ได้ทราบข่าวเรื่องรถบรรทุกปลาพลิกคว่ำที่พัทลุงแล้วมีชาวบ้านมาแย่งปลาไปต่อหน้าต่อตาคนขับจากทวิตเตอร์แล้วจึงค่อยมาหาข่าวย้อนหลังทางอินเตอร์เน็ตดูรายละเอียดอีกทีตอนสายวันจันทร์ และก็ได้พบว่าประเด็นเรื่องรถปลาคว่ำนี้ถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในหลายช่องทางไม่ว่าโซเชียลมีเดียหรือในเว็บบอร์ด
เอาเป็นว่า 90% ของคอมเมนต์มองในมุมเดียวกันว่าชาวบ้านทำไม่ถูกเพราะต่อให้ปลาจะเน่าเสียทิ้งไปพวกเขาก็ไม่มีสิทธิ์จะไปหยิบฉวยของคนอื่น และมีไม่น้อยนำเหตุการณ์นี้ไปเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่แม้จะเจอเหตุร้ายแรงใหญ่แต่ประชาชนของเขายังงดงามด้วยระเบียบวินัยสำนึกเพื่อส่วนรวม อดทนกล้ำกลืนกับความทุกข์ด้วยการไม่ซ้ำเติมปัญหาความเห็นบางท่านบอกว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่เกิดในญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
ด้วยความที่คุ้นเคยกับพื้นที่แถวนั้นอยู่พอสมควรเหตุการณ์รถปลาพลิกคว่ำแล้วชาวบ้านเอาฉวยเอาปลาไปนี่ไม่ได้เกิดครั้งนี้ครั้งเดียวให้เป็นข่าวฮือฮาหรอก แต่มันเกิดเป็นประจำจนเป็นธรรมเนียมพัทลุงเป็นทางผ่านของถนนสายหลักภาคใต้รถปลาของทะเลวิ่งขึ้นลงเป็นประจำแล้วก็มากด้วย ก็มีไม่น้อยที่เกิดอุบัติเหตุชาวบ้านเขาก็เคยชินกับการจับปลาบนถนนแบบนี้ หากให้ความเป็นธรรมในระดับหนึ่งอย่างน้อยผมก็เชื่อว่าชาวบ้านในภาพเหตุการณ์หลาย ๆ คนหาได้มีเจตนากระทืบซ้ำเคราะห์กรรมของผู้อื่นในความหมายของการ “ซ้ำเติม” ด้วยเห็นว่าปลาเป็นสินค้าที่หาง่ายขายคล่อง วิถีดั้งเดิมแถวลุ่มน้ำทะเลน้อยใครจับปลาได้หาบผ่านหน้าบ้านถึงขั้นขอกันดื้อ ๆ ก็มี
ทางหนึ่งก็พยายามเข้าใจชาวบ้านและวิถีของเขา อีกทางหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยที่จะเห็นวิถีแบบนี้ดำรงอยู่ในสังคมไทย
สิ่งบางสิ่งเหมาะสมกับยุคสมัยของมันเท่านั้น !!
ซึ่งผมคิดว่าการถือวิสาสะของเจ้าถิ่นทำนองนี้ควรหมดสิ้นไปได้แล้ว เพราะเราท่านที่มีชีวิตอยู่ ณ พ.ศ.2554 นี้กำลังจะเผชิญกับยุคสมัยของความทุกข์ยากพิบัติภัยโดยรวม หากไม่ปลูกฝังความรู้สึกต้องรับผิดชอบร่วมกับสิ่งที่เป็นความทุกข์ยากจากเหตุอันไม่คาดฝันของสังคม ยังคงถือคติ “ประโยชน์กูมาก่อน” แล้วไซร้สังคมไทยจะไม่มีต้นทุนสังคมมาเป็นเบาะรองรับพิบัติภัยเหมือนเช่นที่ญี่ปุ่นเขามี
ผมเคยประสบเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับรถบรรทุกปลาแต่น่ากลัวหลายเท่าก็คือรถบรรทุกแก๊ป (ชนวนระเบิดหิน) พลิกตกข้างทางที่ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เมื่อปี 2534 ตอนนั้นเพิ่งถูกส่งไปภูเก็ตเพื่อตั้งศูนย์ข่าวภูเก็ตยังต้องเช่าอพาร์ทเมนท์มีห้องเล็ก ๆ เพื่อเป็นศูนย์ข่าวชั่วคราวอยู่บริเวณตีนเขารัง พอทราบข่าวว่ามีเหตุระเบิดใหญ่ก็ตีรถไปทันทีถึงที่เกิดเหตุประมาณ 3 ทุ่ม เดินเข้าไปรัศมี 1 ก.ม.พบเศษเนื้อ ชิ้นส่วนมือ เท้าคนที่ยังสด ๆ รายทางบ้างก็กระเด็นติดหลังคา กิ่งไม้ เรื่องของเรื่องคือรถบรรทุกแก๊ปพลิกคว่ำชาวบ้านก็ถือวิสาสะขนสินค้าไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเป็นของอันตราย ตัวเลขคนในหมู่บ้านตายพร้อมกันจากแรงระเบิดครั้งนั้น 207 คน บาดเจ็บอีกกว่า 500 ครับ
