เอแบคโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งที่เท่าไหร่ไม่รู้แต่ผลออกมายังเหมือนกับครั้งก่อนหน้าว่าประชาชนไทยจำนวนมากกว่าครึ่งรับได้กับการคอรัปชั่นโดยหากว่าโกงแล้วยังมีผลประโยชน์ตกมาสู่ประชาชนบ้าง
แม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับแต่จากที่สัมผัสผู้คนมาเยอะเมื่อเทียบระหว่างชนชั้นกลางกับชั้นล่างลงมาขอฟันธงว่าประชากรชาวไพร่ ชาวรากหญ้านี่แหละที่เป็นประชากรกลุ่มหลักที่ยอมรับได้หากนักการเมืองคดโกง
ตัวอย่างจากคนเสื้อแดงออกมาต่อสู้ทางการเมืองให้กับไทยรักไทยต่อเนื่องถึงเพื่อไทยก็เพราะพรรคการเมืองดังกล่าวมีนโยบาย “แบ่งปันน้ำแกง” คือจัดงบประมาณลงมาถึงประชาชนได้เด่นชัด นี่กระมังเป็นเหตุให้คนไทย 65% ที่รวมถึงคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งจึงไม่ค่อยรู้สึกแสลงตาแสลงใจกับข่าวข่าวการโกงกินของนักการเมืองแถมออกจะเฉยๆซะงั้น
ความคิดของประชาชนที่ยอมรับได้หากผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครองทุจริตโดยมีเงื่อนไขว่าแต่ต้องขอมีน้ำแกงแบ่งปันมาให้ประชาชนผู้ไม่มีอำนาจดังกล่าวเป็นความคิดที่สืบสาวไปถึงยุคศักดินาสวามิภักดิ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองโน่นเลยเพราะนี่เป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรมว่าด้วยทรัพยากรส่วนกลางที่คนไทยถือว่าเป็น “เงินหลวง” หรือ “ของหลวง”
ชื่อว่าเงินหลวงหรือของหลวงก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ใช่เงินเราหรือของเราเพราะในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งสิ้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นถนนหนทางสิ่งก่อสร้างทั้งหลายล้วนแต่เป็นของหลวงซึ่งมี “ข้าราชการ” รับดำเนินการให้หลวงอีกทอด ไม่ใช่ธุระกงการของประชาชน
ดังนั้นกิจการงานของหลวงที่ต้องใช้เงินหลวงจึงเป็นเรื่องของข้าราชการตัดตอนไปทำ สมัยก่อนโน้นคือเมื่อ 20 ที่แล้วยังมีธรรมเนียมเขียนป้ายข้างรถยนต์ “ใช้ในราชการ” เท่านั้น ตอกย้ำว่านี่เป็นทรัพย์สมบัติของหลวงที่ระบบราชการท่านใช้งานกัน มันไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชนคนเดินดินธรรมดา
จนระยะหลังๆมานี้จึงค่อยๆ พัฒนาระบบคิดและหลักการใหม่ไปตามพัฒนาการทางการเมืองว่าระบบราชการไม่ใช่เรื่องของหลวงแต่เป็น “บริการสาธารณะ” ที่มีไว้ให้ประชาชนเจ้าของประเทศ ซึ่งแม้จะดีกว่าเมื่อ 20-30 ปีก่อนมากมายก็เหอะ ระบบราชการและงบหลวง เงินหลวง ของๆหลวงก็ยังไม่ได้ตกเป็นสมบัติของประชาชนจริง เพราะของหลวงทั้งหลายในยุคก่อนได้กลายเป็นสมบัติของพ่อค้านักการเมืองไปซะยังไม่ใช่กิจการของประชาชนเจ้าของประเทศอยู่ดี
การอยากได้เงินหลวงเข้าพกเข้าห่อมาเป็นของตนเองเป็นความอยากพื้นฐานสันดานมนุษย์ ในสมัยก่อนโน้นโกงเงินหลวงก็คือโกงเงินของพระราชา แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยสำนวนโกงเงินหลวงที่ติดปากสืบทอดมาที่แท้คือการโกงเงินจากทรัพย์สินภาษีอากรของราษฎร แต่คนธรรมดาสามัญแทบไม่มีใครคิดว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของตนเอง ยังคงติดกับธรรมเนียมความคิดเดิมคือเงินของแผ่นดินที่ลอยลงมาแปลงเป็นถนนหนทาง สถานีอนามัย โรงพัก อำเภอ ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ “หลวง” คือรัฐบาลประทานลงมาให้อยู่เช่นเดิม
