ตลอดเดือนกว่ามานี้มองทางไหนมีแต่แพนด้ารายวัน คนไทยถูกบังคับให้ดูข่าวประเภทวันนี้น้ำหนักเพิ่ม 1 ขีด อีกวันขนดำขึ้น 20 เส้น มาอีกวันบอกแม่แพนด้าหวงลูก ฯลฯ วนเวียนอยู่แต่ในกระแสเห่อแพนด้าไปไหนมาสามวาสองศอก คือเป็นข่าวที่ไม่ไปไหน ไม่มีประเด็นความรู้ เป็นข่าวเอาม่วนเหมือนกับข่าววงการดารา
อยากใช้สถานะเจ้าของภาษีส่งเสียงบอกต่อองค์การสวนสัตว์ขอให้เพลา ๆ ลงหน่อยเหอะอย่าได้เรียกนักข่าวมาแถลงรายวันแบบที่ทำมาอีกเลย เพราะยิ่งทำเนื้อหาของข่าวสารที่แพร่ออกมาจะยิ่งประจานตัวองค์การสวนสัตว์เองว่าวนเวียนอยู่กับประเด็นส่งเสริมการขาย
แพนด้า 3 ตัวที่สวนสัตว์เชียงใหม่มีต้นทุนแพงมาก และเป็นเงินของประชาชน
คนไทยควรจะรู้ว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายกรณีแพนด้านั้นมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วไม่คุ้มอย่างสิ้นเชิง ที่ได้ประโยชน์จริงคือความคุ้มในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-จีน ส่งผลถึงสถานะของไทยในวงการเมืองโลกอีกนัยหนึ่ง
ตลอด 10 ปีของสัญญายืมตัวแพนด้าประเทศไทยต้องบริจาคเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าจีนปีละ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ 10 ปีก็ตก 100 ล้านบาท บางท่านบอกด้วยความภูมิใจว่าถูกกว่าสัญญาประเทศอื่นก็ขึ้นกับมุมมองท่านแล้วกัน
ต้องสมทบเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่จีนจำนวน 2 คน ๆ ละ 1,000 ดอลลาร์ ตกปีละ 8 แสนกว่าบาท
ส่วนเจ้าตัวเล็กนักการเมืองไทยอย่าบ้าจี้ไปขอยืดเวลาอยู่ยาวเลยเพราะหากพ้น 2 ปี แพนด้าน้อยจะกลายเป็นแพนด้าที่ไม่มีเพื่อน เข้าสังคมแพนด้าไม่ได้ ระยะ 2 ปีตามกำหนดเดิมน่ะเหมาะสมแล้ว เอาเป็นว่า 2 ปีนี้ต้องจ่ายให้เขาอีก 150,000 ดอลลาร์ ตก 5 ล้านบาทไทย
6 ปีมานี้ ต้องจ่ายไปเกือบ 70 ล้านบาทแล้วครับ
นี่ยังไม่รวมงบลงทุนสร้างอาคารรอบแรก 40 กว่าล้าน ไหนจะโดมหิมะเทียมที่สร้างใหม่อีก 60 ล้านและค่าใช้จ่ายในการดูแลของฝ่ายไทยที่เพิ่มขึ้นมา เป็นพิเศษ
ลำพังเงินรายได้ค่าตั๋วดูแพนด้าไม่คุ้มหรอก เพราะค่าลงทุนสถานที่ก็ตก 100 ล้านเข้าไปแล้ว
แต่ที่ยอมรับกันได้คือเงินจำนวนนี้หากเทียบกับการใช้เพื่อส่งทูตไปสร้างสถานะไทยในเวทีโลกก็ดูคุ้มค่าขึ้นมาหน่อย
อย่างไรก็ตามองค์การสวนสัตว์เองก็ไม่ใช่ว่าจะอาศัยสถานะพิเศษของแพนด้าทำมาหากินส่งเสริมยอดจำนวนผู้ชมในทางบัญชีเพียงอย่างเดียว อย่าลืมว่าหน้าที่ของสวนสัตว์นั้นต้องส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนใน 3 ระดับ
