ติดตามกระแสการรณรงค์สวมหน้ากาก V แสดงตนไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลตั้งแต่เช้าวันเสาร์หลังจากที่พวกเขาได้เข้าไปแสดงตนต่อต้านรัฐตามเพจเครือข่ายอำนาจการเมืองพรรคเพื่อไทยในคืนวันวิสาขบูชา
ความสนใจแรกสุดก็คือ “ยุทธวิธี” เพราะหน้ากาก V เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านทางสังคมในโลกตะวันตกโดยเฉพาะในสมรภูมิ Occupy หน้ากากจึงเป็น “จุดร่วม” ทางสัญลักษณ์ของการรณรงค์เพื่อรวบรวมกลุ่มคนที่คิดเห็นเช่นเดียวสัญลักษณ์กับเสื้อเหลือง เสื้อแดง มือตบ ตีนตบที่เคยใช้บนท้องถนนมาแล้ว
แต่ม็อบหน้ากาก V ในครั้งนี้ชุมนุมกันในโลกเสมือน !
และนี่เป็นปรากฏการณ์ม็อบไซเบอร์ Virtual Mob / Virtual Demonstrate ครั้งแรก ๆ ของไทยก็ว่าได้
อันที่จริงแล้วการปะทะสังสรรค์ชักจูงหว่านล้อมแนวคิดทางสังคมและการเมืองในโซเชียลมีเดียอยู่ในความสนใจของผู้เกี่ยวข้องแวดวงอำนาจมานานพอสมควรเพราะโซเชี่ยลมีเดียทลายข้อจำกัดทางการสื่อสารมวลชนดั้งเดิมเสียสิ้น อาหรับสปริงในหลายประเทศเกิดขึ้นได้เพราะการนัดหมายและแพร่ความทางทวิตเตอร์
อำนาจทางการเมืองตามกติกาประชาธิปไตยวัดกันที่จำนวนเสียงสนับสนุนและเห็นด้วยของประชาชน หากตีว่าฝ่ายเพื่อไทยมีแฟนพันธุ์แท้ 10-12 ล้านกว่าๆนิดหน่อย ส่วนปชป.ก็มี 10 ล้านน้อยกว่าฝ่ายแดงเล็กน้อย หากตัดผู้ไม่มีสิทธิ์เลือก-และกลุ่มนอนหลับไม่รู้ออกไป เสียงของสวิงโหวตคนกลางๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้อีกประมาณ 10 ล้านคือจำนวนที่ต้องช่วงชิงกัน หากเป็นเมื่อก่อนการใช้คอลัมนิสต์นสพ.และยึดสื่ออำนาจสูงอย่างโทรทัศน์ไว้ได้ย่อมได้เปรียบในการโน้มน้าวชักจูง แต่ทว่าเทคโนโลยีสื่อสารปัจจุบันทำให้แนวรบด้านนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
โซเชียลมีเดียมีผลตรงกับความรับรู้ /Perception ทัศนคติ/Attitude ข้อมูลและความรู้ของผู้คน/Data+knowledge ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ปัจเจกชนคนเดียวเท่านั้นเพราะอำนาจแห่งเครือข่ายยังมีผลต่อการโน้มน้าวพฤติกรรมรวมหมู่ (Group mentality) อีกด้วย
