ระหว่างนี้เจอพฤติกรรมของคนหลายคนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จักเขาเอาจริงเอาจังกับการเลือกตั้งอย่างน่าสนใจ คนที่โหวตโนก็ทุ่มเทเอาสติ๊กเกอร์ไปแจกไปติดอยากจัดเวทีเพื่อให้คนมาร่วมกับตัวเองเยอะ ๆ คนที่เชียร์พรรคก็เอาเสื้อสีมาสวมออกรับแทนหมดใครวิจารณ์อะไรต่อพรรคที่ตัวเองเชียร์ก็พยายามหาเหตุผลแก้ต่างให้ ทางภาคเหนือเริ่มมีแฟชั่นเอาธงแดงเล็ก ๆ ไปติดตามสถานที่ต่าง ๆ ตามแยก ตามป้ายเพื่อเป็นการช่วยเหลือพรรคที่ตัวเองเชียร์ แต่บ้างก็ช่วยโดยการออกไปกรีดป้ายฝ่ายตรงกันข้าม
เห็นป้ายถูกกรีดทำลายเยอะมากบนท้องถนนเมืองเชียงใหม่พอวิจารณ์(ปนประชด)ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยประการหนึ่งก็คือการไปทำลายป้ายหาเสียงพรรคตรงกันข้ามก็ยังมีคนโต้ว่าพูดแบบนี้เกินไปเพราะการกระทำแบบนี้บางทีเป็นฝีมือของตัวเองสร้างสถานการณ์ขึ้นมาไม่ใช่ฝีมือของประชาชนที่เชียร์อีกพรรคแต่อย่างใด ในทำนองว่าพรรครักของข้าใครอย่าแตะ
วันก่อนไปตลาด..นั่งกินน้ำริมทางได้ยินคนแก่ซึ่งท่าทางเป็นเพื่อนรู้จักกันมาก่อน 2 คนนั่งเถียงกันเรื่องการเมืองหน้าแก้วกาแฟ ...จริง ๆ คำว่าเถียงก็ไม่ถูกนักควรใช้คำว่าโต้วาทีน่าจะเหมาะกว่าเพราะเขาทำเหมือนกับว่าฝ่ายที่เขาเชียร์อยู่ไม่เคยทำผิดเลย ส่วนที่ไม่เข้าท่าทั้งหลายแหล่ล้วนแต่มากจากพรรคหรือฝ่ายตรงกันข้ามทั้งสิ้น..เวลาเถียงกลับประดาความเลวร้ายทั้งหลายก็โยนให้อีกฟากแล้วยกฝ่ายตัวเองให้ดีเลิศลอยไม่เคยเลวเลยแม้แต่น้อย..อยากจะบอกว่าเอ่อ..คุณลุงครับ ความคิดของคุณลุงนี่มันเป็นอคตินะครับ แล้วคุณลุงต้องระวังด้วยเพราะเมื่อเลยจากสถานีอคติไปก็จะถึงสถานีตะแบงนั่นแหละครับ ! (แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้บอกเพราะกลัวถูกลุงเตะ อิอิ)
อันที่จริงแล้วโลกของการเมืองมันไม่เคยมีสีขาวดำหรอก มีบางคนอินมากมีสร้อยคำติดปากตลอดบอกตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยอีกฝ่ายนี้มันโคตรเผด็จการ ทั้งที่ความเป็นจริง “ในเทพมีมาร-ในมารมีเทพ”ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสีใด ฝ่ายใด ทั้งเหลือง เขียว ฟ้า น้ำเงิน แสด แดง บางคนเป็นเดือดเป็นแค้นเมื่อมีคนกล่าวว่าคนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง เขาจะเถียงแทนทุกครั้งว่ามีหลักฐานหรือเปล่าการเผาราชดำริเป็นฝีมือทหารและการ์ดเสื้อดำต่างหาก แต่พอถามว่าใครที่ออกมาเผาศาลากลางหลายจังหวัดรวมไปถึงเกือบเผาจวนผู้ว่าฯ เชียงใหม่ก็ไม่ตอบ เดินหนีไปแต่ยังประกาศชัดเจนว่าคนเสื้อแดงไม่ได้เผาเมือง ส่วนอีกประเภทที่เจอก็รักประชาธิปัตย์อยู่นั่นประเภทที่(ตะแบง)แก้ต่างให้ทุกเรื่องเหมือนกัน
