ชัยชนะแบบถล่มทลายจนสามารถตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก ๓๐๐ ที่นั่งได้ แต่คุณยิ่งลักษณ์กลับต้องมาเจอศึกหนักกับการที่ต้องมาจัดการกับบรรดาส.ส.ที่ตะเกียกตะกายแย่งชิงตำแหน่งรัฐมนตรีกันในพรรคเพื่อไทย
บ้างก็งัดเอาภาคนิยมมาอ้าง ภาคไหนส.ส.ได้มามากก็ต้องการได้โควตารัฐมนตรีมากตามมาด้วย เช่นภาคอีสานได้ส.ส.มาเป็นร้อยก็อยากได้รัฐมนตรีไม่ต่ำกว่าสิบ เป็นต้น ภาคเหนือก็อยากได้รัฐมนตรีสัก ๕ตำแหน่งเหมือนกัน
นี่เป็นเรื่องวุ่นๆ ตามแบบภาคนิยม ไม่นับเรื่องวุ่นๆ เป็นรายบุคคล
ทั้งๆ ที่คุณยิ่งลักษณ์บอกว่าเรื่องการจัดสรรตำแหน่งรมต.นั้นไม่ถึงเวลา และเป็นเรื่องที่ต้องดูกันตามนโยบายให้ลงตัวเสียก่อน เสร็จแล้วยังต้องดูกันตามความเหมาะสมและตามความสามารถของคนตามรายกระทรวงด้วย
พูดง่ายๆ ว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เวลานี้อยู่ในช่วงที่มีขั้นตอนทำการวางกรอบนโยบายเพื่อจัดวางนโยบายให้เข้าที่เข้าทาง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามที่พรรคเคยแถลงไว้ในการหาเสียงเลือกตั้ง
เมื่อได้นโยบายแล้วก็จะถึงคิวดูว่าตามกระทรวงนั้นๆ ใครมีความรู้ความสามารถและมีความเหมาะสมที่จะเข้าไปบริหารบ้าง ไม่ใช่ว่าดูว่ามันเป็นโควตาของใครหรือจากส.ส.กลุ่มไหน
แต่มันมีปัจจัยหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนด
สรุปได้ว่าการเคลื่อนไหวของส.ส.เวลานี้เป็นการช่วงชิงโอกาสก่อนกาลเวลากันทั้งนั้น
ที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้นตอนของการรับรองส.ส.จากกรรมการเลือกตั้ง เพราะกรรมการเลือกตั้งเบาะแสว่ามีส.ส.อยู่ในข่ายที่ต้องถูกตรวจสอบว่าเข้าข่ายทำผิดกฎหมายถึง ๕๐ คน
พูดง่ายๆ ต้องผ่านขั้นตอนรับรองช่วงนี้ไปก่อน เมื่อรับรองส.ส.กันหมดแล้วจึงจะคิดกันว่าครม.นั้นใครมีความเหมาะสมกันบ้าง
ในแง่ความเหมาะสมอีกแง่หนึ่งคือ เรื่องคนในคนนอก
เรื่องนี้มีคนไปถามคุณยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องมีการทาบทามคนนอกมาว่าการอยู่หลายกระทรวง เช่น กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง แต่คุณยิ่งลักษณ์ก็ปฏิเสธว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทาบทามใครทั้งสิ้น เพียงแต่ได้ยินจากข่าวที่มีคนพูดกันไปเอง และที่พูดกันไปก็เพราะอาจเป็นไปได้ที่มีคนเห็นว่าคนนี้คนนั้นมีความเหมาะสม แต่ตนยังไม่ทาบทามใครเลย
ส่วนเรื่องที่จะมีคนนอกเข้ามาร่วมครม.หรือไม่นั้น ก็จะให้โอกาสคนใน แต่ไม่ปิดกั้นคนนอกเพราะอยากเห็นคนที่มีความรู้ความสามารถเยอะๆ เข้ามาช่วยบริหารประเทศ
