แอบสังเกตบทบาทของ สุริยะใส กตะศิลา มานานพอสมควรคือหลังจากที่แยกตัวจากหน้าที่เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่มาตั้งกลุ่มกรีนเป็นเวลากว่าปีมาแล้ว ด้วยความที่รู้จักเห็นหน้าเห็นตากันมา เล็งเห็นความสามารถของคนหนุ่มผมก็แอบลุ้นแอบเชียร์อยู่เงียบๆ
จนกระทั่งล่าสุดที่เป็นหัวหอกยื่นฟ้องศาลปกครองกรณีประมูลคลื่น 3G สุริยะใสก็ทำหน้าที่ได้ดีทั้งก่อน-ระหว่างและหลังประการมูล คือทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม
นอกเหนือจากบทบาทที่ “เป็นข่าว”แล้ว ผมพบว่าสุริยะใสยังหมั่นแสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @Suriyasai และเฟซบุ๊ก Fanpage : www.facebook.com/K.Suriyasai โดยสม่ำเสมอ แต่ดูเหมือนบทบาทการแสดงความเห็นในฐานะ “นักการเมือง” ที่มีความเห็นรายวันจะยังไม่ค่อยได้รับการตอบรับมากเท่าที่ควร เพราะการจับขบวนรถสถานการณ์ให้ได้ทันเช่นกรณี 3G มีสปอตไลท์ส่องจับไม่สามารถเกิดได้บ่อยครั้งนัก ถ้าจำไม่ผิด 1 ปีกว่าๆ มานี้ยะใสเป็นข่าวดัง 2-3 ครั้งเท่านั้น คือตอนที่ออกทีวีรายการของวู้ดดี้คู่กับตู่-จตุพร งานนี้เสียท่าเป็นบันไดให้กับวู้ดดี้ที่เกี่ยวประโยชน์จากดีลเพื่อนเก่าคนละขั้วได้ประโยชน์ไปเต็มๆ คนเดียวส่วนยะใสถูกแม่ยกคนกันเองถล่มแทบเสียศูนย์ แล้วก็มาเรื่องยื่นเอาผิดคำรณวิทย์ กับ ป.ป.ช. มาถึงเรื่องประมูลคลื่น 3G นี่แหละที่บทบาทโดดเด่นขึ้นมา
ยอมรับครับว่าโดยข้อเท็จจริงสุริยะใสเป็นข่าวบ่อยกว่าที่ยกตัวอย่างมาแต่สำหรับผมถือว่ายังเป็นบทบาทขี้หมูราขี้หมาแห้งเพราะยะใสจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวการเมืองเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ขึ้นกับนักข่าวที่รายงานเรื่องนั้นๆ แหละว่าต้องการตัวละครมาแสดงความเห็นแบบไหน ทั้งนี้เพื่อให้ข่าวชิ้นนั้นๆ ดูกลมกล่อมขึ้นมา เช่นขอให้วิจารณ์ข้อเสนอของ คอป.ให้ทักษิณเสียสละจะได้เป็นรัฐบุรุษ อะไรแบบนี้แหละ
เอาเป็นว่าผมไม่อยากเห็นสุริยะใสเป็นแบบ หมอเหวง-หมอสันต์ วรัญชัย โชคชนะ ในยุคก่อนหน้าที่มีอะไรก็ออกมาแถลงข่าวยื่นหนังสืออุปโลกน์ชื่อกลุ่มใหญ่โตแต่มีสมาชิกนับหัวได้ หรือแม้กระทั่ง เรืองไกร ลีกิจวัฒนะที่เป็นจอมฟ้องดะเจอช่องเป็นเสียบ ...ยกตัวอย่างแบบนี้คงเข้าใจกันชัดขึ้นนะ
