ต้องชมคนที่วางแผนขับเคลื่อนแคมเปญแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ให้กับคณะนิติราษฏร์นี่เจ๋งจริงๆ ผูกเงื่อนวางปมไว้ทุกระดับตั้งแต่เนื้อหาคือร่างแก้ไขมาจนกระทั่งกลยุทธ์ในการผลักดันให้เกิดคณะกรรมการรณรงค์ “ครก.112” ขึ้นมา
กลับไปอ่านถ้อยแถลงของอาจารย์วรเจตน์อีกรอบก็ชัดเจนในตัวว่าคณะ “ครก” ไม่ได้หวังผลเลิศว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 จะถูกแก้ไขตามร่างที่เสนอเพราะอย่างไรเสียเมื่อยื่นต่อสภาแล้ว สิทธิ์ขาดแทบทั้งหมดที่จะตัดสินล้วนตกอยู่ในมือรัฐสภาซึ่งไม่ง่ายเลยไหนต้องฝ่าด่านฝ่ายค้านไหนจะวุฒิสภามิหนำซ้ำพรรครัฐบาลเองก็ประกาศล่วงหน้าว่าไม่แก้เรื่องนี้ และไหนจะติดปัญหาเรื่องข้อกฏหมายว่าทำได้หรือไม่ได้ด้วยซ้ำไป
เคยพูดเสมอว่าในทางสังคมนั้นบางครั้ง “กระบวนการ” สำคัญไม่แพ้ “เป้าหมาย” นี่เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่ากระบวนการสำคัญและกลายเป็นหัวใจของยุทธวิธี
ชัดเจนมาก ! ยุทธศาสตร์ของผู้วางแผนเรื่องนี้ไม่ได้หวังผลให้เกิดการแก้ไข ม.112 ตามร่างที่เสนอแต่ต้องการสร้างกระแสสังคมให้เกิด “ขบวนการ” หรือภาษาฝรั่งเรียก “Social Movement” ขึ้นมา ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรงซึ่งจะขมวดปมอยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ตามฉบับ 2475 ที่เคยแถลงมาก่อนแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การแก้กฏหมายอาญามาตรา 112 เป็น “เป้าลวง” ในยุทธการนี้!
ยิ่งมีอุปสรรค มีคำวิพากษ์วิจารณ์ ยิ่งมีคำด่าว่าแบบเหลวไหลใส่อารมณ์ ... ยิ่งชอบ !!!
ถามว่าทำไม ? อธิบายความได้ว่าการล่ารายชื่อคนแค่ 1 หมื่นชื่อเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ถึง 112 วันหรือ 3 เดือนกว่าๆ (ซึ่งจะตรงกับช่วงปลายของสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติและตรงกับจังหวะการเสนอแก้รัฐธรรมนูญพอดี) แม้ว่าพรรคเพื่อไทยประกาศไม่หนุนการแก้ไขร่าง 112 แต่ป้าธิดาแดง นปช.ประกาศไปแล้วว่าสนับสนุน อีกทั้งข้อเท็จจริงมีเครือข่ายคนเสื้อแดงจำนวนมากที่รณรงค์เรื่อง ม.112 มาก่อน ลำพัง นปช.สายธิดา-เต้น-ตู่ ก็สามารถเนรมิตรายชื่อ 1 หมื่นชื่อได้อยู่แล้วและไหนจะมี ส.ส.เดินเอียงซ้ายแถวนครสวรรค์ ลำพูนคอยช่วยอีก ดังนั้นการบอกว่าต้องรณรงค์เพื่อให้ได้รายชื่อ 1 หมื่นตามเป้าหมายนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาจริง
ประเด็นใหญ่จริงๆ ก็คือ คณะนิติราษฏร์ รวมทั้งแนวร่วมที่อยู่บนดินและแนวร่วมที่อยู่ใต้ดิน ต้องการเวลาประมาณ 3 เดือนจากนี้เพื่อก่อกระแส+สร้างเครือข่าย+ขยายแนวร่วม ให้กับขบวนการเปลี่ยนแปลงสถาบันกษัตริย์โดยอาศัยรัฐธรรมนูญให้เติบใหญ่กลายเป็นขบวนการทางการเมืองที่เติบโตปีกกล้าขาแข็งขึ้นมาปลายทางสุดท้ายคือการแก้รัฐธรรมนูญที่ย้อนกลับไปถึงอุดมการณ์ 2475 โน่น
ต้องยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่ขบวนการนี้จะเติบโตขึ้นมาอยู่ไม่น้อย นั่นเพราะว่าธรรมชาติของสังคมเปิดยุคใหม่ที่มีเครือข่ายข่าวสารรวดเร็วท่าทีของการแสดงอารมณ์ การแสดงปฏิปักษ์ เกิดขึ้นได้ง่ายแค่ขยับนิ้ว การรวมตัวของคนที่ชอบ-ไม่ชอบ-หนุน-ไม่หนุน เกิดขึ้นได้ง่ายและสามารถขยับจากโลกเสมือนมาสู่โลกที่เป็นจริงได้ไม่ยาก
ยิ่งมีแรงต้าน ขบวนการยิ่งเติบโต...นี่เป็นแนวคิดใช้สงครามหล่อเลี้ยงสงครามที่สืบทอดมายาวนานและได้ผลเสมอ !
