น้ำมันเชื้อเพลิง กลายเป็นปัญหาความมั่นคงระดับโลกหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งแรก ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากสงครามระหว่างยิว-อาหรับ ความขัดแย้งเรื่องนี้กับตะวันตกทำให้ประเทศอาหรับในกลุ่มโอเปคประกาศงดส่งน้ำมันให้ชาติตะวันตกและลดปริมาณการผลิตลง 25% ในค.ศ.1973 (2516) ต่อจากนั้นอีกแค่ 6 ปีก็เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่สองขึ้นเมื่อ ค.ศ.1979 (2522) เมื่อเกิดการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ต่อเนื่องสงครามอิรัค-อิหร่านทำให้กำลังการผลิตโลกหายไปเกิดการชะงักงันและขาดแคลนตามมา (หมายเหตุ-มีการวิเคราะห์จากฝ่ายจับผิดมาเฟียพลังงานโลกว่าวิกฤตรอบหลังเป็นการสร้างสถานการณ์ ดันราคาของยักษ์ใหญ่ค้าน้ำมันโลกต่างหาก)
น้ำมันเชื้อเพลิงได้ยกระดับกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดผลกระทบต่อการผลิต การดำรงชีวิต และความมั่นคงยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก วิกฤตการณ์น้ำมันในยุคนั้นมาจากทั้งระดับราคาที่ไต่ขึ้นไม่หยุดและปัญหาด้านการจัดหาให้เพียงพอ มีผลต่อวิถีชีวิตประชาชนในไทยด้วยสะท้อนผ่านบทเพลง “น้ำมันแพง” ที่มีเนื้อเริ่มต้นว่า “น้ำมันขาดแคลนคุยกับแฟนก็ต้องดับไฟ ...” แต่งและร้องโดย สรวง สันติ (งานของสรวง สันติ โด่งดังในช่วงปี 2522-2525 ก่อนที่เจ้าตัวเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุรถยนต์)
ระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันโลก เป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเพราะเป็นระยะเวลาที่เริ่มก่อตั้ง ปตท. โดยรัฐบาลยุคนั้นคือรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ยุบรวมหน่วยงานเกี่ยวข้องสองหน่วยคือ องค์การเชื้อเพลิงสังกัดกรมการพลังงานทหาร และองค์การก๊าซธรรมชาติ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือเรียกโดยย่อว่า "ปตท." ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ตามพรบ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติก่อตั้งปตท. เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า “เนื่องจากการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเป็นกิจการอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ แต่หน่วยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิต สำรวจ ขนส่งและจำหน่ายปิโตรเลียมที่เป็นของทางราชการยังมีขนาดไม่เหมาะสม โดยกระจัดกระจายขึ้นอยู่กับส่วนราชการและองค์การของรัฐหลายแห่ง เป็นเหตุให้การประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพสมควรรวมหน่วยปฏิบัติขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินการ ฯ”
กล่าวได้ว่าวิกฤตการณ์น้ำมันระดับโลกที่มีผลกระทบต่อประเทศเป็นตัวเร่งผลักดันให้เกิด ปตท.ขึ้นมาเมื่อปี 2521 เพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศ เพราะแม้ประเทศไทยจะเริ่มตั้งไข่ในกิจการด้านปิโตรเลียมมาก่อนหน้าแต่มันก็ยังคงเป็นการตั้งไข่เตาะแตะที่ขาดความมั่นคงอย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์วิกฤตน้ำมันโลก
นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมาถึงวิกฤตการณ์น้ำมันโอเปค-อิรัค-อิหร่าน(2516-2523) อันนำมาสู่ตั้งปตท.ขึ้นโดยควบหน่วยงานเกี่ยวข้องมาไว้รวมกัน เหตุผลหลักของประเทศไทยยุคนั้นคือ “ปัญหาการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง” ให้เพียงพอ ให้ถ่วงดุลบริษัทต่างชาติ เป็นความพยายามของประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีของตนเอง ไม่ได้คิดไกลไปถึงบริษัทน้ำมันแห่งชาติหรือกิจการน้ำมันระดับโลกแบบที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน
องค์การเชื้อเพลิง-ตำนานการต่อสู้กับต่างชาติก่อนยุบรวมกับ ปตท.
