราชการให้คนงงเล่นๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ที่ใช้ชื่อเพจ สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข ในการแจ้งข่าวสารของหน่วยงาน ซึ่งถ้าชาวบ้านคนไหนไม่รู้ (ผมเองถ้าไม่เสิร์ชก็ไม่รู้) ก็คงโวยว่าทำไมเพจหลัก กระทรวงสาธารณสุข ถึงหายจ้อยไป ขณะที่บางกรม เช่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ก็ใช้ในรูปแบบเฟซบุ๊กธรรมดา เป็นการสื่อสาร ซึ่งมีขั้นตอนที่ต้องรอรับเป็นเพื่อนในเฟซบุ๊กก่อนอีก อาจไม่สะดวกต่อผู้ร้องเรียนเพราะผู้ที่เป็นแอดมินเฟซบุ๊กนั้น ก็จะสามารถดูข้อมูลส่วนตัวของผู้ร้องเรียนนั้นได้ทั้งหมด
เท่าที่ดูๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า เออ ทำไมเขาถึงทำงานกันประหลาดดีแท้ เหมือนต่างคนต่างทำ กรมไหนขยันก็ทำไป กองไหนเห็นว่าไม่สำคัญก็ไม่ทำ ทั้งๆ ที่จริงมันควรเป็นการบูรณาการกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ (แบบที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชอบเรียก) ให้เป็นนโยบายหลักเพื่ออธิบายหน้าที่และพันธกิจของตน รวมทั้งแจ้งข่าวสารและรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชน ยกตัวอย่างรัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวง อาจเซ็นคำสั่งให้ทุกหน่วยงานในองค์กรสร้างแฟนเพจขึ้นมา โดยมีสำนักรัฐมนตรีหรือสำนักปลัดฯ เป็นผู้ดูแลเพจหลักของกระทรวง แล้วค่อยโยงไปสู่ศูนย์ร้องเรียน กรม กองต่างๆ เป็นเพจรองลงไปเรื่อยๆ
ลองคิดภาพถึง เวลาเราโทรไปสอบถามข้อมูลสักที่นึง เราก็จะต้องโทรไปที่ศูนย์หลัก จากนั้นเขาก็จะต่อสายไปสู่หน่วยงานภายใน อันนี้ก็เช่นกัน ในกรณีที่ผู้ร้องเรียนไม่รู้ว่าปัญหานี้กรม กองไหนเป็นผู้ดูแล สมมุติจะสอบถามเรื่องที่ดิน ก็เข้าไปที่เพจกระทรวงมหาดไทย เพื่อสอบถาม แอดมินก็จะส่งลิ้งก์แฟนเพจกรมที่ดินหลัก หรือกรมที่ดิน จว. รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ ให้กับผู้ร้องเรียนได้ไปชี้แจงปัญหาต่อ เฉกเช่นเดียวกัน ถ้าผู้ร้องเรียนรู้ว่าตัวเองมีปัญหาและเกี่ยวข้องกับกรมนั้นๆ แต่ไม่รู้ว่ากรมดังกล่าวมีแฟนเพจหรือไม่ ก็สามารถไล่หาข้อมูลหน่วยงานผ่านทางแฟนเพจหลักได้โดยไม่ต้องถาม
เล่าไปเล่ามาก็มีบางองค์กรใช้เฟซบุ๊กทำงาน “เกินขอบเขต” เช่นกัน ยกตัวอย่างที่เป็นปัญหาล่าสุดคือ แฟนเพจ รัฐสภาไทย ที่หน้าที่ของแฟนเพจควรจะทำได้เพียงนำเสนอข้อมูลการประชุมกฏหมายต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ,วุฒิสภา และการประชุมร่วมรัฐสภา รวมไปถึงผลการประชุมกรรมาธิการต่างๆ ทั้ง ๒ สภา เพื่อได้รับทราบความเป็นไปของรัฐสภาว่าทำอะไรกัน สามารถผ่านกฏหมายอะไรได้บ้าง มติที่ประชุมกรรมาธิการมีเรื่องอะไรบ้าง นั่นคือหน้าที่หลักที่ควรจะเป็น แต่กลับใช้แฟนเพจดังกล่าวเป็นเครื่องมือทางการเมืองซะงั้น เช่น พยายามให้มีการโหวตความเห็นกรณีนิรโทษกรรมควรทำหรือไม่ หรือนำข้อมูลที่เห็นพ้องกับทางฝั่งรัฐบาลมาเผยแพร่ตอบโต้ขั้วตรงข้าม
ในขณะที่อีกแฟนเพจที่ชื่อ วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา กลับทำหน้าที่ได้ตามที่ผมเอ่ยไว้อย่างครบถ้วน จึงทำให้เป็นที่เคลือบแคลงและสงสัยแก่สังคมว่า แอดมินแฟนเพจดังกล่าวถูกจัดตั้งมาเพื่อจุดประสงค์ใด หรือเขาแยกกันเดิน?
ที่เสนอแนะมาทั้งหมดนอกจากจะทำให้ชาวบ้านรู้ว่าหน่วยงานราชการทำอะไรกันบ้างแล้ว ก็ยังสามารถเป็นที่พึ่งพิงให้แก่ประชาชน ได้รู้สึกว่า เสียงของเขาไปถึงผู้มีอำนาจแล้ว เหมือนที่ท่านชัชชาติ เจ้ากระทรวงคมนาคมทำอยู่ ..... ได้แต่หวังว่าจะมีสักกระทรวงที่ได้ยินข้อเขียนน้อยๆ ของผมจนนำไปสู่การปรับปรุงบ้าง
ส่วนเมื่อได้พบปัญหาของเขาแล้ว แก้ได้หรือไม่ได้ ก็ค่อยว่ากันอีกเรื่อง