และก็ต้องยอมรับว่าสังคมกีฬาสีบ้านเรา เมื่อฝ่ายใดแสดงอะไรออกมาอีกฝ่ายมักจะไม่เห็นด้วย และฝ่ายหนึ่งขยับแรงอีกข้างก็แรงตามโดยไม่ต้องอาศัยคำอธิบายอะไรมาก เช่น ไม่กี่วันมานี้มีคนไปประท้วงสถานกงสุลอเมริกาที่เชียงใหม่เรื่องก้าวก่ายกิจการภายในกรณี ม.112 ก็บังเกิดมีคนเสื้อแดงออกมาอาละวาดปรี่จะไปเอาเรื่อง จะว่าไปแล้วการเคลื่อนไหวของกลุ่มหมอตุลย์ก็เข้าทางกุนซือคณะนิติราษฏร์ อยู่ไม่น้อยในทางยุทธวิธี
โจทย์ที่กุนซือครกและนิติราษฎร์ต้องแก้ให้ได้ในระหว่าง 3 เดือนนี้คือการจุดกระแสให้ติด ถ้ากระแสติด นปช.ที่ซ่อนอยู่จะกระโจนมาร่วมและกดดันต่อมติของพรรคการเมืองได้
ทีเด็ดทีขาดของการก่อรูปขบวนการอากง+112+แก้ รธน.2475 มีเป้าอยู่โน่น ต้นปี 2556 คืออีก 1 ปีจากนี้เพื่อกดดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่ 3 เดือนล่ารายชื่ออะไรนั่น !
ผมมีความเห็นต่อแคมเปญล่ารายชื่อแก้กฎหมาย ม.112 อยู่สองระดับ
ระดับแรกคือต่อร่างกฎหมาย – เบื้องต้นเห็นว่าร่างดังกล่าวซ่อนปมอยู่ไม่น้อยและสะท้อนอุดมคติทางการเมืองเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังรอได้และเชื่อว่าจะต้องถูกขาใหญ่วงวิชาการด้วยกันวิพากษ์วิจารณ์ต่อไม่เพียงเพียงเท่านั้นต่อให้ยื่นเข้าสภาได้จริงก็จะมีร่างกฎหมายแก้ไขจากพรรคการเมืองต่างๆ เสนอประกบ ความเห็นต่อร่างกฎหมายขอยกไว้รอบหน้า
ระดับที่สองคือต่อวิธีการ – อย่างที่บอกผมไม่มีปัญหากับข้อเสนอที่เป็นวิชาการเพราะอย่างไรเสียจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงบนหลักการอย่างขนานใหญ่ตามมาอยู่แล้ว แต่ที่มีปัญหาคือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของคณะนิติราษฏร์(ตลอดถึงกุนซือบนดินใต้ดิน) ที่ดูจะสุ่มเสี่ยงและไม่สนใจสภาพปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองที่เป็นอยู่เลย
ดูจากร่างที่เสนอก็พอจะเดาออกว่าจะนำมาซึ่งวิวาทะขนาดไหนเพราะร่างแก้ไขดังกล่าวเปลี่ยนถึงระดับปรัชญาของระบอบการเมือง และก็พอจะเดาออกว่าสังคมที่สื่อสารรวดเร็ว ไม่ต้องอะไรมากเราพบเห็นปริมาณของอารมณ์นำหน้าเหตุผลบนโซเชียลมีเดียทุกเมื่อเชื่อวัน ประเด็นดังกล่าวจะทำให้อุณหภูมิการเมืองระดับบนไล่ลงมาถึงระดับชาวบ้านร้านถิ่นร้อนขึ้นมาอย่างไม่ต้องสงสัย คณะนิติราษฏร์ต้องไม่ใจดำให้ชาวบ้านร้านตลาดไล่ตีหัวกันเองนะ นี่เตือนไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ
ลองคิดแผลงๆ แบบสุดๆ ขึ้นมา...., เอ. ..หรือว่ากุนซือที่อยู่ข้างหลังนิติราษฎร์ต้องการให้เกิดแตกหักระดับมีการใช้กำลังยึดอำนาจไล่รัฐบาล กระทืบนักวิชาการกันอีกรอบเพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ขั้นสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบตามแนวทางบอลเชวิค-ฝรั่งเศส !!?? ซึ่งหากไปถึงขั้นนั้นจริงคนวางแผนก็ใจดำหลอกใช้ชาวบ้านให้พลอยเจ็บพลอยซวยกันอีกครั้ง
ผมเองก็พอจะเรียนรู้เจ้าวิภาษวิธี วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ตลอดถึงความเป็นมาของการจำแนกสังคมแบบมาร์กซซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของสำนักคิดปีกซ้าย นักวิชาการซ้ายบ้านเราก็ทุบโต๊ะชี้มานานแล้วว่าปัญหาการเมืองไทยที่เป็นอยู่ปัจจุบันมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าจะแก้ต้องไปแก้ที่ตรงจุดนั้น (คณะนิติราษฏร์เป็นยุคหลังที่รับแนวคิดมาด้วยซ้ำ) แต่ทั้งหมดที่กล่าวนี่เป็นแค่ทฤษฎีและข้อสรุปของสำนักคิดสายหนึ่งเท่านั้น
เราศึกษากรอบคิดจากตะวันตกมากเกินไปหรือเปล่า? อย่างงานเรื่องโฉมหน้าศักดินาไทยของจิตร ภูมิศักดิ์เป็นตัวอย่างของการเอาฝรั่งมาสวมกับเมืองไทยซึ่งมันเป็นคนละเรื่องเพราะศักดินาไทยเป็นคนละเรื่องกันจริง (หมายเหตุ- โดยส่วนตัวผมนับถือจิตร ยกให้เป็นครูเป็นปราชญ์ตัวจริงแต่งานชิ้นนี้ของจิตรก็มีปัญหาจริงๆ เช่นกัน)
ถ้าลองคิดแบบตะวันออกที่เน้นเรื่ององค์ประกอบและความสมดุล เช่น เรื่องหยินหยาง และหลัก 5 ธาตุของจีน ผมไม่ใช่ผู้รู้เพียงแต่เป็นนักอ่านนิยายกำลังภายในพอจะเข้าใจเพื่อหยิบมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพต่อว่า ธาตุสำคัญทั้ง 5 ธาตุ อันได้แก่ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุทอง และธาตุน้ำ ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ต่างก็เป็นตัวก่อเกิดให้แก่กัน ในขณะเดียวกันก็สามารถทำลายล้างซึ่งกันและกันได้ เวลาป่วยหมอมักจะตรวจดูว่าธาตุใดพร่องไป หรือเกินไปเพื่อจะเติมธาตุตรงกันข้าม หรือธาตุตัวนั้นลงไป
ถ้าให้ลองอุปมาอธิบายความแบบนิยายกำลังภายในประสาผมเองก็คือปัญหาการเมืองไทยที่ไปไม่สุดวนเวียนกับเลือกตั้งรัฐประหารและพลเรือนโกงมา 80 ปี เพราะขาดองค์ประกอบธาตุสำคัญมาตั้งแต่ต้น นั่นก็คือ “พลังอำนาจสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนพลเมือง” แค่เติมธาตุประชาชนลงไปในองค์ประกอบทุกอย่างก็จะกลับมาสมดุล
หลังปี 2476 ในหลวงรัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์และเสด็จไปศึกษาต่อ ดังนั้นวงการเมืองจึงมีแต่อำนาจของรัฐบาลคณะราษฎร ไม่มีอำนาจของสถาบันกษัตริย์มาคานเลยแต่ในความเป็นจริงการเมืองไทยช่วงดังกล่าวก็เอาดีตามอุดมคติที่ตั้งไว้ไม่ได้... รัฐบาลจอมพล ป.กลายเป็นเผด็จการก่อน พ.ศ. 2482 ด้วยซ้ำไป ...
