หลังจากมีกรณีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการพิจารณาวาระ ๓ ของการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญออกไปก่อน จนเกิดการปะทะคารมและการเคลื่อนไหวในสังคมของฝ่ายต่างๆ ลุกลามใหญ่โตนั้น
ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันพุธที่ ๖ มิถุนายน ที่ผ่านมาจึงได้เปิดแถลงข่าวโดยมีประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ พร้อมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญและคณะ แถลงชี้แจงกรณีที่มีคำสั่งให้สภาชะลอการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ ๓ ออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย โดยแถลงว่าประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ทางตุลาการฯ ได้ให้ความสำคัญและพิจารณาอย่างรอบคอบ และได้ดูเรื่องของเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มาตรา ๖๓ ที่กำหนดว่า ผู้รู้เห็นการกระทำที่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการดังกล่าว โดยในร่างรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มีการแปรญัตติไว้ว่า การกระทำดังกล่าวสามารถยื่นต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทันที จนมาเป็นมาตรา ๖๘ วรรค ๒ ของรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มาเป็นมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญปี ๕๐แต่เป็นเพียงคำว่าผู้รู้เห็นการกระทำมาเป็นผู้ทราบการกระทำ
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการตามมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ ๒ ช่องทาง คือยื่นต่ออัยการสูงสุดและยื่นศาลรัฐธรรมนูญพร้อมทั้งใช้มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ มาประกอบการพิจารณาด้วย
นายวสันต์กล่าวว่าตามคำร้องอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เป็นการปกครองอย่างอื่น ข้อกล่าวหาอย่างนี้ใหญ่พอให้ศาลพิจารณาไหม เรื่องนี้จะให้เป็นอำนาจของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียวหรือ อีกทั้งเรื่องนี้ ขณะนี้ยังอยู่ในชั้นของการรับคำร้อง ศาลไม่ได้ไปสั่งให้รัฐสภาหยุดการพิจารณา แต่เพียงมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักเลขาฯ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐว่า ขอให้แจ้งประธานสภาฯ ส่วนสภาจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นเรื่องของสภา หากเกิดอะไรขึ้นสภาฯ ก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนที่เลขาธิการระบุว่า หนังสือขอให้ชะลอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ ประกอบมาตรา ๒๑๓ นั้น ก็เป็นความเห็นทางกฎหมายที่นักกฎหมายตีความกันไป ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็บอกว่าไม่ใช่ เหลือแต่ศาลเจ้า ดังนั้นจะเห็นอย่างไรก็ตามใจเขา
สำหรับที่เกรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญทำเกินอำนาจ จะทำให้เกิดการรวมตัวของมวลชน กดดัน ถอดถอน และกลายเป็นปัจจัยนำไปสู่ความรุนแรง นายวสันต์กล่าวว่าใช้จินตนาการมากเกินไป จะใช้สิทธิอะไร จะถอดถอนก็ทำไป เราระวังมากกับการเข้าไปแตะต้องก้าวล่วงอำนาจบริหารนิติบัญญัติ ตุลาการ ๙ คน เรารู้ตัวดีว่าไม่มีอำนาจอื่นใดนอกจากในรัฐธรรมนูญให้ไว้ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเขากล่าวหามาว่า จะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจะให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกเฉย ซึ่งเท่ากับว่า จะเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปอย่างนั้นได้หรือ มันก็ต้องไต่ส่วนทวนความกันก่อน ซึ่งหากทางสภาจะให้ความร่วมมือ โดยการเลื่อนการพิจารณาไปซักเดือนเศษก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร เพราะคณะตุลาการก็คาดการณ์แล้วว่า ๑ สัปดาห์ หลังการไต่สวนในวันที่ ๕-๖ ก.ค.จะมีคำวินิจฉัยได้
เมื่อถามว่าถ้ารัฐสภาเดินหน้าประชุมวาระ ๓ ศาลรัฐธรรมนูญจะยังคงไต่สวนในวันที่ ๕-๖ก.ค. หรือไม่ และคำวินิจฉัยของศาลฯ มีสภาพบังคับย้อนหลังได้หรือไม่ นายวสันต์กล่าวว่าถ้ามีการประชุมสภาพิจารณาวาระ ๓ คณะตุลาการฯ ก็ต้องคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกันต่อไป และเดินหน้าไต่สวนแล้วมีคำวินิจฉัยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ส่วนโทษหากพบว่ามีการกระทำล้มล้างฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ กำหนดว่าให้ศาลสามารถสั่งให้หยุดการกระทำนั้น และมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ซึ่งก็เป็นไปตามดุลยพินิจส่วนจะยุบพรรคการเมืองที่เป็นของผู้เสนอร่างแก้ไขหรือพรรคการเมืองที่ส.ส.ยกมือโหวตก็ต้องพิจารณากันอีกที
สำหรับเหตุการณ์อื่นๆ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยและในฐานะแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เดินทางพร้อมคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเมื่อวันที่ ๗ มิ.ย.ไปที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานสภาฯ เพื่อให้เดินหน้าประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญและถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะปักหลักชุมนุมต่อเนื่องกันไประยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงได้ต่อสู้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตลอด
