ในการบริหารเลือกตั้ง หัวใจสำคัญของเป้าหมายคือต้องเอาชนะคู่แข่งขันให้ได้
นั่นหมายความว่าจะต้องใช้เงินและดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้ได้คะแนนเหนือกว่าผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งทุกคน
การบริหารเลือกตั้งซึ่งนำไปสู่การซื้อเสียงอย่างเป็นระบบ จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการบริหารพื้นที่เขตเลือกตั้งของผู้สมัคร
ซึ่งแบ่งง่ายๆ เป็นพื้นที่แข่งขันกันในระดับสูงมาก สูงปานกลาง และสูงน้อย
แต่ละระดับใช้เงินมากน้อยเรียงกันลงมา
เมื่อรู้พื้นที่แล้วก็จัดแบ่งหมู่บ้าน แยกจำแนกประชากรในหมู่บ้าน ตำบลอำเภอออกมาให้ชัดเจน
จัดหาบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ครบ
จัดระบบหัวคะแนนให้ครบในแต่ละพื้นที่
วางระบบสื่อสาร การขนส่ง จัดระบบรถยนต์หาเสียง หน่วยเคลื่อนที่ติดโปสเตอร์ ระดมคนช่วยในกิจการต่างๆ เฉพาะกิจฯลฯ
จัดตั้งสำนักงานกลางและสำนักงานสาขาในการหาเสียง
ให้มีห้องวอร์รูมหรือห้องวางยุทธศาสตร์การเลือกตั้งซึ่งข้างในห้องจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ
มีแผนที่เขตเลือกตั้ง
มีบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
มีหน่วยตรวจสอบการทำโพลล์รวมอยู่ด้วย
นี่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเคยเห็นมาในการหาเสียงของผู้สมัครบางคนเมื่อหลายปีมาแล้วในจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน
ผู้สมัครท่านนี้จบปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ
เคยเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐมาก่อน และมีเงินมากพอที่จะเล่นการเมือง
แต่ต้องมาใช้เงินสู้กับส.ส.ในพื้นที่ที่ซื้อเสียง (ไม่ได้ซื้อทุกพื้นที่)
ผลคือเขาชนะอย่างท่วมท้นและมาเป็นที่หนึ่งด้วยระบบแมนเนจเม้นท์ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
กลับมาพิจารณาเรื่องการซื้อเสียงในระบบ Vote Management กันอีกที
หัวใจของระบบนี้คือบริหารบัญชีรายชื่อครับ
เรียกว่าการใช้เงินเพื่อซื้อคะแนนให้ได้ประสิทธิภาพ
สมัยก่อนยี่สิบบาทต่อคะแนนก็ได้แล้วครับ
ต่อมาก็เพิ่มเป็นสี่สิบบาทและแปดสิบบาทในเขตเมืองก็ร้อยบาท
มีคนบอกผมว่าชานเมืองในกทม.หัวละ ๕๐๐ บาท หรือ ๑,๐๐๐ บาท ต่อครัวเรือนก็มี
ในการแบ่งเงินเพื่อบริหารคะแนนตามบัญชีรายชื่อนี้จะทำกันเป็นสายงานโดยให้หัวคะแนนรับผิดชอบเป็นสายๆ ไป
และให้ไปแจกกันสองรอบ
รอบแรกจ่ายกันไปแล้วก็ต้องซ้ำเพื่อดูว่าเข้าเป้าหรือเปล่า
เหตุที่ต้องจ่ายกันสองรอบเพราะว่าคู่แข่งขันอาจจะมาทีหลังแล้วจ่ายมากกว่าทำให้เราต้องเสียคะแนนไปดังนั้นจึงต้องซ้ำทำให้เงินฝ่ายเรามากกว่า หลังการจ่ายรอบแรกไปแล้ว
หน่วยสุ่มวิจัยก็จะออกไปสำรวจละครับ
การสำรวจก็เพื่อดูว่าคะแนนนิยมของเราเป็นอย่างไรบ้าง
จะได้รู้กันแจ่มแจ้งไปว่า หมู่บ้านไหนเป็นอย่างไร
ทีมนักวิจัยมีไว้ไม่ใช่แค่ทำวิจัยเป็นรอบๆ
แต่ยังมีหน้าที่ไปสังเกตการณ์ขณะผู้สมัครเดินหาเสียงด้วย
ตัวอย่างเช่นถ้าเดินไปหาเสียงพบว่าหมู่บ้านไหนชาวบ้านมาฟังการอภิปรายโดยยืนกันไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
แสดงว่าหัวคะนนจัดตั้งลูกบ้านไม่มีวินัย