ทั้งๆ ที่หากมองตามทฤษฎีการปะทะกันระหว่างชนชั้นห้วงเวลาดังกล่าวน่าจะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยเจริญเติบโตหยั่งรากได้ไปแล้ว เหตุที่การเมืองไม่ไปไหนเพราะขาดองค์ประกอบสำคัญคือภาคประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอำนาจการเมืองเลย ปล่อยให้เป็นเรื่องของอำมาตย์ ทหาร และชนชั้นสูงละเล่นกันแย่งชิงกันไป
วิกฤตการณ์การเมืองไทยระยะ 4-5 ปีมานี้ทำให้บ้านเมืองบอบช้ำมากพอดูแทนที่ทุกคนทุกฝ่ายจะมุ่งไปแก้ที่ตัวปัญหาเอาสิ่งที่เป็นอยู่มาตั้งและจำแนกให้ได้ว่าปมคืออะไรเพื่อที่จะแก้ให้ตรงแต่ปรากฏว่าผู้เกี่ยวข้องแต่ละส่วนต่างก็มี “วาระแฝง” ของตนเอง
นักการเมืองเพื่อไทยก็อยากจะปลดแอกจากการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายอำมาตย์ รวมไปถึงปลดแอกให้ทักษิณ นักวิชาการปีกซ้ายก็มุ่งไปที่ “โจทย์เก่า” คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังไม่เห็นมีใครพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นจริงเลยแม้แต่น้อย เห็นในม็อบเมื่อปี 50-53 พูดเอาๆ เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม จนกระจุกรวยกระจาย ฯลฯ
ถ้ามีฤทธิ์เนรมิตอะไรได้ ผมอยากจะให้เกิดกระแสรณรงค์แก้กฏหมายซึ่งนายทุน นักการเมืองและอำมาตย์ให้แก้มายาวนาน...เช่น แก้กฏหมายที่ดิน ให้คนรวยที่ซื้อที่หมื่นแสนไร่ไม่เคยไปดูปล่อยทิ้งร้างต้องเสียภาษีก้าวหน้าจนไม่คุ้มจะถือครองต่อแล้วก็ปล่อยออกมาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ จะออกกฏหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมไม่ให้กลายเป็นนิคมฯ หรือบ้านคน เพื่อช่วยต้นทุนการเกษตรมีผลต่อคนเล็กคนน้อยและยังช่วยในเรื่องแก้มลิง จะรณรงค์ในเรื่องกฏหมายกระจายอำนาจที่เป็นจริงเอาอำนาจการ อนุมัติเหมืองหิน ดูดทราย เส้นทางรถรับส่งสาธารณะ โยกย้ายข้าราชการ สร้างถนน ฯลฯ มาอยู่ที่ท้องถิ่น นักการเมืองส่วนกลางจะได้เลิกซื้อเสียงแย่งตำแหน่งกันเป็นการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจครั้งใหญ่ แล้วก็รณรงค์เพิ่มโทษการคอร์รัปชั่นให้เด็ดขาดขึ้นเหมือนเมืองจีน รวมไปถึงเอาตำรวจมาขึ้นกับท้องถิ่นตัดแขนขาอำนาจการเมืองส่วนกลางกระจายอำนาจให้คนท้องถิ่น ตำรวจทำไม่ได้ก็ไล่บี้กับนักการเมืองที่เลือกมา ฯลฯ
เพราะกฏหมายเหล่านี้มีผลต่อคนเล็กคนน้อยคนเสียโอกาสจริง แต่ปัญหาคือนักการเมืองในระบบไม่เคยแก้ไขทำให้เกิดผลจริง นั่นเพราะว่านายทุนและผู้มีอำนาจสมคบกับนักการเมืองไม่ว่าพรรคไหน ไม่ว่า ปชป. ชาติไทย เพื่อไทยหรือพรรคไหนมาโดยตลอด นี่คือปมปัญหาที่เป็นจริงเกิดขึ้นจริงและกำลังดำรงอยู่ถ้าเลือกระหว่างสนับสนุนสองอย่างนี้ผมจะไม่เสียเวลาไปรณรงค์เรื่อง ม.112 ที่ไม่ใช่เป้าหมายแก้ไขจริงให้เมื่อยตุ้มหรอก
จะสาละวนรื้อช่อฟ้าใบระกาเปลี่ยนมาเป็นกาแล หรือ หน้าจั่วแบบตะวันตกไปทำไม ในขณะที่บ้านที่อาศัยอยู่ พื้นทรุด หน้าต่างพัง ส้วมใช้ไม่ได้ !
ดังนั้นผมจึงไม่สนใจว่าคณะนิติราษฎร์ และ “ครก” จะรณรงค์แก้ไข ม.112 กันแบบไหนอย่างไรโดยเฉพาะ “จะไม่คัดค้าน” เพราะรู้ว่ามีคนอยากให้เกิดการคัดค้านมากๆ ดังนั้นอยากทำอะไรทำไปเถิด..สมมติมีใครเสนอตัวว่าเอามั้ยจะช่วยณรงค์หารายชื่อมาให้ครบ 1 หมื่นชื่อภายใน 3 วัน คณะนิติราษฏร์ก็คงปฏิเสธเพราะแท้จริงแล้วเขาต้องการ “เวลา” มากกว่า “รายชื่อ” และต้องการจำนวน “ศัตรู” เพื่อสร้างจำนวน “มิตร”
ด้วยเหตุนี้ จึงขอประกาศมา ณ ที่นี่ว่าผมไม่คัดค้านแคมเปญล่ารายชื่อแก้ไข ม.112 ของคณะนิติราษฏร์ครับ !