ระดับแรก ความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ซึ่งหมายถึงได้มาเห็นสัตว์น้อยใหญ่ รวมถึงแพนด้าตัวเป็น ๆ
ระดับสอง ความรู้ โดยเฉพาะความรู้เรื่องชีววิทยา เรื่องสัตว์ป่า ที่จะสอดแทรกไปในความบันเทิง
ระดับสาม จิตสำนึก หมายถึงสำนึกที่มีต่อธรรมชาติ นิเวศน์วิทยา และการอนุรักษ์ป่าและสัตว์
เนื้อหาการแถลงข่าวแพนด้ารายวันที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตอบสนองหน้าที่แค่ระดับแรกเป็นหลักคือระดับการตอบสนองความบันเทิง ความอยากรู้อยากเห็น มีบ้างที่เลื่อนขึ้นมาในระดับสองแต่ก็เป็นความรู้ทั่วไปเรื่องแพนด้าเท่านั้น
กระแสแพนด้าตลอด 1 เดือนจึงวนเวียนอยู่กับความเห่อ ลืมตาก็เป็นข่าว ขนงอกก็เป็นข่าว อารมณ์แบบนี้แหละที่ทำให้เกิดความหมั่นไส้ขึ้นมา
จนกระทั่งมีสองหนุ่มน้อยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมทาสีช้างประชด ขอปรบมือให้สองหนุ่มอย่างจริงใจเพราะเป็นกิจกรรมที่กระชากอารมณ์ของคนในสังคมอย่างได้ผล คำถามเรื่องการอนุรักษ์สัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ของไทยก็ตามขึ้นมา เช่นเดียวกับคำถามเรื่องการเอาจริงเอาจังในการดูแลช้างไทยก็เริ่มดังขึ้น
เป็นกิจกรรมวันเดียวที่บรรลุผลการตอบโจทย์ถามหาจิตสำนึก ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสวนสัตว์น่าจะเรียนรู้ไว้
เพิ่งเห็นว่าองค์การสวนสัตว์กำลังปรับตัวสู้กระแสความเอียนผสมความหมั่นไส้ ด้วยการเสนอโครงการแพนด้าน้อยช่วยช้างไทย กำหนดไว้ที่ 200 เชือกก็น่าสนใจดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เกี่ยวข้องจะอาศัยกระแสแพนด้าทำโครงการเกี่ยวข้องกับสัตว์พื้นเมืองใกล้สูญพันธุ์ทั้งหลายให้เป็นเรื่องเป็นราวเพิ่มขึ้นมาด้วยจักเป็นการดี
ยังมีความหวังว่าจะได้เห็นข่าวแพนด้ารายวันเปลี่ยนจากแถลงว่าวันนี้ลืมตาข้างขวาแล้ว มาเป็นแพนด้าช่วยช้างไทย หรือมาเป็นการให้ความรู้เรื่องการจัดการสัตว์ และมาเป็นกระแสการอนุรักษ์และดูแลที่เข้มข้นขึ้น
ในเมื่อสังคมมนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจับสัตว์มาจากธรรมชาติ ในนามของการอนุรักษ์ สันทนาการและการเรียนรู้ จึงเป็นหน้าที่ขององค์การสวนสัตว์ต้องตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวให้ได้
การแถลงเพื่อตอบสนองความตื่นเต้นรายวันโดยไม่ต้องสนใจความรู้และจิตสำนึกง่ายครับ โจทย์ที่ยากที่สุดขององค์การสวนสัตว์คือทำให้เรื่องราวที่ตนดูแลแปรมาเป็นความรู้และจิตสำนึก
เอาใจช่วยให้ลองทำโจทย์ที่ยากกว่าเพราะมันจะเป็นประโยชน์กว่าอย่างแน่นอน !