และการแจกเงินอาจจะไม่มีประสิทธิภาพได้
แม้ว่าการบริหารคะแนนและการบริหารการเลือกตั้งจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนแต่บางครั้งก็อาจจะเกิดช่องโหว่ได้เสมอ หากเงินไม่ถึงหรือคู่แข่งมีความชำนาญมากกว่าก็อาจจะชนะได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้วิธีบริหารการเลือกตั้งที่ทันสมัย
ระบบการซื้อเสียงนี้ทางราชการพยายามที่จะป้องกันมาทุกสมัยและใช้วิธีการต่างๆ นานา แต่ก็ไม่อาจจะสำเร็จ
ที่ฮือฮาที่สุดเห็นจะเป็นการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง ซึ่งองค์กรกลางประกอบด้วยเอ็นจีโอ นักวิชาการและบุคคลากรในภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียง องค์กรกลางยังมีหน่วยแจ้งเหตุ ทีมนักกฎหมาย ฝ่ายรณรงค์ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยในภูมิภาค
องค์กรกลางจึงทำงานในระดับชาติและทำงานเชิงลึกด้วย
เชิงลึกคือลงไปถึงหมู่บ้าน และลงไปดูการซื้อขายเสียง
แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งๆ ที่เห็นกันตำตา ไปแจ้งใครก็ทำอะไรไม่ได้ ในเมื่อคนซื้อเสียงขายเสียงคือพวกเจ้าหน้าที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเสียเอง แม้แต่ในหน่วยเลือกตั้งการทุจริตก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ
ด้วยเหตุนี้ การซื้อขายเสียง จึงเป็นเสมือนวงจรอุบาทว์ในระดับล่างสุดของสังคมไทยที่สุดจะเยียวยาและได้กลายมาเป็นประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง
เราจึงได้ส.ส.หน้าเก่า
ที่ขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลหน้าเก่าๆ
บริหารบ้านเมืองแบบไม่เอาไหนกันนี่แหละครับ
นั่นหมายความว่าจะต้องใช้เงินและดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้ได้คะแนนเหนือกว่าผู้สมัครที่เป็นคู่แข่งทุกคน
การบริหารเลือกตั้งซึ่งนำไปสู่การซื้อเสียงอย่างเป็นระบบ จึงมักจะเริ่มต้นด้วยการบริหารพื้นที่เขตเลือกตั้งของผู้สมัคร
ซึ่งแบ่งง่ายๆ เป็นพื้นที่แข่งขันกันในระดับสูงมาก สูงปานกลาง และสูงน้อย
แต่ละระดับใช้เงินมากน้อยเรียงกันลงมา
เมื่อรู้พื้นที่แล้วก็จัดแบ่งหมู่บ้าน แยกจำแนกประชากรในหมู่บ้าน ตำบลอำเภอออกมาให้ชัดเจน
จัดหาบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ครบ
จัดระบบหัวคะแนนให้ครบในแต่ละพื้นที่
วางระบบสื่อสาร การขนส่ง จัดระบบรถยนต์หาเสียง หน่วยเคลื่อนที่ติดโปสเตอร์ ระดมคนช่วยในกิจการต่างๆ เฉพาะกิจฯลฯ
จัดตั้งสำนักงานกลางและสำนักงานสาขาในการหาเสียง
ให้มีห้องวอร์รูมหรือห้องวางยุทธศาสตร์การเลือกตั้งซึ่งข้างในห้องจะมีเจ้าหน้าที่ประจำ
มีแผนที่เขตเลือกตั้ง
มีบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
มีหน่วยตรวจสอบการทำโพลล์รวมอยู่ด้วย
นี่เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเคยเห็นมาในการหาเสียงของผู้สมัครบางคนเมื่อหลายปีมาแล้วในจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน
ผู้สมัครท่านนี้จบปริญญาโทจากประเทศอังกฤษ
เคยเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐมาก่อน และมีเงินมากพอที่จะเล่นการเมือง
