มีผู้กล่าวมานานแล้วว่า Perception สำคัญกว่า Facts ในทางการเมือง
เมื่อพูดถึงการเมือง ความรู้สึก+ความเห็นด้วย+ความคิดความเชื่อ เหล่านี้มีน้ำหนักเหนือกว่า ข้อเท็จจริง
มีผู้กล่าวลักษณะเดียวกัน อีกเช่น “Politics is perception” หรือไม่ก็ “In politics, perception is everything” ซึ่งล้วนแต่มีความหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน
ปัจจุบันมีการพัฒนาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องนี้ขึ้นมาเรียกว่า Perception management และต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษปนไทยในแทบทุกบรรทัดเพราะไม่สามารถแปลความที่สละสลวยสวยงามตรงตัวเหมือนกับที่มีผู้แปล Public Administration ว่า รัฐประศาสนศาสตร์
Perception management เป็นตระกูลการบริหารจัดการที่คล้าย ๆ กับรัฐประศาสนศาสตร์ คือเอาแขนงความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น สื่อสารมวลชน การโฆษณาชวนเชื่อ จิตวิทยามวลชน บุคลิกภาพและการพูดในที่ชุดชน ฯลฯ มาบูรณาการเป็นสหวิชาการ
ศาสตร์ใหม่ว่าด้วยการโจมตีอารมณ์ความรู้สึกและความเชื่อของคนหมู่มากศาสตร์นี้ มีต้นตอจากกองทัพสหรัฐที่ต้องเข้าไปพัวพันกับกิจการในต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการร้อยรัดประชากรโลกในสงครามเย็น ต่อมามีผู้พัฒนามาใช้ประโยชน์ในแทบทุกวงการเช่น ในวงการแฟชั่น ดาราบันเทิง ในทางการตลาด ฯลฯ ... และสุดท้ายคือใช้ประโยชน์โดยตรงในทางการเมือง
ทักษิณ ชินวัตร เป็นนักการเมืองที่ใช้ประโยชน์จากศาสตร์ด้านจิตวิทยาการตลาดมวลชนแขนงนี้ได้ดีคนหนึ่ง เล่นกับสื่อเป็น รู้จักใช้จังหวะโอกาสสร้างคะแนนนิยม ตรวจสอบความนิยมผ่านโพลภายในตลอดเวลา
ต่อเรื่องนี้ ทักษิณ ชินวัตร ต่างจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แบบหน้ามือหลังมือ ทั้ง ๆ ที่ทั้งคู่มี “ต้นทุน” ที่ดีพอ ๆ กัน
ฝ่ายหนึ่งมีต้นทุนมาจากมหาเศรษฐีนักธุรกิจผู้จับอะไรเป็นเงินทอง ต่อยอดด้วยการสร้างภาพว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจดี เป็นหนึ่งในผู้เห็นใจมวลมหารากหญ้า เป็นผู้นำพาชาติสู่ความยิ่งใหญ่อยู่ดีกินดี ฯลฯ
ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีต้นทุนภาพลักษณ์ของผู้ยึดหลักการ มีความรู้ดี ชาติตระกูลดี ไม่คดโกง ซื่อสัตย์จริงใจ และที่สำคัญคือมีบุคลิกภาพที่น่ารักน่าเอ็นดูและน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ ฯลฯ
ต่างกันที่ทักษิณ ใช้จิตวิทยาการตลาดมวลชนมาก..มากจนเฟ้อ แต่อภิสิทธิ์ ใช้ไม่เป็น เข็นไม่ไป !
