ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดเผยการสำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศในหัวข้อ” จากครม.ยิ่งลักษณ์ 3 ถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ คะแนนนิยมนายกฯ เป็นอย่างไร” พบว่าคะแนนนิยมน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจปรับลดลงเป็นร้อยละ 48.7 จากเดิมร้อยละ 52.6 เมื่อเทียบกับช่วงที่มีการแต่งตั้ง ครม.ยิ่งลักษณ์ 3
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 32.8 เป็นร้อยละ 33.7 และเมื่อพิจารณาภาพรวมน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังมีคะแนนนิยมสูงกว่านายอภิสิทธิ์ที่ร้อยละ 51.2 ต่อ 33.1 นอกจากนี้คะแนนนิยมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังสูงกว่าการสำรวจในช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 54 ที่คะแนนนิยมขณะนั้นเท่ากับร้อยละ 47.0
สำหรับพรรคการเมืองนั้น คะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อพบว่าพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 48.8 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 34.8 ส่วนคะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งพบว่ามีสัดส่วนในลักษณะเดียวกับระบบบัญชีรายชื่อคือพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 46.7 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 33.4
เมื่อถามว่า “ณ วันนี้ท่านคาดว่ารัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะทำงานครบวาระหรือไม่” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 61.0 คาดว่ารัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์จะทำงานครบวาระ 4 ปีร้อยละ 11.8 คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 2 ปีแต่ไม่ถึง 3 ปี มีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 3 ปีแต่ไม่ครบ 4 ปี
สำหรับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลการจัดทำดัชนีการเมืองไทยเดือนพ.ย.โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น เช่น ผลงานของนายกรัฐมนตรี ผลงานของรัฐบาล การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน การบริหารประเทศ การดำเนินงานของพรรคการเมือง สภาพเศรษฐกิจสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชน การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 7,031 คนระหว่างวันที่25-30 พ.ย.สรุปผลได้ว่าประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.24 สูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้คะแนน 5.14 คะแนน เมื่อพิจารณาในแต่ละตัวชี้วัดพบว่าส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนสูงขึ้น เช่น ผลงานของนายกรัฐมนตรีได้คะแนน 6.05 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.87 คะแนน ผลงานรัฐบาลได้คะแนน 5.90 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.69 คะแนน การปฏิบัติงานของฝ่ายค้านได้ 5.68 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.57 คะแนน
เมื่อจำแนกการให้คะแนนดัชนีการเมืองตามภูมิภาคพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ 6.05 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.77 คะแนน ภาคเหนือให้ 5.63 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.42 คะแนน ภาคกลางให้ 5.29 คะแนนต่ำลงจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.32 คะแนน กรุงเทพมหานครให้ 4.44 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 4.39 คะแนน และภาคใต้ให้ 4.000 คะแนนต่ำลงจากเดือนต.ค.ที่ให้ 4.31 คะแนน
ส่วนดัชนีการเมืองไทยที่ยังฉุดและแก้ไม่ตกซึ่งได้คะแนนไม่ผ่านครึ่งโดยอันดับ 1. การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 4.41 คะแนน 2. การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล 4.55 คะแนน 3. การแก้ปัญหาความยากจน 4.67 คะแนน 4. ราคาสินค้า 4.70 คะแนน 5. การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.71 คะแนน 6. การปฏิบัติตนของนักการเมืองความสามัคคี 4.73 คะแนน 7. ความสามัคคีของคนในชาติ 4.79 คะแนน
ที่พรรคเพื่อไทยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคแถลงว่าพรรคทำโพลสำรวจความเห็นเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่าฝ่ายค้านสอบตกเนื่องจากมุ่งโจมตีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนเริ่มเบื่อการเมืองที่มุ่งโจมตีเป็นรายบุคคล หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับท่าทีอาจถูกโดดเดี่ยว เห็นได้จากที่พรรคฝ่ายค้านแทบทุกพรรคยกมือให้นายกฯ บริหารประเทศต่อ อย่างไรก็ตาม พรรคมอบให้รัฐมนตรีติดตามผลการอภิปรายว่าเรื่องใดมีใครเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการให้ตรวจสอบเอาผิดทันทีตามนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง
นายจิรายุ กล่าวด้วยว่า พรรคจะแถลงผลงานรอบ 1 ปีผ่านสถานีวิทยุ และโทรทัศน์ทุกช่องวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 17.00 น. เนื้อหาสาระเป็นการทำงานที่ทำไปแล้วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติดให้ประชาชนรับทราบ จากนั้นจะนำเข้าสู่การแถลงผลงานต่อรัฐสภาเมื่อมีการเปิดสมัยประชุมสภาวันที่ 21 ธ.ค.พร้อมกันนี้พรรคจัดทำวีซีดีความยาว 15 นาทีรวบรวมผลงานรอบปี และนโยบายที่จะทำปีต่อไปให้ ส.ส.ไปอธิบายต่อประชาชนด้วย
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 32.8 เป็นร้อยละ 33.7 และเมื่อพิจารณาภาพรวมน.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังมีคะแนนนิยมสูงกว่านายอภิสิทธิ์ที่ร้อยละ 51.2 ต่อ 33.1 นอกจากนี้คะแนนนิยมของน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังสูงกว่าการสำรวจในช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 54 ที่คะแนนนิยมขณะนั้นเท่ากับร้อยละ 47.0
สำหรับพรรคการเมืองนั้น คะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบบัญชีรายชื่อพบว่าพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 48.8 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 34.8 ส่วนคะแนนนิยมพรรคการเมืองในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งพบว่ามีสัดส่วนในลักษณะเดียวกับระบบบัญชีรายชื่อคือพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยมเท่ากับร้อยละ 46.7 สูงกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนนนิยมร้อยละ 33.4
เมื่อถามว่า “ณ วันนี้ท่านคาดว่ารัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ จะทำงานครบวาระหรือไม่” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 61.0 คาดว่ารัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์จะทำงานครบวาระ 4 ปีร้อยละ 11.8 คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 2 ปีแต่ไม่ถึง 3 ปี มีเพียงร้อยละ 7.9 เท่านั้นที่คาดว่าจะทำงานได้มากกว่า 3 ปีแต่ไม่ครบ 4 ปี
สำหรับ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เผยผลการจัดทำดัชนีการเมืองไทยเดือนพ.ย.โดยมีตัวชี้วัดรวม 25 ประเด็น เช่น ผลงานของนายกรัฐมนตรี ผลงานของรัฐบาล การปฏิบัติงานของฝ่ายค้าน การบริหารประเทศ การดำเนินงานของพรรคการเมือง สภาพเศรษฐกิจสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชน การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศจำนวน 7,031 คนระหว่างวันที่25-30 พ.ย.สรุปผลได้ว่าประชาชนให้คะแนนดัชนีการเมืองไทย ภาพรวมคะแนนเต็ม 10 ได้ 5.24 สูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้คะแนน 5.14 คะแนน เมื่อพิจารณาในแต่ละตัวชี้วัดพบว่าส่วนใหญ่จะได้รับคะแนนสูงขึ้น เช่น ผลงานของนายกรัฐมนตรีได้คะแนน 6.05 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.87 คะแนน ผลงานรัฐบาลได้คะแนน 5.90 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.69 คะแนน การปฏิบัติงานของฝ่ายค้านได้ 5.68 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ได้ 5.57 คะแนน
เมื่อจำแนกการให้คะแนนดัชนีการเมืองตามภูมิภาคพบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ 6.05 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.77 คะแนน ภาคเหนือให้ 5.63 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.42 คะแนน ภาคกลางให้ 5.29 คะแนนต่ำลงจากเดือนต.ค.ที่ให้ 5.32 คะแนน กรุงเทพมหานครให้ 4.44 คะแนนสูงขึ้นจากเดือนต.ค.ที่ให้ 4.39 คะแนน และภาคใต้ให้ 4.000 คะแนนต่ำลงจากเดือนต.ค.ที่ให้ 4.31 คะแนน
ส่วนดัชนีการเมืองไทยที่ยังฉุดและแก้ไม่ตกซึ่งได้คะแนนไม่ผ่านครึ่งโดยอันดับ 1. การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน 4.41 คะแนน 2. การแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล 4.55 คะแนน 3. การแก้ปัญหาความยากจน 4.67 คะแนน 4. ราคาสินค้า 4.70 คะแนน 5. การแก้ปัญหาการว่างงาน 4.71 คะแนน 6. การปฏิบัติตนของนักการเมืองความสามัคคี 4.73 คะแนน 7. ความสามัคคีของคนในชาติ 4.79 คะแนน
ที่พรรคเพื่อไทยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคแถลงว่าพรรคทำโพลสำรวจความเห็นเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พบว่าฝ่ายค้านสอบตกเนื่องจากมุ่งโจมตีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ประชาชนเริ่มเบื่อการเมืองที่มุ่งโจมตีเป็นรายบุคคล หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปรับท่าทีอาจถูกโดดเดี่ยว เห็นได้จากที่พรรคฝ่ายค้านแทบทุกพรรคยกมือให้นายกฯ บริหารประเทศต่อ อย่างไรก็ตาม พรรคมอบให้รัฐมนตรีติดตามผลการอภิปรายว่าเรื่องใดมีใครเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือข้าราชการให้ตรวจสอบเอาผิดทันทีตามนโยบายปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง
นายจิรายุ กล่าวด้วยว่า พรรคจะแถลงผลงานรอบ 1 ปีผ่านสถานีวิทยุ และโทรทัศน์ทุกช่องวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 17.00 น. เนื้อหาสาระเป็นการทำงานที่ทำไปแล้วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติดให้ประชาชนรับทราบ จากนั้นจะนำเข้าสู่การแถลงผลงานต่อรัฐสภาเมื่อมีการเปิดสมัยประชุมสภาวันที่ 21 ธ.ค.พร้อมกันนี้พรรคจัดทำวีซีดีความยาว 15 นาทีรวบรวมผลงานรอบปี และนโยบายที่จะทำปีต่อไปให้ ส.ส.ไปอธิบายต่อประชาชนด้วย