ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ให้สัมภาษณ์ถึงการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามนำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้ายในวันที่ ๒๔-๒๕ พ.ย.ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าว่า เป็นการชุมนุมโดยใช้สิทธิชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ชุมนุมคงเคารพสิทธิของผู้อื่นและเคารพกฎหมาย ตนจะใช้วิธีการละมุนละม่อมและมอบให้ผบ.ตร.เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมม็อบและเชิญองค์กรอิสระ สหประชาชาติ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาเป็นสักขีพยานว่า การทำงานของเจ้าหน้าที่ยึดหลักสากลจะได้ไม่มีปัญหาภายหลังหากมีการฟ้องร้องกัน ทั้งนี้ตนยังห่วงเรื่องมือที่สามเพราะหากเกิดเหตุอะไรขึ้นมาก็เป็นเรื่องน่าเสียใจ
การเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลครั้งนี้ดูจะเคร่งครัดและเอาจริงเอาจังมากเป็นพิเศษเนื่องจากการก่อม็อบเป็นการทำในพื้นที่เปิดอย่างลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งยากแก่การควบคุมไม่เหมือนกับการก่อม็อบในพื้นที่ปิดอย่างสนามม้านางเลิ้งซึ่งเป็นพื้นที่ปิดและการควบคุมทำได้ง่าย พื้นที่เปิดทำให้การควบคุมกระทำได้ยากกว่าและมีโอกาสให้เกิดการแทรกแซงโดยกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อการชุมนุมได้หรือเกิดเหตุการณ์ชุลมุนและบานปลายออกไปนอกเหนือการควบคุมได้
ร.ต.อ.เฉลิมจึงกล่าวว่าเหตุที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เยอะนั้น เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนมาเผชิญหน้ากัน และเพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชน ส่วนกลุ่มทุน ๘๕ ราย ที่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามนั้น ตำรวจสันติบาลรายงานว่าบางกลุ่มมีจำนวนมาก บางกลุ่มก็มีจำนวนน้อย ตนได้ประสานไปแล้ว ๔ กลุ่ม เขาอธิบายความให้ฟังว่าใครมาติดต่อบ้าง แต่สุดท้ายเขาไม่ให้ ยังมีกลุ่มที่เป็นบ่อนเล็กๆ น้อยอย่างบ่อนบางนา เตาปูน ส่วนแหล่งยาเสพติดยังไม่ชัด
เมื่อถามว่าประเมินม็อบอย่างไร หากมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษควบคุมม็อบ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่าค่อยๆ ปรึกษาหารือ ชี้คนเดียวไม่ได้ ไม่อยากให้อึกทึกครึกโครม กฎหมายที่มีอยู่ใช้กันพอ แต่ใช้กันไม่ได้ เพราะเราประนีประนอมกัน เป็นห่วงว่าใครมาทำอะไรไม่ดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมจะโกลาหล ดังนั้นจะใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นหลักหรือไม่นั้นค่อยมาคิดกัน แน่นอนผู้ที่มาชุมนุมไปสกัดกั้นไม่ได้
ร.ต.อ.เฉลิมยังให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวกลุ่มทุนร่วมลงขันเพื่อล้มล้างรัฐบาลว่า จากการพูดคุยกับกลุ่มทุน ๔-๕ กลุ่ม และเป็นกลุ่มเดิมที่เคยเคลื่อนไหวรัฐประหารตั้งแต่ปี ๔๙ มีข่าวว่าให้การสนับสนุนเงินทุน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ในการล้มล้างรัฐบาลและอยู่เบื้องหลังการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งตัวแทนของกลุ่มทุนเหล่านั้นบางส่วน ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนเงินทุนในการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้
พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.กล่าวว่าในวันที่ ๑๖ พ.ย.เตรียมเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงดูแลการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่นัดรวมตัวกันที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าในวันที่ ๒๔พ.ย.นี้ ส่วนการจัดกำลังดูแลพื้นที่มีการประเมินว่าจะใช้กำลังตำรวจ ๕๐,๐๐๐ นาย ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และกำชับให้ปฏิบัติตามขั้นตอน การชุมนุมเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยกล่าวว่า ได้สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทุกพื้นที่ทั่วประเทศติดตามความเคลื่อนไหวและรายงานจำนวนประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมชุมนุมอย่างละเอียด หากเป็นการมาแสดงออกทางประชาธิปไตยก็ไม่มีปัญหาแต่หากเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกจัดตั้งด้วยกลุ่มการเมือง ผวจ.และนายอำเภอจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวและตรวจสอบรายงานมายังกระทรวง อยากบอกผ่านสื่อให้บอกประชาชนว่ากระบวนการตรวจสอบรัฐบาล การขับไล่หรือถอดถอนรัฐบาลควรใช้วิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้สภาเป็นเวทีในการตรวจสอบ ควรรอฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อน แต่การออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้เป็นการสวนทางกับโลกาภิวัตน์เพราะบ้านเมืองจะต้องเดินหน้า ไม่เห็นด้วยกับการที่บอกว่าจะแช่แข็งปิดประเทศ ๕ ปี เพราะโลกและประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปไกลแล้ว ม็อบวันที่ ๒๔ พ.ย.เป็นเหล้าเก่าในขวดเก่าเพียงแต่เปลี่ยนฝาจุกใหม่แค่นั้นเอง
นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าได้รับทราบข้อมูลว่ามีการระดมทุนของกลุ่มที่เคยล้มรัฐบาลทักษิณเมื่อปี ๒๕๔๙ รวมทั้งกลุ่มทุนใหม่ที่เสียประโยชน์จากการบริหารของรัฐบาลปัจจุบันร่วมลงขันเพื่อล้มรัฐบาลและทราบข้อมูลจากประชาชนในภาคใต้ว่ามีการส่งคนไปชักชวนประชาชน ๑๑ จังหวัดภาคใต้ให้มาร่วมชุมนุมโดยให้ค่าตอบแทน ๑,๕๐๐ บาทต่อวันตั้งเป้าจังหวัดละ ๗,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คน ในกทม.และปริมณฑลก็มีลักษณะการเกณฑ์คนคล้ายๆ กันจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปง.เข้าไปตรวจสอบเส้นทางการเงิน รวมทั้งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเข้าไปสอบสวนการกระทำที่ผิดกฎหมาย การปลุกปั่นยุยง ระดมคน การบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายรัฐบาลโดยปราศจากข้อเท็จจริง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามคงไม่ใช่ม้วนเดียวจบ แต่คงยืดเยื้อ ดังนั้นต้องถามว่าเหมาะสมหรือไม่
การเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลครั้งนี้ดูจะเคร่งครัดและเอาจริงเอาจังมากเป็นพิเศษเนื่องจากการก่อม็อบเป็นการทำในพื้นที่เปิดอย่างลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งยากแก่การควบคุมไม่เหมือนกับการก่อม็อบในพื้นที่ปิดอย่างสนามม้านางเลิ้งซึ่งเป็นพื้นที่ปิดและการควบคุมทำได้ง่าย พื้นที่เปิดทำให้การควบคุมกระทำได้ยากกว่าและมีโอกาสให้เกิดการแทรกแซงโดยกลุ่มที่ไม่หวังดีต่อการชุมนุมได้หรือเกิดเหตุการณ์ชุลมุนและบานปลายออกไปนอกเหนือการควบคุมได้
ร.ต.อ.เฉลิมจึงกล่าวว่าเหตุที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เยอะนั้น เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนมาเผชิญหน้ากัน และเพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชน ส่วนกลุ่มทุน ๘๕ ราย ที่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามนั้น ตำรวจสันติบาลรายงานว่าบางกลุ่มมีจำนวนมาก บางกลุ่มก็มีจำนวนน้อย ตนได้ประสานไปแล้ว ๔ กลุ่ม เขาอธิบายความให้ฟังว่าใครมาติดต่อบ้าง แต่สุดท้ายเขาไม่ให้ ยังมีกลุ่มที่เป็นบ่อนเล็กๆ น้อยอย่างบ่อนบางนา เตาปูน ส่วนแหล่งยาเสพติดยังไม่ชัด