สุริยะใสกำหนดเส้นทางเดินไว้ที่ “การเมือง” ชัดเจนดังที่เขียนสถานะของตัวเองไว้บนหน้าเฟซบุ้คว่า Politician บทบาทของกลุ่มกรีน-กลุ่มการเมืองสีเขียว จึงไม่ควรเหมือนกับการรณรงค์ขององค์กรไม่แสวงกำไร เอ็นจีโอ หรือ ครป.ที่เคยทำมา อย่างน้อยก็ควรมีเป้าหมาย เช่นว่าจะเติบโตเป็นพรรคการเมืองในอนาคตเหมือนพรรคกรีนในยุโรป หรืออย่างน้อยถึงไม่เลือกตั้งรณรงค์โหวตโนก็ได้แต่ก็ควรเสนอชุดนโยบายเปรียบเทียบออกมาในทำนองพรรคการเมืองเงา เพราะว่าแรงกดดันของการเมืองภาคประชาชนที่เป็น Social Movement จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้ค่อนข้างแน่ โดยเฉพาะกลุ่มรณรงค์เรื่องพลังงาน โดยมีเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินตามมาห่างๆ กลุ่มกรีนซึ่งยังไม่มีเป้าที่นั่ง ส.ส.ในสภา ก็สามารถชูธงปฏิรูปร่วมสนับสนุนในแบบใดแบบหนึ่งก็เป็นไปได้เช่นกัน
ตอนที่พันธมิตรฯ มีความคิดตั้งพรรคการเมืองใหม่ผมเป็นเสียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วยเพราะเสียดายความเป็นการเมืองภาคประชาชน แต่กรณีการแยกออกมาตั้งกลุ่มการเมืองสีเขียวที่บอกว่าเดินตามแนวพรรคกรีนผมเห็นด้วย และอยากยุส่งไปเลยว่าให้ตั้งเป้าให้ไกลให้ไปถึงรัฐสภาให้ได้
ปัญหาก็คือการเคลื่อนไหวของสุริยะใสในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นปัจเจก โดดเดี่ยวตัวเองจากกลุ่มซึ่งหากเป็นเช่นนี้ตลอดไป ยะใสก็จะเหมือนกับหมอเหวงหมอสันต์ที่เคลื่อนไหวในนามสมาพันธ์ประชาธิปไตย แต่ตัวสมาพันธ์กลับเหี่ยวลงๆ หลังๆ กลายเป็นองค์กรร้างที่มีแต่ 2 หมอสวมชุดขาวเที่ยวเร่ออกแถลงการณ์โน่นนี่จนไร้น้ำหนักไปเองโดยปริยาย
ในฐานะคนแอบเชียร์สิ่งที่อยากเห็นที่สุดตอนนี้คือการขับเคลื่อนองค์กรที่ชื่อว่ากลุ่มการเมืองสีเขียว ให้มันเติบโตหยั่งรากผลิดอกออกใบเขียวสะพรั่งขึ้นมาจริงๆ ซึ่งที่สุดแล้วต้องอาศัยทั้ง “กระบวนการ” และ “ขบวนการ” ขับดันคนจำนวนหนึ่งที่มีความคิดแบบเดียวกันขึ้นมาให้ได้ คนที่เคยทำงานร่วมกันตั้งแต่ยุคพรรคการเมืองใหม่แล้วแยกออกมาพร้อมกันมาก็มีพอสมควรมิใช่หรือ
กลุ่มกรีนชูธงปฏิรูป แต่เชื่อไหมผมเคยสังเกตว่าเวลาพ่อแม่พี่น้องพันธมิตรฯ กลุ่มกรีน หรือคนในแวดวงที่ชูธงปากตะโกนว่าปฏิรูปพอไปถามรายละเอียดเรียงคนเข้าจริงกลับไม่มีเป้าหมายเชิงรูปธรรมให้เดินไปให้ถึง เมื่อไม่มีเป้าหมายก็ไม่สามารถออกแบบกิจกรรมที่ผูกคนระยะยาวขึ้นมาได้ เลยกลายเป็นต้องรอเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ไปเสีย