มีการให้ข้อสังเกตว่าเวลานี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะจัดครม. เท่ากับเปิดโอกาสให้มีการต่อรองใช่หรือไม่ เพราะการเมืองคือ การต่อรองผลประโยชน์ในเรื่องตำแหน่งรวมอยู่ด้วย
เราคะเนว่าเรื่องนี้แม้ว่าคุณยิ่งลักษณ์อาจปฏิเสธ แต่คงพูดไม่ได้เต็มคำเพราะเหตุว่า ในการเลือกสรรตำแหน่งก็ต้องพิจารณาถึงแรงกดดันจากส.ส.ในพรรคเป็นปัจจัยสำคัญด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พรรคเพื่อไทยเผชิญอยู่ก็คือ ยุทธศาสตร์ของพรรคที่จะต้องยึดกระทรวงหลักๆ ไว้เพื่อบริหารให้สำเร็จตามกรอบนโยบายที่เร่งด่วนตามที่ให้สัญญาประชาคมไว้ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วนต่างๆ
กระทรวงเหล่านี้ย่อมถูกคัดสรรไว้ ส.ส.หรือบุคคลที่พรรคอาจดึงตัวมาจากภายนอกให้เข้ามาบริหารเพื่อให้เป็นหน้าเป็นตา และทำหน้าที่ให้ได้มรรคผลเพื่อความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาล
กรรมการนโยบายของรัฐบาลมีภารกิจหลักที่จะกำหนดว่ากระทรวงไหนควรเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญที่สุด และกระทรวงนั้นๆ ก็จะถูกพรรคเพื่อไทยคัดเลือกไว้บริหารเองเพื่อให้ได้เครดิต
สิ่งเหล่านี้สำคัญมากกว่าการวิ่งเต้นอย่างว้าวุ้นของบรรดาส.ส.ในพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ ซึ่งการวิ่งเต้นและการปล่อยข่าวเป็นการต่อรองกันภายในมากกว่าอย่างอื่น
บ้างก็งัดเอาภาคนิยมมาอ้าง ภาคไหนส.ส.ได้มามากก็ต้องการได้โควตารัฐมนตรีมากตามมาด้วย เช่นภาคอีสานได้ส.ส.มาเป็นร้อยก็อยากได้รัฐมนตรีไม่ต่ำกว่าสิบ เป็นต้น ภาคเหนือก็อยากได้รัฐมนตรีสัก ๕ตำแหน่งเหมือนกัน
นี่เป็นเรื่องวุ่นๆ ตามแบบภาคนิยม ไม่นับเรื่องวุ่นๆ เป็นรายบุคคล
ทั้งๆ ที่คุณยิ่งลักษณ์บอกว่าเรื่องการจัดสรรตำแหน่งรมต.นั้นไม่ถึงเวลา และเป็นเรื่องที่ต้องดูกันตามนโยบายให้ลงตัวเสียก่อน เสร็จแล้วยังต้องดูกันตามความเหมาะสมและตามความสามารถของคนตามรายกระทรวงด้วย
พูดง่ายๆ ว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เวลานี้อยู่ในช่วงที่มีขั้นตอนทำการวางกรอบนโยบายเพื่อจัดวางนโยบายให้เข้าที่เข้าทาง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามที่พรรคเคยแถลงไว้ในการหาเสียงเลือกตั้ง
เมื่อได้นโยบายแล้วก็จะถึงคิวดูว่าตามกระทรวงนั้นๆ ใครมีความรู้ความสามารถและมีความเหมาะสมที่จะเข้าไปบริหารบ้าง ไม่ใช่ว่าดูว่ามันเป็นโควตาของใครหรือจากส.ส.กลุ่มไหน
แต่มันมีปัจจัยหลายปัจจัยเป็นตัวกำหนด
