ในวันที่ 22 ธันวาคมคณะรัฐบาลชุดนี้จะทำงานครบหนึ่งปีเต็มแต่ก็ไม่รู้ว่าจะผ่านหลักหนึ่งปีได้อีกนานเท่าไหร่บรรยากาศทะแม่ง ๆ นั้นดูได้จากอาการของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลเป็นหลัก หาได้ดูจากฝ่ายค้านหรือเสื้อแดงแต่อย่างใด
นักการเมืองเป็นคนพันธุ์พิเศษมักจะมีจมูกไวกว่าคนปกติ
หากใครไปต่างจังหวัดช่วงวันหยุดยาวก็คงจะเห็นป้ายโฆษณาหาเสียงของพรรคการเมืองเต็มไปหมด ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
ส.ส.เพื่อไทยทำป้ายติดชื่อตัวเองในหลายจังหวัด ส่วนภูมิใจไทยแม้จะไม่มีชื่อคนแต่ก็ปูพรมคัตเอาท์ทั้งแบบเล็กใหญ่ไปทั่ว ประชาธิปัตย์เองก็มีป้ายหาเสียงเรื่องเงินช่วยเหลือคนชราสีฟ้าอยู่ข้างถนนเช่นกัน
ในสื่อหนังสือพิมพ์ก็เห็นการโฆษณาผลงานของพรรคหลักพรรคร่วมคละกันไป โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและพลังงาน และก็มีของกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาธิการ ไม่ต้องพูดถึงในทีวี.ที่มีทั้งโฆษณาตรง ๆ โจ่งแจ้งและโฆษณาแฝงในรูปรายการเพื่อความรู้ เราไม่เคยเห็นหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมมาก่อนก็ได้เห็นรอบนี้
บรรยากาศแบบนี้บ่งบอกทิศทางการเมืองของปี 2553 ได้ดีพอสมควร
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดมาท่ามกลางภาวะไม่ปกติทางการเมืองแถมเป็นรัฐบาลผสมที่ต้องดุลการต่อรอง-จัดสรรปันส่วนเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล ย่อมต้องได้รับความเห็นใจอยู่บ้าง
แต่อย่างไรก็ตามในฐานะพรรคการเมืองที่อาสาตัวมารับใช้ประชาชน มาใช้อำนาจบริหารประเทศแทนประชาชนดังนั้นจะมาอ้างความเป็นรัฐบาลผสมและภาวะไม่ปกติมาเป็นเป็นเกราะป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกด่านั้นไม่ได้
เคยตั้งความหวังกับรัฐบาลชุดนี้ไว้สูง อย่างน้อยก็สูงกว่ารัฐบาลสมัคร-สมชาย แต่ที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปีก็พบว่าตัวเองหวังสูงเกินไป
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะน่าผิดหวังในหลายเรื่อง
ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยถือเอาความต้องการ ความรู้สึกของประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นสำคัญ นี่เป็นเงื่อนไขความอยู่รอดของรัฐบาลและเป็นเงื่อนไขสำคัญว่าจะได้รับเลือกกลับมาอีกสมัยหรือไม่รัฐบาลอาจจะบอกว่ามีผลงานมากมายก็จริง แต่ขอโทษเถอะครับหากมันไม่ “เข้าตา” ประชาชนทำโพลกี่ครั้งเขาก็บอกว่ารัฐบาลไม่มีผลงานอยู่ดี
ให้เข้าบรรยากาศซีเกมส์ขอยกตัวอย่างกติกามวยสากล นักมวยต้องรู้ว่าชกอย่างไรให้จะแจ้ง ทำแบบเน้น ๆ เพื่อให้เข้าตากรรมการแต่รัฐบาลนี้สอบตกในเรื่องการทำงานให้เข้าตาคน
อย่างการจัดงานเฉลิมฉลองที่ถนนราชดำเนินนั้นได้แค่สอบผ่าน ไปถามคนดูร้อยทั้งร้อยเขาให้คะแนนเสี่ยเนวินที่ลานพระบรมรูปกันทั้งนั้น..แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าชกให้เข้าตาคน หรือให้ชัดขึ้นคือเป็นนักการเมืองที่ทำงานเป็น
รัฐบาลอภิสิทธิ์โชคไม่ดีหลายเรื่องมีเงื่อนไขข้อจำกัดมากมายโดยเฉพาะการจัดสรรกระทรวงเศรษฐกิจให้พรรคร่วมแทบทั้งหมด แต่ก็มีจุดแข็งที่ได้กระทรวงทางสังคมมาอยู่ในมือ