ทักษิณ ออกรายการวิทยุ-โทรทัศน์ทุกเช้าอาทิตย์ได้อย่างมีพลัง โจมตีที่หัวใจผู้ฟัง เล่นกับอารมณ์และทัศนคติของคน ส่วนอภิสิทธิ์ ยึดหลักการว่าไม่เอาเปรียบเจ้าของสื่อ อยากรู้ให้ถามมาจะตอบทุกเรื่อง แต่ไม่จัดเตรียมชุดเนื้อหาข้อความเพื่อทำจิตวิทยาการตลาดมวลชนโดยตรง
ตั้งแต่ต้นปีทักษิณ ใช้การโฟนอิน ส่งเสียง-ส่งภาพเข้ามาเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตน จริงบ้างเท็จบ้างไม่รู้ บอกถ้าเสียงปืนแตกจะมาทันทีจนเกิดจลาจลแดงถ่อยวันสงกรานต์ ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีอภิสิทธิ์ ยังไม่มีคะแนนจากเรื่องนี้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
แต่นั่นเอง หมองูตายเพราะงู ทักษิณเล่นกับสื่อต่างประเทศ ระหว่างจลาจลทักษิณก็ตกม้าตายจากการซักถามของบีบีซี. เยส ๆ โน ๆๆๆๆ เลอะเทอะหมดราคา ถูกคำถามที่เอาความจริงมาซักจนไปไม่เป็น
โชคดีของทักษิณ ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านบีบีซี. เพราะชาวต่างชาติดูไปก็แค่ให้รู้ผ่าน ๆ ส่วนคนไทยก็มีแค่ผู้สนใจการเมืองกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่เข้าใจภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องแปล
ถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาสังคมประชาธิปไตยเต็มขั้นเชื่อว่าทักษิณดับอนาคตฆ่าตัวตายทางการเมืองด้วยปากของตัวเองไปเรียบร้อย เนื่องเพราะสื่อโทรทัศน์นั้นมีพลังมากเห็นภาพ เห็นหน้าตา เห็นอารมณ์ เห็นท่าทางจนตรอกไปไม่เป็น ประจานเปิดเปลือยตัวตนคน ๆ นั้นออกมาหมด
ตกม้าตายทางทีวี.ครั้งเดียว มีผลยิ่งกว่าการถูกหนังสือพิมพ์ขุดข้อเท็จจริงมานำเสนอหลายเท่านัก !
กรณีที่คลาสสิกมาก คือ การให้สัมภาษณ์ของอดีตประธานาธิบดีนิกสัน หลังจากที่ต้องจำใจลาออกเพราะคดีวอเตอร์เกต อันที่จริงเรื่องนี้ครึกโครมผ่านวอชิงตันโพสต์ เรื่องราวถูกตีแผ่ประจานผ่านสื่อกระดาษจนต้องลงออก
นิกสัน คิดจะใช้สื่อโทรทัศน์เป็นเครื่องมือของการหวนกลับมาได้รับความชื่อถือ อย่างน้อยจะได้กู้หน้าตาของตนบ้าง จึงให้เวลากับพิธีกรอังกฤษซึ่งโตมาจากรายการวาไรตี้ ไม่เลือกสื่ออเมริกันคิดว่าจะเคี้ยวหมู แต่ที่ไหนได้หมูอังกฤษคนดังกล่าวทำการบ้านมาดี สืบค้นข้อมูล และใช้ศิลปะของการสัมภาษณ์เชิงรุก จนทำให้นิกสันจนมุม สารภาพผ่านท่าทาง อารมณ์ และประโยคคำตอบ
คนอเมริกันเห็นรายการนี้เชื่อทันทีว่านิกสันผิดจริง .. ตอกย้ำ Facts ที่เผยแพร่ออกมาก่อนหน้า ทั้ง ๆ ที่นิกสันคิดจะใช้สื่อเพื่อสร้างภาพ สร้าง Perception ขึ้นมาใหม่
เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังไปแล้วหาแผ่นมาดูกันเองชื่อเรื่องว่า Frost/Nixon
เหมือนดาราวัยรุ่นลวงโลกที่ตั้งโต๊ะแถลงข่าวนั่นแหละครับ คิดจะใช้สื่อมากลบแต่กลับออกอาการตอบไม่ได้ไปไม่เป็น สารภาพบาปผ่านจอไปเอง ที่จริงก็น่าสงสารเด็กเพราะคนผิดจริงคือค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่ปั้นขึ้นมา ค่ายเพลงจะไม่รู้เลยหรือว่าพ่อของเด็กเป็นใคร ตอนทำสัญญาไม่ดูหลักฐานอะไรเลย (หรือวะ?)
