สำนักวิจัยเอแบคโพลมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ใครเลือกใคร” กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,766 ตัวอย่างระหว่างวันที่ 22-25 ม.ค. เมื่อจำแนกตามเพศพบว่าชายร้อยละ 42.9 และหญิงร้อยละ 40.8 ตั้งใจจะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญจากพรรคเพื่อไทย ขณะที่ชายร้อยละ 36.0 และหญิงร้อยละ 39.2 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรจากพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ชายร้อยละ 16.1 และหญิงร้อยละ 12.6 จะเลือกพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ เมื่อจำแนกตามช่วงอายุกลุ่มคนที่ตั้งใจเลือกพล.ต.อ.พงศพัศมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 40-49 ปี ร้อยละ 45.2 กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 43.0 และกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปมีอยู่ร้อยละ 42.4
ขณะที่กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 39.9 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตามด้วยกลุ่มอายุ 20-29 ปีร้อยละ 38.6 และกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 38.4 ถ้าจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 44.0 เลือกพล.ต.อ.พงศพัศทิ้งห่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ขณะที่กลุ่มปริญญาตรีร้อยละ 41.5 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ทิ้งห่างพล.ต.อ.พงศพัศที่ได้ร้อยละ 36.7
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล กล่าวว่า จุดน่าสนใจกลุ่มระดับสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 40.7 ตั้งใจจะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศ แต่มีกลุ่มตัวอย่างที่การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมากถึงร้อยละ 22.2 ตั้งใจจะเลือกพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ และร้อยละ 25.9 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เมื่อจำแนกตามอาชีพพบว่ากลุ่มคนว่างงานส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 75.0 จะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศรองลงมาเป็นกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้านเกษียณอายุร้อยละ 49.0 กลุ่มรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปร้อยละ 47.3 ขณะที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 41.6 และกลุ่มนักศึกษาร้อยละ 42.3
แต่ถ้าจำแนกตามระดับรายได้กลุ่มคนมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 44.4 กลุ่มรายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 40.7 และกลุ่มคนรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 45.5 จะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศ ขณะที่กลุ่มคนรายได้ 15,001-20,000 บาทร้อยละ 40.4 และกลุ่มรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 41.0 จะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ขณะที่สวนดุสิตโพลเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,139 คนระหว่างวันที่ 20-25 ม.ค.เรื่อง “การหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในสายตาคนกรุงเทพฯ” พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.อันดับแรกคือนโยบายที่ใช้หาเสียง วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลร้อยละ 46.20 ดูจากตัวผู้สมัครหรือพรรคที่สังกัดร้อยละ 17.74 ภาพลักษณ์ดี เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ร้อยละ 13.91 สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากบอกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.คือ นโยบายทำได้จริง ไม่พูดในสิ่งที่เกินจริงหรือทำไม่ได้ร้อยละ 35.04 อยากเห็นกรุงเทพฯ มีความเจริญทุกด้านร้อยละ 21.56 อยากเห็นการเลือกตั้งบริสุทธิ์ โปร่งใส ไม่ซื้อเสียงร้อยละ 19.13
เมื่อถามว่าคนกรุงเทพฯ ชอบการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.แต่ละคนอย่างไรพบว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีนายกฯ และทีมงานช่วยลงพื้นที่หาเสียงคล่องแคล่ว พูดจาฉะฉานมีผลงานให้เห็นเป็นกันเอง ส่วนม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นโยบายที่ใช้หาเสียงเป็นเรื่องทำได้จริงและเป็นสิ่งที่ทำมาแล้ว สุภาพใจดี ไม่กล่าวร้ายใคร ขณะที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจามีหลักการ นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นกันเองไม่ถือตัว และนายสุหฤท สยามวาลา มีวิธีหาเสียงแปลกแหวกแนว ความคิดสร้างสรรค์
สำหรับการหาเสียงนั้นพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตลาดสดหลายแห่งพบปัญหาสินค้าราคาแพง เคยนำเรื่องดังกล่าวบอกรมว.พาณิชย์แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนมีนโยบายสร้างตลาดสดในพื้นที่กทม.เพิ่มทั้ง 50 เขต เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้ประชาชน โดยจะเช่าพื้นที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์จะไม่เก็บค่าเช่าแพงให้พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าในราคาถูก เป็นการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน
ต่อมาพล.ต.อ.พงศพัศเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาถึงนโยบายจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ขี่รถจักรยานใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดซึ่งพล.ต.อ.พงศพัศ ระบุว่ามีนโยบายทำทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามีทางสำหรับรถจักรยาน และยังมีแนวคิดปรับปรุงฝาครอบท่อน้ำทิ้งถนนจากเดิมที่เป็นซี่ให้เป็นแบบทึบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่จักรยาน หลังจากนั้นพล.ต.อ.พงศพัศได้ร่วมถีบจักรยานพร้อมกับนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล และกลุ่มนักศึกษาไปรอบๆ มหาวิทยาลัย