ด้วยธรรมเนียมความคิดแบบนี้จึงกลายเป็นว่าส.ส.ที่ได้รับความนิยมคือส.ส.ที่เข้าไปต่อสู้ในสภาเพื่อต่อรองแย่งชิงเอา “เงินหลวง” มาให้ชาวบ้าน แปลงมาเป็นถนนหนทาง ไฟฟ้า สะพาน สถานที่ราชการใหม่ๆ เช่นวิทยาลัยพลศึกษา สนามกีฬากลาง ฯลฯ ต่อมาเลยกลายเป็นแบบแผนธรรมเนียมว่าพรรคการเมืองที่ดีคือพรรคที่มีนโยบายให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและบริการ เช่น เอาเงินกองทุนหมู่บ้านมาให้ใช้กู้ยืมกันเองคนละ 2 หมื่น (แถวบ้านบางรายยังไม่คืนเลย ฮาๆ)
และเมื่อส.ส.หรือพรรคการเมืองได้ไป “ต่อสู้แย่งชิง” เงินหลวงมาให้เราดังนั้นชาวบ้านจึงต้องยอมๆ ให้เขาโกงกินหัวคิวไปวัดครึ่งกรรมการครึ่งชาวบ้านขอแบ่งน้ำแกงมากินด้วยก็ยังดี
บางโครงการไม่เหมาะสม แพงเกิน ไม่ได้ประโยชน์อะไรแต่เมื่อมาลงพื้นที่แล้วก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่าเอาๆ ไปเถอะไหนๆ ก็ได้งบมาแล้ว
ทั้งหมดทั้งมวลมาจากรากเหง้ากรอบความคิดพื้นฐานที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวเอง มันเป็นเงินหลวงที่เป็นเรื่องของเจ้านายข้าราชการนักการเมืองเขาจัดการกัน ให้ชาวบ้านได้มาใช้ประโยชน์บ้างก็ดีถมแล้ว ส่วนเขาจะโกงกินบ้างก็ให้ถือเป็นค่าตอบแทนเขาไป
นักการเมืองเค้าชอบนะครับ ชอบกรอบความคิดของชาวบ้านแบบนี้เพราะมันง่ายต่อการเอาเงินของชาวบ้านมาซื้อเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านอีกทอด การซื้อใจทำให้ชาวบ้านรักผูกพันกับนักการเมืองหรือพรรคการเมืองมีแต่ต้องดำรงความเชื่อเรื่องเงินหลวงเอาไว้
อยากให้ใครสักคนทำวิจัยดูความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความเชื่อเรื่องเงินหลวงกับรายได้ของบุคคลว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ขอฟันธงอีกทีว่าผลวิจัยน่าจะชี้ชัดว่าคนที่คิดว่าเงินหลวงเป็นเงินที่ลอยลงมาก็คือกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานภาษี ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี แล้วคนกลุ่มนี้เองที่คิดว่าโกงไม่เป็นไรขอให้ทำงาน
ส่วนคนที่ต่อสู้กับการโกงกิน เกลียดคนโกงซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคมกลับเป็นมนุษย์เงินเดือน ชนชั้นกลาง พ่อค้าห้องแถวที่ถูกขูดรีดจากระบบภาษีสรรพากรโดยตรง พวกนี้จึงเข้าใจได้ชัดเจนว่า งบประมาณแผ่นดินที่เรียกกันว่า “เงินหลวง” นั้นที่แท้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของเขา
ไม่แปลกที่คนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มน้อยเลือกตั้งแต่ละทีก็แพ้เขาล่ะครับ นั่นเพราะประชากรไทยที่อยู่ในฐานภาษีมีเพียงแค่ประมาณ 3 ล้านคนเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่ต้องยื่นแบบภาษีเพราะรายได้ไม่ถึง แล้วคนพวกนี้ก็จ่ายภาษีทางอ้อมผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านร้านเซเว่นฯ ผ่านการเติมน้ำมันรถกันซึ่งแทบไม่รู้สึกรู้สาว่านี่คือภาษีที่ตนจ่ายให้รัฐไป