บางคนสนิทหน่อยก็ถามแบบเยาะๆ ว่าจะโหวตโนไปทำไมแพ้อยู่แล้วจะได้สักกี่เสียงกัน..น้ำเสียงเหมือนจะบอกว่าพอผลเลือกตั้งออกมาฝ่ายที่สนับสนุนการโหวตโนเหล่านี้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ? ถามแบบนี้กับผมนั้นไม่เท่าไหร่เพราะผมขี้เกียจต่อล้อต่อเถียงแค่ส่งเสียงหึ หึไปตามประสา ขี้เกียจอธิบายเพราะมันยาวและเจ้าตัวเขาเองก็ดูไม่อยากจะฟังเราอธิบายเท่าไหร่ แค่อยากจะพูดแดกให้สะใจเท่านั้น..แต่ก็ไม่แน่ถ้าเจอแม่ยกแฟนพันธุ์แท้ตัวจริงก็อาจจะเจอการอรรถาธิบายกลับหรือกลายเป็นวิวาทะตามมา
มีการเลือกตั้งมันก็ดีไปอย่างเพราะทำให้บรรยากาศการเมืองดูคึกคักขึ้นมา ทุกคนหายใจเข้าออกวนเวียนอยู่ที่การเลือกตั้งซึ่งมันก็เลยทำให้มีคนเข้าใจผิดว่าการรณรงค์โหวตโนเป็นปฏิปักษ์กับการเลือกตั้ง การโหวตโนถูกทำให้เข้าใจผิดโดยนัยว่าเป็นพวกไม่อยากเห็นการเลือกตั้งซึ่งเป็นความคิดที่เลอะเทอะ เพราะในสภายังมีช่องกาไม่ประสงค์ออกเสียง การกาช่องไหน ๆ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยเพราะที่สุดแล้วกิจกรรมการเลือกตั้งโดยเนื้อแท้ของมันก็คือกิจกรรมใหญ่ที่ขาดไม่ได้ของระบบประชาธิปไตยกิจกรรมหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่าวันหย่อนบัตรเลือกตั้งและผลการเลือกตั้งก็คือ “กระบวนการของสังคมทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง”ต่างหาก เพราะกระบวนการทางสังคมจะบางชี้ว่าเรามีวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือเป็นระดับใด
เป้าหมายที่แท้จริงของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือสังคมที่ถืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจริง เคารพในสิทธิเสรีภาพประชาชนจริง มีธรรมเนียมมีระบบคุณค่ายึดกฏหมาย ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้สามารถหาอ่านได้จากตำราประชาธิปไตยทั่วไป โดยสรุปเราเลือกระบบการปกครองแบบนี้เพราะเชื่อว่าเป็นระบอบที่ดีที่สุดในเวลานี้ที่จะทำให้ประเทศชาติและสังคมของเราอยู่เย็นเป็นสุขเจริญก้าวหน้าท่ามกลางสังคมโลกได้
การเลือกตั้ง(จึง)เป็น(แค่)กิจกรรมหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น !!