ให้ถือว่านี่เป็นความเห็นของกองเชียร์คนหนึ่งก็แล้วกัน, ผมอยากเห็นตัวแทนของกลุ่มกรีนไปนั่งในรัฐสภาสัก 2-3 คนในการเลือกตั้งครั้งหน้า มันก็คงเหมือนกับกลุ่มกรีนในหลายประเทศนั่นแหละคือไม่เคยเป็นเสียงข้างมากเข้าบริหารกับเขาสักครั้ง แต่ประชาชนของเขาก็เลือกไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ไปเหนี่ยวรั้ง ไปเสนอ ไปถ่วงดุล กิจการงานด้านสิ่งแวดล้อม คนชั้นล่าง ความยุติธรรมของสังคม ฯลฯ ต่างๆ พลังของกลุ่มกรีนไม่ใช่มือในสภา 3-5 เสียง หากแต่เป็นพลังจากประชาสังคมภายนอกสภาที่หนุนและช่วยกดดันในประเด็นที่พวกเขาเห็นว่าถูกต้อง
การเคลื่อนไหวของกลุ่มกรีนจึงไม่ใช่แค่แอ็คชั่น ประเภทออกโรงค้านหรือยื่นฟ้องสิ่งไม่ชอบมาพากลเท่านั้น ยังมีแง่มุมของการผลักดันนโยบาย หรือชุดความคิด และแง่มุมของหลัก “การเมืองสะอาด” ซึ่งก็คือ Governance ด้วย
ที่ผ่านมามีแค่แอ็คชั่นครับ ยังไม่มีเรื่องของความคิด/นโยบาย รวมไปถึงการผลักดันการเมืองสะอาดในแง่ของหลักการระยะยาว
กลุ่มกรีนแค่ 3-5 คนก็เปลี่ยนแปลงสภาได้ครับ ถ้าทำดีๆ ถึงขั้นปฏิรูปสถาบันนิติบัญญัติเลยก็ได้เอ้า !
ยุคหนึ่ง พล.ต.จำลอง ศรีเมืองเคยกำหนดมาตรฐานให้ ส.ส.พลังธรรมเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาเสียอีก โดยหลักการเดียวกันหากกลุ่มกรีนประกาศตนว่าจะปฏิบัติแนวทางที่เป็นแบบอย่างตามแนวทางการเมืองสะอาด เช่น เปิดเผยการการใช้สิทธิ์เดินทางโดยเครื่องบินทุกเดือนพร้อมคำอธิบายว่าเหตุใดต้องเดินทางไปที่ดังกล่าว หาเป็นส.ส.แล้วได้สิทธิ์ไปดูงานต่างประเทศ ส.ส.คนดังกล่าวต้องมีรายงานการดูงาน-ประโยชน์ที่ได้รับและความเห็นเพื่อปรับใช้
ถ้าลองสัมมนาประมวลความเห็นว่า ส.ส.ในฝันของสถาบันนิติบัญญัติไทยควรเป็นเช่นไร แล้วนำกรอบดังกล่าวมาประกาศเป็นแบบแผนปฏิบัติของกลุ่มตอนนี้ยังไม่มีพรรคไม่มีแผนเลือกตั้งก็จะทำแบบนี้ ถ้าจะเลือกตั้งแล้วได้รับเลือกจะปฎิบัติตามกรอบนี้ แค่นี้ “ต่าง” แล้วครับ