กลับไปอ่านถ้อยแถลงของอาจารย์วรเจตน์อีกรอบก็ชัดเจนในตัวว่าคณะ “ครก” ไม่ได้หวังผลเลิศว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 จะถูกแก้ไขตามร่างที่เสนอเพราะอย่างไรเสียเมื่อยื่นต่อสภาแล้ว สิทธิ์ขาดแทบทั้งหมดที่จะตัดสินล้วนตกอยู่ในมือรัฐสภาซึ่งไม่ง่ายเลยไหนต้องฝ่าด่านฝ่ายค้านไหนจะวุฒิสภามิหนำซ้ำพรรครัฐบาลเองก็ประกาศล่วงหน้าว่าไม่แก้เรื่องนี้ และไหนจะติดปัญหาเรื่องข้อกฏหมายว่าทำได้หรือไม่ได้ด้วยซ้ำไป
เคยพูดเสมอว่าในทางสังคมนั้นบางครั้ง “กระบวนการ” สำคัญไม่แพ้ “เป้าหมาย” นี่เป็นอีกครั้งที่พิสูจน์ว่ากระบวนการสำคัญและกลายเป็นหัวใจของยุทธวิธี
ชัดเจนมาก ! ยุทธศาสตร์ของผู้วางแผนเรื่องนี้ไม่ได้หวังผลให้เกิดการแก้ไข ม.112 ตามร่างที่เสนอแต่ต้องการสร้างกระแสสังคมให้เกิด “ขบวนการ” หรือภาษาฝรั่งเรียก “Social Movement” ขึ้นมา ขบวนการดังกล่าวมีเป้าหมายไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรงซึ่งจะขมวดปมอยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์ตามฉบับ 2475 ที่เคยแถลงมาก่อนแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การแก้กฏหมายอาญามาตรา 112 เป็น “เป้าลวง” ในยุทธการนี้!
ยิ่งมีอุปสรรค มีคำวิพากษ์วิจารณ์ ยิ่งมีคำด่าว่าแบบเหลวไหลใส่อารมณ์ ... ยิ่งชอบ !!!
ถามว่าทำไม ? อธิบายความได้ว่าการล่ารายชื่อคนแค่ 1 หมื่นชื่อเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ถึง 112 วันหรือ 3 เดือนกว่าๆ (ซึ่งจะตรงกับช่วงปลายของสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติและตรงกับจังหวะการเสนอแก้รัฐธรรมนูญพอดี) แม้ว่าพรรคเพื่อไทยประกาศไม่หนุนการแก้ไขร่าง 112 แต่ป้าธิดาแดง นปช.ประกาศไปแล้วว่าสนับสนุน อีกทั้งข้อเท็จจริงมีเครือข่ายคนเสื้อแดงจำนวนมากที่รณรงค์เรื่อง ม.112 มาก่อน ลำพัง นปช.สายธิดา-เต้น-ตู่ ก็สามารถเนรมิตรายชื่อ 1 หมื่นชื่อได้อยู่แล้วและไหนจะมี ส.ส.เดินเอียงซ้ายแถวนครสวรรค์ ลำพูนคอยช่วยอีก ดังนั้นการบอกว่าต้องรณรงค์เพื่อให้ได้รายชื่อ 1 หมื่นตามเป้าหมายนั้นจึงไม่ใช่ปัญหาจริง
ประเด็นใหญ่จริงๆ ก็คือ คณะนิติราษฏร์ รวมทั้งแนวร่วมที่อยู่บนดินและแนวร่วมที่อยู่ใต้ดิน ต้องการเวลาประมาณ 3 เดือนจากนี้เพื่อก่อกระแส+สร้างเครือข่าย+ขยายแนวร่วม ให้กับขบวนการเปลี่ยนแปลงสถาบันกษัตริย์โดยอาศัยรัฐธรรมนูญให้เติบใหญ่กลายเป็นขบวนการทางการเมืองที่เติบโตปีกกล้าขาแข็งขึ้นมาปลายทางสุดท้ายคือการแก้รัฐธรรมนูญที่ย้อนกลับไปถึงอุดมการณ์ 2475 โน่น
ต้องยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่ขบวนการนี้จะเติบโตขึ้นมาอยู่ไม่น้อย นั่นเพราะว่าธรรมชาติของสังคมเปิดยุคใหม่ที่มีเครือข่ายข่าวสารรวดเร็วท่าทีของการแสดงอารมณ์ การแสดงปฏิปักษ์ เกิดขึ้นได้ง่ายแค่ขยับนิ้ว การรวมตัวของคนที่ชอบ-ไม่ชอบ-หนุน-ไม่หนุน เกิดขึ้นได้ง่ายและสามารถขยับจากโลกเสมือนมาสู่โลกที่เป็นจริงได้ไม่ยาก
ยิ่งมีแรงต้าน ขบวนการยิ่งเติบโต...นี่เป็นแนวคิดใช้สงครามหล่อเลี้ยงสงครามที่สืบทอดมายาวนานและได้ผลเสมอ !