อุบัติภัยครั้งนั้นยังจำติดตาได้ดีเพราะมันเป็นเหตุใหญ่ของนักข่าวใหม่คนหนึ่ง และที่น่าสลดก็คือนับจากเหตุครั้งนั้นเมื่อปี 2534 มาจนถึงปัจจุบัน 2554 เป็นเวลา 20 ปีเต็มพอดีผมก็ยังพบเห็น “เงา”ของรถแก๊ปท้ายเหมืองอยู่เนือง ๆ อ่านข่าวมีรถเกิดอุบัติเหตุข้างทางมีคนตีหัวซ้ำเพื่อชิงทรัพย์มันไม่ได้ต่างอะไรจากเหตุที่พังงาเลยเพียงแต่เหยื่อของรอบนี้เป็นผู้ขับขี่ไม่ใช่ชาวบ้าน ต่อจากนั้นก็เห็นข่าวสารที่มีผู้ตระเวนงัดตู้เซฟโรงแรมที่ท้ายเหมืองตอนเกิดสึนามิซึ่งแม้จะไม่มีเหยื่อที่เป็นผู้สูญเสียทรัพย์เพราะอาจจะตายหมดแล้ว แต่เหตุลักษณ์นี้ได้มันบ่งบอกชัดเจนว่าระดับศีลธรรมความรู้สึกที่ต้องร่วมกันแบกรับเหตุร่วมจากปัญหาสาธารณะของสังคมไทยมีปัญหา
เพราะที่สุดแล้ว “เหยื่อ”ที่แท้จริงของธรรมเนียมการจ้องหยิบฉวยประโยชน์จากอุบัติภัยหรือพิบัติภัย(ทั้งระดับเล็กไปถึงใหญ่) ก็คือสังคมไทยนั่นเอง !!
รถปลาพัทลุง รถแก๊ปท้ายเหมือง รถคว่ำถูกฉกสร้อยกระเป๋าถือแถบถนนพหลโยธินหรือมิตรภาพ ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องเดียวกันกับแก๊งตระเวนงัดทรัพย์โรงแรมสึนามิ
เพราะการฉวยประโยชน์จากเคราะห์กรรมของส่วนรวมก็ดี หรือเคราะห์กรรมของผู้อื่นก็ดี เป็นพื้นฐานเดียวกับกับการปลูกสันดานเห็นแก่ตัวด้านได้อายอด ทันทีที่เกิดเหตุใหญ่ก็พร้อมจะฉกฉวยหาช่องให้ตนได้รอดก่อน มือปืนก็ปล้น มีหมัดก็พร้อมสาดใส่ผู้ที่จะมียื้อแย่งของ ๆ ตัว
ในสภาพเช่นนี้หากเกิดพิบัติภัยร้ายแรงขึ้นในไทยจริงผมอาจจะเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดที่เฮติเกิดขึ้นในเมืองของเรา ...เพราะมันเป็นไปแทบไม่ได้เลยที่จะเห็นการเข้าแถว การรอคอย การทนรับความทุกข์ร่วมไม่ซ้ำเติมทุกข์ส่วนรวมเหมือนเช่นในญี่ปุ่น
ผมชอบใจมากที่รายการเรื่องเล่าฯ ของคุณสรยุทธ์ เอาข่าวนี้มารายงานและอิทธิพลของรายการนี้ทำให้มีการนำคลิปไปโพสต์ต่อในบอร์ดในโซเชียลมีเดียตามมา เอาล่ะ ! จะโดยนักข่าวสติงเกอร์ในพื้นที่ขยันและบังเอิญมีกระแสสึนามิญี่ปุ่นเลยเป็นภาพเปรียบเทียบได้ดีเลยมีข่าวนี้รายงาน (หมายความว่าโดยทั่วไปบ.ก.ข่าวของสื่อหลักจะไม่ค่อยสนใจข่าวทำนองนี้หรอก) แต่มันก็กระตุกสังคมให้ฉุกคิดได้ขยักหนึ่ง
ผมยังรักเมืองไทยนะครับ ไม่อยากให้ประเทศเราเกิดการปล้นสะดมเกิดจลาจลยื้อแย่งไล่ทุบไล่ฆ่ากันเหมือนเฮติ อยากอย่างที่สุดให้สังคมเราเป็นเหมือนญี่ปุ่นในกรณีที่เกิดภัยร้ายแรงซึ่งมันใกล้เราเข้ามาทุกที ในยุคที่ธรรมชาติเอาคืนเช่นนี้มีแต่คนในสังคมเท่านั้นที่ต้องช่วยกันปลูกช่วยกันสร้างสิ่งที่เรียกว่าเบาะรองรับภัย หรืออาจจะเรียกว่าธรรมเนียม ค่านิยม วิถีปฏิบัติอะไรก็แล้วแต่ที่จำเป็นขึ้นมาใหม่
สิ่งที่ไม่ดีก็ทิ้งไปสิ่งที่ดี ๆ ก็ต้องช่วยกันปลูกสร้างขึ้นมา !