ในแง่ของความคิด กลุ่มกรีนประกาศแนวทางปฏิรูปแต่ยังไม่ได้ย่อยและแปลงมาเป็นประเด็น ที่สำคัญคือไม่รู้จะผลักดันอะไรอะไร เรื่องบางเรื่องมีคนทำอยู่ก่อนก็เลือกแง่มุมที่หนุนที่เสริมกันได้ ปชป.อาจจะมีร่างกฎหมายปฏิรูปการถือครองที่ดิน กลุ่มกรีนอาจเห็นพ้องในบางเรื่องและไม่เห็นด้วยในบางมาตรา เช่นว่า แนวทางของกลุ่มกรีนต้องมีการประกาศและคุ้มครอง+พัฒนาที่ดินโซนเกษตรกรรมของประเทศ จัดสัมมนาขีดเส้นร่างพื้นที่กันเลย – จะดีไหม ? แม้พรรคการเมืองที่มีอยู่เขาไม่เอาด้วยแต่ประชาชนจะได้เอามาเปรียบเทียบพิจารณาชั่งน้ำหนักต่อได้
ที่เขียนนำเสนอมาทั้งหมดก็เพราะติดตามความเห็นทางทวิตเตอร์ของสุริยะใสรายวัน เห็นความพยายามจะทำโน่นนั่นอย่างขยันขันแข็งแต่เหมือนจะเหนื่อยเปล่า ที่เสนอมาไม่ใช่เพื่อสุริยะใสคนเดียวหรอกนะครับ เพราะผมเองมีความเชื่อว่าการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแรงผลักจากทั้งในและนอกระบบ กลุ่มกรีนของไทยอาจไม่เหมือนกลุ่มกรีนในต่างประเทศเพราะบริบทการเมืองสังคมไม่เหมือนกัน ของเขามี Governance อยู่แล้วจะผลักดันเรื่องนี้ทำไม
ไม่รู้ล่ะสำหรับผมหากพรรคการเมืองไหนประกาศว่า จะประกาศรายชื่อส.ส.ที่ขาด/ลา/ยกมือหนุนเรื่องอะไร ในทุกนัดประชุม แถลงรายละเอียดการใช้สิทธิ์ต่างๆ ที่มาจากภาษีราษฏรโดยเฉพาะค่าเครื่องบิน การดูงานต่างประเทศ หากเกิดเหตุสภาล่มหากมี ส.ส.ในสังกัดขาด ต้นสังกัดต้องชี้แจงเหตุผลต่อประชาชน ประกาศผลักดันนโยบายปฏิรูปที่ไม่เคยมีใครกล้าทำเพราะไปขัดกับนายทุนเช่นเรื่องภาษีที่ดินแบบก้าวหน้าให้เป็นสัญญาประชาคม ฯลฯ ผมก็จะเลือกพรรคนั้น
สำหรับกลุ่มการเมืองสีเขียวที่ยังเพิ่งเริ่มต้น น่าจะเริ่มแปลงคำว่า “การเมืองสะอาด” ออกมาเป็นรูปธรรมและการปฏิบัติในรูปของเครือข่ายคน (ที่ไม่ใช่ปัจเจก) ออกมาได้แล้วกระมังครับ – อย่าให้เนิ่นนานจะเสียการณ์ไป !
จนกระทั่งล่าสุดที่เป็นหัวหอกยื่นฟ้องศาลปกครองกรณีประมูลคลื่น 3G สุริยะใสก็ทำหน้าที่ได้ดีทั้งก่อน-ระหว่างและหลังประการมูล คือทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวม
นอกเหนือจากบทบาทที่ “เป็นข่าว”แล้ว ผมพบว่าสุริยะใสยังหมั่นแสดงความเห็นผ่านทวิตเตอร์ @Suriyasai และเฟซบุ๊ก Fanpage : www.facebook.com/K.Suriyasai โดยสม่ำเสมอ แต่ดูเหมือนบทบาทการแสดงความเห็นในฐานะ “นักการเมือง” ที่มีความเห็นรายวันจะยังไม่ค่อยได้รับการตอบรับมากเท่าที่ควร เพราะการจับขบวนรถสถานการณ์ให้ได้ทันเช่นกรณี 3G มีสปอตไลท์ส่องจับไม่สามารถเกิดได้บ่อยครั้งนัก ถ้าจำไม่ผิด 1 ปีกว่าๆ มานี้ยะใสเป็นข่าวดัง 2-3 ครั้งเท่านั้น คือตอนที่ออกทีวีรายการของวู้ดดี้คู่กับตู่-จตุพร งานนี้เสียท่าเป็นบันไดให้กับวู้ดดี้ที่เกี่ยวประโยชน์จากดีลเพื่อนเก่าคนละขั้วได้ประโยชน์ไปเต็มๆ คนเดียวส่วนยะใสถูกแม่ยกคนกันเองถล่มแทบเสียศูนย์ แล้วก็มาเรื่องยื่นเอาผิดคำรณวิทย์ กับ ป.ป.ช. มาถึงเรื่องประมูลคลื่น 3G นี่แหละที่บทบาทโดดเด่นขึ้นมา
