xs
xsm
sm
md
lg

เสาไฟฟ้า แมลงสาบ คนกรุงเทพยังมีทางเลือกอื่นไหม?

เผยแพร่:   โดย: ยุรชัฏ ชาติสุทธิชัย

จะว่าไปแล้วอีกไม่กี่วันเท่านั้นก็จะถึงวันเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่ ในวันอาทิตย์ 3 มีนาคม 2556 เก้าอี้นี้มีความสำคัญมากพอๆกับเก้าอี้นายกเลยก็ว่าได้ เพราะผู้ว่ากรุงเทพ มีหน้าที่ดูแลกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศไทย

การเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เป็นการปกครองและการบริหาร ในรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบพิเศษ ซึ่งในประเทศไทยมี การปกครองท้องถิ่นแบบพิเศษ คือ กทม. และเมืองพัทยา เป็นการปกครองที่ให้ความสำคัญกับการปกครองตนเองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ชาวกทม.เลือกสภากทม.และผู้ว่ากทม.โดยตรง เป็นรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย เป็นการกระจายอำนาจปกครอง ให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย

การปกครองท้องถิ่นสามารถสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นตรงเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไม่ว่าทางสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากร ประชาชน ความต้องการ และปัญหาย่อมต่างกันออกไป ผู้ที่ให้บริการหรือแก้ไขปัญหาให้ถูกจุดและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดีก็คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่นได้หาทางสนองแก้ปัญหาด้วยตนเอง ด้วยกลไกการบริหารต่าง ๆ ทั้งในแง่ของการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ

การสมัครผู้ลงสมัครผู้ว่ากทม.เสร็จสิ้นไปแล้วนะครับ เมื่อวันที่ 21 มกราคม -25 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา มีผู้สมัคร 25 คน เป็นชาย 21 คน หญิง 4 คน มีการจับฉลากได้หมายเลขในการลงพื้นที่หาเสียงกันไปแล้ว มีผู้สมัครสังกัดพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ คือพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เบอร์ 9 จากพรรคเพื่อไทย ชูนโยบายไร้รอยต่อ ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เบอร์ 16 พรรคประชาธิปัตย์ ชูนโยบานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เอาใจผู้ลงคะแนนสูงวัยในกทม. และ มีผู้สมัครจากพรรคพรรคเล็ก เช่น นายจำรัส อินทุมาร เบอร์ 15 จากพรรคไทยพอเพียง และยัง มีพรรคที่ชาวบ้านไม่ค่อยคุ้นไม่เคยได้ยิน อย่าง พรรคยางพาราไทย

นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้สมัคร อิสระไม่สังกัดพรรค ที่น่าสนใจเช่นนาย สุหฤท สยามวาลาผู้บริหารบริษัท ดีเอชเอ สยามวาลา จำกัด และ ดีเจ นักร้อง นักแต่งเพลง เจ้าของฉายา "พ่อมดอิเล็กทรอนิกส์" และนายโฆสิต สุวินิจจิต นักธุรกิจสื่อสารมวลชน อดีตผู้บริหารสถานีข่าวสปริงนิวส์ อดีตประธานบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์

มีขาประจำไม้ประดับที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นอาชีพ แทบจะทุกเวทีการเลือกตั้ง คราวนี้ก็มีชื่อเดิมๆ อย่างร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญ หรือ ตู่ ติงลี่ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายสมัย และนายวรัญชัย โชคชนะ อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 6 สมัย ในนามกลุ่ม "กรุงเทพก้าวหน้า"

หลายคน ผู้สมัครหลายคน คนกรุงเทพคุ้นหน้าคุ้นตา อย่างพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หมายเลข 11 และอีกหลายคนที่คนกรุงเทพรู้จัก แม้จะมีประวัติและนโยบายที่อาจถูใจคนกรุงเทพ อย่างนางจงจิต ร์ หิรัญลาภ หมายเลข 12 ศาสตราจารย์ดอกเตอร์ปริญญาเอกด้านพลังงานจากฝรั่งเศส อดีตอจ.สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรพระจอมเกล้าธนบุรี ชูสโลแกน สวัสดีกรุงเทพเมืองใสสะอาด .

การเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 นับจากมีการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ครั้งแรกเมื่อปี 2518 การเลือกตั้งผ่านมาแล้ว 9 ครั้ง

ครั้งแรก วันที่ 10 ส.ค.2518 ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งคือ นายธรรมนูญ เทียนเงิน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 99,247 คะแนน
ครั้งที่ 2 วันที่ 14 พ.ย.2528 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม ได้ 480,233 คะแนน
ครั้งที่ 3 วันที่ 7 ม.ค.2533 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พรรคพลังธรรม ได้ 703,671 คะแนน
ครั้งที่ 4 วันที่ 19 เม.ย. 2535 ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา พรรคพลังธรรม ได้ 363,668 คะแนน
ครั้งที่ 5 วันที่ 2 มิ.ย. 2539 นายพิจิตต รัตตกุล อิสระ ได้ 768,994 คะแนน
ครั้งที่ 6 วันที่ 23 ก.ค. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช อิสระ ได้ 1,016,096 คะแนน
ครั้งที่ 7 วันที่ 29 ส.ค. 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 911,441 คะแนน
ครั้งที่ 8 วันที่ 5 ต.ค.2551 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 991,018 คะแนน
ครั้งที่ 9 วันที่ 11 ม.ค.2552 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 934,602 คะแนน

การเลือกครั้งหลังๆที่ผ่านมา ผู้ชนะได้คะแนนราว 9 แสนคะแนน ศึกเลือกตั้งผู้ว่ากทม.คราวนี้ ก็เช่นกัน คนที่จะได้ครองตำแหน่ง ผู้ว่ากทม ต้องหาเสียง ทำคะแนนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเก้าแสนคะแนน

การเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ มี ประชาชนมาใช้สิทธิลงคะแนน เพียงร้อยละ 51 เท่านั้น แปลว่าคนกทม.เกือบครึ่งหนึ่งไม่ได้ใช้สิทธิ ไม่มีส่วนร่วมในการเลือกผู้ว่ากทม.

คราวนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกทม. รายงานว่า ประชาชนกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในปี 2556 มีประมาณ 4.6 ล้านคน มีการตั้งเป้าว่าจะมีผู้มาใช้สิทธิอย่างน้อยร้อยละ 75 หรือประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งถือว่าตั้งเป้าไว้สูง ก็ต้องคอยดูกันนะครับว่า ครั้งนี้จะมีคนไปลงคคะแนนเสียงร้อยละเท่าไร

กกต. กทม. ได้ทำแผนประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกเหนือจากที่ กทม. ทำแผนรณรงค์ โดยได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นมา จากการขอความร่วมมือสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข่าวสารความคืบหน้า และตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป

คนกรุงเทพต้องการนโยบายที่ทำได้จริง แก้ปัญหาได้จริง ปัญหาใหญ่ของคนกทม.อย่างปัญหาจลาจร ปัญหาน้ำท่วม ที่เราเพิ่งผ่านวิกฤกตน้ำท่วมใหญ่กันมาเมื่อปี พ.ศ. 2554 เป็นปัญหายาก ซับซ้อน ที่ผู้สมัครยังเลี่ยงๆ ที่จะเสนอนโยบายสำคัญนี้ เพราะคนกทม.จำนวนมากเกาะติด ตรวจสอบติดตามเรื่องนี้จริงจัง หลายคนเลี่ยงบาลีมาชูนโยบายเอาใจคนกลุ่มต่างๆที่เป็นฐานสียง อย่างเรื่องผู้สูงอายุ เรื่องการรักษาพยาบาล หรือจักรยาน หลายวันมานี้ผู้สมัครหลายคนสร้างภาพด้วยการขี่จักรยาน เสนอนโยบายเพิ่มเลนสำหรับคนปั่นจักรยานบนถนนในกทม.ที่แสนจะอันตรายและเต็มไปด้วยควันพิษบนถนน