แต่สังคมไทยนับจาก 2475 เป็นต้นมาเป็นสังคมที่ค่อนข้างขาดแคลนการเลือกตั้ง มีทหารปกครองมากกว่าคนที่มาจากการเลือกตั้ง สภาพเช่นนี้ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งกลายเป็นเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของประชาธิปไตย มีเลือกตั้งเท่ากับประเทศไทยมีประชาธิปไตยแล้ว ซึ่งความคิดทำนองนี้แหละที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่สนใจกระบวนการของสังคมก่อนการเลือกตั้ง เพราะเขามุ่งไปที่การแข่งขันของ 2 พรรคใหญ่เพื่อจะวัดผลว่าใครได้เป็นรัฐบาลเท่านั้น
พวกเขามองการเลือกตั้งเสมือนการแข่งฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศอะไรสักอย่าง ไม่ได้สนใจว่ากระบวนการของสังคมที่ถูกกระตุ้นจากการเลือกตั้งนั้นสำคัญยิ่งกว่า อย่างเช่นมีหลายคนมองข้ามกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เขารวมตัวกันมาถกเถียงมาเสนอความเห็นเสนอความต้องการของตนเองต่อพรรคการเมือง (โดยจะได้รับการตอบสนองหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง), หลายคนมองข้ามวิธีการหาเสียงที่ผู้สมัครเสนอเป็นผู้นำประเทศควรออกมานำเสนอวิสัยทัศน์ ถกเถียงเรื่องนโยบายสำคัญที่เรียกกันว่าดีเบต หรือ สุนทรพจน์ ทั้ง ๆ ที่สิ่งนี้เป็นหนึ่งในกระบวนการทางสังคมที่โลกประชาธิปไตยยึดถือ
คนที่มีความคิดแบบเชียร์ฟุตบอลจะคิดว่ายิ่งลักษณ์อาจจะพูดเก่งไม่เท่าอภิสิทธิ์จึงไม่อยากให้ดีเบต วิธีคิดแบบนี้คือคิดแบบกลยุทธ์การแข่งขัน แค่ไม่อยากเห็นของรักของข้าเสียเปรียบ แต่เขาไม่ได้มองไปถึงสิ่งที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง ไม่ได้มองหลักการที่สังคมควรจะสร้างเป็นบรรทัดฐานขึ้นมา
ไม่ได้เล่นลิ้นหรอกนะครับที่จะบอกว่า การเลือกตั้งสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือกระบวนการทางสังคม...เพราะสำหรับผมแล้วกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมสังคมแบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นตลอดเวลาและมันจะถูกกระตุ้นให้คึกคักที่สุดในช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง การเลือกตั้งจึงมีคุณูปการให้กระบวนการทางสังคม(ทั้งบวกและลบและเป็นปฏิกริยากันก็มี)เคลื่อนไหวต่อไป
ลองหลับตาจินตนาการดูเถอะครับว่ากระบวนการทางสังคมและวิถีประชาธิปไตยนั้นสำคัญกว่าผลการเลือกตั้ง สมมติมีการรับสมัครเลือกตั้งแล้วผู้สมัครสีแดงไปหาเสียงทางใต้ไม่ได้, สีฟ้าขึ้นเหนือไม่ได้, ไม่ต้องมีการประชันวิสัยทัศน์, กลุ่มก้อนของคนพยายามรวมกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ตนต้องการถูกมองข้ามว่าเป็นพวกดัดจริตโหนกระแส, ใครใคร่ทำลายป้ายก็ทำในนามของการมีส่วนร่วมทางการเมือง, ไม่ต้องมีการวิจารณ์นโยบายปล่อยให้พรรคการเมืองเสนอความฝันเฟื่องให้แก่ประชาชน ฯลฯ สภาพแบบนี้มันก็คือกระบวนการทางสังคมในทางลบที่เกิดในช่วงการเลือกตั้งซึ่งมันเป็นจินตนาการที่ออกจะทุเรศมากสำหรับประเทศประชาธิปไตยประเทศหนึ่ง ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นจริง ๆ เราจะปล่อยให้มันผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือแก้เลยหรือ ?