ยอมรับครับว่าโดยข้อเท็จจริงสุริยะใสเป็นข่าวบ่อยกว่าที่ยกตัวอย่างมาแต่สำหรับผมถือว่ายังเป็นบทบาทขี้หมูราขี้หมาแห้งเพราะยะใสจะวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวการเมืองเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ขึ้นกับนักข่าวที่รายงานเรื่องนั้นๆ แหละว่าต้องการตัวละครมาแสดงความเห็นแบบไหน ทั้งนี้เพื่อให้ข่าวชิ้นนั้นๆ ดูกลมกล่อมขึ้นมา เช่นขอให้วิจารณ์ข้อเสนอของ คอป.ให้ทักษิณเสียสละจะได้เป็นรัฐบุรุษ อะไรแบบนี้แหละ
เอาเป็นว่าผมไม่อยากเห็นสุริยะใสเป็นแบบ หมอเหวง-หมอสันต์ วรัญชัย โชคชนะ ในยุคก่อนหน้าที่มีอะไรก็ออกมาแถลงข่าวยื่นหนังสืออุปโลกน์ชื่อกลุ่มใหญ่โตแต่มีสมาชิกนับหัวได้ หรือแม้กระทั่ง เรืองไกร ลีกิจวัฒนะที่เป็นจอมฟ้องดะเจอช่องเป็นเสียบ ...ยกตัวอย่างแบบนี้คงเข้าใจกันชัดขึ้นนะ
สุริยะใสกำหนดเส้นทางเดินไว้ที่ “การเมือง” ชัดเจนดังที่เขียนสถานะของตัวเองไว้บนหน้าเฟซบุ้คว่า Politician บทบาทของกลุ่มกรีน-กลุ่มการเมืองสีเขียว จึงไม่ควรเหมือนกับการรณรงค์ขององค์กรไม่แสวงกำไร เอ็นจีโอ หรือ ครป.ที่เคยทำมา อย่างน้อยก็ควรมีเป้าหมาย เช่นว่าจะเติบโตเป็นพรรคการเมืองในอนาคตเหมือนพรรคกรีนในยุโรป หรืออย่างน้อยถึงไม่เลือกตั้งรณรงค์โหวตโนก็ได้แต่ก็ควรเสนอชุดนโยบายเปรียบเทียบออกมาในทำนองพรรคการเมืองเงา เพราะว่าแรงกดดันของการเมืองภาคประชาชนที่เป็น Social Movement จะเกิดในอนาคตอันใกล้นี้ค่อนข้างแน่ โดยเฉพาะกลุ่มรณรงค์เรื่องพลังงาน โดยมีเรื่องการกระจายการถือครองที่ดินตามมาห่างๆ กลุ่มกรีนซึ่งยังไม่มีเป้าที่นั่ง ส.ส.ในสภา ก็สามารถชูธงปฏิรูปร่วมสนับสนุนในแบบใดแบบหนึ่งก็เป็นไปได้เช่นกัน
ตอนที่พันธมิตรฯ มีความคิดตั้งพรรคการเมืองใหม่ผมเป็นเสียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วยเพราะเสียดายความเป็นการเมืองภาคประชาชน แต่กรณีการแยกออกมาตั้งกลุ่มการเมืองสีเขียวที่บอกว่าเดินตามแนวพรรคกรีนผมเห็นด้วย และอยากยุส่งไปเลยว่าให้ตั้งเป้าให้ไกลให้ไปถึงรัฐสภาให้ได้