มีเรื่องราวมากมายที่เราต้องเริ่มทำตั้งแต่บัดนี้ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการเข้าคิว วันก่อนอ่านบทความของจอห์น วิญญู เรื่องการเข้าคิวที่รถไฟฟ้าแล้วชอบใจข้อสังเกตของเด็กหนุ่ม เรื่องเล็ก ๆ ประจำวันที่ถูกมองข้ามแบบนี้แหละที่สังคมน่าจะหยิบมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่ว่าเรื่องการขับขี่ การนั่งรถเมล์ การซื้อตั๋วหนัง ฯลฯ
เอาง่าย ๆ ส้วมสาธารณะ ที่โรงแรม ที่สถานีขนส่งหรือที่ไหน ๆ เมืองนอกเขามีคิวแรกสุดหน้าประตูครับ ห้องไหนเสร็จแล้วออกมาคนแรกสุดจะได้คิวเข้า ปรากฏคนไทยเล่นไปยืนจองหน้าห้อง สมมติมีห้องเรียงกัน 5 ห้องก็ไปยืนวัดดวงกัน 5 คิว...สมมติใครดวงซวยเจอห้องที่ท้องเสียขนาดหนักจะทำยังไง...? ไม่ตลกนะครับ เพราะหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวท่านโดยตรง !!
เรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวันที่สามารถนำเราไปสู่ภาวะเฮติ หรือ ญี่ปุ่น ยังมีอีกมาก..ลองมองรอบ ๆตัวท่านดูสิครับ !
เอาเป็นว่า 90% ของคอมเมนต์มองในมุมเดียวกันว่าชาวบ้านทำไม่ถูกเพราะต่อให้ปลาจะเน่าเสียทิ้งไปพวกเขาก็ไม่มีสิทธิ์จะไปหยิบฉวยของคนอื่น และมีไม่น้อยนำเหตุการณ์นี้ไปเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่แม้จะเจอเหตุร้ายแรงใหญ่แต่ประชาชนของเขายังงดงามด้วยระเบียบวินัยสำนึกเพื่อส่วนรวม อดทนกล้ำกลืนกับความทุกข์ด้วยการไม่ซ้ำเติมปัญหาความเห็นบางท่านบอกว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่เกิดในญี่ปุ่นอย่างแน่นอน
ด้วยความที่คุ้นเคยกับพื้นที่แถวนั้นอยู่พอสมควรเหตุการณ์รถปลาพลิกคว่ำแล้วชาวบ้านเอาฉวยเอาปลาไปนี่ไม่ได้เกิดครั้งนี้ครั้งเดียวให้เป็นข่าวฮือฮาหรอก แต่มันเกิดเป็นประจำจนเป็นธรรมเนียมพัทลุงเป็นทางผ่านของถนนสายหลักภาคใต้รถปลาของทะเลวิ่งขึ้นลงเป็นประจำแล้วก็มากด้วย ก็มีไม่น้อยที่เกิดอุบัติเหตุชาวบ้านเขาก็เคยชินกับการจับปลาบนถนนแบบนี้ หากให้ความเป็นธรรมในระดับหนึ่งอย่างน้อยผมก็เชื่อว่าชาวบ้านในภาพเหตุการณ์หลาย ๆ คนหาได้มีเจตนากระทืบซ้ำเคราะห์กรรมของผู้อื่นในความหมายของการ “ซ้ำเติม” ด้วยเห็นว่าปลาเป็นสินค้าที่หาง่ายขายคล่อง วิถีดั้งเดิมแถวลุ่มน้ำทะเลน้อยใครจับปลาได้หาบผ่านหน้าบ้านถึงขั้นขอกันดื้อ ๆ ก็มี
ทางหนึ่งก็พยายามเข้าใจชาวบ้านและวิถีของเขา อีกทางหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยที่จะเห็นวิถีแบบนี้ดำรงอยู่ในสังคมไทย
สิ่งบางสิ่งเหมาะสมกับยุคสมัยของมันเท่านั้น !!