ยกมากล่าวเพื่อจะบอกว่ากรณีทักษิณสารภาพบาปจนตรอกผ่านทีวี.ไม่ได้รับการขยายผลอย่างน่าเสียดาย !!!
การเมืองระยะนี้ร้อนขึ้นมาก มีเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่รัฐบาลต้องทำรวมทั้งการถวายฎีกาของทักษิณ-เสื้อแดง แต่ที่สุดแล้วการตัดสินสุดท้ายอยู่ที่คะแนนความนิยมของประชาชน ถ้ารัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่มีฐานความนิยมชาวบ้านไม่เอาด้วย ดีไม่ดีทหารก็จะออกมาตามที่มีคนวิเคราะห์ไว้ได้เช่นกัน
กรณีสัมปทานบ่อน้ำมัน ถ้าเป็นทักษิณจะออกงิ้วดึงอารมณ์รักชาติรักแผ่นดินปกป้องประโยชน์ออกมาเล่นเหมือนตอนจลาจลกบ สุวนันท์ และคล้ายกับฮุนเซนตีไทยทุกทีที่เลือกตั้ง แต่อภิสิทธิ์เล่นไม่เป็น แทนที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาให้ชัดเจน ทันการณ์ ก็ยังไม่ทำ
การแก้ปัญหาให้ทันการณ์ กับการดึงคะแนนความนิยมเป็นเรื่องเดียวกันครับ !!!
ก็คล้าย ๆ กับการถวายฎีกาเสื้อแดงนั่นแหละ เนวินเขารู้ว่านี่คือปัญหาและเป็นความถูกต้องชอบธรรมที่ต้องออกมาค้าน
ได้ความชอบธรรม และได้ใจประชาชนเป็น Perception management ขั้นสูงของมือเก๋า
แต่อภิสิทธิ์ และประชาธิปัตย์ ไม่ทำ – หรือว่าทำไม่เป็นก็ไม่รู้ !
เมื่อพูดถึงการเมือง ความรู้สึก+ความเห็นด้วย+ความคิดความเชื่อ เหล่านี้มีน้ำหนักเหนือกว่า ข้อเท็จจริง
มีผู้กล่าวลักษณะเดียวกัน อีกเช่น “Politics is perception” หรือไม่ก็ “In politics, perception is everything” ซึ่งล้วนแต่มีความหมายเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน
ปัจจุบันมีการพัฒนาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องนี้ขึ้นมาเรียกว่า Perception management และต้องขออภัยท่านผู้อ่านที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษปนไทยในแทบทุกบรรทัดเพราะไม่สามารถแปลความที่สละสลวยสวยงามตรงตัวเหมือนกับที่มีผู้แปล Public Administration ว่า รัฐประศาสนศาสตร์
Perception management เป็นตระกูลการบริหารจัดการที่คล้าย ๆ กับรัฐประศาสนศาสตร์ คือเอาแขนงความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น สื่อสารมวลชน การโฆษณาชวนเชื่อ จิตวิทยามวลชน บุคลิกภาพและการพูดในที่ชุดชน ฯลฯ มาบูรณาการเป็นสหวิชาการ
ศาสตร์ใหม่ว่าด้วยการโจมตีอารมณ์ความรู้สึกและความเชื่อของคนหมู่มากศาสตร์นี้ มีต้นตอจากกองทัพสหรัฐที่ต้องเข้าไปพัวพันกับกิจการในต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของการร้อยรัดประชากรโลกในสงครามเย็น ต่อมามีผู้พัฒนามาใช้ประโยชน์ในแทบทุกวงการเช่น ในวงการแฟชั่น ดาราบันเทิง ในทางการตลาด ฯลฯ ... และสุดท้ายคือใช้ประโยชน์โดยตรงในทางการเมือง
