ความรุนแรงเป็นพัฒนาสูงสุดของกระบวนการขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลมวลชนสองฝ่าย หรือจากเหตุการณ์ภายในและภายภายนอกประเทศ ความขัดแย้งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย และตัดสินหรือลดความตึงเครียดได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา หรือสถานการณ์ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญ
ในบางโอกาสความรุนแรงขยายตัวไปตามแรงกดดัน เช่น ระหว่างรัฐบาลกับคณะบุคคลที่ก่อกบถหรือต่อต้าน และอาจนำไปสู่การนองเลือดซึ่งเกิดในหลายประเทศ ในบางกรณีเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกแยกดินแดน
การประนีประนอมหรือการเจรจาโดยสันติวิธีเป็นอีกหนทางหนึ่งในการลดความขัดแย้ง คู่กรณีอาจทำให้สัญญาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือไม่ก็มีข้อตกลงชั่วคราว แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งพื้นฐานจะหมดไป เงื่อนไขใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นทำให้มีความขัดแย้งได้อีก
ธรรมชาติของความขัดแย้งมาจากความไม่พอใจ ความคับแค้นทางจิตใจ หรือความยากไร้ทางวัตถุในสังคม เศรษฐกิจในบริบททางความคิดของคาร์ลมาร์กซ์ ความขัดแย้งมาจากการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชั้น เช่น ศักดินากับนายทุน นายทุนกับพวกชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นพวกที่มีปริมาณมากและจะเอาชนะจนสถาปนารัฐบาลของประชาชนขึ้นมาได้
จริงอยู่ที่ขบวนการปฏิวัติรัสเซียมิได้มาจากชนชั้นกรรมาชีพอย่างเดียว หัวขบวนมาจากคณะบุคคลที่เป็นนักปฏิวัติแต่ก็ทำในนามกรรมาชีพ ชัยชนะของพวกบอลเชวิคที่โค่นล้มพระเจ้าซาร์เป็นก้าวแรกในการสถาปนาระบอบการปกครองของชนชั้นกรรมาชีพ แต่การปกครองในระยะต่อมาก็เป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อย
สังคมเผด็จการที่กดหัวประชาชน ก็เหมือนกับภูเขาไปที่รอการปะทุ รอวันระเบิดจากเบื้องล่าง เผด็จการอาจปกครองประเทศด้วยปืน แต่ประชาชนก็สามารถรวมตัวกันสู้ด้วยวิธีการต่างๆ และเอาชนะได้
เห็นได้จากขบวนการนิสิตนักศึกษาไทยเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ที่มีพลังสะสมจากเหตุปัจจัยต่างๆ หลายครั้ง จนเกิดการชุมนุมประท้วงที่ขยายตัวจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดทั่วประเทศเอาชนะทรราชย์ได้
แม้มีรัฐบาลพระราชทานตามมา แต่ความขัดแย้งพื้นฐานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ปัญหากรรมกรและชาวนาทำให้นิสิตและนักศึกษาเคลื่อนไหวต่อไป
กระทั่งทหารหนุนหลังนวพลและกระทิงแดงเข้าสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์อย่างโหดเหี้ยมเป็นความรุนแรงเข้าขั้นสูงสุดตามมาด้วยการปฏิวัติที่เรียกว่า การปฏิรูป
ไม่ได้หมายความว่า ความขัดแย้งจะหมดไปเพราะปฏิรูปซึ่งผู้ปกครองเป็นแค่หุ่นเชิดของคณะทหารเท่านั้น
การฆ่าแบบสังหารโหดมีกรณีเกิดขึ้นในเขมรยุคพลพตที่ประชาชนล้มตายหลายล้าน กระทั่งเฮงสัมรินใช้กำลังจากเวียดนามไล่เขมรแดงออกไป และตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาแทนที่
จากการศึกษาพัฒนาการความรุนแรงทั้งในไทยและในเขมร จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงมีวัตถุประสงค์มาตั้งแต่แรกแล้วว่า จะต้องฆ่าคู่ต่อสู้ทางการเมือง โดยไม่มีการประนีประนอม
วิธีการเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า การแก้ไขด้วยการฆ่าเป็นทางออกที่ไร้มนุษยธรรม และได้รับการประณามจากประชาคมโลก