กรณีแพนด้าทำให้นึกถึงไนท์ซาฟารี
เพราะแท้จริงแล้วมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ ๆ อีกมากมายที่สังคมไทยควรรู้
ยกตัวอย่างของตัวเอง - เนื่องจากมีข่าวสัตว์ตาย 200 กว่าตัวผมจึงไปยื่นหนังสือขอข้อมูลข่าวสารจากไนท์ซาฟารีเมื่อเดือนธันวาคมที่แล้วผ่านไป 4 เดือนไม่มีคำตอบก็เลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร เพิ่งจะได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูลที่ขอเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการทยอยจัดให้
คณะผู้บริหารชุดใหม่ที่เพิ่งมารับตำแหน่งเขาก็ดีนะครับแต่ทว่ายังไม่สามารถนำเอกสารมาให้ดูได้ครบที่ขอ ก็เลยยังไม่มีคำตอบให้กับสังคมได้ว่ากรณีสัตว์ตายมากมายจนกลายเป็นสุสานสัตว์ป่านั้นมาจากเหตุใด จัดการอะไรไปบ้างแล้ว และไนท์ซาฟารีจะรับผิดชอบกับสังคมแบบไหนบ้าง เฉพาะหน้าเรื่องสัตว์ตายมหาศาลยังดำมืดอยู่
ล่าสุดกรณีแรดขาวก็ตายเมื่อเดือนก่อน ไนท์ซาฟารีบอกเป็นแรดอายุ 28 ปีถ้าเป็นคนก็ปลดเกษียณแล้ว
อายุเฉลี่ยของแรดเขาว่าอยู่ที่ 30-40 ปี
ถ้าใช้เงินหลวงซื้อก็ต้องถามแรง ๆ ว่าไปซื้อของแบบนี้มาได้ยังไง ราคาเท่าไหร่ ใครซื้อครับคุณปลอดประสพ !!?
ผมยังอดทนรอเอกสารจากไนท์ซาฟารีที่เขารับปากไว้ เพราะอยู่ในเงื่อนไขการขอเปิดดูตามกฎหมาย
หากได้ผลอย่างไรจะมารายงาน เรื่องนี้น่าสนใจกว่าแพนด้าลืมตาข้างขวาแล้วอย่างแน่นอน !!!
อยากใช้สถานะเจ้าของภาษีส่งเสียงบอกต่อองค์การสวนสัตว์ขอให้เพลา ๆ ลงหน่อยเหอะอย่าได้เรียกนักข่าวมาแถลงรายวันแบบที่ทำมาอีกเลย เพราะยิ่งทำเนื้อหาของข่าวสารที่แพร่ออกมาจะยิ่งประจานตัวองค์การสวนสัตว์เองว่าวนเวียนอยู่กับประเด็นส่งเสริมการขาย
แพนด้า 3 ตัวที่สวนสัตว์เชียงใหม่มีต้นทุนแพงมาก และเป็นเงินของประชาชน
คนไทยควรจะรู้ว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายกรณีแพนด้านั้นมองในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วไม่คุ้มอย่างสิ้นเชิง ที่ได้ประโยชน์จริงคือความคุ้มในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-จีน ส่งผลถึงสถานะของไทยในวงการเมืองโลกอีกนัยหนึ่ง
ตลอด 10 ปีของสัญญายืมตัวแพนด้าประเทศไทยต้องบริจาคเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าจีนปีละ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ 10 ปีก็ตก 100 ล้านบาท บางท่านบอกด้วยความภูมิใจว่าถูกกว่าสัญญาประเทศอื่นก็ขึ้นกับมุมมองท่านแล้วกัน
ต้องสมทบเงินเดือนให้เจ้าหน้าที่จีนจำนวน 2 คน ๆ ละ 1,000 ดอลลาร์ ตกปีละ 8 แสนกว่าบาท