พลังอำนาจของ Virtual Mob ในโลกไซเบอร์มีอยู่จริงแท้แน่นอน เพราะการแสดงออกดังกล่าวมีผลผูกพันกับพฤติกรรมของประชาชนคนตัวเป็นๆในโลกใบจริง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเครือข่ายทวงคืนพลังงานที่ร่วมด้วยช่วยกันไลค์และแชร์ข้อมูลผ่านโซเชี่ยลมีเดียแถมยังงอกออกเป็นอาสาสมัครออกไปรณรงค์ตามจังหวัดต่างๆ อีกต่างหาก รัฐบาลจึงต้องกุลีกุจอแก้เกมแนวรบพลังงานที่เคยดูเบาฝ่ายคัดค้านมาโดยตลอดกันจ้าละหวั่นตาตื่นระดมสรรพกำลังของฝ่ายยักษ์มาไล่ทุบแจ๊คเช่นอนุมัติงบประมาณร่วม 100 ล้านเพื่อมาตอบโต้การนำเสนอข้อมูลของทีมงาน ส.ว.รสนา โตสิตระกูล
เรื่องพลังงานนี่นับว่ารัฐช้าไปบ้างกว่าถั่วจะสุกงาแทบไหม้หมดบทเรียนว่าด้วยแนวรบสื่อสารโลกไซเบอร์บทแรกๆก็คืออย่านอนใจกับอัตราความเร็วและการขยายตัวเราจึงได้เห็นบรรดาโฆษกพรรคเพื่อไทยเด้งผางออกมาจากเก้าอี้เพื่อมาตอบโต้ขบวนการหน้ากาก V ตั้งแต่เที่ยงของวันอาทิตย์ คือหลังจากที่ขบวนการได้เริ่มรณรงค์มาแค่ 2 คืนแรกเท่านั้น
ด้วยการประกาศแถลงว่ารัฐบาลไม่ยี่หระไม่แยแส หน้ากากจุดไม่ติดหรอกและระวังนะจะถูกดำเนินคดี ส่วนหมัดใต้เข็มขัดก็คือการส่งทีมงานเข้าโพสต์ตามแหล่งต่างๆว่าหน้ากาก V หมายถึงการต่อต้านล้มล้างสถาบันกษัตริย์เพราะว่า “กาย ฟอคส์” พยายามลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี 1605 ซึ่งมันตลกน่ะครับการแถให้ความหมายว่าหน้ากากหมายถึงการล้มเจ้ามันก็ได้แค่แถหรืออย่างเก่งก็แค่ถูไถ
แสบสีข้างกันตามสมควรเพราะหน้ากาก V มีที่มาจากการ์ตูนของ Alan Moore เมื่อปี 1982 การ์ตูนนี้เองได้เป็นที่มาของภาพยนตร์ V for vendetta ปรากฏฮีโร่สวมหน้ากากผู้ต้องการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการอังกฤษตามท้องเรื่องและมีการผูกโยงไปยังเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ของกาย ฟอคส์ผู้พยายามลอบสังหารกษัตริย์อังกฤษเพราะความขัดแย้งนิกายคาธอลิคกับโปรแตสแตนท์ความที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เตะตาโดนใจผู้ชม ต่อมาจึงมีการนำหน้ากาก V มาใช้ในการรณรงค์ต่อต้านทางสังคมต่างๆ
ความหมายของหน้ากาก V อันเป็นที่รับรู้ทั่วไปของสังคมโลกก็คือ หน้ากากที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอำนาจที่ (เขาคิดว่า) ไม่เป็นธรรมทั้งหลาย อย่างขบวนการ Occupy Wall Street ในอเมริกาก็หยิบมาใช้เพื่อประกาศว่าผู้สวมใส่เป็นคนธรรมดานิรนาม Annonymous ที่ลุกขึ้นมา
หน้ากาก นอกจากจะไว้ซ่อนใบหน้าจริงแล้ว ยังหมายไปถึงคนนิรนามทั่วๆไปดาษดื่นในสังคม
นั่นเอง !
