ปัญหาเรื่องโทรทัศน์ช่อง 11 ดูจะเรื้อรังโดยที่ทีวีที่ว่านี้มักจะนิยมที่จะมีปัญหากับฝ่ายค้านหรือฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลมาโดยตลอด กระทั่งครั้งหนึ่งทางเจ้าหน้าที่ของสถานีเองก็เคยก่อตัวเรียกร้องที่ต้องการเปลี่ยนให้สถานีทีวีของตนเองกลับมาเป็นช่อง 11 ที่เคยเป็นมาแต่เดิม
ปัญหาก็เพราะเวลาไปทำข่าวทีไร ก็มีปัญหาเข้าหน้ากับคนหลายๆ กลุ่มที่เขาไม่เอาด้วยกับรัฐบาลไม่ติด
แม้แต่พรรคการเมืองฝ่ายค้านในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทีวีช่องเจ้าปัญหานี้ก็ดูจะไม่ยี่หระ คอยเป็นปฏิปักษ์
แต่ผู้บริหารมัวเอาใจพวก 3 เกลอหัวขวดให้ออกมาพล่ามในรายการ “ความจริงวันนี้” ทั้งๆ ที่พล่ามแต่ความเท็จให้ร้ายป้ายสีและแสดงโวหารเลียแต่พรรคพวกของฝ่ายตนอยู่เป็นนิจสิน
พวกเสื้อแดงดูจะพอใจกับพฤติกรรมของทีวีที่มันชื่นชอบเป็นพิเศษ
นี่เป็นการบ้านที่ควรใส่ใจในรัฐบาลชุดใหม่
คนที่จะมาดูก็คือสาทิตย์ วงศ์หนองเตย จาก ปชป. ซึ่งไม่ค่อยพอใจกับผลงานที่ฝ่ายบริหารมักเชลียร์รัฐบาลเก่าจนแทบจะไม่สนใจสาระอื่นเลย
ดังนั้นโทรทัศน์เอ็นบีทีขวัญใจเสื้อแดงก็เห็นทีว่าอาจต้องเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง 11 ไม่ได้พะยี่ห้อเดิมอีกแล้ว
แม้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
แต่มันก็ส่อเค้าถึงการเปลี่ยนแปลง
และรัฐบาลก็ต้องใช้ทีวีให้เกิดประโยชน์ เช่น รายการที่นายกฯ จะต้องพูดจากับประชาชนบ้าง ซึ่งก็มีผู้เสนอว่า ควรชื่อ “อภิสิทธิ์พบประชาชน”
รัฐบาลนี้ก็ใจกว้างที่จะให้เวลากับฝ่ายค้านเช่นกัน
และ ร.ต.อ.เฉลิม จอมโวหาร มีดีแต่น้ำ เนื้อก็โกหาพกลมไปวันๆ นึงนั้น ถ้าได้ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้านก็ใช้เครดิตนี้ออกทีวีในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้านก็ดูจะได้ประโยชน์
เรียกว่า “เสมอกัน” ในภาครัฐบาลและฝ่ายค้าน
ควรให้เวลาเท่ากัน
ยิ่งมา “ปะทะคารม” หรือที่เรียกว่า “ดีเบต” กันแบบสดๆ ผ่านจอทีวีก็จะเป็นมหาคุณประโยชน์
เพราะนี่เป็นขั้นตอนแรกที่จะมีการตรวจสอบเชิงนโยบายคนได้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่ใครอื่น คือประชาชนคนดู ซึ่งเวลานี้เขาไม่ได้ฟังการ “ด่าทอ” กันเหมือนที่แล้วมา แต่ก็อยากจะรู้ว่าฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ใครจะมีน้ำหนักในการโต้แย้งดีกว่ากัน
ซึ่งเมื่อเขายุบสภากัน
ข้อมูลเหล่านี้ก็อาจจะถูกนำไปใช้ในการเลือกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเคยเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลกลับเข้ามาใหม่
ทีวียังมีประโยชน์ต่อรัฐบาลตรงที่สามารถถ่ายทอดผลงานที่ทำไปได้รวดเร็ว
และความจริงนั้น ทีวีไม่จำเป็นต้องคล้อยตามรัฐบาลหรือเอารัฐบาลเป็นตัวตั้ง
การทำทีวีก็ต้องดูผู้ชมเป็นอันดับแรกและต้องตั้งอยู่ในความเป็นกลางครับ
นอกเหนือจากช่อง 11 แล้ว อสมท.ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องไปดูแล และก็น่าจะจัดการปรับปรุงและถึงคราวให้บอร์ดใหม่เข้ามาทำงานได้แล้ว
เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะบอร์ดเก่านั้นทำงานมานานพอสมควรแล้ว วิสัยทัศน์ก็น่าจะถูกใช้ไปหมดแล้ว
การตั้งบอร์ดไม่ใช่เป็นการแทรกแซงทางการเมือง
แต่เป็นมารยาทด้วยซ้ำไปที่คณะกรรมการทุกท่านสมควรแสดงสปิริตลาออกไป ถือว่ารับใช้มานานแล้ว