ส่วนม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ไปรับข้อเสนอจากกลุ่มผู้ใช้จักรยานในเมืองซึ่งต้องการให้ดูแลแก้ไขปัญหาทางรถจักรยาน และเปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำซึ่งเป็นตะแกรงเหล็กเนื่องจากจักรยานผ่านไม่ได้ โดยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่าตอนนี้กทม.ทำทางรถจักรยาน 28 เส้นทางระยะ 200 กม.จะทำเพิ่มอีกเท่าตัวประมาณ 30 เส้นทาง ส่วนฝาท่อตะแกรงเหล็กเพิ่งทราบปัญหาเมื่อ 4 เดือนก่อน ได้สั่งให้สำรวจมีประมาณ 1,200 จุดเปลี่ยนแล้ว 650 จุดเพราะติดขัดเรื่องงบประมาณ หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.จะเร่งทำให้เสร็จทั้งหมด
ขณะที่กลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไปร้อยละ 39.9 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตามด้วยกลุ่มอายุ 20-29 ปีร้อยละ 38.6 และกลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 38.4 ถ้าจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่ากลุ่มศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 44.0 เลือกพล.ต.อ.พงศพัศทิ้งห่างม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ขณะที่กลุ่มปริญญาตรีร้อยละ 41.5 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ทิ้งห่างพล.ต.อ.พงศพัศที่ได้ร้อยละ 36.7
นายนพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล กล่าวว่า จุดน่าสนใจกลุ่มระดับสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 40.7 ตั้งใจจะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศ แต่มีกลุ่มตัวอย่างที่การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมากถึงร้อยละ 22.2 ตั้งใจจะเลือกพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ และร้อยละ 25.9 ตั้งใจจะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เมื่อจำแนกตามอาชีพพบว่ากลุ่มคนว่างงานส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 75.0 จะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศรองลงมาเป็นกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้านเกษียณอายุร้อยละ 49.0 กลุ่มรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปร้อยละ 47.3 ขณะที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนร้อยละ 41.6 และกลุ่มนักศึกษาร้อยละ 42.3
แต่ถ้าจำแนกตามระดับรายได้กลุ่มคนมีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 44.4 กลุ่มรายได้ 5,001-10,000 บาทร้อยละ 40.7 และกลุ่มคนรายได้ 10,001-15,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 45.5 จะเลือกพล.ต.อ.พงศพัศ ขณะที่กลุ่มคนรายได้ 15,001-20,000 บาทร้อยละ 40.4 และกลุ่มรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือนร้อยละ 41.0 จะเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ขณะที่สวนดุสิตโพลเปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 1,139 คนระหว่างวันที่ 20-25 ม.ค.เรื่อง “การหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในสายตาคนกรุงเทพฯ” พบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.อันดับแรกคือนโยบายที่ใช้หาเสียง วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลร้อยละ 46.20 ดูจากตัวผู้สมัครหรือพรรคที่สังกัดร้อยละ 17.74 ภาพลักษณ์ดี เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ร้อยละ 13.91 สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากบอกผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.คือ นโยบายทำได้จริง ไม่พูดในสิ่งที่เกินจริงหรือทำไม่ได้ร้อยละ 35.04 อยากเห็นกรุงเทพฯ มีความเจริญทุกด้านร้อยละ 21.56 อยากเห็นการเลือกตั้งบริสุทธิ์ โปร่งใส ไม่ซื้อเสียงร้อยละ 19.13
เมื่อถามว่าคนกรุงเทพฯ ชอบการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.แต่ละคนอย่างไรพบว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีนายกฯ และทีมงานช่วยลงพื้นที่หาเสียงคล่องแคล่ว พูดจาฉะฉานมีผลงานให้เห็นเป็นกันเอง ส่วนม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร นโยบายที่ใช้หาเสียงเป็นเรื่องทำได้จริงและเป็นสิ่งที่ทำมาแล้ว สุภาพใจดี ไม่กล่าวร้ายใคร ขณะที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจามีหลักการ นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นกันเองไม่ถือตัว และนายสุหฤท สยามวาลา มีวิธีหาเสียงแปลกแหวกแนว ความคิดสร้างสรรค์
สำหรับการหาเสียงนั้นพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตลาดสดหลายแห่งพบปัญหาสินค้าราคาแพง เคยนำเรื่องดังกล่าวบอกรมว.พาณิชย์แล้ว
อย่างไรก็ตาม ตนมีนโยบายสร้างตลาดสดในพื้นที่กทม.เพิ่มทั้ง 50 เขต เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้ประชาชน โดยจะเช่าพื้นที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์จะไม่เก็บค่าเช่าแพงให้พ่อค้าแม่ค้าขายสินค้าในราคาถูก เป็นการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน
ต่อมาพล.ต.อ.พงศพัศเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาถึงนโยบายจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ขี่รถจักรยานใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีแนวคิดซึ่งพล.ต.อ.พงศพัศ ระบุว่ามีนโยบายทำทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยามีทางสำหรับรถจักรยาน และยังมีแนวคิดปรับปรุงฝาครอบท่อน้ำทิ้งถนนจากเดิมที่เป็นซี่ให้เป็นแบบทึบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่จักรยาน หลังจากนั้นพล.ต.อ.พงศพัศได้ร่วมถีบจักรยานพร้อมกับนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล และกลุ่มนักศึกษาไปรอบๆ มหาวิทยาลัย
ส่วนม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ไปรับข้อเสนอจากกลุ่มผู้ใช้จักรยานในเมืองซึ่งต้องการให้ดูแลแก้ไขปัญหาทางรถจักรยาน และเปลี่ยนฝาท่อระบายน้ำซึ่งเป็นตะแกรงเหล็กเนื่องจากจักรยานผ่านไม่ได้ โดยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่าตอนนี้กทม.ทำทางรถจักรยาน 28 เส้นทางระยะ 200 กม.จะทำเพิ่มอีกเท่าตัวประมาณ 30 เส้นทาง ส่วนฝาท่อตะแกรงเหล็กเพิ่งทราบปัญหาเมื่อ 4 เดือนก่อน ได้สั่งให้สำรวจมีประมาณ 1,200 จุดเปลี่ยนแล้ว 650 จุดเพราะติดขัดเรื่องงบประมาณ หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.จะเร่งทำให้เสร็จทั้งหมด