ตัวผมเองก็ยังมองไม่ออกว่าปรากฏการณ์หน้ากาก V ที่กำลังขยายตัวอย่างสนุกสนานในเฟซบุ้คจะแปรสภาพมาเป็นขบวนการหรือที่ฝรั่งเรียก Movement ได้หรือไม่หรือว่าจะจอดอยู่แค่การละเล่นเอาสนุกของผู้ไม่ชอบรัฐบาลประเดี๋ยวประด๋าวนั่นเพราะการออกแบบแคมเปญรณรงค์ใดๆ ให้ถึงระดับ “จุดติด” นั้นเป็นสุดยอดกลยุทธ์ที่ต้องอาศัยทั้งจังหวะเวลาความเข้าใจในพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และบางคราต้องอาศัยดวงด้วย
การใช้หน้ากาก V เป็นสัญลักษณ์มีทั้งข้อบวกและลบ ในแง่บวกคือมันเป็นความหมายสำเร็จรูปที่มีการใช้มาแล้วในสังคมประชาธิปไตยก้าวหน้าของโลก มีเสน่ห์ มีเรื่องราว มีความเชื่อมโยงเชิงนัยให้รู้สึกและรับรู้ได้ว่าเป็นเรื่องของคนเล็กๆ จำนวนมากที่ไม่มีชื่อเสียงใดๆ ร่วมกันออกมาต่อต้านอำนาจฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่และก็ประสบความสำเร็จ หน้ากากยังสามารถนำมาใช้ในการรณรงค์จริงบนท้องถนน เป็นทั้งสัญลักษณ์และเป็นทั้งเครื่องมือทางพฤติกรรมกลุ่ม เมื่อมาใช้ในโลกไซเบอร์มองเห็นง่าย สื่อความหมายตรงไม่ซับซ้อน ดึงดูดความรู้สึกเป็นพวกเป็นหมู่เหล่า ... ยิ่งแพร่มากอำนาจในการดึงดูดยิ่งมากขึ้นทบทวีคูณ
แต่หน้ากาก V ก็ใช่อาวุธหนักที่ทรงอิทธิฤทธิ์เป็นคำตอบสุดท้ายเพราะเงื่อนไขของโลกไซเบอร์เองส่วนหนึ่งและพฤติกรรมของผู้คนในโซเชียลมีเดียอีกส่วนหนึ่ง พฤติกรรมความเป็นส่วนตัวของเจ้าของเพจเป็นโจทย์ใหญ่ของการออกแบบแคมเปญ
การเปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาเป็นหน้ากากนั้นน่ะสามารถทำได้เป็นครั้งคราวแต่ที่สุดแล้วยังไงเสียก็ไม่มีทางใช้ภาพหน้ากากได้ตลอดไป หรือว่าสัญลักษณ์ที่เหมาะกับโซเชียลมีเดียที่สุดยังน่าจะเป็นพวกริบบิ้นหรือเข็มกลัดแบดจ์มากกว่าเพราะสามารถแปะไว้กับภาพถ่ายหลายๆแบบได้ นอกจากนั้นจุดแตกต่างระหว่างการใช้หน้ากากบนท้องถนนกับในโลกไซเบอร์ที่ผู้ใช้ควรคำนึงก็คือเราอาจใช้หน้ากากปกปิดใบหน้าจริงในการประท้วงบนถนนได้แต่ไม่สามารถปกปิดตัวตนของเราในโลกไซเบอร์ได้
หมายความว่าแม้จะเปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาสวมหน้ากากแล้วของขึ้นไปด่าว่าให้ร้ายฝ่ายตรงกันข้ามหรือกระทำผิดกฎหมายเช่นตัดต่อรูป ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่าภาพหน้ากากจะกลบเกลื่อนร่องรอยได้นะครับ เพราะสามารถสาวถึงตัวตนคนทำได้อยู่ดี จิตวิทยามวลชนเขาบอกว่าเมื่อคนมารวมตัวกันมากๆ มักจะชักจูงหมู่คณะให้คล้อยตามกันไปและกระทำในสิ่งที่ละเมิดมากขึ้นเรื่อยๆมีม็อบขึ้นมาย่อมมีแนวโน้มจะนำไปสู่อนาธิปไตยมากขึ้นดังนั้นแกนนำที่มีประสบการณ์และมีความรับผิดชอบจะต้องรับหน้าที่ถอนฟืนออกจากไฟพร้อมๆ กับต้องรักษาอุณหภูมิของม็อบไม่ให้เครื่องเย็นสตาร์ทติดยากเกินไปด้วย
การรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมในโลกเสมือนจริงเป็นเรื่องใหม่ การรณรงค์สวมหน้ากากไปต่อต้านรัฐก็เป็นเรื่องใหม่ ผู้เข้าร่วมที่ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมการทำความเข้าใจกับกฎกติกาการม็อบในโลกเสมือนอาจจะซวยมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน
ผมเชื่อว่าตอนนี้รัฐบาลตั้งทีมแกะรอยไล่ล่าผู้อยู่เบื้องหลังคอยกำกับการแสดงขบวนการหน้ากาก V กันแล้วล่ะ สังเกตดูจากอาการดิ้นและเด้งอยู่ไม่ติดกันตั้งแต่นายยันบ่าว(แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาผิดข้อหาอะไร-ฮา) ผมนั้นน่ะก็เปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาสวมหน้ากากเหมือนกันครับเพื่อเป็นการสนับสนุนของใหม่..อิอิ อยากรู้เช่นเดียวกับหลายๆ คนว่าขบวนการนี้เมื่อก้าวเดินต่อไปจะออกมาอีท่าไหน และที่สำคัญเพื่อประกาศความไม่เห็นด้วยต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาล จำนำข้าวเจ๊งก็ยังดื้อด้านกินกันต่อ 2.6 แสนล้าน โมดูลน้ำท่วมของปลอดประสพที่ไม่สมเหตุสมผลอีก 3.5 แสนล้าน ไหนจะกรณีปลดหมอวิทิตจากองค์การเภสัชกรรม และอื่นๆอีกมากมายแค่สวมหน้ากากแสดงสัญลักษณ์น่ะยังน้อยไปด้วยซ้ำ
การแสดงออกซึ่งพลังของคนเล็กคนน้อยในยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องไปที่เพจคนเสื้อแดงก็ได้เช่นกรณีของกลุ่มเครือข่ายทวงคืนพลังงานที่ก้มหน้าก้มตาเผยแพร่ความจริงอีกด้านหนึ่งอย่างอดทนแต่ก็สะเทือนไปทั้งตึกปตท. ฉันใดก็ฉันนั้นคนสวมหน้ากากอาจจะนัดหมายกันเปลี่ยนภาพโปรไฟล์สวมหน้ากากเพื่อให้เป็นพวกเดียวกันทั้งผองกินข้าวกินปลาเสร็จระหว่างรอดูละครหลังข่าวก็ไปรวมตัวให้กำลังใจคนดีเช่นหมอวิทิตกันสักครั้งแล้วก็แยกย้ายกันกลับไปเปลี่ยนชุดกลายเป็นภาพโปรไฟล์ตามอัธยาศัยต่อไป มันก็เป็นพลังแสดงออกได้เช่นกัน นี่ก็เป็น Virtual Demonstration เช่นกัน
อยากจริงๆ นะ..อยากเห็นปรากฏการณ์ใหม่ๆ ของขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นในโลกเสมือนแต่มีผลสะเทือนถึงโลกใบจริง
อำนาจของ Virtual Mob มีแน่นอนเพราะสามารถแปรมาเป็น Active Mob ได้ทุกเมื่อ พลังอำนาจของประชาชนดังกล่าวไม่ได้มีผลเฉพาะฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้นแม้แต่กระทั่งพวกเดียวกันนี่แหละถ้าหากดูเบาคิดหลอกใช้ประชาชนไต่เต้าสู่อำนาจใหม่ เพราะนี่เป็นการรวมกลุ่มกันจากเซลอิสระย่อยๆจำนวนมากไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งที่ต้องรอเงินหล่นมาหรือคอยสำนึกบุญคุณใคร
น่าเชื่อว่าจากนี้น่าจะมีรูปแบบการรณรงค์บนเครือข่ายโลกเสมือนแบบใหม่ๆ ทยอยตามหลังหน้ากาก V มาอีก..จะขอเฝ้ารอดูด้วยใจจดจ่อเพราะไม่แน่ว่านี่อาจเป็นคำตอบผ่าทางตันให้กับวิกฤตการณ์การเมืองที่ตีบตันเชิงโครงสร้างในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า.