สรุปได้ว่าการเคลื่อนไหวของส.ส.เวลานี้เป็นการช่วงชิงโอกาสก่อนกาลเวลากันทั้งนั้น
ที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้นตอนของการรับรองส.ส.จากกรรมการเลือกตั้ง เพราะกรรมการเลือกตั้งเบาะแสว่ามีส.ส.อยู่ในข่ายที่ต้องถูกตรวจสอบว่าเข้าข่ายทำผิดกฎหมายถึง ๕๐ คน
พูดง่ายๆ ต้องผ่านขั้นตอนรับรองช่วงนี้ไปก่อน เมื่อรับรองส.ส.กันหมดแล้วจึงจะคิดกันว่าครม.นั้นใครมีความเหมาะสมกันบ้าง
ในแง่ความเหมาะสมอีกแง่หนึ่งคือ เรื่องคนในคนนอก
เรื่องนี้มีคนไปถามคุณยิ่งลักษณ์เกี่ยวกับเรื่องมีการทาบทามคนนอกมาว่าการอยู่หลายกระทรวง เช่น กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง แต่คุณยิ่งลักษณ์ก็ปฏิเสธว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทาบทามใครทั้งสิ้น เพียงแต่ได้ยินจากข่าวที่มีคนพูดกันไปเอง และที่พูดกันไปก็เพราะอาจเป็นไปได้ที่มีคนเห็นว่าคนนี้คนนั้นมีความเหมาะสม แต่ตนยังไม่ทาบทามใครเลย
ส่วนเรื่องที่จะมีคนนอกเข้ามาร่วมครม.หรือไม่นั้น ก็จะให้โอกาสคนใน แต่ไม่ปิดกั้นคนนอกเพราะอยากเห็นคนที่มีความรู้ความสามารถเยอะๆ เข้ามาช่วยบริหารประเทศ
มีการให้ข้อสังเกตว่าเวลานี้ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะจัดครม. เท่ากับเปิดโอกาสให้มีการต่อรองใช่หรือไม่ เพราะการเมืองคือ การต่อรองผลประโยชน์ในเรื่องตำแหน่งรวมอยู่ด้วย
เราคะเนว่าเรื่องนี้แม้ว่าคุณยิ่งลักษณ์อาจปฏิเสธ แต่คงพูดไม่ได้เต็มคำเพราะเหตุว่า ในการเลือกสรรตำแหน่งก็ต้องพิจารณาถึงแรงกดดันจากส.ส.ในพรรคเป็นปัจจัยสำคัญด้วย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พรรคเพื่อไทยเผชิญอยู่ก็คือ ยุทธศาสตร์ของพรรคที่จะต้องยึดกระทรวงหลักๆ ไว้เพื่อบริหารให้สำเร็จตามกรอบนโยบายที่เร่งด่วนตามที่ให้สัญญาประชาคมไว้ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเรื่องเร่งด่วนต่างๆ
กระทรวงเหล่านี้ย่อมถูกคัดสรรไว้ ส.ส.หรือบุคคลที่พรรคอาจดึงตัวมาจากภายนอกให้เข้ามาบริหารเพื่อให้เป็นหน้าเป็นตา และทำหน้าที่ให้ได้มรรคผลเพื่อความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาล
กรรมการนโยบายของรัฐบาลมีภารกิจหลักที่จะกำหนดว่ากระทรวงไหนควรเป็นกระทรวงที่มีความสำคัญที่สุด และกระทรวงนั้นๆ ก็จะถูกพรรคเพื่อไทยคัดเลือกไว้บริหารเองเพื่อให้ได้เครดิต
สิ่งเหล่านี้สำคัญมากกว่าการวิ่งเต้นอย่างว้าวุ้นของบรรดาส.ส.ในพรรคเพื่อไทยในขณะนี้ ซึ่งการวิ่งเต้นและการปล่อยข่าวเป็นการต่อรองกันภายในมากกว่าอย่างอื่น