ปัญหาก็คือการเคลื่อนไหวของสุริยะใสในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างเป็นปัจเจก โดดเดี่ยวตัวเองจากกลุ่มซึ่งหากเป็นเช่นนี้ตลอดไป ยะใสก็จะเหมือนกับหมอเหวงหมอสันต์ที่เคลื่อนไหวในนามสมาพันธ์ประชาธิปไตย แต่ตัวสมาพันธ์กลับเหี่ยวลงๆ หลังๆ กลายเป็นองค์กรร้างที่มีแต่ 2 หมอสวมชุดขาวเที่ยวเร่ออกแถลงการณ์โน่นนี่จนไร้น้ำหนักไปเองโดยปริยาย
ในฐานะคนแอบเชียร์สิ่งที่อยากเห็นที่สุดตอนนี้คือการขับเคลื่อนองค์กรที่ชื่อว่ากลุ่มการเมืองสีเขียว ให้มันเติบโตหยั่งรากผลิดอกออกใบเขียวสะพรั่งขึ้นมาจริงๆ ซึ่งที่สุดแล้วต้องอาศัยทั้ง “กระบวนการ” และ “ขบวนการ” ขับดันคนจำนวนหนึ่งที่มีความคิดแบบเดียวกันขึ้นมาให้ได้ คนที่เคยทำงานร่วมกันตั้งแต่ยุคพรรคการเมืองใหม่แล้วแยกออกมาพร้อมกันมาก็มีพอสมควรมิใช่หรือ
กลุ่มกรีนชูธงปฏิรูป แต่เชื่อไหมผมเคยสังเกตว่าเวลาพ่อแม่พี่น้องพันธมิตรฯ กลุ่มกรีน หรือคนในแวดวงที่ชูธงปากตะโกนว่าปฏิรูปพอไปถามรายละเอียดเรียงคนเข้าจริงกลับไม่มีเป้าหมายเชิงรูปธรรมให้เดินไปให้ถึง เมื่อไม่มีเป้าหมายก็ไม่สามารถออกแบบกิจกรรมที่ผูกคนระยะยาวขึ้นมาได้ เลยกลายเป็นต้องรอเคลื่อนไหวตามสถานการณ์ไปเสีย
ให้ถือว่านี่เป็นความเห็นของกองเชียร์คนหนึ่งก็แล้วกัน, ผมอยากเห็นตัวแทนของกลุ่มกรีนไปนั่งในรัฐสภาสัก 2-3 คนในการเลือกตั้งครั้งหน้า มันก็คงเหมือนกับกลุ่มกรีนในหลายประเทศนั่นแหละคือไม่เคยเป็นเสียงข้างมากเข้าบริหารกับเขาสักครั้ง แต่ประชาชนของเขาก็เลือกไปเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ไปเหนี่ยวรั้ง ไปเสนอ ไปถ่วงดุล กิจการงานด้านสิ่งแวดล้อม คนชั้นล่าง ความยุติธรรมของสังคม ฯลฯ ต่างๆ พลังของกลุ่มกรีนไม่ใช่มือในสภา 3-5 เสียง หากแต่เป็นพลังจากประชาสังคมภายนอกสภาที่หนุนและช่วยกดดันในประเด็นที่พวกเขาเห็นว่าถูกต้อง
การเคลื่อนไหวของกลุ่มกรีนจึงไม่ใช่แค่แอ็คชั่น ประเภทออกโรงค้านหรือยื่นฟ้องสิ่งไม่ชอบมาพากลเท่านั้น ยังมีแง่มุมของการผลักดันนโยบาย หรือชุดความคิด และแง่มุมของหลัก “การเมืองสะอาด” ซึ่งก็คือ Governance ด้วย
ที่ผ่านมามีแค่แอ็คชั่นครับ ยังไม่มีเรื่องของความคิด/นโยบาย รวมไปถึงการผลักดันการเมืองสะอาดในแง่ของหลักการระยะยาว
กลุ่มกรีนแค่ 3-5 คนก็เปลี่ยนแปลงสภาได้ครับ ถ้าทำดีๆ ถึงขั้นปฏิรูปสถาบันนิติบัญญัติเลยก็ได้เอ้า !