หน่วยงานหนึ่งที่ถูกยุบรวมกับปตท. ก็คือองค์การเชื้อเพลิง กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นชื่อที่หลายๆ คนอาจลืมเลือนไปแล้วแต่หากบอกว่าคือ “ปั๊มน้ำมันตราสามทหาร” ที่มีภาพครึ่งท่อนของทหารสามนายเป็นตราสัญลักษณ์ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีน่าจะรื้อฟื้นความทรงจำได้
องค์การเชื้อเพลิง กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นรากฐานหนึ่งของปตท.ในปัจจุบันกำเนิดมาจากความต้องการเป็นอิสระทางด้านพลังงานจากการครอบงำของต่างชาติ เกิดบนฐานความคิดเรื่องความมั่นคงและถือว่าน้ำมันเป็นยุทธปัจจัยที่อย่างน้อยที่สุดเมื่อถึงเวลาคับขันประเทศจะได้มีพลังงานของตัวเองไว้ใช้
องค์การเชื้อเพลิง กำเนิดโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ.2503 ในยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วัตถุประสงค์เพื่อให้มีหน่วยงานทำหน้าที่ “อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเพื่อให้มีและใช้ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจของชาติและช่วยเหลือในการครองชีพของประชาชน” มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้เป็นนิติบุคคล สังกัดกับกรมพลังงานทหาร
การถือกำเนิดของหน่วยงานนี้มีผลสืบเนื่องโดยตรงจากความพยายามเป็นอิสระในการจัดหาพลังงานเชื้อเพลิงจากการผูกขาดครอบงำของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาประเทศไทยถูกกดดันไม่ให้ดำเนินการกิจการแข่งขันกับบริษัทตะวันตก เพราะสำหรับการทหารแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
ย้อนกลับไปก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลคณะราษฏร์พยายามจะสร้างหน่วยงานทำหน้าที่จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงของตนเองขึ้นมาโดยตั้ง “แผนกเชื้อเพลิง” สังกัดกระทรวงกลาโหมเมื่อพ.ศ.2475 จากนั้นก็ยกฐานะเป็น “กรมเชื้อเพลิง” กระทรวงกลาโหม ในปีพ.ศ.2480 และหลังจากนั้นอีกปีเดียว ได้ตราพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2481 ขึ้นมามีเนื้อหาบังคับบริษัทต่างชาติให้สำรองน้ำมันและควบคุมราคาขายปลีกขายส่งซึ่งทำให้บริษัทตะวันตกไม่พอใจมาก ความพยายามของรัฐบาลคณะราษฏร์ในการเป็นอิสระของกิจการพลังงานยังก้าวหน้าไปถึงขึ้นตั้งโรงกลั่นน้ำมัน มีกำลังการผลิต 1,000 บาร์เรล/วัน ที่ช่องนนทรี โดยใช้ฤกษ์ 24 มิถุนายน 2483 ทำพิธีเปิด ในปีเดียวกันนั้นประเทศไทยก็ปิดฉากสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศสยึด 3 จังหวัดฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับมา
แต่การพยายามจะเป็นอิสระและมั่นคงด้านพลังงานของไทยก็สะดุดลงหลังจากสิ้นสุดสงครามโลก เพราะบริษัทฝรั่งคือ ตัวแทนกลุ่มเอสโซ่และเชลล์กดดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฏหมายที่บริษัทน้ำมันอ้างว่าไม่เป็นเสรีในปี พ.ศ.2489
หลังจากนั้นชะตากรรมของประเทศไทยในความพยายามยืนบนลำแข้งตนเองในด้านการพลังงาน
เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ไทยถูกบีบบังคับจากบริษัทต่างชาติตอนนี้ว่า “ในที่สุดก็มีการตกลงยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองให้กับบริษัทต่างชาติทั้งสองมีสาระสำคัญว่า 1) รัฐบาลจะไม่ถือว่าบริษัทหรือผู้แทนขาย น้ำมันโดยไม่มีใบอนุญาตในขณะนั้นมีความผิด 2) รัฐบาลจะไม่เข้าหุ้นส่วนค้าน้ำมันกับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศ และ 3) การซื้อน้ำมันของรัฐบาลต้องให้บริษัทมีสิทธิเข้าเสนอขายด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุบเลิกกรมเชื้อเพลิง โดยกระทรวงกลาโหมได้ลงนามสัญญาซื้อขาย ทรัพย์สินของกรมเชื้อเพลิงที่ช่องนนทรีย์และร้านค้าของเอกชนทั้งหมดกับบริษัททั้งสองเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2489 พร้อมทั้งให้เช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี และเมื่อหมดสัญญาให้ต่อได้อีก 30 ปี ในปีเดียวกันนี้เองบริษัท คาลเท็กซ์ จำกัด ได้เข้ามาประกอบกิจการค้าน้ำมันเพิ่มอีก 1 ราย”
เงื่อนไขทั้ง 3 ประการดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางด้านการพลังงานให้กับบริษัทจากยุโรปและอเมริกาก็ว่าได้ เพราะโดยนัยแล้วคือการยอมให้บริษัทน้ำมันต่างชาติกลุ่มดังกล่าวเข้ามาทำการค้าภายในประเทศโดยเสรี (โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตตามนัยของพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง2481) รัฐบาลจะไม่เข้าหุ้นกับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศอื่น (เพราะจะทำให้บริษัทผูกขาดเสียเปรียบ เท่ากับกีดกันบริษัทต่างชาติกลุ่มอื่นออกไป) และยอมให้บริษัทผูกขาดการขายน้ำมันให้กับรัฐโดยปริยาย
ผลจากการกดดันรัฐบาลไทยยังต้องยุบเลิก กรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม ที่ยกฐานะขึ้นเมื่อ พ.ศ.2480 ทิ้งไป หน่วยงานดังกล่าวทำหน้าที่จัดหาน้ำมันโดยนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศเอง และต่อมามีความพยายามตั้งโรงกลั่นนำน้ำมันดิบจากฝางและที่ซื้อมามากลั่นและแจกจ่ายเอง
บริษัทต่างชาติผูกขาดครอบงำกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยจากปี 2489 ซึ่งถือเป็นช่วงหลังสงครามที่ฝรั่งมีอำนาจและอำนาจต่อรองสูงเป็นเวลา 4 ปีที่ไทยแทบไม่ได้กระดิกกระเดี้ยใดๆ มีเงื่อนไขเดียวที่ฝรั่งเปิดช่องให้ทำได้คือรัฐบาลสามารถสำรองน้ำมันเฉพาะเพื่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น จนถึงปี 2492 ที่รัฐบาลไทยเริ่มขยับตัวจากภาวะบีบคั้นดังกล่าวด้วยความพยายามรื้อฟื้นหน่วยงานด้านพลังงาน สังกัดกระทรวงกลาโหมขึ้นมาใหม่อีกรอบ
จุดนี้เองที่เป็นต้นตอของ องค์การเชื้อเพลิง และปั๊มน้ำมันตราสามทหารในเวลาต่อมา !
