เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้ประกาศ “ข้อเสนอทางออกประเทศไทย” โดยการจะตั้ง “คณะกรรมการปฏิรูป” โดยประกาศเชิญชวนตัวแทนจากกลุ่มบุคคลทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน เสื้อเหลือง เสื้อแดง วุฒิ องค์กรอิสระ เอกชน และนักวิชาการ มาร่วมนั่งโต๊ะพูดคุย ปฏิรูป เพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทย
ก็เอาอีกแล้วที่ออกมาพูดคำใหญ่โตหรูหราแบบทำเป็นลืมเรื่องตัวเอง
ยิ่งลักษณ์อ้างเหตุที่ต้องประกาศพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ว่า เพื่อ “ปกป้องและรักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งต้องป้องกันเหตุร้ายและความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ราชการ และเอกชนทั่วไป”
แหม ทำราวกับลืมไปว่า “ใคร” นะครับ ที่มักจะก่อความเดือดร้อน ความวุ่นวาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ก็ไม่ใช่พวกเสื้อแดงกองกำลังของท่านหรอกหรือครับ โดยนายกฯ ได้กล่าวไว้ตอนต้นถึงเหตุผลว่า “...ที่น่าเสียใจที่สุดคือ การที่มีบุคคลบางกลุ่มต้องการการเคลื่อนไหวบนท้องถนน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ แต่การแสดงออกกลับมีท่าทีที่ไม่ยอมรับกติกาของประชาธิปไตย มีการยั่วยุ กระตุ้นเพื่อนำไปสู่การล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง...”
นี่ก็ขี้ลืมอีกแล้ว ! ลองคิดดูว่า ถ้าเอาข้อความนี้ไปอ่านช่วงที่เสื้อแดงชุมนุมที่ราชดำเนินและราชประสงค์เมื่อปี 53 ใครไม่รู้ก็ต้องนึกว่าเป็นคำพูดของอภิสิทธิ์ นายกฯ ในตอนนั้นเป็นแน่
เรียกว่าใครเป็นนายกฯ ก็จะกล่าวหาว่า “ม็อบ” ไม่ยอมรับกติกาของประชาธิปไตยกันทั้งนั้น! ซึ่งพวกนี้สับสนในชีวิตบางประการ เอา “ความอยู่รอด” ของรัฐบาล ไปผูกเข้ากับ “กติกาประชาธิปไตย” เสียอย่างนั้น
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะมีการฟอกขาวให้ผู้กระทำผิด และเรียกร้องให้ปฏิบัติตามหลักนิติรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายและกระบวนยุติธรรมนั้น มันเป็นการ “ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตย” ไปได้อย่างไร
และกติกาประชาธิปไตยจากดาวดวงไหนหรือที่ใช้กองกำลังส่วนตัวเข้ายึดประเทศ เผาบ้านเผาเมือง หนุนตัวเองจนชนะการเลือกตั้ง แล้วก็คอยข่มขู่คุกคามประชาชนฝ่ายที่เห็นต่าง ลามปามไปถึงฝ่ายศาลตุลาการ และองค์กรอิสระทั้งหลาย
การหา “ทางออกของประเทศ” แบบที่นายกฯ อ้างขึ้นมา ที่ได้แก่ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม” นี้ เป็นเป็นทางออกของประเทศ ออกไปสู่อะไรกันแน่? ออกไปสู่ระบบที่ไม่ต้องเคารพหลักการของประเทศและระบอบนิติรัฐหรือ รัฐธรรมนูญนี้ปัญหาอะไรมากมายหรืออย่างไร ในเมื่อมันก็ทำให้ฝ่ายตัวเอง ที่อ้างเสมอว่าถูกรังแกจากอำมาตย์และกลไกศาลองค์กรอิสระอย่างนู้นอย่างนี้ อย่างที่เคยไปเลี้ยงแกะที่มองโกเลีย แต่ด้วยรัฐธรรมนูญนี้ พวกท่านก็ได้รับการเลือกตั้งมาได้อย่างท่วมท้นถล่มทลายจนยึดครองประเทศเบ็ดเสร็จได้ในวันนี้มิใช่หรือ?