ผลการเลือกตั้งใครจะมาใครจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็สำคัญแหละครับ แต่ก็ขอเถอะอย่าเชียร์การเมืองเหมือนเชียร์บอลเลยประเภททีมรักจะโกงยังไงก็ได้ขอให้ชนะ กองเชียร์รวมตัวไปโห่ฮาที่โรงแรมคู่แข่งเพื่อไม่ให้พักผ่อน ใครโหวตโนก็ป้ายสีว่าเป็นพวกไม่ใช่ประชาธิปไตย ฯลฯ ซึ่งมันก็ไม่ใช่แน่นอนเพราะนี่เป็นสิทธิ์ที่กฏหมายรับรองและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสังคมเช่นเดียวกัน, ใครที่รวมกลุ่มเสนอนโยบายและความต้องการก็บอกว่ากลั่นแกล้งพรรคที่ตนเองเชียร์(เพราะพรรคตัวเองไม่มีนโยบายนี้) ฯลฯ
เป้าหมายสุดท้ายของการเลือกตั้งคือประเทศชาติก้าวหน้าสังคมสงบสุขสิทธิเสรีภาพประชาชนได้รับการเคารพ เกิดความต่อเนื่องของระบบการเมืองที่ดี
ดังนั้นเป้าหมายสุดท้ายของการเลือกตั้งจึงไม่ใช่การจัดแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ ที่ก่อนแข่งกองเชียร์ซื้อเสื้อเชียร์มาสวมแล้วก็ก็หลับหูหลับตาเชียร์ไม่สนว่าทีมรักโกงหรือไม่ ถ้าแกล้งคู่แข่งได้ก็แกล้งและที่พอแข่งจบใครชนะกองเชียร์เฮ รับมอบถ้วยซึ่งหมายถึงอำนาจปกครองประเทศแล้วกองเชียร์ก็กลับบ้านใครบ้านมัน
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริงแต่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริงแต่ถูกจัดให้เป็นประเทศล้าหลังในโลกประชาธิปไตย
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริง แต่ประชาชนจำนวนมากมีพฤติกรรมและทัศนคติทางการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยแท้
ในประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้า การเลือกตั้งจะเป็นหมุดหมายกระตุ้นกระบวนการทางสังคมของเขาให้แสดงออกซึ่งวิถีวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอย่างชัดเจน เป็นตัวแบบตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ มาดู
1 เดือนนับจากนี้ประเทศไทยจะแสดงออกซึ่งความเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไหนให้โลกดู .. ?
เห็นป้ายถูกกรีดทำลายเยอะมากบนท้องถนนเมืองเชียงใหม่พอวิจารณ์(ปนประชด)ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยประการหนึ่งก็คือการไปทำลายป้ายหาเสียงพรรคตรงกันข้ามก็ยังมีคนโต้ว่าพูดแบบนี้เกินไปเพราะการกระทำแบบนี้บางทีเป็นฝีมือของตัวเองสร้างสถานการณ์ขึ้นมาไม่ใช่ฝีมือของประชาชนที่เชียร์อีกพรรคแต่อย่างใด ในทำนองว่าพรรครักของข้าใครอย่าแตะ
วันก่อนไปตลาด..นั่งกินน้ำริมทางได้ยินคนแก่ซึ่งท่าทางเป็นเพื่อนรู้จักกันมาก่อน 2 คนนั่งเถียงกันเรื่องการเมืองหน้าแก้วกาแฟ ...จริง ๆ คำว่าเถียงก็ไม่ถูกนักควรใช้คำว่าโต้วาทีน่าจะเหมาะกว่าเพราะเขาทำเหมือนกับว่าฝ่ายที่เขาเชียร์อยู่ไม่เคยทำผิดเลย ส่วนที่ไม่เข้าท่าทั้งหลายแหล่ล้วนแต่มากจากพรรคหรือฝ่ายตรงกันข้ามทั้งสิ้น..เวลาเถียงกลับประดาความเลวร้ายทั้งหลายก็โยนให้อีกฟากแล้วยกฝ่ายตัวเองให้ดีเลิศลอยไม่เคยเลวเลยแม้แต่น้อย..อยากจะบอกว่าเอ่อ..คุณลุงครับ ความคิดของคุณลุงนี่มันเป็นอคตินะครับ แล้วคุณลุงต้องระวังด้วยเพราะเมื่อเลยจากสถานีอคติไปก็จะถึงสถานีตะแบงนั่นแหละครับ ! (แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้บอกเพราะกลัวถูกลุงเตะ อิอิ)