ความสนใจแรกสุดก็คือ “ยุทธวิธี” เพราะหน้ากาก V เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านทางสังคมในโลกตะวันตกโดยเฉพาะในสมรภูมิ Occupy หน้ากากจึงเป็น “จุดร่วม” ทางสัญลักษณ์ของการรณรงค์เพื่อรวบรวมกลุ่มคนที่คิดเห็นเช่นเดียวสัญลักษณ์กับเสื้อเหลือง เสื้อแดง มือตบ ตีนตบที่เคยใช้บนท้องถนนมาแล้ว
แต่ม็อบหน้ากาก V ในครั้งนี้ชุมนุมกันในโลกเสมือน !
และนี่เป็นปรากฏการณ์ม็อบไซเบอร์ Virtual Mob / Virtual Demonstrate ครั้งแรก ๆ ของไทยก็ว่าได้
อันที่จริงแล้วการปะทะสังสรรค์ชักจูงหว่านล้อมแนวคิดทางสังคมและการเมืองในโซเชียลมีเดียอยู่ในความสนใจของผู้เกี่ยวข้องแวดวงอำนาจมานานพอสมควรเพราะโซเชี่ยลมีเดียทลายข้อจำกัดทางการสื่อสารมวลชนดั้งเดิมเสียสิ้น อาหรับสปริงในหลายประเทศเกิดขึ้นได้เพราะการนัดหมายและแพร่ความทางทวิตเตอร์
อำนาจทางการเมืองตามกติกาประชาธิปไตยวัดกันที่จำนวนเสียงสนับสนุนและเห็นด้วยของประชาชน หากตีว่าฝ่ายเพื่อไทยมีแฟนพันธุ์แท้ 10-12 ล้านกว่าๆนิดหน่อย ส่วนปชป.ก็มี 10 ล้านน้อยกว่าฝ่ายแดงเล็กน้อย หากตัดผู้ไม่มีสิทธิ์เลือก-และกลุ่มนอนหลับไม่รู้ออกไป เสียงของสวิงโหวตคนกลางๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้อีกประมาณ 10 ล้านคือจำนวนที่ต้องช่วงชิงกัน หากเป็นเมื่อก่อนการใช้คอลัมนิสต์นสพ.และยึดสื่ออำนาจสูงอย่างโทรทัศน์ไว้ได้ย่อมได้เปรียบในการโน้มน้าวชักจูง แต่ทว่าเทคโนโลยีสื่อสารปัจจุบันทำให้แนวรบด้านนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
โซเชียลมีเดียมีผลตรงกับความรับรู้ /Perception ทัศนคติ/Attitude ข้อมูลและความรู้ของผู้คน/Data+knowledge ซึ่งก็ไม่ใช่แค่ปัจเจกชนคนเดียวเท่านั้นเพราะอำนาจแห่งเครือข่ายยังมีผลต่อการโน้มน้าวพฤติกรรมรวมหมู่ (Group mentality) อีกด้วย
พลังอำนาจของ Virtual Mob ในโลกไซเบอร์มีอยู่จริงแท้แน่นอน เพราะการแสดงออกดังกล่าวมีผลผูกพันกับพฤติกรรมของประชาชนคนตัวเป็นๆในโลกใบจริง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือเครือข่ายทวงคืนพลังงานที่ร่วมด้วยช่วยกันไลค์และแชร์ข้อมูลผ่านโซเชี่ยลมีเดียแถมยังงอกออกเป็นอาสาสมัครออกไปรณรงค์ตามจังหวัดต่างๆ อีกต่างหาก รัฐบาลจึงต้องกุลีกุจอแก้เกมแนวรบพลังงานที่เคยดูเบาฝ่ายคัดค้านมาโดยตลอดกันจ้าละหวั่นตาตื่นระดมสรรพกำลังของฝ่ายยักษ์มาไล่ทุบแจ๊คเช่นอนุมัติงบประมาณร่วม 100 ล้านเพื่อมาตอบโต้การนำเสนอข้อมูลของทีมงาน ส.ว.รสนา โตสิตระกูล