ส่วนเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมก็เป็นเรื่องตลกสิ้นดี เพราะเห็นมีแต่ทางฝ่ายคนเสื้อแดงเท่านั้นที่เรียกร้องกันจะเป็นจะตาย ในขณะที่ผู้ชุมนุมสีอื่น หรือคนอื่นๆ ต่างยอมรับในกติกาตามกฎหมายกันหมด ยินดีไปต่อสู้ในชั้นศาล ให้ศาลตัดสิน ไม่ต้องใช้วิธีลัด ใช้อำนาจของสภาที่ตัวครองล้างผิดให้พวกตัวเอง วิธีแบบนี้ เอาที่ไหนมาคิดครับว่าเป็น “...หลักนิติรัฐ นิติธรรม ที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลทั่วโลกยอมรับ...”
หลักนิติรัฐนิติธรรมที่ทั่วโลกยอมรับ คือการชี้ขาดข้อพิพาทโดยศาล เพราะถ้าเชื่อว่าเสื้อแดงไม่ผิด ไม่เผา ไม่อะไรต่ออะไร ก็สู้คดีกันในศาลอย่างแฟร์สิ ก็ไหนว่าศาลตัดสินออกมาเป็นคุณกับฝ่ายเสื้อแดงทั้งนั้น ทั้งยกฟ้องคดีเผาห้าง ลักทรัพย์ ทั้งมีคำสั่งว่าคนตายส่วนหนึ่งมาจากกระสุนในแนวทหาร
พวกท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้งจากกระบวนยุติธรรมตรงไหน? หรือคำพิพากษาจะยุติธรรมเมื่อพวกท่านชนะคดีเท่านั้น อันไหนแพ้ แปลว่าไม่ยุติธรรมหรือถูกกลั่นแกล้ง แบบนี้อย่าไปบอกชาวโลกนะว่านี่คือหลักนิติรัฐนิติธรรมอันเป็นสากล
ในตอนสุดท้าย ที่ท่านนายกฯ กล่าวว่า “...เราต้องเปิดโอกาสให้เปลี่ยนจากความขัดแย้งมาเป็นบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์และไว้ใจกัน เพื่อเป็นการมุ้งสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบ มีส่วนร่วม เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่าให้กับอนาคตลูกหลานของเรา และไม่ควรทิ้งมรดกของความขัดแย้งให้เป็น ภาระของรุ่นต่อไป...” นั้น
จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย พวกท่านสามารถทำได้เองทั้งหมด หรือโดยซักซ้อมความเข้าใจกับบรรดาลูกหาบลูกหาของท่านก็เป็นพอ
เริ่มจากการยอมรับการตรวจสอบ คัดค้านจากภาคประชาชน ฝ่ายศาลที่ใช้อำนาจตุลาการตลอดจนองค์กรอิสระทั้งหลาย โดยไม่แสดงท่าทีข่มขู่คุกคามว่าจะไม่ยอมรับอำนาจศาล หรือส่งกองกำลังส่วนตัวไปกดดันคุกคาม
ยอมรับในหลักการประชาธิปไตยของคนคิดต่าง ยอมรับในสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ (อย่างที่ฝ่ายท่านมักอ้างเสมอเมื่อเป็นฝ่ายผู้ชุมนุม) ไม่ใช้อำนาจรัฐกดหัวการชุมนุมอย่างใหญ่โตเกินสมควร เช่น ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงราวกับเกิดสงคราม รวมทั้งกำชับกำชาบรรดาลิ่วล้อกองกำลัง ว่าอย่าไปรังแกคุกคามหรือทำร้ายเหมือนเหตุการณ์ที่เชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ
และสุดท้ายนี้ ให้ “นายใหญ่” ที่อยู่เบื้องหลัง “ยอมรับ” อำนาจศาลไทยและการบังคับคดีตามกฎหมายไทย กลับมารับโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วของศาล
การยอมรับในระบบกฎหมาย ไม่แก้กติกาเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายของตน การปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษา ต่อสู้คดีที่ยังค้างอยู่ไปตามกติกา ยอมรับโทษทัณฑ์หรือสภาพบังคับหากพวกตนเป็นฝ่ายผิด นี่ต่างหากที่เรียกว่า “นิติรัฐ – นิติธรรม” อันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย
เริ่มที่ตัวท่านเอง ฝ่ายท่านเองได้ ไม่ต้องไปตั้งสภาปฏิรูปหรือคณะกรรมการอะไรให้ยุ่งยากรุงรัง
ให้มันเป็นภาระต่อลูกหลาน
ก็เอาอีกแล้วที่ออกมาพูดคำใหญ่โตหรูหราแบบทำเป็นลืมเรื่องตัวเอง
ยิ่งลักษณ์อ้างเหตุที่ต้องประกาศพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง ว่า เพื่อ “ปกป้องและรักษาระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งต้องป้องกันเหตุร้ายและความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ราชการ และเอกชนทั่วไป”
แหม ทำราวกับลืมไปว่า “ใคร” นะครับ ที่มักจะก่อความเดือดร้อน ความวุ่นวาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ก็ไม่ใช่พวกเสื้อแดงกองกำลังของท่านหรอกหรือครับ โดยนายกฯ ได้กล่าวไว้ตอนต้นถึงเหตุผลว่า “...ที่น่าเสียใจที่สุดคือ การที่มีบุคคลบางกลุ่มต้องการการเคลื่อนไหวบนท้องถนน ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ แต่การแสดงออกกลับมีท่าทีที่ไม่ยอมรับกติกาของประชาธิปไตย มีการยั่วยุ กระตุ้นเพื่อนำไปสู่การล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง...”