พ.ศ.2492 รัฐบาลในขณะนั้นมีมติ ครม. 11 มกราคม 2492 รื้อฟื้นจัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหมขึ้นมาอีกคำรบ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนักเพราะรัฐบาลขณะนั้นคือ จอมพลป.พิบูลสงคราม ที่กลับมาสู่อำนาจหลังการรัฐประหาร 2490 แนวคิดเรื่องการมีกิจการน้ำมันคานอำนาจต่างชาติเพื่อความมั่นคงทหารเป็นแนวทางที่ดำเนินสืบเนื่องมาจากครั้งรัฐบาลคณะราษฏร์ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมถูกคัดค้านจากบริษัทน้ำมันต่างชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เอกสารศึกษาของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (อ้างแล้ว) กล่าวถึงตอนนี้ว่า...
“กระทรวงกลาโหมเห็นว่าน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีความจำเป็นในทางการทหาร จึงเห็นควรให้ตั้งแผนกเชื้อเพลิงขึ้นใหม่เพื่อกิจการของทหาร โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2492 ยืมเงินทุนจากกระทรวงการคลัง 15 ล้านบาท ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับซื้อน้ำมันทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตามความต้องการของกองทัพ และหน่วยราชการ พร้อมกันนั้นได้มีการสร้างคลังและถังเก็บน้ำมันขึ้นที่ท่าเรือริมคลองพระโขนงซึ่งมีที่ดิน ติดต่อกับท่าเรือคลองเตย และแผนกเชื้อเพลิงได้จัดซื้อน้ำมันจากบริษัทน้ำมันอิสระที่ไม่ขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกา
ในการจัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง และสร้างคลังน้ำมันดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ด้วยเกรงว่าแผนกเชื้อเพลิงจะขายน้ำมันให้แก่เอกชนและประชาชน บริษัทน้ำมันทั้ง 3 บริษัท จึงยื่นคำขอให้แผนกเชื้อเพลิงส่งรายชื่อผู้ซื้อน้ำมันให้บริษัททราบด้วย”
ขณะที่เว็บไซต์ของกรมการพลังงานทหาร http://www.mod.go.th/ded เล่าประวัติศาสร์ก่อตั้งองค์กรตรงนี้สั้นๆ ว่า “กระทรวงกลาโหมได้ขอจัดตั้ง แผนกเชื้อเพลิง ขึ้นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สะดวกในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากท้องตลาด และป้องกันการขาดแคลนน้ำมันในภาวะสงคราม โดยสามารถซื้อน้ำมันจาก ต่างประเทศได้โดยตรง ซึ่งไม่เป็นที่พอใจและถูกคัดค้านจากบริษัทต่างชาติวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2494 ได้มีการก่อสร้างคลังน้ำมันคลองเตย ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งถนนและทางรถไฟเข้าไปยังคลังน้ำมันในระหว่างนี้บริษัทต่างชาติพยายามขัดขวางการดำเนินงานทุกวิถีทาง”
จนที่สุดรัฐบาลไทยก็สามารถเจรจากับบริษัทน้ำมันต่างชาติลุล่วงและได้ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อทำกิจการด้านปิโตรเลียมคือ “องค์การเชื้อเพลิง”ซึ่งเป็นต้นธารของปตท.ในปัจจุบันในปี พ.ศ.2495 และยังยกฐานะแผนกเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหมที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นเป็น“กรมการพลังงานทหาร”ในพ.ศ. 2496 โดยที่กรมการพลังงานทหารได้ดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนองค์การเชื้อเพลิง และสัญลักษณ์สามทหารได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว
ในช่วงเวลาเดียวกันกระทรวงกลาโหมก็สร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 5,000 บาเรล/วัน ในที่ดินเดียวกับคลังน้ำมันพระโขนง จุดดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางจาก จึงเป็นที่มาของชื่อ “โรงกลั่นน้ำมันบางจาก” เว็บไซต์ http://www.bangchak.co.th ยืนยันชัดเจนว่าวัตถุประสงค์การตั้งโรงกลั่นของกระทรวงกลาโหมก็เพื่อคานและดุลกับบริษัทต่างชาติ
“บนพื้นที่ 485 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร โรงกลั่นน้ำมันกำลังการผลิตวันละ 5,000 บาเรล ได้รับการอนุมัติให้สร้างขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมเล็งเห็น ความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินกิจการเรื่อง "น้ำมัน" เองทั้งหมด เพื่อช่วยตรึงราคาน้ำมันในตลาด มิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติแต่เพียงฝ่ายเดียวและสำรองน้ำมันไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหลังจากโรงกลั่นน้ำมันของราชการถูกบังค้บขายให้บริษัทต่างชาติที่เป็นฝ่ายชนะสงครามโลก ครั้งที่ 2