ประชาธิปัตย์เลือกประเด็นเบี้ยยังชีพคนชรามาหาเสียงทำคัตเอาท์แบนเนอร์ ผนวกกับประเด็นยายเนียมที่ปูพื้นฐานมาก่อน แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ใช้กลไกทางสังคมที่มีอยู่ในมือมาบูรณาการทำเรื่องคนชราให้เป็นเรื่องเป็นราวเพราะไหน ๆ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคของสังคมคนชราเต็มรูปแล้ว
ประเด็นที่ประชาธิปัตย์หยิบมาหาเสียงเป็นเรื่องของการสงเคราะห์แต่ไม่ก้าวข้ามประเด็นการวางรากฐาน การเตรียมปรับโครงสร้างสังคมไทย เรื่องของวัฒนธรรมและสายสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องของคลังปัญญา ฯลฯ
นอกจากนั้นรัฐบาลนี้ยังไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาจะนำประเทศของเราไปในทิศทางใด แม้จะมีการแถลงในนโยบายต่อรัฐสภาแต่ทั้งหมดมันเป็นแค่ตัวอักษรเท่านั้น
รัฐบาลบอกว่าจะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลัก แล้วมีจุดใดบ้างที่บ่งบอกว่าได้แปลงปรัชญาดังกล่าวมาเป็นนโยบาย
กระทรวงศึกษาธิการตีปีกกับเรื่องติวเตอร์ชาแนล ก็ดีที่ยังมีผลงานให้อวดแต่ไหนล่ะครับการจัดการศึกษาตามปรัชญาที่เป็นนโยบาย การจัดการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานให้ประเทศเป็นไทในยุคกระแสทุนเสรีนิยมไหลบ่า อย่างเช่นประเทศจีนเขาเกรงว่าคนและประเทศของเขาจะไหลไปโดยไม่มีเบาะรองรับจึงกำหนดให้เด็กของเขาใช้ระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์ส-ลีนุกซ์อย่างจริงจัง อย่างน้อยไม่ต้องทำให้ประเทศไปผูกอยู่กับลิขสิทธิ์ผูกขาดจนโงหัวไม่ขึ้น เกิดอะไรขึ้นมาจะได้มีช่องทางอื่นรองรับ
ก็เหมือนกับหลักการเปลี่ยนการปลูกพืชเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมที่หลากหลาย เพื่อให้อุ้มชูตัวเองได้นั่นแหละครับ
มีอีกหลายกระทรวงยกตัวอย่างแค่กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงเดียวเพื่อจะบอกว่านโยบายในภาพรวมของรัฐยังไม่มีทิศทางบนฐานปรัชญาที่ชัดเจนอย่างที่ประกาศต่อรัฐสภา
นายกฯอภิสิทธิ์เคยสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับสังคมด้วยการประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้กับคณะรัฐมนตรี ผ่านมาหนึ่งปีชักไม่แน่ใจแล้วว่ากฎดังกล่าวยังมีอยู่จริงหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องไม่โกง คุณอภิสิทธิ์นั้นไม่โกงอยู่แล้วแต่คนอื่น ๆ ล่ะ
รัฐบาลมีความพยายามอยู่บ้างที่จะจัดการกับข่าวการโกงกิน เช่นไล่สมาชิกพรรคออก หรือการตั้งกรรมการคนนอกมาสอบกรณีที่มีข่าวไม่ชอบมาพากล แต่ทั้งหมดก็จำกัดเฉพาะในส่วนของพรรคตัวเอง
ถามชาวบ้านร้อยทั้งร้อยไม่มีใครเชื่อหรอกครับว่านักการเมืองในรัฐบาลไม่โกง
เพียงแต่มันไม่เอิกเกริกเมกะโปรเจ็คต์เหมือนยุคทักษิณเท่านั้น
เมื่อพูดถึงการเมืองแล้ว Perception สำคัญที่สุด!
ภาพของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เห็นตอนนี้คือยังไร้ทิศทาง ทำงานไม่เข้าตา ไม่เด็ดขาด
เหมือนเชียร์มวยแต่นักมวยขาดจินตนาการ ไม่ได้ดั่งใจ ยิ่งชกยิ่งน่าอึดอัด
ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปประชาธิปัตย์จะไปไว และไม่ได้กลับมาอย่างแน่นอน.