นี่ก็ขี้ลืมอีกแล้ว ! ลองคิดดูว่า ถ้าเอาข้อความนี้ไปอ่านช่วงที่เสื้อแดงชุมนุมที่ราชดำเนินและราชประสงค์เมื่อปี 53 ใครไม่รู้ก็ต้องนึกว่าเป็นคำพูดของอภิสิทธิ์ นายกฯ ในตอนนั้นเป็นแน่
เรียกว่าใครเป็นนายกฯ ก็จะกล่าวหาว่า “ม็อบ” ไม่ยอมรับกติกาของประชาธิปไตยกันทั้งนั้น! ซึ่งพวกนี้สับสนในชีวิตบางประการ เอา “ความอยู่รอด” ของรัฐบาล ไปผูกเข้ากับ “กติกาประชาธิปไตย” เสียอย่างนั้น
ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะมีการฟอกขาวให้ผู้กระทำผิด และเรียกร้องให้ปฏิบัติตามหลักนิติรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายและกระบวนยุติธรรมนั้น มันเป็นการ “ไม่ยอมรับกติกาประชาธิปไตย” ไปได้อย่างไร
และกติกาประชาธิปไตยจากดาวดวงไหนหรือที่ใช้กองกำลังส่วนตัวเข้ายึดประเทศ เผาบ้านเผาเมือง หนุนตัวเองจนชนะการเลือกตั้ง แล้วก็คอยข่มขู่คุกคามประชาชนฝ่ายที่เห็นต่าง ลามปามไปถึงฝ่ายศาลตุลาการ และองค์กรอิสระทั้งหลาย
การหา “ทางออกของประเทศ” แบบที่นายกฯ อ้างขึ้นมา ที่ได้แก่ “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการเสนอพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม” นี้ เป็นเป็นทางออกของประเทศ ออกไปสู่อะไรกันแน่? ออกไปสู่ระบบที่ไม่ต้องเคารพหลักการของประเทศและระบอบนิติรัฐหรือ รัฐธรรมนูญนี้ปัญหาอะไรมากมายหรืออย่างไร ในเมื่อมันก็ทำให้ฝ่ายตัวเอง ที่อ้างเสมอว่าถูกรังแกจากอำมาตย์และกลไกศาลองค์กรอิสระอย่างนู้นอย่างนี้ อย่างที่เคยไปเลี้ยงแกะที่มองโกเลีย แต่ด้วยรัฐธรรมนูญนี้ พวกท่านก็ได้รับการเลือกตั้งมาได้อย่างท่วมท้นถล่มทลายจนยึดครองประเทศเบ็ดเสร็จได้ในวันนี้มิใช่หรือ?
ส่วนเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรมก็เป็นเรื่องตลกสิ้นดี เพราะเห็นมีแต่ทางฝ่ายคนเสื้อแดงเท่านั้นที่เรียกร้องกันจะเป็นจะตาย ในขณะที่ผู้ชุมนุมสีอื่น หรือคนอื่นๆ ต่างยอมรับในกติกาตามกฎหมายกันหมด ยินดีไปต่อสู้ในชั้นศาล ให้ศาลตัดสิน ไม่ต้องใช้วิธีลัด ใช้อำนาจของสภาที่ตัวครองล้างผิดให้พวกตัวเอง วิธีแบบนี้ เอาที่ไหนมาคิดครับว่าเป็น “...หลักนิติรัฐ นิติธรรม ที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยที่เป็นสากลทั่วโลกยอมรับ...”