โรงกลั่นน้ำมันที่ตำบลบางจากก่อสร้างเสร็จในปี 2500 เป็นปีเดียวกับที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีน้ำมันที่ผลิตในประเทศ ทางเลือกในขณะนั้นมีเพียงขยายกำลังการกลั่นเป็น 20,000 บาเรล เพื่อให้การดำเนินกิจการมีผลกำไร แต่เนื่องจากขาดเงินทุนในการขยายกิจการรัฐบาลจึงได้เปิดประมูลเช่าโรงกลั่นกำหนด 15 ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้เช่าลงทุนต้องขยายกำลังการกลั่นในที่สุดบริษัท ซัมมิท อินดัสเตรียล คอร์ปอเรชั่น (ปานามา) เป็นผู้ประมูลได้ และทำการขยายโรงกลั่นแล้วเสร็จในอีก 4 ปีต่อมา”
สู่ยุคโชติช่วงชัลวาลย์ (ของผู้ถือหุ้นและนายทุนการเมือง)
โฆษณาที่ติดตาตรึงใจของคนวัย 40 ปีขึ้นไปชิ้นหนึ่งในประมาณปีพ.ศ.2524-2525 ยุครัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์คือโฆษณาประเทศไทยก้าวสู่ยุคโชติช่วงชัชวาลย์ เพราะตอนนั้นไทยเพิ่งขุดพบก๊าซธรรมชาติได้เป็นครั้งแรก
ซึ่งหากมองย้อนกลับไปจะพบว่าไทยมีความพยายามเปิดแปลงสัมปทานขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซทั้งบนบกและอ่าวไทยมาก่อนหน้านานกว่า 10 ปีคือก่อนที่จะตราพรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ด้วยซ้ำไป โดยยุคก่อนหน้านั้นเรียกการสัมปทานขุดเจาะว่าประทานบัตรทำเหมือง ขณะที่พรบ.ปิโตรเลียม 2514 เป็นกฏหมายรองรับกิจการ “ปิโตรเลียม”อย่างเป็นทางการและทันสมัยกับสากลในห้วงเวลานั้น
ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ปิโตรเลียม ในปี 2516 ลดหย่อนเงื่อนไขลงมาสำหรับแปลงสำรวจในเขตน้ำลึกเกิน 200 เมตร การแก้กฏหมายดังกล่าวทำมาเป็นระยะเช่นปี 2523 แต่โดยหลักใหญ่คือปรับปรุงเงื่อนไขจูงใจให้กับบริษัทเอกชนผู้สำรวจขุดเจาะเป็นสำคัญ
อาจกล่าวได้ว่าการตั้ง ปตท.และการพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เป็นเส้นแบ่ง “ยุค” ของพัฒนาการปิโตรเลียมไทยที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป คือ
1.ยุคนำเข้า 100% - ก่อนหน้าที่ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปผ่านบริษัทฝรั่งในก่อนสงครามโลก มาสู่การพยายามตั้งโรงกลั่นเองแล้วถูกฝรั่งกดดันบังคับขายหลังจากสงครามโลกสิ้นสุด หลังจากที่กระทรวงกลาโหมตั้งโรงกลั่นบางจาก เมื่อประมาณพ.ศ.2500 และเอสโซ่สร้างโรงกลั่นเมื่อพ.ศ.2514 ประเทศไทยเข้าสู่ยุคสั่งน้ำมันดิบมากลั่นเองแต่ที่สุดยังเป็นการนำเข้าโดยที่คนไทยแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ เกี่ยวข้องเลย
2.ยุคพัฒนาเทคนิคและขุดค้นทรัพยากรของตัวเอง – เริ่มเป็นรูปร่างเมื่อมีการตั้ง ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รวมเอาหน่วยงานเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมมาไว้ด้วยกัน แต่ยุคแรกคนไทยยังไม่มีประสบการณ์ในการสั่งน้ำมันจากต่างประเทศเข้ามาเลย เพราะในช่วงที่ทำโรงกลั่นบางจากก็ต้องอาศัยสัมปทานและการบริหารจากต่างชาติเช่นเดิม ยุคนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยพยายามยืนบนลำแข้งของตัวเอง พร้อมๆ กับความคืบหน้าของการพบแหล่งก๊าซและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3.ยุคแปรรูปเพื่อกดขี่ขูดรีดกันเอง – หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปลงกิจการเป็นบริษัทมหาชนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เมื่อพ.ศ. 2544 ปตท. และฝ่ายกำกับนโยบายพลังงานของไทย ใช้ความได้เปรียบจากฐานทรัพยากรที่ผลิตได้ในอ่าวไทยควบคุมกิจการก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นทาง และยังควบคุมกิจการโรงกลั่นน้ำมัน 5 แห่งกลายเป็นเจ้าตลาด กำหนดโครงสร้างภาษีและราคาช่วยอุ้มกิจการปตท.และกลุ่มบริษัทในเครือ ผลของมันทำให้ปตท. ซึ่งเป็นกิจการรัฐวิสาหกิจของไทยเติบโตแข็งแกร่งพุ่งพรวดขึ้นมาไม่น้อยหน้าบริษัทต่างประเทศ กล่าวได้ว่าหากเกิดปัญหาทางด้านพลังงานขึ้นมาเหมือนเมื่อครั้งระหว่างสงครามโลก หรือระหว่าง 2516-2523 ประเทศไทยก็ยังจะมีพลังงานเพียงพอจะหล่อเลี้ยงกิจกรรมสำคัญๆ ได้ไม่ถึงกับขาดแคลนหรืออ้าปากรอให้ต่างชาติป้อนเหมือนเมื่อครั้งที่เคยเป็นมาในอดีต อย่างไรก็ตาม ผลทางลบของแนวทางดังกล่าวคือการกดขี่ขูดรีดคนไทยด้วยกันให้กลายเป็นเบาะรองรับและเป็นปุ๋ยให้กับการเติบโตของกิจการปิโตรเลียมรัฐบาลไทยไปในตัว
(อ่านต่อตอนต่อไป)