นักการเมืองเป็นคนพันธุ์พิเศษมักจะมีจมูกไวกว่าคนปกติ
หากใครไปต่างจังหวัดช่วงวันหยุดยาวก็คงจะเห็นป้ายโฆษณาหาเสียงของพรรคการเมืองเต็มไปหมด ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
ส.ส.เพื่อไทยทำป้ายติดชื่อตัวเองในหลายจังหวัด ส่วนภูมิใจไทยแม้จะไม่มีชื่อคนแต่ก็ปูพรมคัตเอาท์ทั้งแบบเล็กใหญ่ไปทั่ว ประชาธิปัตย์เองก็มีป้ายหาเสียงเรื่องเงินช่วยเหลือคนชราสีฟ้าอยู่ข้างถนนเช่นกัน
ในสื่อหนังสือพิมพ์ก็เห็นการโฆษณาผลงานของพรรคหลักพรรคร่วมคละกันไป โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยและพลังงาน และก็มีของกระทรวงสาธารณสุข ศึกษาธิการ ไม่ต้องพูดถึงในทีวี.ที่มีทั้งโฆษณาตรง ๆ โจ่งแจ้งและโฆษณาแฝงในรูปรายการเพื่อความรู้ เราไม่เคยเห็นหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมมาก่อนก็ได้เห็นรอบนี้
บรรยากาศแบบนี้บ่งบอกทิศทางการเมืองของปี 2553 ได้ดีพอสมควร
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดมาท่ามกลางภาวะไม่ปกติทางการเมืองแถมเป็นรัฐบาลผสมที่ต้องดุลการต่อรอง-จัดสรรปันส่วนเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล ย่อมต้องได้รับความเห็นใจอยู่บ้าง
แต่อย่างไรก็ตามในฐานะพรรคการเมืองที่อาสาตัวมารับใช้ประชาชน มาใช้อำนาจบริหารประเทศแทนประชาชนดังนั้นจะมาอ้างความเป็นรัฐบาลผสมและภาวะไม่ปกติมาเป็นเป็นเกราะป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกด่านั้นไม่ได้
เคยตั้งความหวังกับรัฐบาลชุดนี้ไว้สูง อย่างน้อยก็สูงกว่ารัฐบาลสมัคร-สมชาย แต่ที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปีก็พบว่าตัวเองหวังสูงเกินไป
รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะน่าผิดหวังในหลายเรื่อง
ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยถือเอาความต้องการ ความรู้สึกของประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นสำคัญ นี่เป็นเงื่อนไขความอยู่รอดของรัฐบาลและเป็นเงื่อนไขสำคัญว่าจะได้รับเลือกกลับมาอีกสมัยหรือไม่รัฐบาลอาจจะบอกว่ามีผลงานมากมายก็จริง แต่ขอโทษเถอะครับหากมันไม่ “เข้าตา” ประชาชนทำโพลกี่ครั้งเขาก็บอกว่ารัฐบาลไม่มีผลงานอยู่ดี
ให้เข้าบรรยากาศซีเกมส์ขอยกตัวอย่างกติกามวยสากล นักมวยต้องรู้ว่าชกอย่างไรให้จะแจ้ง ทำแบบเน้น ๆ เพื่อให้เข้าตากรรมการแต่รัฐบาลนี้สอบตกในเรื่องการทำงานให้เข้าตาคน
อย่างการจัดงานเฉลิมฉลองที่ถนนราชดำเนินนั้นได้แค่สอบผ่าน ไปถามคนดูร้อยทั้งร้อยเขาให้คะแนนเสี่ยเนวินที่ลานพระบรมรูปกันทั้งนั้น..แบบนี้แหละครับที่เรียกว่าชกให้เข้าตาคน หรือให้ชัดขึ้นคือเป็นนักการเมืองที่ทำงานเป็น
รัฐบาลอภิสิทธิ์โชคไม่ดีหลายเรื่องมีเงื่อนไขข้อจำกัดมากมายโดยเฉพาะการจัดสรรกระทรวงเศรษฐกิจให้พรรคร่วมแทบทั้งหมด แต่ก็มีจุดแข็งที่ได้กระทรวงทางสังคมมาอยู่ในมือ