และก็ต้องยอมรับว่าสังคมกีฬาสีบ้านเรา เมื่อฝ่ายใดแสดงอะไรออกมาอีกฝ่ายมักจะไม่เห็นด้วย และฝ่ายหนึ่งขยับแรงอีกข้างก็แรงตามโดยไม่ต้องอาศัยคำอธิบายอะไรมาก เช่น ไม่กี่วันมานี้มีคนไปประท้วงสถานกงสุลอเมริกาที่เชียงใหม่เรื่องก้าวก่ายกิจการภายในกรณี ม.112 ก็บังเกิดมีคนเสื้อแดงออกมาอาละวาดปรี่จะไปเอาเรื่อง จะว่าไปแล้วการเคลื่อนไหวของกลุ่มหมอตุลย์ก็เข้าทางกุนซือคณะนิติราษฏร์ อยู่ไม่น้อยในทางยุทธวิธี
โจทย์ที่กุนซือครกและนิติราษฎร์ต้องแก้ให้ได้ในระหว่าง 3 เดือนนี้คือการจุดกระแสให้ติด ถ้ากระแสติด นปช.ที่ซ่อนอยู่จะกระโจนมาร่วมและกดดันต่อมติของพรรคการเมืองได้
ทีเด็ดทีขาดของการก่อรูปขบวนการอากง+112+แก้ รธน.2475 มีเป้าอยู่โน่น ต้นปี 2556 คืออีก 1 ปีจากนี้เพื่อกดดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่ 3 เดือนล่ารายชื่ออะไรนั่น !
ผมมีความเห็นต่อแคมเปญล่ารายชื่อแก้กฎหมาย ม.112 อยู่สองระดับ
ระดับแรกคือต่อร่างกฎหมาย – เบื้องต้นเห็นว่าร่างดังกล่าวซ่อนปมอยู่ไม่น้อยและสะท้อนอุดมคติทางการเมืองเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมืองอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังรอได้และเชื่อว่าจะต้องถูกขาใหญ่วงวิชาการด้วยกันวิพากษ์วิจารณ์ต่อไม่เพียงเพียงเท่านั้นต่อให้ยื่นเข้าสภาได้จริงก็จะมีร่างกฎหมายแก้ไขจากพรรคการเมืองต่างๆ เสนอประกบ ความเห็นต่อร่างกฎหมายขอยกไว้รอบหน้า
ระดับที่สองคือต่อวิธีการ – อย่างที่บอกผมไม่มีปัญหากับข้อเสนอที่เป็นวิชาการเพราะอย่างไรเสียจะต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงบนหลักการอย่างขนานใหญ่ตามมาอยู่แล้ว แต่ที่มีปัญหาคือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของคณะนิติราษฏร์(ตลอดถึงกุนซือบนดินใต้ดิน) ที่ดูจะสุ่มเสี่ยงและไม่สนใจสภาพปัญหาวิกฤตการณ์การเมืองที่เป็นอยู่เลย
ดูจากร่างที่เสนอก็พอจะเดาออกว่าจะนำมาซึ่งวิวาทะขนาดไหนเพราะร่างแก้ไขดังกล่าวเปลี่ยนถึงระดับปรัชญาของระบอบการเมือง และก็พอจะเดาออกว่าสังคมที่สื่อสารรวดเร็ว ไม่ต้องอะไรมากเราพบเห็นปริมาณของอารมณ์นำหน้าเหตุผลบนโซเชียลมีเดียทุกเมื่อเชื่อวัน ประเด็นดังกล่าวจะทำให้อุณหภูมิการเมืองระดับบนไล่ลงมาถึงระดับชาวบ้านร้านถิ่นร้อนขึ้นมาอย่างไม่ต้องสงสัย คณะนิติราษฏร์ต้องไม่ใจดำให้ชาวบ้านร้านตลาดไล่ตีหัวกันเองนะ นี่เตือนไว้ก่อนแต่เนิ่นๆ