ซึ่งผมคิดว่าการถือวิสาสะของเจ้าถิ่นทำนองนี้ควรหมดสิ้นไปได้แล้ว เพราะเราท่านที่มีชีวิตอยู่ ณ พ.ศ.2554 นี้กำลังจะเผชิญกับยุคสมัยของความทุกข์ยากพิบัติภัยโดยรวม หากไม่ปลูกฝังความรู้สึกต้องรับผิดชอบร่วมกับสิ่งที่เป็นความทุกข์ยากจากเหตุอันไม่คาดฝันของสังคม ยังคงถือคติ “ประโยชน์กูมาก่อน” แล้วไซร้สังคมไทยจะไม่มีต้นทุนสังคมมาเป็นเบาะรองรับพิบัติภัยเหมือนเช่นที่ญี่ปุ่นเขามี
ผมเคยประสบเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับรถบรรทุกปลาแต่น่ากลัวหลายเท่าก็คือรถบรรทุกแก๊ป (ชนวนระเบิดหิน) พลิกตกข้างทางที่ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา เมื่อปี 2534 ตอนนั้นเพิ่งถูกส่งไปภูเก็ตเพื่อตั้งศูนย์ข่าวภูเก็ตยังต้องเช่าอพาร์ทเมนท์มีห้องเล็ก ๆ เพื่อเป็นศูนย์ข่าวชั่วคราวอยู่บริเวณตีนเขารัง พอทราบข่าวว่ามีเหตุระเบิดใหญ่ก็ตีรถไปทันทีถึงที่เกิดเหตุประมาณ 3 ทุ่ม เดินเข้าไปรัศมี 1 ก.ม.พบเศษเนื้อ ชิ้นส่วนมือ เท้าคนที่ยังสด ๆ รายทางบ้างก็กระเด็นติดหลังคา กิ่งไม้ เรื่องของเรื่องคือรถบรรทุกแก๊ปพลิกคว่ำชาวบ้านก็ถือวิสาสะขนสินค้าไปทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเป็นของอันตราย ตัวเลขคนในหมู่บ้านตายพร้อมกันจากแรงระเบิดครั้งนั้น 207 คน บาดเจ็บอีกกว่า 500 ครับ
อุบัติภัยครั้งนั้นยังจำติดตาได้ดีเพราะมันเป็นเหตุใหญ่ของนักข่าวใหม่คนหนึ่ง และที่น่าสลดก็คือนับจากเหตุครั้งนั้นเมื่อปี 2534 มาจนถึงปัจจุบัน 2554 เป็นเวลา 20 ปีเต็มพอดีผมก็ยังพบเห็น “เงา”ของรถแก๊ปท้ายเหมืองอยู่เนือง ๆ อ่านข่าวมีรถเกิดอุบัติเหตุข้างทางมีคนตีหัวซ้ำเพื่อชิงทรัพย์มันไม่ได้ต่างอะไรจากเหตุที่พังงาเลยเพียงแต่เหยื่อของรอบนี้เป็นผู้ขับขี่ไม่ใช่ชาวบ้าน ต่อจากนั้นก็เห็นข่าวสารที่มีผู้ตระเวนงัดตู้เซฟโรงแรมที่ท้ายเหมืองตอนเกิดสึนามิซึ่งแม้จะไม่มีเหยื่อที่เป็นผู้สูญเสียทรัพย์เพราะอาจจะตายหมดแล้ว แต่เหตุลักษณ์นี้ได้มันบ่งบอกชัดเจนว่าระดับศีลธรรมความรู้สึกที่ต้องร่วมกันแบกรับเหตุร่วมจากปัญหาสาธารณะของสังคมไทยมีปัญหา
เพราะที่สุดแล้ว “เหยื่อ”ที่แท้จริงของธรรมเนียมการจ้องหยิบฉวยประโยชน์จากอุบัติภัยหรือพิบัติภัย(ทั้งระดับเล็กไปถึงใหญ่) ก็คือสังคมไทยนั่นเอง !!
