CGTN: สหรัฐฯ มักอวดอ้างเรื่อง “เสรีภาพ” “เสมอภาค” “ความเท่าเทียม” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่านิยมสากลเหล่านี้กลับถูกบิดพลิ้วโดยชนชั้นนำชาวอเมริกัน เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง
ในทางสากล “ประชาธิปไตย” ของสหรัฐฯ ได้กลายเป็นเครื่องมือในการข่มเหงประเทศต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นคู่แข่ง หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ใช้ยุทธศาสตร์ปิดล้อม โดยรวมกลุ่มพันธมิตรและกีดกันคนอื่น พร้อมเพิ่มความพยายามในการกีดกันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีน ทั้งด้วยมาตรการควบคุมการส่งออกและข้อจำกัดการลงทุน สหรัฐฯ ได้ตั้งกำแพงเพื่อขัดขวางการแลกเปลี่ยนระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในเทคโนโลยีชั้นสูง
ยุทธศาสตร์ “รวมกลุ่ม-กีดกัน” ของสหรัฐฯ กำลังย้อนมาทำร้ายตัวเอง และส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อบริษัทอเมริกัน ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ในตลาดจีนลดลงอย่างมาก บริษัทที่ปรึกษา Boston Consulting Group ประมาณการว่า บริษัทอเมริกันจะสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดโลกราว 18% และเสียรายได้ 37% ถ้าหากรัฐบาลสหรัฐฯ ยังใช้นโยบายแยกตัว และห้ามบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ของตนขายสินค้าให้บริษัทจีน แต่ดูเหมือนว่า รัฐบาลจะสหรัฐฯ จะไม่สนใจ ตราบเท่าที่สามารถทำลายประเทศคู่แข่งได้
ภายในประเทศสหรัฐฯ รัฐบาลก็ไม่ได้แสดงว่าเคารพคุณค่าทางมนุษยธรรม เช่น เรื่องของการควบคุมคนเข้าเมือง ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ เป็นประเทศแห่งผู้อพยพ แต่ว่ามาตรการควบคุมคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ กลับไร้มนุษยธรรมอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าในศตวรรษที่ 21 สิทธิมนุษยชนของบรรดาผู้อพยพก็ยังไม่มีการปรับปรุงแต่อย่างใด
บรรดาผู้อพยพเข้าสหรัฐฯ ที่คาดหวังจะพบกับ “ฝันแบบอเมริกัน” แต่กลับพบกับ “ฝันร้าย” ครอบครัวที่ถูกจับกุมพร้อมกัน ต้องถูกพรากลูกพรากแม่ แม้แต่เด็กทารกที่อายุแค่ 4 เดือนก็ต้องถูกคุมขังแยกจากพ่อแม่อย่างไร้ความปรานี
เด็กๆ ถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานที่ของหน่วยพิทักษ์พรมแดนภายใต้การดูแลของผู้รับเหมางานจากภาครัฐ หลายคนถูกจับไว้ในกรงเหล็ก นอนบนพื้นเปลือยเปล่าโดยไม่มีผ้าห่ม เสียงร้องไห้หาพ่อแม่ดังระดมไปทั่ว แต่ว่าสิทธิมนุษยชนพื้นฐานก็ไม่ได้รับการตอบสนอง
สถาบันกุมารแพทย์อเมริกัน เคยระบุว่า มาตรการของรัฐบาลเป็นการทรมานเด็ก แต่ก็ไม่มีการเยียวยาใดๆ ให้กับครอบครัว ส่วนองค์กรให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่าง Texas Civil Rights Project ก็ระบุว่า “รัฐบาลไม่เคยคิดว่าจะทำให้ครอบครัวของผู้อพยพกลับมาอยู่ด้วยกัน และไม่เคยสนใจเลย”
ที่เลวร้ายยิ่งกว่าคือ บรรดานักการเมืองสหรัฐฯ ได้ใช้ประเด็นนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ผู้ว่าการรัฐที่เป็นพรรครีพับลิกันหลายคนได้เคลื่อนย้ายผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย ไปยังรัฐที่เป็นฐานเสียงของพรรคเดโมแครต เพื่อทำให้รัฐบาลเสียหน้า
ในขณะที่อวดอ้าง “ประชาธิปไตย” แต่นักการเมืองสหรัฐฯ กลับสนใจเฉพาะผลประโยชน์ของตัวเอง และใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อที่จะโจมตีคู่แข่ง การต่อสู้ทางการเมืองกลายเป็นชีวิตประจำวันในสหรัฐฯ อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เผชิญกับข้อกล่าวหาทุจริตต่างๆ ส่วนประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็กำลังถูกสอบสวนเพื่อถอดถอนจากตำแหน่ง ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับสภาวะงบประมาณไม่ผ่านจนไม่สามารถทำงานได้เป็นประจำ
หลายสิบปีที่ผ่านมา สองพรรคการเมืองหลักของสหรัฐฯ ได้ประนีประนอมกัน โดยมีนักการเมืองที่ทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของกลุ่มต่างๆ แต่ทุกวันนี้ การเมืองสหรัฐฯ แบ่งขั้วแยกข้างอย่างชัดเขน เพราะกลุ่มประโยชน์ต่างๆ ไม่ยอมประนีประนอมกันอีก ความร่วมมือข้ามพรรคการเมืองและฉันทมติร่วมแทบจะเป็นไปไม่ได้
การห้ำหั่นทางการเมืองได้ขยายเข้าสู่สังคมสหรัฐฯ จนเกิดความรุนขึ้น เช่น เหตุจลาจลบุกรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 และสหรัฐฯ ยังเกิดเหตุความรุนแรงทางการเมืองอีกหลายครั้ง ทั้งการโจมตีแบบคนเดียว และการปะทะกันในระหว่างการชุมนุมต่างๆ จนมีคำเตือนผ่านนักวิเคราะห์ของหหนังสือพิมพ์ The Guardian ว่า สหรัฐฯ อาจจะเผชิญความรุนแรงทางการเมืองเป็นวงกว้าง
สหรัฐฯ ภาคภูมิใจที่เป็น “ผู้สอนสั่งเรื่องสิทธิมนุษยชน” โดยใช้สิทธิมนุษยชนมาเป็นเงื่อนไขในการกีดกันการเจริญเติบโตของประเทศอื่น แต่กลับละเมิดสิทธิมนุษยชนของบรรดาผู้อพยพหลายหมื่นคน ด้วย “คบเพลิงแห่งประชาธิปไตย” ที่ใช้โจมตีคู่แข่งทางการเมืองอย่างไร้ปรานี จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของรัฐบาล
นี่ก็คือ “ประชาธิปไตย” แบบสหรัฐฯ ที่แสดงให้โลกได้เห็นว่า ไม่แยแสสิทธิมนุษยชนเลยแม้แต่น้อย