ด้วยเหตุนี้ความรู้สึกที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่ใช่เป็นเงินของประชาชนหากเป็น “เงินหลวง” ที่ลอยลงมา หากว่าประชาชนได้แบ่งมามาถือเป็นกำไร...จึงยังฝังแน่นอยู่ในสังคมเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกรู้สาว่าต้องแบกรับภาระภาษีและแม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองและทำงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนเจ้าของประเทศมาแล้วกว่า 80 ปีก็ตาม
ในประเทศไทยมีคนที่เรียกตัวเองว่าชนชั้นไพร่นัยว่าเป็นการประชดประชันกลุ่มอำมาตย์ขุนนาง และก็น่าตลกดีที่ในมิติของหน้าที่ภาษีและความรับรู้เชิงอำนาจถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ...ชนชั้นไพร่กลุ่มดังกล่าวกลับยังมีสำนึกแบบไพร่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชจริงๆ เพราะไม่ได้รู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของเงินงบประมาณแผ่นดิน เฝ้าแต่รอคอยการประทานลงมาจากผู้มีอำนาจบริหาร มิหนำซ้ำยังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงที่นักการเมืองและข้าราชการผู้มีอำนาจบริหารเงินได้ประทานบริการลงมาแก่ตนอีกต่างหาก
ชนชั้นไพร่ที่ยังคงสำนึกแบบยุคสมบูรณาญาสิทธิราชเหล่านั้นจึงพากันตอบแทนผู้มีอำนาจที่เจียดงบประมาณแผ่นดินมาให้ตนด้วยการยกสิทธิการคดโกงเบียดบัง“เงินหลวง”ให้กับเหล่านักการเมือง ออกใบอนุญาตคอรัปชั่นให้ซะ
ตราบใดที่คนส่วนน้อยยังเป็นผู้เสียภาษี ตราบนั้นคนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้สึกรู้สาก็จะยังอนุญาตให้ข้าราชการและนักการเมืองคดโกงได้ต่อไป ๆ ๆ
สำรวจอีกกี่ครั้งก็ทำใจเถอะครับ..ชาวไพร่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เขาถือว่างบประมาณแผ่นดินเป็นเงินหลวงที่ลอยลงมาจากฟ้า ใครแบ่งมามากที่สุดเป็นกำไร ใครโกงได้โกงไปขอเราแบ่งด้วยเป็นพอ !
แม้จะไม่มีงานวิจัยรองรับแต่จากที่สัมผัสผู้คนมาเยอะเมื่อเทียบระหว่างชนชั้นกลางกับชั้นล่างลงมาขอฟันธงว่าประชากรชาวไพร่ ชาวรากหญ้านี่แหละที่เป็นประชากรกลุ่มหลักที่ยอมรับได้หากนักการเมืองคดโกง
ตัวอย่างจากคนเสื้อแดงออกมาต่อสู้ทางการเมืองให้กับไทยรักไทยต่อเนื่องถึงเพื่อไทยก็เพราะพรรคการเมืองดังกล่าวมีนโยบาย “แบ่งปันน้ำแกง” คือจัดงบประมาณลงมาถึงประชาชนได้เด่นชัด นี่กระมังเป็นเหตุให้คนไทย 65% ที่รวมถึงคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งจึงไม่ค่อยรู้สึกแสลงตาแสลงใจกับข่าวข่าวการโกงกินของนักการเมืองแถมออกจะเฉยๆซะงั้น
ความคิดของประชาชนที่ยอมรับได้หากผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครองทุจริตโดยมีเงื่อนไขว่าแต่ต้องขอมีน้ำแกงแบ่งปันมาให้ประชาชนผู้ไม่มีอำนาจดังกล่าวเป็นความคิดที่สืบสาวไปถึงยุคศักดินาสวามิภักดิ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองโน่นเลยเพราะนี่เป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรมว่าด้วยทรัพยากรส่วนกลางที่คนไทยถือว่าเป็น “เงินหลวง” หรือ “ของหลวง”