แต่ต้องมาใช้เงินสู้กับส.ส.ในพื้นที่ที่ซื้อเสียง (ไม่ได้ซื้อทุกพื้นที่)
ผลคือเขาชนะอย่างท่วมท้นและมาเป็นที่หนึ่งด้วยระบบแมนเนจเม้นท์ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า
กลับมาพิจารณาเรื่องการซื้อเสียงในระบบ Vote Management กันอีกที
หัวใจของระบบนี้คือบริหารบัญชีรายชื่อครับ
เรียกว่าการใช้เงินเพื่อซื้อคะแนนให้ได้ประสิทธิภาพ
สมัยก่อนยี่สิบบาทต่อคะแนนก็ได้แล้วครับ
ต่อมาก็เพิ่มเป็นสี่สิบบาทและแปดสิบบาทในเขตเมืองก็ร้อยบาท
มีคนบอกผมว่าชานเมืองในกทม.หัวละ ๕๐๐ บาท หรือ ๑,๐๐๐ บาท ต่อครัวเรือนก็มี
ในการแบ่งเงินเพื่อบริหารคะแนนตามบัญชีรายชื่อนี้จะทำกันเป็นสายงานโดยให้หัวคะแนนรับผิดชอบเป็นสายๆ ไป
และให้ไปแจกกันสองรอบ
รอบแรกจ่ายกันไปแล้วก็ต้องซ้ำเพื่อดูว่าเข้าเป้าหรือเปล่า
เหตุที่ต้องจ่ายกันสองรอบเพราะว่าคู่แข่งขันอาจจะมาทีหลังแล้วจ่ายมากกว่าทำให้เราต้องเสียคะแนนไปดังนั้นจึงต้องซ้ำทำให้เงินฝ่ายเรามากกว่า หลังการจ่ายรอบแรกไปแล้ว
หน่วยสุ่มวิจัยก็จะออกไปสำรวจละครับ
การสำรวจก็เพื่อดูว่าคะแนนนิยมของเราเป็นอย่างไรบ้าง
จะได้รู้กันแจ่มแจ้งไปว่า หมู่บ้านไหนเป็นอย่างไร
ทีมนักวิจัยมีไว้ไม่ใช่แค่ทำวิจัยเป็นรอบๆ
แต่ยังมีหน้าที่ไปสังเกตการณ์ขณะผู้สมัครเดินหาเสียงด้วย
ตัวอย่างเช่นถ้าเดินไปหาเสียงพบว่าหมู่บ้านไหนชาวบ้านมาฟังการอภิปรายโดยยืนกันไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย
แสดงว่าหัวคะนนจัดตั้งลูกบ้านไม่มีวินัย
และการแจกเงินอาจจะไม่มีประสิทธิภาพได้
แม้ว่าการบริหารคะแนนและการบริหารการเลือกตั้งจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนแต่บางครั้งก็อาจจะเกิดช่องโหว่ได้เสมอ หากเงินไม่ถึงหรือคู่แข่งมีความชำนาญมากกว่าก็อาจจะชนะได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้วิธีบริหารการเลือกตั้งที่ทันสมัย
ระบบการซื้อเสียงนี้ทางราชการพยายามที่จะป้องกันมาทุกสมัยและใช้วิธีการต่างๆ นานา แต่ก็ไม่อาจจะสำเร็จ
ที่ฮือฮาที่สุดเห็นจะเป็นการจัดตั้งองค์กรกลางเพื่อการเลือกตั้ง ซึ่งองค์กรกลางประกอบด้วยเอ็นจีโอ นักวิชาการและบุคคลากรในภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียง องค์กรกลางยังมีหน่วยแจ้งเหตุ ทีมนักกฎหมาย ฝ่ายรณรงค์ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยในภูมิภาค
องค์กรกลางจึงทำงานในระดับชาติและทำงานเชิงลึกด้วย
เชิงลึกคือลงไปถึงหมู่บ้าน และลงไปดูการซื้อขายเสียง
แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งๆ ที่เห็นกันตำตา ไปแจ้งใครก็ทำอะไรไม่ได้ ในเมื่อคนซื้อเสียงขายเสียงคือพวกเจ้าหน้าที่กำนันผู้ใหญ่บ้านเสียเอง แม้แต่ในหน่วยเลือกตั้งการทุจริตก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ
ด้วยเหตุนี้ การซื้อขายเสียง จึงเป็นเสมือนวงจรอุบาทว์ในระดับล่างสุดของสังคมไทยที่สุดจะเยียวยาและได้กลายมาเป็นประเพณีที่ประพฤติปฏิบัติทุกครั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง
เราจึงได้ส.ส.หน้าเก่า
ที่ขึ้นไปเป็นรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลหน้าเก่าๆ
บริหารบ้านเมืองแบบไม่เอาไหนกันนี่แหละครับ