ประชาธิปัตย์เลือกประเด็นเบี้ยยังชีพคนชรามาหาเสียงทำคัตเอาท์แบนเนอร์ ผนวกกับประเด็นยายเนียมที่ปูพื้นฐานมาก่อน แต่ก็น่าเสียดายที่ไม่ใช้กลไกทางสังคมที่มีอยู่ในมือมาบูรณาการทำเรื่องคนชราให้เป็นเรื่องเป็นราวเพราะไหน ๆ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคของสังคมคนชราเต็มรูปแล้ว
ประเด็นที่ประชาธิปัตย์หยิบมาหาเสียงเป็นเรื่องของการสงเคราะห์แต่ไม่ก้าวข้ามประเด็นการวางรากฐาน การเตรียมปรับโครงสร้างสังคมไทย เรื่องของวัฒนธรรมและสายสัมพันธ์ รวมถึงเรื่องของคลังปัญญา ฯลฯ
นอกจากนั้นรัฐบาลนี้ยังไม่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาจะนำประเทศของเราไปในทิศทางใด แม้จะมีการแถลงในนโยบายต่อรัฐสภาแต่ทั้งหมดมันเป็นแค่ตัวอักษรเท่านั้น
รัฐบาลบอกว่าจะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลัก แล้วมีจุดใดบ้างที่บ่งบอกว่าได้แปลงปรัชญาดังกล่าวมาเป็นนโยบาย
กระทรวงศึกษาธิการตีปีกกับเรื่องติวเตอร์ชาแนล ก็ดีที่ยังมีผลงานให้อวดแต่ไหนล่ะครับการจัดการศึกษาตามปรัชญาที่เป็นนโยบาย การจัดการศึกษาเพื่อเป็นรากฐานให้ประเทศเป็นไทในยุคกระแสทุนเสรีนิยมไหลบ่า อย่างเช่นประเทศจีนเขาเกรงว่าคนและประเทศของเขาจะไหลไปโดยไม่มีเบาะรองรับจึงกำหนดให้เด็กของเขาใช้ระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์ส-ลีนุกซ์อย่างจริงจัง อย่างน้อยไม่ต้องทำให้ประเทศไปผูกอยู่กับลิขสิทธิ์ผูกขาดจนโงหัวไม่ขึ้น เกิดอะไรขึ้นมาจะได้มีช่องทางอื่นรองรับ
ก็เหมือนกับหลักการเปลี่ยนการปลูกพืชเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมที่หลากหลาย เพื่อให้อุ้มชูตัวเองได้นั่นแหละครับ
มีอีกหลายกระทรวงยกตัวอย่างแค่กระทรวงศึกษาฯ กระทรวงเดียวเพื่อจะบอกว่านโยบายในภาพรวมของรัฐยังไม่มีทิศทางบนฐานปรัชญาที่ชัดเจนอย่างที่ประกาศต่อรัฐสภา
นายกฯอภิสิทธิ์เคยสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับสังคมด้วยการประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้กับคณะรัฐมนตรี ผ่านมาหนึ่งปีชักไม่แน่ใจแล้วว่ากฎดังกล่าวยังมีอยู่จริงหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องไม่โกง คุณอภิสิทธิ์นั้นไม่โกงอยู่แล้วแต่คนอื่น ๆ ล่ะ
รัฐบาลมีความพยายามอยู่บ้างที่จะจัดการกับข่าวการโกงกิน เช่นไล่สมาชิกพรรคออก หรือการตั้งกรรมการคนนอกมาสอบกรณีที่มีข่าวไม่ชอบมาพากล แต่ทั้งหมดก็จำกัดเฉพาะในส่วนของพรรคตัวเอง
ถามชาวบ้านร้อยทั้งร้อยไม่มีใครเชื่อหรอกครับว่านักการเมืองในรัฐบาลไม่โกง
เพียงแต่มันไม่เอิกเกริกเมกะโปรเจ็คต์เหมือนยุคทักษิณเท่านั้น
เมื่อพูดถึงการเมืองแล้ว Perception สำคัญที่สุด!
ภาพของรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่เห็นตอนนี้คือยังไร้ทิศทาง ทำงานไม่เข้าตา ไม่เด็ดขาด
เหมือนเชียร์มวยแต่นักมวยขาดจินตนาการ ไม่ได้ดั่งใจ ยิ่งชกยิ่งน่าอึดอัด
ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปประชาธิปัตย์จะไปไว และไม่ได้กลับมาอย่างแน่นอน.