อันที่จริงแล้วโลกของการเมืองมันไม่เคยมีสีขาวดำหรอก มีบางคนอินมากมีสร้อยคำติดปากตลอดบอกตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยอีกฝ่ายนี้มันโคตรเผด็จการ ทั้งที่ความเป็นจริง “ในเทพมีมาร-ในมารมีเทพ”ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสีใด ฝ่ายใด ทั้งเหลือง เขียว ฟ้า น้ำเงิน แสด แดง บางคนเป็นเดือดเป็นแค้นเมื่อมีคนกล่าวว่าคนเสื้อแดงเผาบ้านเผาเมือง เขาจะเถียงแทนทุกครั้งว่ามีหลักฐานหรือเปล่าการเผาราชดำริเป็นฝีมือทหารและการ์ดเสื้อดำต่างหาก แต่พอถามว่าใครที่ออกมาเผาศาลากลางหลายจังหวัดรวมไปถึงเกือบเผาจวนผู้ว่าฯ เชียงใหม่ก็ไม่ตอบ เดินหนีไปแต่ยังประกาศชัดเจนว่าคนเสื้อแดงไม่ได้เผาเมือง ส่วนอีกประเภทที่เจอก็รักประชาธิปัตย์อยู่นั่นประเภทที่(ตะแบง)แก้ต่างให้ทุกเรื่องเหมือนกัน
บางคนสนิทหน่อยก็ถามแบบเยาะๆ ว่าจะโหวตโนไปทำไมแพ้อยู่แล้วจะได้สักกี่เสียงกัน..น้ำเสียงเหมือนจะบอกว่าพอผลเลือกตั้งออกมาฝ่ายที่สนับสนุนการโหวตโนเหล่านี้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน ? ถามแบบนี้กับผมนั้นไม่เท่าไหร่เพราะผมขี้เกียจต่อล้อต่อเถียงแค่ส่งเสียงหึ หึไปตามประสา ขี้เกียจอธิบายเพราะมันยาวและเจ้าตัวเขาเองก็ดูไม่อยากจะฟังเราอธิบายเท่าไหร่ แค่อยากจะพูดแดกให้สะใจเท่านั้น..แต่ก็ไม่แน่ถ้าเจอแม่ยกแฟนพันธุ์แท้ตัวจริงก็อาจจะเจอการอรรถาธิบายกลับหรือกลายเป็นวิวาทะตามมา
มีการเลือกตั้งมันก็ดีไปอย่างเพราะทำให้บรรยากาศการเมืองดูคึกคักขึ้นมา ทุกคนหายใจเข้าออกวนเวียนอยู่ที่การเลือกตั้งซึ่งมันก็เลยทำให้มีคนเข้าใจผิดว่าการรณรงค์โหวตโนเป็นปฏิปักษ์กับการเลือกตั้ง การโหวตโนถูกทำให้เข้าใจผิดโดยนัยว่าเป็นพวกไม่อยากเห็นการเลือกตั้งซึ่งเป็นความคิดที่เลอะเทอะ เพราะในสภายังมีช่องกาไม่ประสงค์ออกเสียง การกาช่องไหน ๆ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยเพราะที่สุดแล้วกิจกรรมการเลือกตั้งโดยเนื้อแท้ของมันก็คือกิจกรรมใหญ่ที่ขาดไม่ได้ของระบบประชาธิปไตยกิจกรรมหนึ่งเท่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่าวันหย่อนบัตรเลือกตั้งและผลการเลือกตั้งก็คือ “กระบวนการของสังคมทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง”ต่างหาก เพราะกระบวนการทางสังคมจะบางชี้ว่าเรามีวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือเป็นระดับใด
เป้าหมายที่แท้จริงของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยคือสังคมที่ถืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนจริง เคารพในสิทธิเสรีภาพประชาชนจริง มีธรรมเนียมมีระบบคุณค่ายึดกฏหมาย ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้สามารถหาอ่านได้จากตำราประชาธิปไตยทั่วไป โดยสรุปเราเลือกระบบการปกครองแบบนี้เพราะเชื่อว่าเป็นระบอบที่ดีที่สุดในเวลานี้ที่จะทำให้ประเทศชาติและสังคมของเราอยู่เย็นเป็นสุขเจริญก้าวหน้าท่ามกลางสังคมโลกได้
การเลือกตั้ง(จึง)เป็น(แค่)กิจกรรมหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น !!