ส่วนเจ้าตัวเล็กนักการเมืองไทยอย่าบ้าจี้ไปขอยืดเวลาอยู่ยาวเลยเพราะหากพ้น 2 ปี แพนด้าน้อยจะกลายเป็นแพนด้าที่ไม่มีเพื่อน เข้าสังคมแพนด้าไม่ได้ ระยะ 2 ปีตามกำหนดเดิมน่ะเหมาะสมแล้ว เอาเป็นว่า 2 ปีนี้ต้องจ่ายให้เขาอีก 150,000 ดอลลาร์ ตก 5 ล้านบาทไทย
6 ปีมานี้ ต้องจ่ายไปเกือบ 70 ล้านบาทแล้วครับ
นี่ยังไม่รวมงบลงทุนสร้างอาคารรอบแรก 40 กว่าล้าน ไหนจะโดมหิมะเทียมที่สร้างใหม่อีก 60 ล้านและค่าใช้จ่ายในการดูแลของฝ่ายไทยที่เพิ่มขึ้นมา เป็นพิเศษ
ลำพังเงินรายได้ค่าตั๋วดูแพนด้าไม่คุ้มหรอก เพราะค่าลงทุนสถานที่ก็ตก 100 ล้านเข้าไปแล้ว
แต่ที่ยอมรับกันได้คือเงินจำนวนนี้หากเทียบกับการใช้เพื่อส่งทูตไปสร้างสถานะไทยในเวทีโลกก็ดูคุ้มค่าขึ้นมาหน่อย
อย่างไรก็ตามองค์การสวนสัตว์เองก็ไม่ใช่ว่าจะอาศัยสถานะพิเศษของแพนด้าทำมาหากินส่งเสริมยอดจำนวนผู้ชมในทางบัญชีเพียงอย่างเดียว อย่าลืมว่าหน้าที่ของสวนสัตว์นั้นต้องส่งเสริมให้เด็กเยาวชนและประชาชนใน 3 ระดับ
ระดับแรก ความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ซึ่งหมายถึงได้มาเห็นสัตว์น้อยใหญ่ รวมถึงแพนด้าตัวเป็น ๆ
ระดับสอง ความรู้ โดยเฉพาะความรู้เรื่องชีววิทยา เรื่องสัตว์ป่า ที่จะสอดแทรกไปในความบันเทิง
ระดับสาม จิตสำนึก หมายถึงสำนึกที่มีต่อธรรมชาติ นิเวศน์วิทยา และการอนุรักษ์ป่าและสัตว์
เนื้อหาการแถลงข่าวแพนด้ารายวันที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตอบสนองหน้าที่แค่ระดับแรกเป็นหลักคือระดับการตอบสนองความบันเทิง ความอยากรู้อยากเห็น มีบ้างที่เลื่อนขึ้นมาในระดับสองแต่ก็เป็นความรู้ทั่วไปเรื่องแพนด้าเท่านั้น
กระแสแพนด้าตลอด 1 เดือนจึงวนเวียนอยู่กับความเห่อ ลืมตาก็เป็นข่าว ขนงอกก็เป็นข่าว อารมณ์แบบนี้แหละที่ทำให้เกิดความหมั่นไส้ขึ้นมา
จนกระทั่งมีสองหนุ่มน้อยลุกขึ้นมาทำกิจกรรมทาสีช้างประชด ขอปรบมือให้สองหนุ่มอย่างจริงใจเพราะเป็นกิจกรรมที่กระชากอารมณ์ของคนในสังคมอย่างได้ผล คำถามเรื่องการอนุรักษ์สัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ของไทยก็ตามขึ้นมา เช่นเดียวกับคำถามเรื่องการเอาจริงเอาจังในการดูแลช้างไทยก็เริ่มดังขึ้น
เป็นกิจกรรมวันเดียวที่บรรลุผลการตอบโจทย์ถามหาจิตสำนึก ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสวนสัตว์น่าจะเรียนรู้ไว้