หลักนิติรัฐนิติธรรมที่ทั่วโลกยอมรับ คือการชี้ขาดข้อพิพาทโดยศาล เพราะถ้าเชื่อว่าเสื้อแดงไม่ผิด ไม่เผา ไม่อะไรต่ออะไร ก็สู้คดีกันในศาลอย่างแฟร์สิ ก็ไหนว่าศาลตัดสินออกมาเป็นคุณกับฝ่ายเสื้อแดงทั้งนั้น ทั้งยกฟ้องคดีเผาห้าง ลักทรัพย์ ทั้งมีคำสั่งว่าคนตายส่วนหนึ่งมาจากกระสุนในแนวทหาร
พวกท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกกลั่นแกล้งจากกระบวนยุติธรรมตรงไหน? หรือคำพิพากษาจะยุติธรรมเมื่อพวกท่านชนะคดีเท่านั้น อันไหนแพ้ แปลว่าไม่ยุติธรรมหรือถูกกลั่นแกล้ง แบบนี้อย่าไปบอกชาวโลกนะว่านี่คือหลักนิติรัฐนิติธรรมอันเป็นสากล
ในตอนสุดท้าย ที่ท่านนายกฯ กล่าวว่า “...เราต้องเปิดโอกาสให้เปลี่ยนจากความขัดแย้งมาเป็นบรรยากาศของความคิดสร้างสรรค์และไว้ใจกัน เพื่อเป็นการมุ้งสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบ มีส่วนร่วม เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่าให้กับอนาคตลูกหลานของเรา และไม่ควรทิ้งมรดกของความขัดแย้งให้เป็น ภาระของรุ่นต่อไป...” นั้น
จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย พวกท่านสามารถทำได้เองทั้งหมด หรือโดยซักซ้อมความเข้าใจกับบรรดาลูกหาบลูกหาของท่านก็เป็นพอ
เริ่มจากการยอมรับการตรวจสอบ คัดค้านจากภาคประชาชน ฝ่ายศาลที่ใช้อำนาจตุลาการตลอดจนองค์กรอิสระทั้งหลาย โดยไม่แสดงท่าทีข่มขู่คุกคามว่าจะไม่ยอมรับอำนาจศาล หรือส่งกองกำลังส่วนตัวไปกดดันคุกคาม
ยอมรับในหลักการประชาธิปไตยของคนคิดต่าง ยอมรับในสิทธิในการชุมนุมโดยสงบ (อย่างที่ฝ่ายท่านมักอ้างเสมอเมื่อเป็นฝ่ายผู้ชุมนุม) ไม่ใช้อำนาจรัฐกดหัวการชุมนุมอย่างใหญ่โตเกินสมควร เช่น ประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงราวกับเกิดสงคราม รวมทั้งกำชับกำชาบรรดาลิ่วล้อกองกำลัง ว่าอย่าไปรังแกคุกคามหรือทำร้ายเหมือนเหตุการณ์ที่เชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ
และสุดท้ายนี้ ให้ “นายใหญ่” ที่อยู่เบื้องหลัง “ยอมรับ” อำนาจศาลไทยและการบังคับคดีตามกฎหมายไทย กลับมารับโทษทัณฑ์ตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วของศาล
การยอมรับในระบบกฎหมาย ไม่แก้กติกาเพื่อสร้างความได้เปรียบหรือเอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายของตน การปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษา ต่อสู้คดีที่ยังค้างอยู่ไปตามกติกา ยอมรับโทษทัณฑ์หรือสภาพบังคับหากพวกตนเป็นฝ่ายผิด นี่ต่างหากที่เรียกว่า “นิติรัฐ – นิติธรรม” อันเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย
เริ่มที่ตัวท่านเอง ฝ่ายท่านเองได้ ไม่ต้องไปตั้งสภาปฏิรูปหรือคณะกรรมการอะไรให้ยุ่งยากรุงรัง
ให้มันเป็นภาระต่อลูกหลาน