เมื่อถามว่าประเมินม็อบอย่างไร หากมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษควบคุมม็อบ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่าค่อยๆ ปรึกษาหารือ ชี้คนเดียวไม่ได้ ไม่อยากให้อึกทึกครึกโครม กฎหมายที่มีอยู่ใช้กันพอ แต่ใช้กันไม่ได้ เพราะเราประนีประนอมกัน เป็นห่วงว่าใครมาทำอะไรไม่ดีกับกลุ่มผู้ชุมนุมจะโกลาหล ดังนั้นจะใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นหลักหรือไม่นั้นค่อยมาคิดกัน แน่นอนผู้ที่มาชุมนุมไปสกัดกั้นไม่ได้
ร.ต.อ.เฉลิมยังให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวกลุ่มทุนร่วมลงขันเพื่อล้มล้างรัฐบาลว่า จากการพูดคุยกับกลุ่มทุน ๔-๕ กลุ่ม และเป็นกลุ่มเดิมที่เคยเคลื่อนไหวรัฐประหารตั้งแต่ปี ๔๙ มีข่าวว่าให้การสนับสนุนเงินทุน ๖,๐๐๐ ล้านบาท ในการล้มล้างรัฐบาลและอยู่เบื้องหลังการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งตัวแทนของกลุ่มทุนเหล่านั้นบางส่วน ยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสนับสนุนเงินทุนในการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้
พล.ต.ท.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.กล่าวว่าในวันที่ ๑๖ พ.ย.เตรียมเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงดูแลการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามที่นัดรวมตัวกันที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าในวันที่ ๒๔พ.ย.นี้ ส่วนการจัดกำลังดูแลพื้นที่มีการประเมินว่าจะใช้กำลังตำรวจ ๕๐,๐๐๐ นาย ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และกำชับให้ปฏิบัติตามขั้นตอน การชุมนุมเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทยกล่าวว่า ได้สั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทุกพื้นที่ทั่วประเทศติดตามความเคลื่อนไหวและรายงานจำนวนประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมชุมนุมอย่างละเอียด หากเป็นการมาแสดงออกทางประชาธิปไตยก็ไม่มีปัญหาแต่หากเป็นความเคลื่อนไหวที่ถูกจัดตั้งด้วยกลุ่มการเมือง ผวจ.และนายอำเภอจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวและตรวจสอบรายงานมายังกระทรวง อยากบอกผ่านสื่อให้บอกประชาชนว่ากระบวนการตรวจสอบรัฐบาล การขับไล่หรือถอดถอนรัฐบาลควรใช้วิถีทางตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้สภาเป็นเวทีในการตรวจสอบ ควรรอฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อน แต่การออกมาเคลื่อนไหวแบบนี้เป็นการสวนทางกับโลกาภิวัตน์เพราะบ้านเมืองจะต้องเดินหน้า ไม่เห็นด้วยกับการที่บอกว่าจะแช่แข็งปิดประเทศ ๕ ปี เพราะโลกและประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไปไกลแล้ว ม็อบวันที่ ๒๔ พ.ย.เป็นเหล้าเก่าในขวดเก่าเพียงแต่เปลี่ยนฝาจุกใหม่แค่นั้นเอง
นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าได้รับทราบข้อมูลว่ามีการระดมทุนของกลุ่มที่เคยล้มรัฐบาลทักษิณเมื่อปี ๒๕๔๙ รวมทั้งกลุ่มทุนใหม่ที่เสียประโยชน์จากการบริหารของรัฐบาลปัจจุบันร่วมลงขันเพื่อล้มรัฐบาลและทราบข้อมูลจากประชาชนในภาคใต้ว่ามีการส่งคนไปชักชวนประชาชน ๑๑ จังหวัดภาคใต้ให้มาร่วมชุมนุมโดยให้ค่าตอบแทน ๑,๕๐๐ บาทต่อวันตั้งเป้าจังหวัดละ ๗,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ คน ในกทม.และปริมณฑลก็มีลักษณะการเกณฑ์คนคล้ายๆ กันจึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปปง.เข้าไปตรวจสอบเส้นทางการเงิน รวมทั้งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเข้าไปสอบสวนการกระทำที่ผิดกฎหมาย การปลุกปั่นยุยง ระดมคน การบิดเบือนข้อมูลใส่ร้ายรัฐบาลโดยปราศจากข้อเท็จจริง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามคงไม่ใช่ม้วนเดียวจบ แต่คงยืดเยื้อ ดังนั้นต้องถามว่าเหมาะสมหรือไม่