เพิ่งเห็นว่าองค์การสวนสัตว์กำลังปรับตัวสู้กระแสความเอียนผสมความหมั่นไส้ ด้วยการเสนอโครงการแพนด้าน้อยช่วยช้างไทย กำหนดไว้ที่ 200 เชือกก็น่าสนใจดีและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้เกี่ยวข้องจะอาศัยกระแสแพนด้าทำโครงการเกี่ยวข้องกับสัตว์พื้นเมืองใกล้สูญพันธุ์ทั้งหลายให้เป็นเรื่องเป็นราวเพิ่มขึ้นมาด้วยจักเป็นการดี
ยังมีความหวังว่าจะได้เห็นข่าวแพนด้ารายวันเปลี่ยนจากแถลงว่าวันนี้ลืมตาข้างขวาแล้ว มาเป็นแพนด้าช่วยช้างไทย หรือมาเป็นการให้ความรู้เรื่องการจัดการสัตว์ และมาเป็นกระแสการอนุรักษ์และดูแลที่เข้มข้นขึ้น
ในเมื่อสังคมมนุษย์หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจับสัตว์มาจากธรรมชาติ ในนามของการอนุรักษ์ สันทนาการและการเรียนรู้ จึงเป็นหน้าที่ขององค์การสวนสัตว์ต้องตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวให้ได้
การแถลงเพื่อตอบสนองความตื่นเต้นรายวันโดยไม่ต้องสนใจความรู้และจิตสำนึกง่ายครับ โจทย์ที่ยากที่สุดขององค์การสวนสัตว์คือทำให้เรื่องราวที่ตนดูแลแปรมาเป็นความรู้และจิตสำนึก
เอาใจช่วยให้ลองทำโจทย์ที่ยากกว่าเพราะมันจะเป็นประโยชน์กว่าอย่างแน่นอน !
กรณีแพนด้าทำให้นึกถึงไนท์ซาฟารี
เพราะแท้จริงแล้วมีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องสัตว์ ๆ อีกมากมายที่สังคมไทยควรรู้
ยกตัวอย่างของตัวเอง - เนื่องจากมีข่าวสัตว์ตาย 200 กว่าตัวผมจึงไปยื่นหนังสือขอข้อมูลข่าวสารจากไนท์ซาฟารีเมื่อเดือนธันวาคมที่แล้วผ่านไป 4 เดือนไม่มีคำตอบก็เลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร เพิ่งจะได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูลที่ขอเมื่อเดือนที่แล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการทยอยจัดให้
คณะผู้บริหารชุดใหม่ที่เพิ่งมารับตำแหน่งเขาก็ดีนะครับแต่ทว่ายังไม่สามารถนำเอกสารมาให้ดูได้ครบที่ขอ ก็เลยยังไม่มีคำตอบให้กับสังคมได้ว่ากรณีสัตว์ตายมากมายจนกลายเป็นสุสานสัตว์ป่านั้นมาจากเหตุใด จัดการอะไรไปบ้างแล้ว และไนท์ซาฟารีจะรับผิดชอบกับสังคมแบบไหนบ้าง เฉพาะหน้าเรื่องสัตว์ตายมหาศาลยังดำมืดอยู่
ล่าสุดกรณีแรดขาวก็ตายเมื่อเดือนก่อน ไนท์ซาฟารีบอกเป็นแรดอายุ 28 ปีถ้าเป็นคนก็ปลดเกษียณแล้ว
อายุเฉลี่ยของแรดเขาว่าอยู่ที่ 30-40 ปี
ถ้าใช้เงินหลวงซื้อก็ต้องถามแรง ๆ ว่าไปซื้อของแบบนี้มาได้ยังไง ราคาเท่าไหร่ ใครซื้อครับคุณปลอดประสพ !!?
ผมยังอดทนรอเอกสารจากไนท์ซาฟารีที่เขารับปากไว้ เพราะอยู่ในเงื่อนไขการขอเปิดดูตามกฎหมาย
หากได้ผลอย่างไรจะมารายงาน เรื่องนี้น่าสนใจกว่าแพนด้าลืมตาข้างขวาแล้วอย่างแน่นอน !!!