ยุคหนึ่ง พล.ต.จำลอง ศรีเมืองเคยกำหนดมาตรฐานให้ ส.ส.พลังธรรมเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาเสียอีก โดยหลักการเดียวกันหากกลุ่มกรีนประกาศตนว่าจะปฏิบัติแนวทางที่เป็นแบบอย่างตามแนวทางการเมืองสะอาด เช่น เปิดเผยการการใช้สิทธิ์เดินทางโดยเครื่องบินทุกเดือนพร้อมคำอธิบายว่าเหตุใดต้องเดินทางไปที่ดังกล่าว หาเป็นส.ส.แล้วได้สิทธิ์ไปดูงานต่างประเทศ ส.ส.คนดังกล่าวต้องมีรายงานการดูงาน-ประโยชน์ที่ได้รับและความเห็นเพื่อปรับใช้
ถ้าลองสัมมนาประมวลความเห็นว่า ส.ส.ในฝันของสถาบันนิติบัญญัติไทยควรเป็นเช่นไร แล้วนำกรอบดังกล่าวมาประกาศเป็นแบบแผนปฏิบัติของกลุ่มตอนนี้ยังไม่มีพรรคไม่มีแผนเลือกตั้งก็จะทำแบบนี้ ถ้าจะเลือกตั้งแล้วได้รับเลือกจะปฎิบัติตามกรอบนี้ แค่นี้ “ต่าง” แล้วครับ
ในแง่ของความคิด กลุ่มกรีนประกาศแนวทางปฏิรูปแต่ยังไม่ได้ย่อยและแปลงมาเป็นประเด็น ที่สำคัญคือไม่รู้จะผลักดันอะไรอะไร เรื่องบางเรื่องมีคนทำอยู่ก่อนก็เลือกแง่มุมที่หนุนที่เสริมกันได้ ปชป.อาจจะมีร่างกฎหมายปฏิรูปการถือครองที่ดิน กลุ่มกรีนอาจเห็นพ้องในบางเรื่องและไม่เห็นด้วยในบางมาตรา เช่นว่า แนวทางของกลุ่มกรีนต้องมีการประกาศและคุ้มครอง+พัฒนาที่ดินโซนเกษตรกรรมของประเทศ จัดสัมมนาขีดเส้นร่างพื้นที่กันเลย – จะดีไหม ? แม้พรรคการเมืองที่มีอยู่เขาไม่เอาด้วยแต่ประชาชนจะได้เอามาเปรียบเทียบพิจารณาชั่งน้ำหนักต่อได้
ที่เขียนนำเสนอมาทั้งหมดก็เพราะติดตามความเห็นทางทวิตเตอร์ของสุริยะใสรายวัน เห็นความพยายามจะทำโน่นนั่นอย่างขยันขันแข็งแต่เหมือนจะเหนื่อยเปล่า ที่เสนอมาไม่ใช่เพื่อสุริยะใสคนเดียวหรอกนะครับ เพราะผมเองมีความเชื่อว่าการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแรงผลักจากทั้งในและนอกระบบ กลุ่มกรีนของไทยอาจไม่เหมือนกลุ่มกรีนในต่างประเทศเพราะบริบทการเมืองสังคมไม่เหมือนกัน ของเขามี Governance อยู่แล้วจะผลักดันเรื่องนี้ทำไม
ไม่รู้ล่ะสำหรับผมหากพรรคการเมืองไหนประกาศว่า จะประกาศรายชื่อส.ส.ที่ขาด/ลา/ยกมือหนุนเรื่องอะไร ในทุกนัดประชุม แถลงรายละเอียดการใช้สิทธิ์ต่างๆ ที่มาจากภาษีราษฏรโดยเฉพาะค่าเครื่องบิน การดูงานต่างประเทศ หากเกิดเหตุสภาล่มหากมี ส.ส.ในสังกัดขาด ต้นสังกัดต้องชี้แจงเหตุผลต่อประชาชน ประกาศผลักดันนโยบายปฏิรูปที่ไม่เคยมีใครกล้าทำเพราะไปขัดกับนายทุนเช่นเรื่องภาษีที่ดินแบบก้าวหน้าให้เป็นสัญญาประชาคม ฯลฯ ผมก็จะเลือกพรรคนั้น
สำหรับกลุ่มการเมืองสีเขียวที่ยังเพิ่งเริ่มต้น น่าจะเริ่มแปลงคำว่า “การเมืองสะอาด” ออกมาเป็นรูปธรรมและการปฏิบัติในรูปของเครือข่ายคน (ที่ไม่ใช่ปัจเจก) ออกมาได้แล้วกระมังครับ – อย่าให้เนิ่นนานจะเสียการณ์ไป !