ทักษิณ ชินวัตร เป็นนักการเมืองที่ใช้ประโยชน์จากศาสตร์ด้านจิตวิทยาการตลาดมวลชนแขนงนี้ได้ดีคนหนึ่ง เล่นกับสื่อเป็น รู้จักใช้จังหวะโอกาสสร้างคะแนนนิยม ตรวจสอบความนิยมผ่านโพลภายในตลอดเวลา
ต่อเรื่องนี้ ทักษิณ ชินวัตร ต่างจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แบบหน้ามือหลังมือ ทั้ง ๆ ที่ทั้งคู่มี “ต้นทุน” ที่ดีพอ ๆ กัน
ฝ่ายหนึ่งมีต้นทุนมาจากมหาเศรษฐีนักธุรกิจผู้จับอะไรเป็นเงินทอง ต่อยอดด้วยการสร้างภาพว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจดี เป็นหนึ่งในผู้เห็นใจมวลมหารากหญ้า เป็นผู้นำพาชาติสู่ความยิ่งใหญ่อยู่ดีกินดี ฯลฯ
ส่วนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีต้นทุนภาพลักษณ์ของผู้ยึดหลักการ มีความรู้ดี ชาติตระกูลดี ไม่คดโกง ซื่อสัตย์จริงใจ และที่สำคัญคือมีบุคลิกภาพที่น่ารักน่าเอ็นดูและน่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ ฯลฯ
ต่างกันที่ทักษิณ ใช้จิตวิทยาการตลาดมวลชนมาก..มากจนเฟ้อ แต่อภิสิทธิ์ ใช้ไม่เป็น เข็นไม่ไป !
ทักษิณ ออกรายการวิทยุ-โทรทัศน์ทุกเช้าอาทิตย์ได้อย่างมีพลัง โจมตีที่หัวใจผู้ฟัง เล่นกับอารมณ์และทัศนคติของคน ส่วนอภิสิทธิ์ ยึดหลักการว่าไม่เอาเปรียบเจ้าของสื่อ อยากรู้ให้ถามมาจะตอบทุกเรื่อง แต่ไม่จัดเตรียมชุดเนื้อหาข้อความเพื่อทำจิตวิทยาการตลาดมวลชนโดยตรง
ตั้งแต่ต้นปีทักษิณ ใช้การโฟนอิน ส่งเสียง-ส่งภาพเข้ามาเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตน จริงบ้างเท็จบ้างไม่รู้ บอกถ้าเสียงปืนแตกจะมาทันทีจนเกิดจลาจลแดงถ่อยวันสงกรานต์ ขณะที่ตั้งแต่ต้นปีอภิสิทธิ์ ยังไม่มีคะแนนจากเรื่องนี้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
แต่นั่นเอง หมองูตายเพราะงู ทักษิณเล่นกับสื่อต่างประเทศ ระหว่างจลาจลทักษิณก็ตกม้าตายจากการซักถามของบีบีซี. เยส ๆ โน ๆๆๆๆ เลอะเทอะหมดราคา ถูกคำถามที่เอาความจริงมาซักจนไปไม่เป็น
โชคดีของทักษิณ ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านบีบีซี. เพราะชาวต่างชาติดูไปก็แค่ให้รู้ผ่าน ๆ ส่วนคนไทยก็มีแค่ผู้สนใจการเมืองกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่เข้าใจภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องแปล
ถ้าเป็นประเทศที่พัฒนาสังคมประชาธิปไตยเต็มขั้นเชื่อว่าทักษิณดับอนาคตฆ่าตัวตายทางการเมืองด้วยปากของตัวเองไปเรียบร้อย เนื่องเพราะสื่อโทรทัศน์นั้นมีพลังมากเห็นภาพ เห็นหน้าตา เห็นอารมณ์ เห็นท่าทางจนตรอกไปไม่เป็น ประจานเปิดเปลือยตัวตนคน ๆ นั้นออกมาหมด
ตกม้าตายทางทีวี.ครั้งเดียว มีผลยิ่งกว่าการถูกหนังสือพิมพ์ขุดข้อเท็จจริงมานำเสนอหลายเท่านัก !