ลองคิดแผลงๆ แบบสุดๆ ขึ้นมา...., เอ. ..หรือว่ากุนซือที่อยู่ข้างหลังนิติราษฎร์ต้องการให้เกิดแตกหักระดับมีการใช้กำลังยึดอำนาจไล่รัฐบาล กระทืบนักวิชาการกันอีกรอบเพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่ขั้นสุดท้ายที่สมบูรณ์แบบตามแนวทางบอลเชวิค-ฝรั่งเศส !!?? ซึ่งหากไปถึงขั้นนั้นจริงคนวางแผนก็ใจดำหลอกใช้ชาวบ้านให้พลอยเจ็บพลอยซวยกันอีกครั้ง
ผมเองก็พอจะเรียนรู้เจ้าวิภาษวิธี วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ตลอดถึงความเป็นมาของการจำแนกสังคมแบบมาร์กซซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของสำนักคิดปีกซ้าย นักวิชาการซ้ายบ้านเราก็ทุบโต๊ะชี้มานานแล้วว่าปัญหาการเมืองไทยที่เป็นอยู่ปัจจุบันมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ถ้าจะแก้ต้องไปแก้ที่ตรงจุดนั้น (คณะนิติราษฏร์เป็นยุคหลังที่รับแนวคิดมาด้วยซ้ำ) แต่ทั้งหมดที่กล่าวนี่เป็นแค่ทฤษฎีและข้อสรุปของสำนักคิดสายหนึ่งเท่านั้น
เราศึกษากรอบคิดจากตะวันตกมากเกินไปหรือเปล่า? อย่างงานเรื่องโฉมหน้าศักดินาไทยของจิตร ภูมิศักดิ์เป็นตัวอย่างของการเอาฝรั่งมาสวมกับเมืองไทยซึ่งมันเป็นคนละเรื่องเพราะศักดินาไทยเป็นคนละเรื่องกันจริง (หมายเหตุ- โดยส่วนตัวผมนับถือจิตร ยกให้เป็นครูเป็นปราชญ์ตัวจริงแต่งานชิ้นนี้ของจิตรก็มีปัญหาจริงๆ เช่นกัน)
ถ้าลองคิดแบบตะวันออกที่เน้นเรื่ององค์ประกอบและความสมดุล เช่น เรื่องหยินหยาง และหลัก 5 ธาตุของจีน ผมไม่ใช่ผู้รู้เพียงแต่เป็นนักอ่านนิยายกำลังภายในพอจะเข้าใจเพื่อหยิบมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพต่อว่า ธาตุสำคัญทั้ง 5 ธาตุ อันได้แก่ ธาตุไม้ ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุทอง และธาตุน้ำ ล้วนแต่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ต่างก็เป็นตัวก่อเกิดให้แก่กัน ในขณะเดียวกันก็สามารถทำลายล้างซึ่งกันและกันได้ เวลาป่วยหมอมักจะตรวจดูว่าธาตุใดพร่องไป หรือเกินไปเพื่อจะเติมธาตุตรงกันข้าม หรือธาตุตัวนั้นลงไป
ถ้าให้ลองอุปมาอธิบายความแบบนิยายกำลังภายในประสาผมเองก็คือปัญหาการเมืองไทยที่ไปไม่สุดวนเวียนกับเลือกตั้งรัฐประหารและพลเรือนโกงมา 80 ปี เพราะขาดองค์ประกอบธาตุสำคัญมาตั้งแต่ต้น นั่นก็คือ “พลังอำนาจสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนพลเมือง” แค่เติมธาตุประชาชนลงไปในองค์ประกอบทุกอย่างก็จะกลับมาสมดุล
หลังปี 2476 ในหลวงรัชกาลที่ 8 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์และเสด็จไปศึกษาต่อ ดังนั้นวงการเมืองจึงมีแต่อำนาจของรัฐบาลคณะราษฎร ไม่มีอำนาจของสถาบันกษัตริย์มาคานเลยแต่ในความเป็นจริงการเมืองไทยช่วงดังกล่าวก็เอาดีตามอุดมคติที่ตั้งไว้ไม่ได้... รัฐบาลจอมพล ป.กลายเป็นเผด็จการก่อน พ.ศ. 2482 ด้วยซ้ำไป ...