ทั้งกรณี 6 ตุลาฯ และกรณีเขมรแดงถูกตั้งกรรมการสอบเอาผิดด้วยกันทั้งนั้น
ในไทยผู้กระทำผิดยังลอยนวล
ในเขมรผู้กระทำผิดถูกจับตัวขึ้นศาลและถูกลงโทษ
ความรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่น กรณีฆ่าล่างเผ่าพันธุ์นี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีหลายกรณีที่เกิดขึ้น เป็นความผิดต่อมนุษยชาติที่ไม่มีประเทศในโลกให้อภัย
สำหรับในเรื่องการลดความขัดแย้งหรือความรุนแรงนั้น มีองค์การสูงสุดระหว่างประเทศคือ องค์การสหประชาชาติทำหน้าที่นี้อยู่ เป็นการดึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเข้าสู่เวทีสากล แม้ว่าในหลายกรณีไม่สามารถรอมชอมกันได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ช่วยให้สถานการณ์ทรงตัวได้ เช่น การมีผู้รักษาการหรือมีผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติเข้าไปอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งเป็นต้น
ในบ้านเราความขัดแย้งที่ลงเอยด้วยการฆ่ากันและได้กล่าวมาแล้วคือ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และพฤษภาทมิฬ ทั้ง 3 เหตุการณ์ ทำให้เกิดรัฐบาลใหม่ แต่ทั้งหมดหาได้เป็นหลักประกันว่าสังคมไทยสามารถยุติปัญหาต่างๆ ลงได้ทั้งหมด
รัฐสภาอาจเป็นอีกทางหนึ่งที่ใช้เป็นเวทีในการช่วยให้ความขัดแย้งกลายเป็นการประสานประโยชน์
แต่รัฐสภาไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการใช้มันเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ซึ่งนำไปสู่การคอรัปชั่นในระดับบนสุดของสังคม
การโกงกินอย่างโจ่งแจ้ง ทำให้สังคมมีปัญหาและมีความขัดแย้งตามมา เช่น ความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท เนื่องจากงบประมาณถูกแย่งชิง
ดังนั้น รัฐสภาไทยจึงไม่ได้เป็นคำตอบในการลดแรงกดดันที่จะช่วยลดความขัดแย้ง แต่กลับสะสมปัญหาที่นำสู่ความขัดแย้ง นำสู่วงจรอุบาทว์ให้เกิดขึ้น
น่าเสียดายที่ทรัพยากรของชาติต้องถูกกระทำเพราะนักการเมืองผู้เห็นแก่ตัวเหล่านี้
ในบางโอกาสความรุนแรงขยายตัวไปตามแรงกดดัน เช่น ระหว่างรัฐบาลกับคณะบุคคลที่ก่อกบถหรือต่อต้าน และอาจนำไปสู่การนองเลือดซึ่งเกิดในหลายประเทศ ในบางกรณีเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยกแยกดินแดน
การประนีประนอมหรือการเจรจาโดยสันติวิธีเป็นอีกหนทางหนึ่งในการลดความขัดแย้ง คู่กรณีอาจทำให้สัญญาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือไม่ก็มีข้อตกลงชั่วคราว แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งพื้นฐานจะหมดไป เงื่อนไขใหม่ๆ อาจเกิดขึ้นทำให้มีความขัดแย้งได้อีก
ธรรมชาติของความขัดแย้งมาจากความไม่พอใจ ความคับแค้นทางจิตใจ หรือความยากไร้ทางวัตถุในสังคม เศรษฐกิจในบริบททางความคิดของคาร์ลมาร์กซ์ ความขัดแย้งมาจากการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนชั้น เช่น ศักดินากับนายทุน นายทุนกับพวกชนชั้นกรรมาชีพซึ่งเป็นพวกที่มีปริมาณมากและจะเอาชนะจนสถาปนารัฐบาลของประชาชนขึ้นมาได้
จริงอยู่ที่ขบวนการปฏิวัติรัสเซียมิได้มาจากชนชั้นกรรมาชีพอย่างเดียว หัวขบวนมาจากคณะบุคคลที่เป็นนักปฏิวัติแต่ก็ทำในนามกรรมาชีพ ชัยชนะของพวกบอลเชวิคที่โค่นล้มพระเจ้าซาร์เป็นก้าวแรกในการสถาปนาระบอบการปกครองของชนชั้นกรรมาชีพ แต่การปกครองในระยะต่อมาก็เป็นการปกครองโดยคนกลุ่มน้อย