แต่คนไทยมักมีมารยาทในเรื่องอื่นๆ แต่เรื่องลาออกนั้นไม่เคยถือเป็นมารยาทที่นิยมมีกัน
ขอให้พิจารณาดูแล้วกัน
แม้ว่าทั้ง 2 เรื่อง ไม่เร่งด่วน แต่อย่าช้าเกินไปมันอาจก่อปัญหา ซึ่งถ้ามีปัญหาแล้ว จะทำอะไรก็จะยากครับ
ปัญหาก็เพราะเวลาไปทำข่าวทีไร ก็มีปัญหาเข้าหน้ากับคนหลายๆ กลุ่มที่เขาไม่เอาด้วยกับรัฐบาลไม่ติด
แม้แต่พรรคการเมืองฝ่ายค้านในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทีวีช่องเจ้าปัญหานี้ก็ดูจะไม่ยี่หระ คอยเป็นปฏิปักษ์
แต่ผู้บริหารมัวเอาใจพวก 3 เกลอหัวขวดให้ออกมาพล่ามในรายการ “ความจริงวันนี้” ทั้งๆ ที่พล่ามแต่ความเท็จให้ร้ายป้ายสีและแสดงโวหารเลียแต่พรรคพวกของฝ่ายตนอยู่เป็นนิจสิน
พวกเสื้อแดงดูจะพอใจกับพฤติกรรมของทีวีที่มันชื่นชอบเป็นพิเศษ
นี่เป็นการบ้านที่ควรใส่ใจในรัฐบาลชุดใหม่
คนที่จะมาดูก็คือสาทิตย์ วงศ์หนองเตย จาก ปชป. ซึ่งไม่ค่อยพอใจกับผลงานที่ฝ่ายบริหารมักเชลียร์รัฐบาลเก่าจนแทบจะไม่สนใจสาระอื่นเลย
ดังนั้นโทรทัศน์เอ็นบีทีขวัญใจเสื้อแดงก็เห็นทีว่าอาจต้องเปลี่ยนชื่อไปเป็นช่อง 11 ไม่ได้พะยี่ห้อเดิมอีกแล้ว
แม้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน
แต่มันก็ส่อเค้าถึงการเปลี่ยนแปลง
และรัฐบาลก็ต้องใช้ทีวีให้เกิดประโยชน์ เช่น รายการที่นายกฯ จะต้องพูดจากับประชาชนบ้าง ซึ่งก็มีผู้เสนอว่า ควรชื่อ “อภิสิทธิ์พบประชาชน”
รัฐบาลนี้ก็ใจกว้างที่จะให้เวลากับฝ่ายค้านเช่นกัน
และ ร.ต.อ.เฉลิม จอมโวหาร มีดีแต่น้ำ เนื้อก็โกหาพกลมไปวันๆ นึงนั้น ถ้าได้ว่าที่ผู้นำฝ่ายค้านก็ใช้เครดิตนี้ออกทีวีในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้านก็ดูจะได้ประโยชน์
เรียกว่า “เสมอกัน” ในภาครัฐบาลและฝ่ายค้าน
ควรให้เวลาเท่ากัน
ยิ่งมา “ปะทะคารม” หรือที่เรียกว่า “ดีเบต” กันแบบสดๆ ผ่านจอทีวีก็จะเป็นมหาคุณประโยชน์
เพราะนี่เป็นขั้นตอนแรกที่จะมีการตรวจสอบเชิงนโยบายคนได้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่ใครอื่น คือประชาชนคนดู ซึ่งเวลานี้เขาไม่ได้ฟังการ “ด่าทอ” กันเหมือนที่แล้วมา แต่ก็อยากจะรู้ว่าฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ใครจะมีน้ำหนักในการโต้แย้งดีกว่ากัน
ซึ่งเมื่อเขายุบสภากัน
ข้อมูลเหล่านี้ก็อาจจะถูกนำไปใช้ในการเลือกพรรคการเมืองไม่ว่าจะเคยเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลกลับเข้ามาใหม่
ทีวียังมีประโยชน์ต่อรัฐบาลตรงที่สามารถถ่ายทอดผลงานที่ทำไปได้รวดเร็ว
และความจริงนั้น ทีวีไม่จำเป็นต้องคล้อยตามรัฐบาลหรือเอารัฐบาลเป็นตัวตั้ง
การทำทีวีก็ต้องดูผู้ชมเป็นอันดับแรกและต้องตั้งอยู่ในความเป็นกลางครับ
นอกเหนือจากช่อง 11 แล้ว อสมท.ก็เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องไปดูแล และก็น่าจะจัดการปรับปรุงและถึงคราวให้บอร์ดใหม่เข้ามาทำงานได้แล้ว
เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะบอร์ดเก่านั้นทำงานมานานพอสมควรแล้ว วิสัยทัศน์ก็น่าจะถูกใช้ไปหมดแล้ว
การตั้งบอร์ดไม่ใช่เป็นการแทรกแซงทางการเมือง
แต่เป็นมารยาทด้วยซ้ำไปที่คณะกรรมการทุกท่านสมควรแสดงสปิริตลาออกไป ถือว่ารับใช้มานานแล้ว
แต่คนไทยมักมีมารยาทในเรื่องอื่นๆ แต่เรื่องลาออกนั้นไม่เคยถือเป็นมารยาทที่นิยมมีกัน
ขอให้พิจารณาดูแล้วกัน
แม้ว่าทั้ง 2 เรื่อง ไม่เร่งด่วน แต่อย่าช้าเกินไปมันอาจก่อปัญหา ซึ่งถ้ามีปัญหาแล้ว จะทำอะไรก็จะยากครับ