เรื่องพลังงานนี่นับว่ารัฐช้าไปบ้างกว่าถั่วจะสุกงาแทบไหม้หมดบทเรียนว่าด้วยแนวรบสื่อสารโลกไซเบอร์บทแรกๆก็คืออย่านอนใจกับอัตราความเร็วและการขยายตัวเราจึงได้เห็นบรรดาโฆษกพรรคเพื่อไทยเด้งผางออกมาจากเก้าอี้เพื่อมาตอบโต้ขบวนการหน้ากาก V ตั้งแต่เที่ยงของวันอาทิตย์ คือหลังจากที่ขบวนการได้เริ่มรณรงค์มาแค่ 2 คืนแรกเท่านั้น
ด้วยการประกาศแถลงว่ารัฐบาลไม่ยี่หระไม่แยแส หน้ากากจุดไม่ติดหรอกและระวังนะจะถูกดำเนินคดี ส่วนหมัดใต้เข็มขัดก็คือการส่งทีมงานเข้าโพสต์ตามแหล่งต่างๆว่าหน้ากาก V หมายถึงการต่อต้านล้มล้างสถาบันกษัตริย์เพราะว่า “กาย ฟอคส์” พยายามลอบปลงพระชนม์พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษเมื่อปี 1605 ซึ่งมันตลกน่ะครับการแถให้ความหมายว่าหน้ากากหมายถึงการล้มเจ้ามันก็ได้แค่แถหรืออย่างเก่งก็แค่ถูไถ
แสบสีข้างกันตามสมควรเพราะหน้ากาก V มีที่มาจากการ์ตูนของ Alan Moore เมื่อปี 1982 การ์ตูนนี้เองได้เป็นที่มาของภาพยนตร์ V for vendetta ปรากฏฮีโร่สวมหน้ากากผู้ต้องการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการอังกฤษตามท้องเรื่องและมีการผูกโยงไปยังเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ของกาย ฟอคส์ผู้พยายามลอบสังหารกษัตริย์อังกฤษเพราะความขัดแย้งนิกายคาธอลิคกับโปรแตสแตนท์ความที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เตะตาโดนใจผู้ชม ต่อมาจึงมีการนำหน้ากาก V มาใช้ในการรณรงค์ต่อต้านทางสังคมต่างๆ
ความหมายของหน้ากาก V อันเป็นที่รับรู้ทั่วไปของสังคมโลกก็คือ หน้ากากที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านอำนาจที่ (เขาคิดว่า) ไม่เป็นธรรมทั้งหลาย อย่างขบวนการ Occupy Wall Street ในอเมริกาก็หยิบมาใช้เพื่อประกาศว่าผู้สวมใส่เป็นคนธรรมดานิรนาม Annonymous ที่ลุกขึ้นมา
หน้ากาก นอกจากจะไว้ซ่อนใบหน้าจริงแล้ว ยังหมายไปถึงคนนิรนามทั่วๆไปดาษดื่นในสังคม
นั่นเอง !