ชื่อว่าเงินหลวงหรือของหลวงก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าไม่ใช่เงินเราหรือของเราเพราะในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย่อมถือว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายทั้งสิ้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้นถนนหนทางสิ่งก่อสร้างทั้งหลายล้วนแต่เป็นของหลวงซึ่งมี “ข้าราชการ” รับดำเนินการให้หลวงอีกทอด ไม่ใช่ธุระกงการของประชาชน
ดังนั้นกิจการงานของหลวงที่ต้องใช้เงินหลวงจึงเป็นเรื่องของข้าราชการตัดตอนไปทำ สมัยก่อนโน้นคือเมื่อ 20 ที่แล้วยังมีธรรมเนียมเขียนป้ายข้างรถยนต์ “ใช้ในราชการ” เท่านั้น ตอกย้ำว่านี่เป็นทรัพย์สมบัติของหลวงที่ระบบราชการท่านใช้งานกัน มันไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชนคนเดินดินธรรมดา
จนระยะหลังๆมานี้จึงค่อยๆ พัฒนาระบบคิดและหลักการใหม่ไปตามพัฒนาการทางการเมืองว่าระบบราชการไม่ใช่เรื่องของหลวงแต่เป็น “บริการสาธารณะ” ที่มีไว้ให้ประชาชนเจ้าของประเทศ ซึ่งแม้จะดีกว่าเมื่อ 20-30 ปีก่อนมากมายก็เหอะ ระบบราชการและงบหลวง เงินหลวง ของๆหลวงก็ยังไม่ได้ตกเป็นสมบัติของประชาชนจริง เพราะของหลวงทั้งหลายในยุคก่อนได้กลายเป็นสมบัติของพ่อค้านักการเมืองไปซะยังไม่ใช่กิจการของประชาชนเจ้าของประเทศอยู่ดี
การอยากได้เงินหลวงเข้าพกเข้าห่อมาเป็นของตนเองเป็นความอยากพื้นฐานสันดานมนุษย์ ในสมัยก่อนโน้นโกงเงินหลวงก็คือโกงเงินของพระราชา แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยสำนวนโกงเงินหลวงที่ติดปากสืบทอดมาที่แท้คือการโกงเงินจากทรัพย์สินภาษีอากรของราษฎร แต่คนธรรมดาสามัญแทบไม่มีใครคิดว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของตนเอง ยังคงติดกับธรรมเนียมความคิดเดิมคือเงินของแผ่นดินที่ลอยลงมาแปลงเป็นถนนหนทาง สถานีอนามัย โรงพัก อำเภอ ยังคิดว่าเป็นเรื่องที่ “หลวง” คือรัฐบาลประทานลงมาให้อยู่เช่นเดิม
ด้วยธรรมเนียมความคิดแบบนี้จึงกลายเป็นว่าส.ส.ที่ได้รับความนิยมคือส.ส.ที่เข้าไปต่อสู้ในสภาเพื่อต่อรองแย่งชิงเอา “เงินหลวง” มาให้ชาวบ้าน แปลงมาเป็นถนนหนทาง ไฟฟ้า สะพาน สถานที่ราชการใหม่ๆ เช่นวิทยาลัยพลศึกษา สนามกีฬากลาง ฯลฯ ต่อมาเลยกลายเป็นแบบแผนธรรมเนียมว่าพรรคการเมืองที่ดีคือพรรคที่มีนโยบายให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและบริการ เช่น เอาเงินกองทุนหมู่บ้านมาให้ใช้กู้ยืมกันเองคนละ 2 หมื่น (แถวบ้านบางรายยังไม่คืนเลย ฮาๆ)
และเมื่อส.ส.หรือพรรคการเมืองได้ไป “ต่อสู้แย่งชิง” เงินหลวงมาให้เราดังนั้นชาวบ้านจึงต้องยอมๆ ให้เขาโกงกินหัวคิวไปวัดครึ่งกรรมการครึ่งชาวบ้านขอแบ่งน้ำแกงมากินด้วยก็ยังดี
บางโครงการไม่เหมาะสม แพงเกิน ไม่ได้ประโยชน์อะไรแต่เมื่อมาลงพื้นที่แล้วก็จะมีคนจำนวนไม่น้อยมีความคิดว่าเอาๆ ไปเถอะไหนๆ ก็ได้งบมาแล้ว
ทั้งหมดทั้งมวลมาจากรากเหง้ากรอบความคิดพื้นฐานที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับตัวเอง มันเป็นเงินหลวงที่เป็นเรื่องของเจ้านายข้าราชการนักการเมืองเขาจัดการกัน ให้ชาวบ้านได้มาใช้ประโยชน์บ้างก็ดีถมแล้ว ส่วนเขาจะโกงกินบ้างก็ให้ถือเป็นค่าตอบแทนเขาไป
นักการเมืองเค้าชอบนะครับ ชอบกรอบความคิดของชาวบ้านแบบนี้เพราะมันง่ายต่อการเอาเงินของชาวบ้านมาซื้อเสียงสนับสนุนจากชาวบ้านอีกทอด การซื้อใจทำให้ชาวบ้านรักผูกพันกับนักการเมืองหรือพรรคการเมืองมีแต่ต้องดำรงความเชื่อเรื่องเงินหลวงเอาไว้