น้ำมันเชื้อเพลิงได้ยกระดับกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่เกิดผลกระทบต่อการผลิต การดำรงชีวิต และความมั่นคงยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก วิกฤตการณ์น้ำมันในยุคนั้นมาจากทั้งระดับราคาที่ไต่ขึ้นไม่หยุดและปัญหาด้านการจัดหาให้เพียงพอ มีผลต่อวิถีชีวิตประชาชนในไทยด้วยสะท้อนผ่านบทเพลง “น้ำมันแพง” ที่มีเนื้อเริ่มต้นว่า “น้ำมันขาดแคลนคุยกับแฟนก็ต้องดับไฟ ...” แต่งและร้องโดย สรวง สันติ (งานของสรวง สันติ โด่งดังในช่วงปี 2522-2525 ก่อนที่เจ้าตัวเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุรถยนต์)
ระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันโลก เป็นช่วงคาบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงานด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยเพราะเป็นระยะเวลาที่เริ่มก่อตั้ง ปตท. โดยรัฐบาลยุคนั้นคือรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ยุบรวมหน่วยงานเกี่ยวข้องสองหน่วยคือ องค์การเชื้อเพลิงสังกัดกรมการพลังงานทหาร และองค์การก๊าซธรรมชาติ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือเรียกโดยย่อว่า "ปตท." ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ตามพรบ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521
หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติก่อตั้งปตท. เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า “เนื่องจากการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเป็นกิจการอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภคประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ แต่หน่วยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการผลิต สำรวจ ขนส่งและจำหน่ายปิโตรเลียมที่เป็นของทางราชการยังมีขนาดไม่เหมาะสม โดยกระจัดกระจายขึ้นอยู่กับส่วนราชการและองค์การของรัฐหลายแห่ง เป็นเหตุให้การประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพสมควรรวมหน่วยปฏิบัติขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อดำเนินการ ฯ”
กล่าวได้ว่าวิกฤตการณ์น้ำมันระดับโลกที่มีผลกระทบต่อประเทศเป็นตัวเร่งผลักดันให้เกิด ปตท.ขึ้นมาเมื่อปี 2521 เพื่อแก้ปัญหาให้กับประเทศ เพราะแม้ประเทศไทยจะเริ่มตั้งไข่ในกิจการด้านปิโตรเลียมมาก่อนหน้าแต่มันก็ยังคงเป็นการตั้งไข่เตาะแตะที่ขาดความมั่นคงอย่างสิ้นเชิงโดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์วิกฤตน้ำมันโลก
นับจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมาถึงวิกฤตการณ์น้ำมันโอเปค-อิรัค-อิหร่าน(2516-2523) อันนำมาสู่ตั้งปตท.ขึ้นโดยควบหน่วยงานเกี่ยวข้องมาไว้รวมกัน เหตุผลหลักของประเทศไทยยุคนั้นคือ “ปัญหาการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิง” ให้เพียงพอ ให้ถ่วงดุลบริษัทต่างชาติ เป็นความพยายามของประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรและเทคโนโลยีของตนเอง ไม่ได้คิดไกลไปถึงบริษัทน้ำมันแห่งชาติหรือกิจการน้ำมันระดับโลกแบบที่เป็นอยู่ในยุคปัจจุบัน
องค์การเชื้อเพลิง-ตำนานการต่อสู้กับต่างชาติก่อนยุบรวมกับ ปตท.
หน่วยงานหนึ่งที่ถูกยุบรวมกับปตท. ก็คือองค์การเชื้อเพลิง กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นชื่อที่หลายๆ คนอาจลืมเลือนไปแล้วแต่หากบอกว่าคือ “ปั๊มน้ำมันตราสามทหาร” ที่มีภาพครึ่งท่อนของทหารสามนายเป็นตราสัญลักษณ์ผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีน่าจะรื้อฟื้นความทรงจำได้
องค์การเชื้อเพลิง กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นรากฐานหนึ่งของปตท.ในปัจจุบันกำเนิดมาจากความต้องการเป็นอิสระทางด้านพลังงานจากการครอบงำของต่างชาติ เกิดบนฐานความคิดเรื่องความมั่นคงและถือว่าน้ำมันเป็นยุทธปัจจัยที่อย่างน้อยที่สุดเมื่อถึงเวลาคับขันประเทศจะได้มีพลังงานของตัวเองไว้ใช้
องค์การเชื้อเพลิง กำเนิดโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ.2503 ในยุครัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วัตถุประสงค์เพื่อให้มีหน่วยงานทำหน้าที่ “อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเพื่อให้มีและใช้ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจของชาติและช่วยเหลือในการครองชีพของประชาชน” มีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้เป็นนิติบุคคล สังกัดกับกรมพลังงานทหาร