รถปลาพัทลุง รถแก๊ปท้ายเหมือง รถคว่ำถูกฉกสร้อยกระเป๋าถือแถบถนนพหลโยธินหรือมิตรภาพ ฯลฯ ล้วนเป็นเรื่องเดียวกันกับแก๊งตระเวนงัดทรัพย์โรงแรมสึนามิ
เพราะการฉวยประโยชน์จากเคราะห์กรรมของส่วนรวมก็ดี หรือเคราะห์กรรมของผู้อื่นก็ดี เป็นพื้นฐานเดียวกับกับการปลูกสันดานเห็นแก่ตัวด้านได้อายอด ทันทีที่เกิดเหตุใหญ่ก็พร้อมจะฉกฉวยหาช่องให้ตนได้รอดก่อน มือปืนก็ปล้น มีหมัดก็พร้อมสาดใส่ผู้ที่จะมียื้อแย่งของ ๆ ตัว
ในสภาพเช่นนี้หากเกิดพิบัติภัยร้ายแรงขึ้นในไทยจริงผมอาจจะเห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดที่เฮติเกิดขึ้นในเมืองของเรา ...เพราะมันเป็นไปแทบไม่ได้เลยที่จะเห็นการเข้าแถว การรอคอย การทนรับความทุกข์ร่วมไม่ซ้ำเติมทุกข์ส่วนรวมเหมือนเช่นในญี่ปุ่น
ผมชอบใจมากที่รายการเรื่องเล่าฯ ของคุณสรยุทธ์ เอาข่าวนี้มารายงานและอิทธิพลของรายการนี้ทำให้มีการนำคลิปไปโพสต์ต่อในบอร์ดในโซเชียลมีเดียตามมา เอาล่ะ ! จะโดยนักข่าวสติงเกอร์ในพื้นที่ขยันและบังเอิญมีกระแสสึนามิญี่ปุ่นเลยเป็นภาพเปรียบเทียบได้ดีเลยมีข่าวนี้รายงาน (หมายความว่าโดยทั่วไปบ.ก.ข่าวของสื่อหลักจะไม่ค่อยสนใจข่าวทำนองนี้หรอก) แต่มันก็กระตุกสังคมให้ฉุกคิดได้ขยักหนึ่ง
ผมยังรักเมืองไทยนะครับ ไม่อยากให้ประเทศเราเกิดการปล้นสะดมเกิดจลาจลยื้อแย่งไล่ทุบไล่ฆ่ากันเหมือนเฮติ อยากอย่างที่สุดให้สังคมเราเป็นเหมือนญี่ปุ่นในกรณีที่เกิดภัยร้ายแรงซึ่งมันใกล้เราเข้ามาทุกที ในยุคที่ธรรมชาติเอาคืนเช่นนี้มีแต่คนในสังคมเท่านั้นที่ต้องช่วยกันปลูกช่วยกันสร้างสิ่งที่เรียกว่าเบาะรองรับภัย หรืออาจจะเรียกว่าธรรมเนียม ค่านิยม วิถีปฏิบัติอะไรก็แล้วแต่ที่จำเป็นขึ้นมาใหม่
สิ่งที่ไม่ดีก็ทิ้งไปสิ่งที่ดี ๆ ก็ต้องช่วยกันปลูกสร้างขึ้นมา !
มีเรื่องราวมากมายที่เราต้องเริ่มทำตั้งแต่บัดนี้ยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องการเข้าคิว วันก่อนอ่านบทความของจอห์น วิญญู เรื่องการเข้าคิวที่รถไฟฟ้าแล้วชอบใจข้อสังเกตของเด็กหนุ่ม เรื่องเล็ก ๆ ประจำวันที่ถูกมองข้ามแบบนี้แหละที่สังคมน่าจะหยิบมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่ว่าเรื่องการขับขี่ การนั่งรถเมล์ การซื้อตั๋วหนัง ฯลฯ
เอาง่าย ๆ ส้วมสาธารณะ ที่โรงแรม ที่สถานีขนส่งหรือที่ไหน ๆ เมืองนอกเขามีคิวแรกสุดหน้าประตูครับ ห้องไหนเสร็จแล้วออกมาคนแรกสุดจะได้คิวเข้า ปรากฏคนไทยเล่นไปยืนจองหน้าห้อง สมมติมีห้องเรียงกัน 5 ห้องก็ไปยืนวัดดวงกัน 5 คิว...สมมติใครดวงซวยเจอห้องที่ท้องเสียขนาดหนักจะทำยังไง...? ไม่ตลกนะครับ เพราะหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวท่านโดยตรง !!
เรื่องเล็กน้อยในชีวิตประจำวันที่สามารถนำเราไปสู่ภาวะเฮติ หรือ ญี่ปุ่น ยังมีอีกมาก..ลองมองรอบ ๆตัวท่านดูสิครับ !