อยากให้ใครสักคนทำวิจัยดูความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความเชื่อเรื่องเงินหลวงกับรายได้ของบุคคลว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง ขอฟันธงอีกทีว่าผลวิจัยน่าจะชี้ชัดว่าคนที่คิดว่าเงินหลวงเป็นเงินที่ลอยลงมาก็คือกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในฐานภาษี ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี แล้วคนกลุ่มนี้เองที่คิดว่าโกงไม่เป็นไรขอให้ทำงาน
ส่วนคนที่ต่อสู้กับการโกงกิน เกลียดคนโกงซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในสังคมกลับเป็นมนุษย์เงินเดือน ชนชั้นกลาง พ่อค้าห้องแถวที่ถูกขูดรีดจากระบบภาษีสรรพากรโดยตรง พวกนี้จึงเข้าใจได้ชัดเจนว่า งบประมาณแผ่นดินที่เรียกกันว่า “เงินหลวง” นั้นที่แท้มาจากหยาดเหงื่อแรงงานของเขา
ไม่แปลกที่คนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มน้อยเลือกตั้งแต่ละทีก็แพ้เขาล่ะครับ นั่นเพราะประชากรไทยที่อยู่ในฐานภาษีมีเพียงแค่ประมาณ 3 ล้านคนเท่านั้น ส่วนที่เหลือไม่ต้องยื่นแบบภาษีเพราะรายได้ไม่ถึง แล้วคนพวกนี้ก็จ่ายภาษีทางอ้อมผ่านภาษีมูลค่าเพิ่ม ผ่านร้านเซเว่นฯ ผ่านการเติมน้ำมันรถกันซึ่งแทบไม่รู้สึกรู้สาว่านี่คือภาษีที่ตนจ่ายให้รัฐไป
ด้วยเหตุนี้ความรู้สึกที่ว่างบประมาณแผ่นดินไม่ใช่เป็นเงินของประชาชนหากเป็น “เงินหลวง” ที่ลอยลงมา หากว่าประชาชนได้แบ่งมามาถือเป็นกำไร...จึงยังฝังแน่นอยู่ในสังคมเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกรู้สาว่าต้องแบกรับภาระภาษีและแม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงการปกครองและทำงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนเจ้าของประเทศมาแล้วกว่า 80 ปีก็ตาม
ในประเทศไทยมีคนที่เรียกตัวเองว่าชนชั้นไพร่นัยว่าเป็นการประชดประชันกลุ่มอำมาตย์ขุนนาง และก็น่าตลกดีที่ในมิติของหน้าที่ภาษีและความรับรู้เชิงอำนาจถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรของประเทศ...ชนชั้นไพร่กลุ่มดังกล่าวกลับยังมีสำนึกแบบไพร่ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชจริงๆ เพราะไม่ได้รู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของเงินงบประมาณแผ่นดิน เฝ้าแต่รอคอยการประทานลงมาจากผู้มีอำนาจบริหาร มิหนำซ้ำยังรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณอันใหญ่หลวงที่นักการเมืองและข้าราชการผู้มีอำนาจบริหารเงินได้ประทานบริการลงมาแก่ตนอีกต่างหาก
ชนชั้นไพร่ที่ยังคงสำนึกแบบยุคสมบูรณาญาสิทธิราชเหล่านั้นจึงพากันตอบแทนผู้มีอำนาจที่เจียดงบประมาณแผ่นดินมาให้ตนด้วยการยกสิทธิการคดโกงเบียดบัง“เงินหลวง”ให้กับเหล่านักการเมือง ออกใบอนุญาตคอรัปชั่นให้ซะ
ตราบใดที่คนส่วนน้อยยังเป็นผู้เสียภาษี ตราบนั้นคนส่วนใหญ่ที่ไม่รู้สึกรู้สาก็จะยังอนุญาตให้ข้าราชการและนักการเมืองคดโกงได้ต่อไป ๆ ๆ
สำรวจอีกกี่ครั้งก็ทำใจเถอะครับ..ชาวไพร่คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้เขาถือว่างบประมาณแผ่นดินเป็นเงินหลวงที่ลอยลงมาจากฟ้า ใครแบ่งมามากที่สุดเป็นกำไร ใครโกงได้โกงไปขอเราแบ่งด้วยเป็นพอ !