การถือกำเนิดของหน่วยงานนี้มีผลสืบเนื่องโดยตรงจากความพยายามเป็นอิสระในการจัดหาพลังงานเชื้อเพลิงจากการผูกขาดครอบงำของบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาประเทศไทยถูกกดดันไม่ให้ดำเนินการกิจการแข่งขันกับบริษัทตะวันตก เพราะสำหรับการทหารแล้วน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นยุทธปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ
ย้อนกลับไปก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลคณะราษฏร์พยายามจะสร้างหน่วยงานทำหน้าที่จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงของตนเองขึ้นมาโดยตั้ง “แผนกเชื้อเพลิง” สังกัดกระทรวงกลาโหมเมื่อพ.ศ.2475 จากนั้นก็ยกฐานะเป็น “กรมเชื้อเพลิง” กระทรวงกลาโหม ในปีพ.ศ.2480 และหลังจากนั้นอีกปีเดียว ได้ตราพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2481 ขึ้นมามีเนื้อหาบังคับบริษัทต่างชาติให้สำรองน้ำมันและควบคุมราคาขายปลีกขายส่งซึ่งทำให้บริษัทตะวันตกไม่พอใจมาก ความพยายามของรัฐบาลคณะราษฏร์ในการเป็นอิสระของกิจการพลังงานยังก้าวหน้าไปถึงขึ้นตั้งโรงกลั่นน้ำมัน มีกำลังการผลิต 1,000 บาร์เรล/วัน ที่ช่องนนทรี โดยใช้ฤกษ์ 24 มิถุนายน 2483 ทำพิธีเปิด ในปีเดียวกันนั้นประเทศไทยก็ปิดฉากสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศสยึด 3 จังหวัดฝั่งขวาแม่น้ำโขงกลับมา
แต่การพยายามจะเป็นอิสระและมั่นคงด้านพลังงานของไทยก็สะดุดลงหลังจากสิ้นสุดสงครามโลก เพราะบริษัทฝรั่งคือ ตัวแทนกลุ่มเอสโซ่และเชลล์กดดันให้รัฐบาลไทยยกเลิกกฏหมายที่บริษัทน้ำมันอ้างว่าไม่เป็นเสรีในปี พ.ศ.2489
หลังจากนั้นชะตากรรมของประเทศไทยในความพยายามยืนบนลำแข้งตนเองในด้านการพลังงาน
เอกสารประวัตินโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดเสรีด้านพลังงาน: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ไทยถูกบีบบังคับจากบริษัทต่างชาติตอนนี้ว่า “ในที่สุดก็มีการตกลงยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ออกหนังสือรับรองให้กับบริษัทต่างชาติทั้งสองมีสาระสำคัญว่า 1) รัฐบาลจะไม่ถือว่าบริษัทหรือผู้แทนขาย น้ำมันโดยไม่มีใบอนุญาตในขณะนั้นมีความผิด 2) รัฐบาลจะไม่เข้าหุ้นส่วนค้าน้ำมันกับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศ และ 3) การซื้อน้ำมันของรัฐบาลต้องให้บริษัทมีสิทธิเข้าเสนอขายด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยุบเลิกกรมเชื้อเพลิง โดยกระทรวงกลาโหมได้ลงนามสัญญาซื้อขาย ทรัพย์สินของกรมเชื้อเพลิงที่ช่องนนทรีย์และร้านค้าของเอกชนทั้งหมดกับบริษัททั้งสองเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2489 พร้อมทั้งให้เช่าที่ดินมีกำหนด 30 ปี และเมื่อหมดสัญญาให้ต่อได้อีก 30 ปี ในปีเดียวกันนี้เองบริษัท คาลเท็กซ์ จำกัด ได้เข้ามาประกอบกิจการค้าน้ำมันเพิ่มอีก 1 ราย”
เงื่อนไขทั้ง 3 ประการดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าเป็นการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางด้านการพลังงานให้กับบริษัทจากยุโรปและอเมริกาก็ว่าได้ เพราะโดยนัยแล้วคือการยอมให้บริษัทน้ำมันต่างชาติกลุ่มดังกล่าวเข้ามาทำการค้าภายในประเทศโดยเสรี (โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตตามนัยของพรบ.น้ำมันเชื้อเพลิง2481) รัฐบาลจะไม่เข้าหุ้นกับบริษัทค้าน้ำมันต่างประเทศอื่น (เพราะจะทำให้บริษัทผูกขาดเสียเปรียบ เท่ากับกีดกันบริษัทต่างชาติกลุ่มอื่นออกไป) และยอมให้บริษัทผูกขาดการขายน้ำมันให้กับรัฐโดยปริยาย
ผลจากการกดดันรัฐบาลไทยยังต้องยุบเลิก กรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม ที่ยกฐานะขึ้นเมื่อ พ.ศ.2480 ทิ้งไป หน่วยงานดังกล่าวทำหน้าที่จัดหาน้ำมันโดยนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศเอง และต่อมามีความพยายามตั้งโรงกลั่นนำน้ำมันดิบจากฝางและที่ซื้อมามากลั่นและแจกจ่ายเอง
บริษัทต่างชาติผูกขาดครอบงำกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงของไทยจากปี 2489 ซึ่งถือเป็นช่วงหลังสงครามที่ฝรั่งมีอำนาจและอำนาจต่อรองสูงเป็นเวลา 4 ปีที่ไทยแทบไม่ได้กระดิกกระเดี้ยใดๆ มีเงื่อนไขเดียวที่ฝรั่งเปิดช่องให้ทำได้คือรัฐบาลสามารถสำรองน้ำมันเฉพาะเพื่อความมั่นคงของประเทศเท่านั้น จนถึงปี 2492 ที่รัฐบาลไทยเริ่มขยับตัวจากภาวะบีบคั้นดังกล่าวด้วยความพยายามรื้อฟื้นหน่วยงานด้านพลังงาน สังกัดกระทรวงกลาโหมขึ้นมาใหม่อีกรอบ
จุดนี้เองที่เป็นต้นตอของ องค์การเชื้อเพลิง และปั๊มน้ำมันตราสามทหารในเวลาต่อมา !