กรณีที่คลาสสิกมาก คือ การให้สัมภาษณ์ของอดีตประธานาธิบดีนิกสัน หลังจากที่ต้องจำใจลาออกเพราะคดีวอเตอร์เกต อันที่จริงเรื่องนี้ครึกโครมผ่านวอชิงตันโพสต์ เรื่องราวถูกตีแผ่ประจานผ่านสื่อกระดาษจนต้องลงออก
นิกสัน คิดจะใช้สื่อโทรทัศน์เป็นเครื่องมือของการหวนกลับมาได้รับความชื่อถือ อย่างน้อยจะได้กู้หน้าตาของตนบ้าง จึงให้เวลากับพิธีกรอังกฤษซึ่งโตมาจากรายการวาไรตี้ ไม่เลือกสื่ออเมริกันคิดว่าจะเคี้ยวหมู แต่ที่ไหนได้หมูอังกฤษคนดังกล่าวทำการบ้านมาดี สืบค้นข้อมูล และใช้ศิลปะของการสัมภาษณ์เชิงรุก จนทำให้นิกสันจนมุม สารภาพผ่านท่าทาง อารมณ์ และประโยคคำตอบ
คนอเมริกันเห็นรายการนี้เชื่อทันทีว่านิกสันผิดจริง .. ตอกย้ำ Facts ที่เผยแพร่ออกมาก่อนหน้า ทั้ง ๆ ที่นิกสันคิดจะใช้สื่อเพื่อสร้างภาพ สร้าง Perception ขึ้นมาใหม่
เรื่องนี้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังไปแล้วหาแผ่นมาดูกันเองชื่อเรื่องว่า Frost/Nixon
เหมือนดาราวัยรุ่นลวงโลกที่ตั้งโต๊ะแถลงข่าวนั่นแหละครับ คิดจะใช้สื่อมากลบแต่กลับออกอาการตอบไม่ได้ไปไม่เป็น สารภาพบาปผ่านจอไปเอง ที่จริงก็น่าสงสารเด็กเพราะคนผิดจริงคือค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ที่ปั้นขึ้นมา ค่ายเพลงจะไม่รู้เลยหรือว่าพ่อของเด็กเป็นใคร ตอนทำสัญญาไม่ดูหลักฐานอะไรเลย (หรือวะ?)
ยกมากล่าวเพื่อจะบอกว่ากรณีทักษิณสารภาพบาปจนตรอกผ่านทีวี.ไม่ได้รับการขยายผลอย่างน่าเสียดาย !!!
การเมืองระยะนี้ร้อนขึ้นมาก มีเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่รัฐบาลต้องทำรวมทั้งการถวายฎีกาของทักษิณ-เสื้อแดง แต่ที่สุดแล้วการตัดสินสุดท้ายอยู่ที่คะแนนความนิยมของประชาชน ถ้ารัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่มีฐานความนิยมชาวบ้านไม่เอาด้วย ดีไม่ดีทหารก็จะออกมาตามที่มีคนวิเคราะห์ไว้ได้เช่นกัน
กรณีสัมปทานบ่อน้ำมัน ถ้าเป็นทักษิณจะออกงิ้วดึงอารมณ์รักชาติรักแผ่นดินปกป้องประโยชน์ออกมาเล่นเหมือนตอนจลาจลกบ สุวนันท์ และคล้ายกับฮุนเซนตีไทยทุกทีที่เลือกตั้ง แต่อภิสิทธิ์เล่นไม่เป็น แทนที่จะเดินหน้าแก้ปัญหาให้ชัดเจน ทันการณ์ ก็ยังไม่ทำ
การแก้ปัญหาให้ทันการณ์ กับการดึงคะแนนความนิยมเป็นเรื่องเดียวกันครับ !!!
ก็คล้าย ๆ กับการถวายฎีกาเสื้อแดงนั่นแหละ เนวินเขารู้ว่านี่คือปัญหาและเป็นความถูกต้องชอบธรรมที่ต้องออกมาค้าน
ได้ความชอบธรรม และได้ใจประชาชนเป็น Perception management ขั้นสูงของมือเก๋า
แต่อภิสิทธิ์ และประชาธิปัตย์ ไม่ทำ – หรือว่าทำไม่เป็นก็ไม่รู้ !