แต่สังคมไทยนับจาก 2475 เป็นต้นมาเป็นสังคมที่ค่อนข้างขาดแคลนการเลือกตั้ง มีทหารปกครองมากกว่าคนที่มาจากการเลือกตั้ง สภาพเช่นนี้ทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดว่าการเลือกตั้งกลายเป็นเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของประชาธิปไตย มีเลือกตั้งเท่ากับประเทศไทยมีประชาธิปไตยแล้ว ซึ่งความคิดทำนองนี้แหละที่ทำให้คนจำนวนไม่น้อยไม่สนใจกระบวนการของสังคมก่อนการเลือกตั้ง เพราะเขามุ่งไปที่การแข่งขันของ 2 พรรคใหญ่เพื่อจะวัดผลว่าใครได้เป็นรัฐบาลเท่านั้น
พวกเขามองการเลือกตั้งเสมือนการแข่งฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศอะไรสักอย่าง ไม่ได้สนใจว่ากระบวนการของสังคมที่ถูกกระตุ้นจากการเลือกตั้งนั้นสำคัญยิ่งกว่า อย่างเช่นมีหลายคนมองข้ามกลุ่มคนต่าง ๆ ที่เขารวมตัวกันมาถกเถียงมาเสนอความเห็นเสนอความต้องการของตนเองต่อพรรคการเมือง (โดยจะได้รับการตอบสนองหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง), หลายคนมองข้ามวิธีการหาเสียงที่ผู้สมัครเสนอเป็นผู้นำประเทศควรออกมานำเสนอวิสัยทัศน์ ถกเถียงเรื่องนโยบายสำคัญที่เรียกกันว่าดีเบต หรือ สุนทรพจน์ ทั้ง ๆ ที่สิ่งนี้เป็นหนึ่งในกระบวนการทางสังคมที่โลกประชาธิปไตยยึดถือ
คนที่มีความคิดแบบเชียร์ฟุตบอลจะคิดว่ายิ่งลักษณ์อาจจะพูดเก่งไม่เท่าอภิสิทธิ์จึงไม่อยากให้ดีเบต วิธีคิดแบบนี้คือคิดแบบกลยุทธ์การแข่งขัน แค่ไม่อยากเห็นของรักของข้าเสียเปรียบ แต่เขาไม่ได้มองไปถึงสิ่งที่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์จริง ไม่ได้มองหลักการที่สังคมควรจะสร้างเป็นบรรทัดฐานขึ้นมา
ไม่ได้เล่นลิ้นหรอกนะครับที่จะบอกว่า การเลือกตั้งสำคัญแต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือกระบวนการทางสังคม...เพราะสำหรับผมแล้วกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรมสังคมแบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นตลอดเวลาและมันจะถูกกระตุ้นให้คึกคักที่สุดในช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง การเลือกตั้งจึงมีคุณูปการให้กระบวนการทางสังคม(ทั้งบวกและลบและเป็นปฏิกริยากันก็มี)เคลื่อนไหวต่อไป