สังคมเผด็จการที่กดหัวประชาชน ก็เหมือนกับภูเขาไปที่รอการปะทุ รอวันระเบิดจากเบื้องล่าง เผด็จการอาจปกครองประเทศด้วยปืน แต่ประชาชนก็สามารถรวมตัวกันสู้ด้วยวิธีการต่างๆ และเอาชนะได้
เห็นได้จากขบวนการนิสิตนักศึกษาไทยเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ที่มีพลังสะสมจากเหตุปัจจัยต่างๆ หลายครั้ง จนเกิดการชุมนุมประท้วงที่ขยายตัวจากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัดทั่วประเทศเอาชนะทรราชย์ได้
แม้มีรัฐบาลพระราชทานตามมา แต่ความขัดแย้งพื้นฐานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ปัญหากรรมกรและชาวนาทำให้นิสิตและนักศึกษาเคลื่อนไหวต่อไป
กระทั่งทหารหนุนหลังนวพลและกระทิงแดงเข้าสังหารหมู่ในธรรมศาสตร์อย่างโหดเหี้ยมเป็นความรุนแรงเข้าขั้นสูงสุดตามมาด้วยการปฏิวัติที่เรียกว่า การปฏิรูป
ไม่ได้หมายความว่า ความขัดแย้งจะหมดไปเพราะปฏิรูปซึ่งผู้ปกครองเป็นแค่หุ่นเชิดของคณะทหารเท่านั้น
การฆ่าแบบสังหารโหดมีกรณีเกิดขึ้นในเขมรยุคพลพตที่ประชาชนล้มตายหลายล้าน กระทั่งเฮงสัมรินใช้กำลังจากเวียดนามไล่เขมรแดงออกไป และตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นมาแทนที่
จากการศึกษาพัฒนาการความรุนแรงทั้งในไทยและในเขมร จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้ใช้ความรุนแรงมีวัตถุประสงค์มาตั้งแต่แรกแล้วว่า จะต้องฆ่าคู่ต่อสู้ทางการเมือง โดยไม่มีการประนีประนอม
วิธีการเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า การแก้ไขด้วยการฆ่าเป็นทางออกที่ไร้มนุษยธรรม และได้รับการประณามจากประชาคมโลก
ทั้งกรณี 6 ตุลาฯ และกรณีเขมรแดงถูกตั้งกรรมการสอบเอาผิดด้วยกันทั้งนั้น
ในไทยผู้กระทำผิดยังลอยนวล
ในเขมรผู้กระทำผิดถูกจับตัวขึ้นศาลและถูกลงโทษ
ความรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เช่น กรณีฆ่าล่างเผ่าพันธุ์นี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก และมีหลายกรณีที่เกิดขึ้น เป็นความผิดต่อมนุษยชาติที่ไม่มีประเทศในโลกให้อภัย
สำหรับในเรื่องการลดความขัดแย้งหรือความรุนแรงนั้น มีองค์การสูงสุดระหว่างประเทศคือ องค์การสหประชาชาติทำหน้าที่นี้อยู่ เป็นการดึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศเข้าสู่เวทีสากล แม้ว่าในหลายกรณีไม่สามารถรอมชอมกันได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่ช่วยให้สถานการณ์ทรงตัวได้ เช่น การมีผู้รักษาการหรือมีผู้สังเกตการณ์จากสหประชาชาติเข้าไปอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งเป็นต้น
ในบ้านเราความขัดแย้งที่ลงเอยด้วยการฆ่ากันและได้กล่าวมาแล้วคือ 14 ตุลาฯ 6 ตุลาฯ และพฤษภาทมิฬ ทั้ง 3 เหตุการณ์ ทำให้เกิดรัฐบาลใหม่ แต่ทั้งหมดหาได้เป็นหลักประกันว่าสังคมไทยสามารถยุติปัญหาต่างๆ ลงได้ทั้งหมด
รัฐสภาอาจเป็นอีกทางหนึ่งที่ใช้เป็นเวทีในการช่วยให้ความขัดแย้งกลายเป็นการประสานประโยชน์
แต่รัฐสภาไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการใช้มันเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ซึ่งนำไปสู่การคอรัปชั่นในระดับบนสุดของสังคม
การโกงกินอย่างโจ่งแจ้ง ทำให้สังคมมีปัญหาและมีความขัดแย้งตามมา เช่น ความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท เนื่องจากงบประมาณถูกแย่งชิง
ดังนั้น รัฐสภาไทยจึงไม่ได้เป็นคำตอบในการลดแรงกดดันที่จะช่วยลดความขัดแย้ง แต่กลับสะสมปัญหาที่นำสู่ความขัดแย้ง นำสู่วงจรอุบาทว์ให้เกิดขึ้น
น่าเสียดายที่ทรัพยากรของชาติต้องถูกกระทำเพราะนักการเมืองผู้เห็นแก่ตัวเหล่านี้