ทั้งๆ ที่หากมองตามทฤษฎีการปะทะกันระหว่างชนชั้นห้วงเวลาดังกล่าวน่าจะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยเจริญเติบโตหยั่งรากได้ไปแล้ว เหตุที่การเมืองไม่ไปไหนเพราะขาดองค์ประกอบสำคัญคือภาคประชาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอำนาจการเมืองเลย ปล่อยให้เป็นเรื่องของอำมาตย์ ทหาร และชนชั้นสูงละเล่นกันแย่งชิงกันไป
วิกฤตการณ์การเมืองไทยระยะ 4-5 ปีมานี้ทำให้บ้านเมืองบอบช้ำมากพอดูแทนที่ทุกคนทุกฝ่ายจะมุ่งไปแก้ที่ตัวปัญหาเอาสิ่งที่เป็นอยู่มาตั้งและจำแนกให้ได้ว่าปมคืออะไรเพื่อที่จะแก้ให้ตรงแต่ปรากฏว่าผู้เกี่ยวข้องแต่ละส่วนต่างก็มี “วาระแฝง” ของตนเอง
นักการเมืองเพื่อไทยก็อยากจะปลดแอกจากการตรวจสอบถ่วงดุลจากฝ่ายอำมาตย์ รวมไปถึงปลดแอกให้ทักษิณ นักวิชาการปีกซ้ายก็มุ่งไปที่ “โจทย์เก่า” คือสถาบันพระมหากษัตริย์ ยังไม่เห็นมีใครพูดเรื่องความเหลื่อมล้ำทางโครงสร้างที่เกิดขึ้นจริงเลยแม้แต่น้อย เห็นในม็อบเมื่อปี 50-53 พูดเอาๆ เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม จนกระจุกรวยกระจาย ฯลฯ
ถ้ามีฤทธิ์เนรมิตอะไรได้ ผมอยากจะให้เกิดกระแสรณรงค์แก้กฏหมายซึ่งนายทุน นักการเมืองและอำมาตย์ให้แก้มายาวนาน...เช่น แก้กฏหมายที่ดิน ให้คนรวยที่ซื้อที่หมื่นแสนไร่ไม่เคยไปดูปล่อยทิ้งร้างต้องเสียภาษีก้าวหน้าจนไม่คุ้มจะถือครองต่อแล้วก็ปล่อยออกมาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ จะออกกฏหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมไม่ให้กลายเป็นนิคมฯ หรือบ้านคน เพื่อช่วยต้นทุนการเกษตรมีผลต่อคนเล็กคนน้อยและยังช่วยในเรื่องแก้มลิง จะรณรงค์ในเรื่องกฏหมายกระจายอำนาจที่เป็นจริงเอาอำนาจการ อนุมัติเหมืองหิน ดูดทราย เส้นทางรถรับส่งสาธารณะ โยกย้ายข้าราชการ สร้างถนน ฯลฯ มาอยู่ที่ท้องถิ่น นักการเมืองส่วนกลางจะได้เลิกซื้อเสียงแย่งตำแหน่งกันเป็นการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจครั้งใหญ่ แล้วก็รณรงค์เพิ่มโทษการคอร์รัปชั่นให้เด็ดขาดขึ้นเหมือนเมืองจีน รวมไปถึงเอาตำรวจมาขึ้นกับท้องถิ่นตัดแขนขาอำนาจการเมืองส่วนกลางกระจายอำนาจให้คนท้องถิ่น ตำรวจทำไม่ได้ก็ไล่บี้กับนักการเมืองที่เลือกมา ฯลฯ
เพราะกฏหมายเหล่านี้มีผลต่อคนเล็กคนน้อยคนเสียโอกาสจริง แต่ปัญหาคือนักการเมืองในระบบไม่เคยแก้ไขทำให้เกิดผลจริง นั่นเพราะว่านายทุนและผู้มีอำนาจสมคบกับนักการเมืองไม่ว่าพรรคไหน ไม่ว่า ปชป. ชาติไทย เพื่อไทยหรือพรรคไหนมาโดยตลอด นี่คือปมปัญหาที่เป็นจริงเกิดขึ้นจริงและกำลังดำรงอยู่ถ้าเลือกระหว่างสนับสนุนสองอย่างนี้ผมจะไม่เสียเวลาไปรณรงค์เรื่อง ม.112 ที่ไม่ใช่เป้าหมายแก้ไขจริงให้เมื่อยตุ้มหรอก
จะสาละวนรื้อช่อฟ้าใบระกาเปลี่ยนมาเป็นกาแล หรือ หน้าจั่วแบบตะวันตกไปทำไม ในขณะที่บ้านที่อาศัยอยู่ พื้นทรุด หน้าต่างพัง ส้วมใช้ไม่ได้ !
ดังนั้นผมจึงไม่สนใจว่าคณะนิติราษฎร์ และ “ครก” จะรณรงค์แก้ไข ม.112 กันแบบไหนอย่างไรโดยเฉพาะ “จะไม่คัดค้าน” เพราะรู้ว่ามีคนอยากให้เกิดการคัดค้านมากๆ ดังนั้นอยากทำอะไรทำไปเถิด..สมมติมีใครเสนอตัวว่าเอามั้ยจะช่วยณรงค์หารายชื่อมาให้ครบ 1 หมื่นชื่อภายใน 3 วัน คณะนิติราษฏร์ก็คงปฏิเสธเพราะแท้จริงแล้วเขาต้องการ “เวลา” มากกว่า “รายชื่อ” และต้องการจำนวน “ศัตรู” เพื่อสร้างจำนวน “มิตร”
ด้วยเหตุนี้ จึงขอประกาศมา ณ ที่นี่ว่าผมไม่คัดค้านแคมเปญล่ารายชื่อแก้ไข ม.112 ของคณะนิติราษฏร์ครับ !