ลองหลับตาจินตนาการดูเถอะครับว่ากระบวนการทางสังคมและวิถีประชาธิปไตยนั้นสำคัญกว่าผลการเลือกตั้ง สมมติมีการรับสมัครเลือกตั้งแล้วผู้สมัครสีแดงไปหาเสียงทางใต้ไม่ได้, สีฟ้าขึ้นเหนือไม่ได้, ไม่ต้องมีการประชันวิสัยทัศน์, กลุ่มก้อนของคนพยายามรวมกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ตนต้องการถูกมองข้ามว่าเป็นพวกดัดจริตโหนกระแส, ใครใคร่ทำลายป้ายก็ทำในนามของการมีส่วนร่วมทางการเมือง, ไม่ต้องมีการวิจารณ์นโยบายปล่อยให้พรรคการเมืองเสนอความฝันเฟื่องให้แก่ประชาชน ฯลฯ สภาพแบบนี้มันก็คือกระบวนการทางสังคมในทางลบที่เกิดในช่วงการเลือกตั้งซึ่งมันเป็นจินตนาการที่ออกจะทุเรศมากสำหรับประเทศประชาธิปไตยประเทศหนึ่ง ซึ่งถ้ามันเป็นแบบนั้นจริง ๆ เราจะปล่อยให้มันผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือแก้เลยหรือ ?
ผลการเลือกตั้งใครจะมาใครจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็สำคัญแหละครับ แต่ก็ขอเถอะอย่าเชียร์การเมืองเหมือนเชียร์บอลเลยประเภททีมรักจะโกงยังไงก็ได้ขอให้ชนะ กองเชียร์รวมตัวไปโห่ฮาที่โรงแรมคู่แข่งเพื่อไม่ให้พักผ่อน ใครโหวตโนก็ป้ายสีว่าเป็นพวกไม่ใช่ประชาธิปไตย ฯลฯ ซึ่งมันก็ไม่ใช่แน่นอนเพราะนี่เป็นสิทธิ์ที่กฏหมายรับรองและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสังคมเช่นเดียวกัน, ใครที่รวมกลุ่มเสนอนโยบายและความต้องการก็บอกว่ากลั่นแกล้งพรรคที่ตนเองเชียร์(เพราะพรรคตัวเองไม่มีนโยบายนี้) ฯลฯ
เป้าหมายสุดท้ายของการเลือกตั้งคือประเทศชาติก้าวหน้าสังคมสงบสุขสิทธิเสรีภาพประชาชนได้รับการเคารพ เกิดความต่อเนื่องของระบบการเมืองที่ดี
ดังนั้นเป้าหมายสุดท้ายของการเลือกตั้งจึงไม่ใช่การจัดแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศ ที่ก่อนแข่งกองเชียร์ซื้อเสื้อเชียร์มาสวมแล้วก็ก็หลับหูหลับตาเชียร์ไม่สนว่าทีมรักโกงหรือไม่ ถ้าแกล้งคู่แข่งได้ก็แกล้งและที่พอแข่งจบใครชนะกองเชียร์เฮ รับมอบถ้วยซึ่งหมายถึงอำนาจปกครองประเทศแล้วกองเชียร์ก็กลับบ้านใครบ้านมัน
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริงแต่ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริงแต่ถูกจัดให้เป็นประเทศล้าหลังในโลกประชาธิปไตย
บางประเทศมีการเลือกตั้งจริง แต่ประชาชนจำนวนมากมีพฤติกรรมและทัศนคติทางการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยแท้
ในประเทศประชาธิปไตยก้าวหน้า การเลือกตั้งจะเป็นหมุดหมายกระตุ้นกระบวนการทางสังคมของเขาให้แสดงออกซึ่งวิถีวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอย่างชัดเจน เป็นตัวแบบตัวอย่างให้กับประเทศอื่นๆ มาดู
1 เดือนนับจากนี้ประเทศไทยจะแสดงออกซึ่งความเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบไหนให้โลกดู .. ?