พ.ศ.2492 รัฐบาลในขณะนั้นมีมติ ครม. 11 มกราคม 2492 รื้อฟื้นจัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหมขึ้นมาอีกคำรบ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนักเพราะรัฐบาลขณะนั้นคือ จอมพลป.พิบูลสงคราม ที่กลับมาสู่อำนาจหลังการรัฐประหาร 2490 แนวคิดเรื่องการมีกิจการน้ำมันคานอำนาจต่างชาติเพื่อความมั่นคงทหารเป็นแนวทางที่ดำเนินสืบเนื่องมาจากครั้งรัฐบาลคณะราษฏร์ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมถูกคัดค้านจากบริษัทน้ำมันต่างชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เอกสารศึกษาของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (อ้างแล้ว) กล่าวถึงตอนนี้ว่า...
“กระทรวงกลาโหมเห็นว่าน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีความจำเป็นในทางการทหาร จึงเห็นควรให้ตั้งแผนกเชื้อเพลิงขึ้นใหม่เพื่อกิจการของทหาร โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2492 ยืมเงินทุนจากกระทรวงการคลัง 15 ล้านบาท ใช้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับซื้อน้ำมันทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ตามความต้องการของกองทัพ และหน่วยราชการ พร้อมกันนั้นได้มีการสร้างคลังและถังเก็บน้ำมันขึ้นที่ท่าเรือริมคลองพระโขนงซึ่งมีที่ดิน ติดต่อกับท่าเรือคลองเตย และแผนกเชื้อเพลิงได้จัดซื้อน้ำมันจากบริษัทน้ำมันอิสระที่ไม่ขึ้นอยู่กับสหรัฐอเมริกา
ในการจัดตั้งแผนกเชื้อเพลิง และสร้างคลังน้ำมันดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับบริษัทน้ำมันต่างชาติ ด้วยเกรงว่าแผนกเชื้อเพลิงจะขายน้ำมันให้แก่เอกชนและประชาชน บริษัทน้ำมันทั้ง 3 บริษัท จึงยื่นคำขอให้แผนกเชื้อเพลิงส่งรายชื่อผู้ซื้อน้ำมันให้บริษัททราบด้วย”
ขณะที่เว็บไซต์ของกรมการพลังงานทหาร http://www.mod.go.th/ded เล่าประวัติศาสร์ก่อตั้งองค์กรตรงนี้สั้นๆ ว่า “กระทรวงกลาโหมได้ขอจัดตั้ง แผนกเชื้อเพลิง ขึ้นใหม่ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สะดวกในการจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากท้องตลาด และป้องกันการขาดแคลนน้ำมันในภาวะสงคราม โดยสามารถซื้อน้ำมันจาก ต่างประเทศได้โดยตรง ซึ่งไม่เป็นที่พอใจและถูกคัดค้านจากบริษัทต่างชาติวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2494 ได้มีการก่อสร้างคลังน้ำมันคลองเตย ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งถนนและทางรถไฟเข้าไปยังคลังน้ำมันในระหว่างนี้บริษัทต่างชาติพยายามขัดขวางการดำเนินงานทุกวิถีทาง”
จนที่สุดรัฐบาลไทยก็สามารถเจรจากับบริษัทน้ำมันต่างชาติลุล่วงและได้ตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาเพื่อทำกิจการด้านปิโตรเลียมคือ “องค์การเชื้อเพลิง”ซึ่งเป็นต้นธารของปตท.ในปัจจุบันในปี พ.ศ.2495 และยังยกฐานะแผนกเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหมที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นเป็น“กรมการพลังงานทหาร”ในพ.ศ. 2496 โดยที่กรมการพลังงานทหารได้ดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนองค์การเชื้อเพลิง และสัญลักษณ์สามทหารได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว
ในช่วงเวลาเดียวกันกระทรวงกลาโหมก็สร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 5,000 บาเรล/วัน ในที่ดินเดียวกับคลังน้ำมันพระโขนง จุดดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่ตำบลบางจาก จึงเป็นที่มาของชื่อ “โรงกลั่นน้ำมันบางจาก” เว็บไซต์ http://www.bangchak.co.th ยืนยันชัดเจนว่าวัตถุประสงค์การตั้งโรงกลั่นของกระทรวงกลาโหมก็เพื่อคานและดุลกับบริษัทต่างชาติ
“บนพื้นที่ 485 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางจาก อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร โรงกลั่นน้ำมันกำลังการผลิตวันละ 5,000 บาเรล ได้รับการอนุมัติให้สร้างขึ้นโดยกระทรวงกลาโหมเล็งเห็น ความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องดำเนินกิจการเรื่อง "น้ำมัน" เองทั้งหมด เพื่อช่วยตรึงราคาน้ำมันในตลาด มิให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบริษัทค้าน้ำมันต่างชาติแต่เพียงฝ่ายเดียวและสำรองน้ำมันไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหลังจากโรงกลั่นน้ำมันของราชการถูกบังค้บขายให้บริษัทต่างชาติที่เป็นฝ่ายชนะสงครามโลก ครั้งที่ 2