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โพสต์ข้อความในทวิสเต้อร์ ว่ารัฐสภาต้องลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ ๓ ในโอกาสแรกที่มีการประชุม มิฉะนั้นเท่ากับจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ การกำหนด ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา จึงต้องมีระเบียบวาระการลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ ๓ รวมอยู่ด้วย จะตัดออกไปไม่ได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันพุธที่ ๖ มิถุนายน ที่ผ่านมาจึงได้เปิดแถลงข่าวโดยมีประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ พร้อมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญและคณะ แถลงชี้แจงกรณีที่มีคำสั่งให้สภาชะลอการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ ๓ ออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย โดยแถลงว่าประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ทางตุลาการฯ ได้ให้ความสำคัญและพิจารณาอย่างรอบคอบ และได้ดูเรื่องของเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มาตรา ๖๓ ที่กำหนดว่า ผู้รู้เห็นการกระทำที่เป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ย่อมมีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการดังกล่าว โดยในร่างรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มีการแปรญัตติไว้ว่า การกระทำดังกล่าวสามารถยื่นต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ทันที จนมาเป็นมาตรา ๖๘ วรรค ๒ ของรัฐธรรมนูญปี ๔๐ มาเป็นมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญปี ๕๐แต่เป็นเพียงคำว่าผู้รู้เห็นการกระทำมาเป็นผู้ทราบการกระทำ
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการตามมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ ๒ ช่องทาง คือยื่นต่ออัยการสูงสุดและยื่นศาลรัฐธรรมนูญพร้อมทั้งใช้มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๐ มาประกอบการพิจารณาด้วย
นายวสันต์กล่าวว่าตามคำร้องอ้างว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นผลให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ทั้งฉบับ เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้เป็นการปกครองอย่างอื่น ข้อกล่าวหาอย่างนี้ใหญ่พอให้ศาลพิจารณาไหม เรื่องนี้จะให้เป็นอำนาจของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียวหรือ อีกทั้งเรื่องนี้ ขณะนี้ยังอยู่ในชั้นของการรับคำร้อง ศาลไม่ได้ไปสั่งให้รัฐสภาหยุดการพิจารณา แต่เพียงมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักเลขาฯ ที่เป็นหน่วยงานของรัฐว่า ขอให้แจ้งประธานสภาฯ ส่วนสภาจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นเรื่องของสภา หากเกิดอะไรขึ้นสภาฯ ก็ต้องรับผิดชอบ ส่วนที่เลขาธิการระบุว่า หนังสือขอให้ชะลอการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ ประกอบมาตรา ๒๑๓ นั้น ก็เป็นความเห็นทางกฎหมายที่นักกฎหมายตีความกันไป ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็บอกว่าไม่ใช่ เหลือแต่ศาลเจ้า ดังนั้นจะเห็นอย่างไรก็ตามใจเขา
สำหรับที่เกรงกันว่าศาลรัฐธรรมนูญทำเกินอำนาจ จะทำให้เกิดการรวมตัวของมวลชน กดดัน ถอดถอน และกลายเป็นปัจจัยนำไปสู่ความรุนแรง นายวสันต์กล่าวว่าใช้จินตนาการมากเกินไป จะใช้สิทธิอะไร จะถอดถอนก็ทำไป เราระวังมากกับการเข้าไปแตะต้องก้าวล่วงอำนาจบริหารนิติบัญญัติ ตุลาการ ๙ คน เรารู้ตัวดีว่าไม่มีอำนาจอื่นใดนอกจากในรัฐธรรมนูญให้ไว้ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเขากล่าวหามาว่า จะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วจะให้ศาลรัฐธรรมนูญเพิกเฉย ซึ่งเท่ากับว่า จะเปลี่ยนก็เปลี่ยนไปอย่างนั้นได้หรือ มันก็ต้องไต่ส่วนทวนความกันก่อน ซึ่งหากทางสภาจะให้ความร่วมมือ โดยการเลื่อนการพิจารณาไปซักเดือนเศษก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร เพราะคณะตุลาการก็คาดการณ์แล้วว่า ๑ สัปดาห์ หลังการไต่สวนในวันที่ ๕-๖ ก.ค.จะมีคำวินิจฉัยได้
เมื่อถามว่าถ้ารัฐสภาเดินหน้าประชุมวาระ ๓ ศาลรัฐธรรมนูญจะยังคงไต่สวนในวันที่ ๕-๖ก.ค. หรือไม่ และคำวินิจฉัยของศาลฯ มีสภาพบังคับย้อนหลังได้หรือไม่ นายวสันต์กล่าวว่าถ้ามีการประชุมสภาพิจารณาวาระ ๓ คณะตุลาการฯ ก็ต้องคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกันต่อไป และเดินหน้าไต่สวนแล้วมีคำวินิจฉัยจะมีผลย้อนหลังหรือไม่ ส่วนโทษหากพบว่ามีการกระทำล้มล้างฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ กำหนดว่าให้ศาลสามารถสั่งให้หยุดการกระทำนั้น และมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ซึ่งก็เป็นไปตามดุลยพินิจส่วนจะยุบพรรคการเมืองที่เป็นของผู้เสนอร่างแก้ไขหรือพรรคการเมืองที่ส.ส.ยกมือโหวตก็ต้องพิจารณากันอีกที
สำหรับเหตุการณ์อื่นๆ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยและในฐานะแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ได้เดินทางพร้อมคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเมื่อวันที่ ๗ มิ.ย.ไปที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อประธานสภาฯ เพื่อให้เดินหน้าประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญและถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งคาดว่าทั้งหมดจะปักหลักชุมนุมต่อเนื่องกันไประยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงได้ต่อสู้เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตลอด
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โพสต์ข้อความในทวิสเต้อร์ ว่ารัฐสภาต้องลงมติเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ ๓ ในโอกาสแรกที่มีการประชุม มิฉะนั้นเท่ากับจงใจไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ การกำหนด ระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา จึงต้องมีระเบียบวาระการลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระ ๓ รวมอยู่ด้วย จะตัดออกไปไม่ได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา ไม่ใช่อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