ตัวผมเองก็ยังมองไม่ออกว่าปรากฏการณ์หน้ากาก V ที่กำลังขยายตัวอย่างสนุกสนานในเฟซบุ้คจะแปรสภาพมาเป็นขบวนการหรือที่ฝรั่งเรียก Movement ได้หรือไม่หรือว่าจะจอดอยู่แค่การละเล่นเอาสนุกของผู้ไม่ชอบรัฐบาลประเดี๋ยวประด๋าวนั่นเพราะการออกแบบแคมเปญรณรงค์ใดๆ ให้ถึงระดับ “จุดติด” นั้นเป็นสุดยอดกลยุทธ์ที่ต้องอาศัยทั้งจังหวะเวลาความเข้าใจในพฤติกรรมสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และบางคราต้องอาศัยดวงด้วย
การใช้หน้ากาก V เป็นสัญลักษณ์มีทั้งข้อบวกและลบ ในแง่บวกคือมันเป็นความหมายสำเร็จรูปที่มีการใช้มาแล้วในสังคมประชาธิปไตยก้าวหน้าของโลก มีเสน่ห์ มีเรื่องราว มีความเชื่อมโยงเชิงนัยให้รู้สึกและรับรู้ได้ว่าเป็นเรื่องของคนเล็กๆ จำนวนมากที่ไม่มีชื่อเสียงใดๆ ร่วมกันออกมาต่อต้านอำนาจฉ้อฉลที่ยิ่งใหญ่และก็ประสบความสำเร็จ หน้ากากยังสามารถนำมาใช้ในการรณรงค์จริงบนท้องถนน เป็นทั้งสัญลักษณ์และเป็นทั้งเครื่องมือทางพฤติกรรมกลุ่ม เมื่อมาใช้ในโลกไซเบอร์มองเห็นง่าย สื่อความหมายตรงไม่ซับซ้อน ดึงดูดความรู้สึกเป็นพวกเป็นหมู่เหล่า ... ยิ่งแพร่มากอำนาจในการดึงดูดยิ่งมากขึ้นทบทวีคูณ
แต่หน้ากาก V ก็ใช่อาวุธหนักที่ทรงอิทธิฤทธิ์เป็นคำตอบสุดท้ายเพราะเงื่อนไขของโลกไซเบอร์เองส่วนหนึ่งและพฤติกรรมของผู้คนในโซเชียลมีเดียอีกส่วนหนึ่ง พฤติกรรมความเป็นส่วนตัวของเจ้าของเพจเป็นโจทย์ใหญ่ของการออกแบบแคมเปญ
การเปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาเป็นหน้ากากนั้นน่ะสามารถทำได้เป็นครั้งคราวแต่ที่สุดแล้วยังไงเสียก็ไม่มีทางใช้ภาพหน้ากากได้ตลอดไป หรือว่าสัญลักษณ์ที่เหมาะกับโซเชียลมีเดียที่สุดยังน่าจะเป็นพวกริบบิ้นหรือเข็มกลัดแบดจ์มากกว่าเพราะสามารถแปะไว้กับภาพถ่ายหลายๆแบบได้ นอกจากนั้นจุดแตกต่างระหว่างการใช้หน้ากากบนท้องถนนกับในโลกไซเบอร์ที่ผู้ใช้ควรคำนึงก็คือเราอาจใช้หน้ากากปกปิดใบหน้าจริงในการประท้วงบนถนนได้แต่ไม่สามารถปกปิดตัวตนของเราในโลกไซเบอร์ได้
หมายความว่าแม้จะเปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาสวมหน้ากากแล้วของขึ้นไปด่าว่าให้ร้ายฝ่ายตรงกันข้ามหรือกระทำผิดกฎหมายเช่นตัดต่อรูป ฯลฯ ไม่ได้หมายความว่าภาพหน้ากากจะกลบเกลื่อนร่องรอยได้นะครับ เพราะสามารถสาวถึงตัวตนคนทำได้อยู่ดี จิตวิทยามวลชนเขาบอกว่าเมื่อคนมารวมตัวกันมากๆ มักจะชักจูงหมู่คณะให้คล้อยตามกันไปและกระทำในสิ่งที่ละเมิดมากขึ้นเรื่อยๆมีม็อบขึ้นมาย่อมมีแนวโน้มจะนำไปสู่อนาธิปไตยมากขึ้นดังนั้นแกนนำที่มีประสบการณ์และมีความรับผิดชอบจะต้องรับหน้าที่ถอนฟืนออกจากไฟพร้อมๆ กับต้องรักษาอุณหภูมิของม็อบไม่ให้เครื่องเย็นสตาร์ทติดยากเกินไปด้วย
การรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมในโลกเสมือนจริงเป็นเรื่องใหม่ การรณรงค์สวมหน้ากากไปต่อต้านรัฐก็เป็นเรื่องใหม่ ผู้เข้าร่วมที่ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมการทำความเข้าใจกับกฎกติกาการม็อบในโลกเสมือนอาจจะซวยมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน
ผมเชื่อว่าตอนนี้รัฐบาลตั้งทีมแกะรอยไล่ล่าผู้อยู่เบื้องหลังคอยกำกับการแสดงขบวนการหน้ากาก V กันแล้วล่ะ สังเกตดูจากอาการดิ้นและเด้งอยู่ไม่ติดกันตั้งแต่นายยันบ่าว(แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเอาผิดข้อหาอะไร-ฮา) ผมนั้นน่ะก็เปลี่ยนภาพโปรไฟล์มาสวมหน้ากากเหมือนกันครับเพื่อเป็นการสนับสนุนของใหม่..อิอิ อยากรู้เช่นเดียวกับหลายๆ คนว่าขบวนการนี้เมื่อก้าวเดินต่อไปจะออกมาอีท่าไหน และที่สำคัญเพื่อประกาศความไม่เห็นด้วยต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาล จำนำข้าวเจ๊งก็ยังดื้อด้านกินกันต่อ 2.6 แสนล้าน โมดูลน้ำท่วมของปลอดประสพที่ไม่สมเหตุสมผลอีก 3.5 แสนล้าน ไหนจะกรณีปลดหมอวิทิตจากองค์การเภสัชกรรม และอื่นๆอีกมากมายแค่สวมหน้ากากแสดงสัญลักษณ์น่ะยังน้อยไปด้วยซ้ำ
การแสดงออกซึ่งพลังของคนเล็กคนน้อยในยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องไปที่เพจคนเสื้อแดงก็ได้เช่นกรณีของกลุ่มเครือข่ายทวงคืนพลังงานที่ก้มหน้าก้มตาเผยแพร่ความจริงอีกด้านหนึ่งอย่างอดทนแต่ก็สะเทือนไปทั้งตึกปตท. ฉันใดก็ฉันนั้นคนสวมหน้ากากอาจจะนัดหมายกันเปลี่ยนภาพโปรไฟล์สวมหน้ากากเพื่อให้เป็นพวกเดียวกันทั้งผองกินข้าวกินปลาเสร็จระหว่างรอดูละครหลังข่าวก็ไปรวมตัวให้กำลังใจคนดีเช่นหมอวิทิตกันสักครั้งแล้วก็แยกย้ายกันกลับไปเปลี่ยนชุดกลายเป็นภาพโปรไฟล์ตามอัธยาศัยต่อไป มันก็เป็นพลังแสดงออกได้เช่นกัน นี่ก็เป็น Virtual Demonstration เช่นกัน
อยากจริงๆ นะ..อยากเห็นปรากฏการณ์ใหม่ๆ ของขบวนการทางสังคมเกิดขึ้นในโลกเสมือนแต่มีผลสะเทือนถึงโลกใบจริง
อำนาจของ Virtual Mob มีแน่นอนเพราะสามารถแปรมาเป็น Active Mob ได้ทุกเมื่อ พลังอำนาจของประชาชนดังกล่าวไม่ได้มีผลเฉพาะฝ่ายตรงกันข้ามเท่านั้นแม้แต่กระทั่งพวกเดียวกันนี่แหละถ้าหากดูเบาคิดหลอกใช้ประชาชนไต่เต้าสู่อำนาจใหม่ เพราะนี่เป็นการรวมกลุ่มกันจากเซลอิสระย่อยๆจำนวนมากไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งที่ต้องรอเงินหล่นมาหรือคอยสำนึกบุญคุณใคร
น่าเชื่อว่าจากนี้น่าจะมีรูปแบบการรณรงค์บนเครือข่ายโลกเสมือนแบบใหม่ๆ ทยอยตามหลังหน้ากาก V มาอีก..จะขอเฝ้ารอดูด้วยใจจดจ่อเพราะไม่แน่ว่านี่อาจเป็นคำตอบผ่าทางตันให้กับวิกฤตการณ์การเมืองที่ตีบตันเชิงโครงสร้างในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า.