โรงกลั่นน้ำมันที่ตำบลบางจากก่อสร้างเสร็จในปี 2500 เป็นปีเดียวกับที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีน้ำมันที่ผลิตในประเทศ ทางเลือกในขณะนั้นมีเพียงขยายกำลังการกลั่นเป็น 20,000 บาเรล เพื่อให้การดำเนินกิจการมีผลกำไร แต่เนื่องจากขาดเงินทุนในการขยายกิจการรัฐบาลจึงได้เปิดประมูลเช่าโรงกลั่นกำหนด 15 ปี โดยมีเงื่อนไขให้ผู้เช่าลงทุนต้องขยายกำลังการกลั่นในที่สุดบริษัท ซัมมิท อินดัสเตรียล คอร์ปอเรชั่น (ปานามา) เป็นผู้ประมูลได้ และทำการขยายโรงกลั่นแล้วเสร็จในอีก 4 ปีต่อมา”
สู่ยุคโชติช่วงชัลวาลย์ (ของผู้ถือหุ้นและนายทุนการเมือง)
โฆษณาที่ติดตาตรึงใจของคนวัย 40 ปีขึ้นไปชิ้นหนึ่งในประมาณปีพ.ศ.2524-2525 ยุครัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์คือโฆษณาประเทศไทยก้าวสู่ยุคโชติช่วงชัชวาลย์ เพราะตอนนั้นไทยเพิ่งขุดพบก๊าซธรรมชาติได้เป็นครั้งแรก
ซึ่งหากมองย้อนกลับไปจะพบว่าไทยมีความพยายามเปิดแปลงสัมปทานขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซทั้งบนบกและอ่าวไทยมาก่อนหน้านานกว่า 10 ปีคือก่อนที่จะตราพรบ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ด้วยซ้ำไป โดยยุคก่อนหน้านั้นเรียกการสัมปทานขุดเจาะว่าประทานบัตรทำเหมือง ขณะที่พรบ.ปิโตรเลียม 2514 เป็นกฏหมายรองรับกิจการ “ปิโตรเลียม”อย่างเป็นทางการและทันสมัยกับสากลในห้วงเวลานั้น
ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ปิโตรเลียม ในปี 2516 ลดหย่อนเงื่อนไขลงมาสำหรับแปลงสำรวจในเขตน้ำลึกเกิน 200 เมตร การแก้กฏหมายดังกล่าวทำมาเป็นระยะเช่นปี 2523 แต่โดยหลักใหญ่คือปรับปรุงเงื่อนไขจูงใจให้กับบริษัทเอกชนผู้สำรวจขุดเจาะเป็นสำคัญ
อาจกล่าวได้ว่าการตั้ง ปตท.และการพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เป็นเส้นแบ่ง “ยุค” ของพัฒนาการปิโตรเลียมไทยที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป คือ
1.ยุคนำเข้า 100% - ก่อนหน้าที่ต้องนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปผ่านบริษัทฝรั่งในก่อนสงครามโลก มาสู่การพยายามตั้งโรงกลั่นเองแล้วถูกฝรั่งกดดันบังคับขายหลังจากสงครามโลกสิ้นสุด หลังจากที่กระทรวงกลาโหมตั้งโรงกลั่นบางจาก เมื่อประมาณพ.ศ.2500 และเอสโซ่สร้างโรงกลั่นเมื่อพ.ศ.2514 ประเทศไทยเข้าสู่ยุคสั่งน้ำมันดิบมากลั่นเองแต่ที่สุดยังเป็นการนำเข้าโดยที่คนไทยแทบจะไม่มีบทบาทใดๆ เกี่ยวข้องเลย
2.ยุคพัฒนาเทคนิคและขุดค้นทรัพยากรของตัวเอง – เริ่มเป็นรูปร่างเมื่อมีการตั้ง ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รวมเอาหน่วยงานเกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมมาไว้ด้วยกัน แต่ยุคแรกคนไทยยังไม่มีประสบการณ์ในการสั่งน้ำมันจากต่างประเทศเข้ามาเลย เพราะในช่วงที่ทำโรงกลั่นบางจากก็ต้องอาศัยสัมปทานและการบริหารจากต่างชาติเช่นเดิม ยุคนี้เป็นยุคที่ประเทศไทยพยายามยืนบนลำแข้งของตัวเอง พร้อมๆ กับความคืบหน้าของการพบแหล่งก๊าซและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
3.ยุคแปรรูปเพื่อกดขี่ขูดรีดกันเอง – หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปลงกิจการเป็นบริษัทมหาชนกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เมื่อพ.ศ. 2544 ปตท. และฝ่ายกำกับนโยบายพลังงานของไทย ใช้ความได้เปรียบจากฐานทรัพยากรที่ผลิตได้ในอ่าวไทยควบคุมกิจการก๊าซธรรมชาติตั้งแต่ต้นทาง และยังควบคุมกิจการโรงกลั่นน้ำมัน 5 แห่งกลายเป็นเจ้าตลาด กำหนดโครงสร้างภาษีและราคาช่วยอุ้มกิจการปตท.และกลุ่มบริษัทในเครือ ผลของมันทำให้ปตท. ซึ่งเป็นกิจการรัฐวิสาหกิจของไทยเติบโตแข็งแกร่งพุ่งพรวดขึ้นมาไม่น้อยหน้าบริษัทต่างประเทศ กล่าวได้ว่าหากเกิดปัญหาทางด้านพลังงานขึ้นมาเหมือนเมื่อครั้งระหว่างสงครามโลก หรือระหว่าง 2516-2523 ประเทศไทยก็ยังจะมีพลังงานเพียงพอจะหล่อเลี้ยงกิจกรรมสำคัญๆ ได้ไม่ถึงกับขาดแคลนหรืออ้าปากรอให้ต่างชาติป้อนเหมือนเมื่อครั้งที่เคยเป็นมาในอดีต อย่างไรก็ตาม ผลทางลบของแนวทางดังกล่าวคือการกดขี่ขูดรีดคนไทยด้วยกันให้กลายเป็นเบาะรองรับและเป็นปุ๋ยให้กับการเติบโตของกิจการปิโตรเลียมรัฐบาลไทยไปในตัว
(อ่านต่อตอนต่อไป)