พูดถึงการจลาจร นโยบายที่นักเลือกตั้งเอามาชูได้ก็มีแต่ การซื้อรถเพิ่ม การก่อสร้างเพิ่ม ซิ่งไม่ยาก เอาเงินงบประมาณภาษีชาวบ้านมาซื้อ ซื้อมากสร้างมาก นักการเมือง ก็ได้สวาปามเงินค่าคอมมิสชั่นกันปรีเปรม

งานนี้ต้องยอมรับว่าผู้สมัครที่มีพรรคสังกัดน่าจะมีภาษีดีกว่าผู้สมัครแบบอิสระ โดยเฉพาะเรื่องของเครื่อข่ายฐานเสียง ที่ได้กองหนุนจากประชาชนที่สนับสนุนพรรค แถมผู้สมัครบางคนชูประเด็นเรื่องการไร้รอยต่อเพราะเป็นคนของพรรคแกนนำรัฐบาล ส่วนพรรคอีกพรรคก็ได้ทีอ้างว่าถ้าไม่เลือกเราเขามาแน่ เพื่ออ้างว่าตัวเองจะเป็นตราชั่งถ่วงดุลย์อำนาจทางการเมืองกับอีกพรรคหนึ่ง

ลองคิดเล่นกันดูนะครับระหว่างเสาไฟฟ้าที่หมาขี้เรื้อนฉี่ใส่ขี้ใส่จนสกปรกเหม็นไปทั้งซอยหมดแล้ว กับแมลงสาบที่วิ่งหลบเข้าไปในตู้เสื้อผ้า แล้วทิ้งขี้แมลงสาบเอาไว้เต็มตู้ไปหมดแล้ว

เราที่เป็นเจ้าของบ้านต้องมาเก็บกวาดเอง แบบนี้คุณจะเลือกใครระหว่างสองอย่างนี้ เอาง่ายๆนะครับหากคุณอยากได้การเมืองแบบใหม่ๆ แล้วทำไมจะต้องไปเลือกนักการเมืองเก่าๆ เพราะบางทีของเก่าๆก็ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไรเลย อยู่แต่กับอะไรเดิมๆ

ผู้สมัครอิสระเองก็ใช่ว่าชาวบ้านจะไม่แคลงใจเดินเข้าคูหาไปกากบาทให้ เพราะผู้สมัครบางคนก็มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับนักการเมืองใหญ่ๆ หรือพรรคการเมือง ใครรับเงินใคร ใครรับงาน เพื่อมาลงสมัครเป็นผู้ว่าบ้าง ประเด็นนี้ผู้สมัครอิสระทั้งหลายต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้

ผู้สมัครบางคนก็ใช้การหาเสียงผ่านโซเซี่ยลเน็ทเวิร์คแบบจริงจัง เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ นายสุหฤท สยามวาลา เบอร์ 17 ที่ผมไม่เคยเห็นป้ายหาเสียงของชายคนนี้เลย เห็นแต่เฟซบุ๊คเท่านั้น ชายคนนี้มีนโยบายและวิธีการเข้าถึงคนกทม.และคนรุ่นใหม่ได้น่าสนใจ น่าติดตามจับตาดู

อย่างไรก็ตาม ผมอยากลุ้นคนรุ่นใหม่ คนหนุ่มสาวในกทม. ช่วยกันออกมาทำหน้าที่ให้มากๆ คุณจะเลือกใครก็แล้วแต่คุณ หรือ คุณอาจออกมากาช่องไม่เลือกใครเลยก็ได้ เป็นสิทธิของคุณ สิ่งสำคัญคือพวกคุณต้องออกมาทำหน้าที่ เพื่อชีวิตของคนกทม.เองนั่นแหละครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น