xs
xsm
sm
md
lg

ปฏิบัติตามความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก และสร้างบ้านเมืองที่สันติและมีการพัฒนาในเอเชียตะวันออกร่วมกัน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: หาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ***



โดย นายหาน จื้อเฉียง
เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย


เมื่อวันที่ 21 เมษายน ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดการประชุมฟอรัมเอเชียโป๋อ๋าว ประจำปี 2022 ได้นำเสนอความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลกเป็นครั้งแรก

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เน้นย้ำว่ามนุษยชาติเป็นประชาคมแห่งความมั่นคงที่แยกส่วนไม่ได้ เราต้องยึดมั่นในแนวคิดความมั่นคงที่ร่วมกัน ครอบคลุม ร่วมมือและยั่งยืน ยึดมั่นในอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุกประเทศ ยึดมั่นในวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ ยึดมั่นในประเด็นด้านความมั่นคงที่ชอบธรรมของทุกประเทศ ยึดมั่นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทด้วยการสนทนาและสันติวิธี ยึดมั่นที่จะรักษาความมั่นคงอย่างบูรณาการทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ ความริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลกได้ตอบสนองต่อความต้องการอย่างเร่งด่วนของประชาคมระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพของโลกและป้องกันความขัดแย้งและสงคราม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สาธารณะที่สำคัญระดับโลกเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงระหว่างประเทศที่จีนเป็นผู้นำเสนอ

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้รักษาเสถียรภาพโดยรวม เศรษฐกิจมีการพัฒนาที่รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อโอเอซิสแห่งสันติภาพและการพัฒนาของโลก ทั้งนี้ เนื่องมาจากการที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยึดมั่นในภูมิปัญญาของเอเชีย เคารพซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง แสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง และจัดการกับความเห็นที่แตกต่างอย่างเหมาะสมและได้เป็นผู้นำในการปฏิบัติตามแนวคิดพื้นฐานของความคิดริเริ่มด้านความปลอดภัยระดับโลก ในโลกที่ไม่สงบสุขมากนักของเรา "โอเอซิสแห่งเอเชียตะวันออก" ควรค่าแก่การทะนุถนอมอย่างยิ่ง และภูมิปัญญาและความพยายามของประเทศในเอเชียตะวันออกเพื่อการพัฒนาอย่างสันติควรค่าแก่การหวงแหนเป็นทวีคูณ

เมื่อประวัติศาสตร์ของมนุษย์เข้าสู่ทศวรรษที่สองของศตวรรษที่ 21 โลกกำลังเผชิญกับทั้งโอกาสในการพัฒนาอย่างสันติ และความเสี่ยงและความท้าทายด้านความปลอดภัยที่รุนแรง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งใหญ่ได้ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และชีวิตทางสังคมของมนุษย์ หลายประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน อิรัก และซีเรีย ยังคงทุกข์ทรมานกับความบอบช้ำจากสงคราม ช่วงนี้ในทวีปยุโรปเกิดไฟสงคราม สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษคืออำนาจชั่วร้ายที่สร้างความวุ่นวายและความขัดแย้งทั่วโลกกำลังเข้ามาสู่เอเชียตะวันออก โดยหวังที่จะใช้มาตรการสกัดกั้นและสร้างการเผชิญหน้ากันในภูมิภาค วิกฤตยูเครนเตือนเราอีกครั้งว่าเราจะต้องระมัดระวังและป้องกันแนวโน้มที่เป็นอันตรายนี้อย่างใกล้ชิด และเราต้องไม่อนุญาตให้ความเจริญรุ่งเรืองและเสถียรภาพของเอเชียตะวันออกที่ได้มาอย่างยากลำบากถูกบ่อนทำลาย และเราต้องไม่อนุญาตให้ "โอเอซิสแห่งเอเชียตะวันออก" ต้องกลายเป็นแหล่งใหม่ของความวุ่นวายระดับโลก

เมื่อเผชิญกับสถานการณ์และความท้าทายใหม่ ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคควรร่วมมือกันเพื่อดำเนินการตามความคิดริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลกและปกป้องบ้านเมืองที่สันติและมีการพัฒนาของเอเชียตะวันออก

เราต้องต่อต้าน "เกมผลรวมศูนย์" (Zero-sum Game) และ "ความคิดสงครามเย็น" อย่างเด็ดขาด มีจุดยืนที่ชัดเจนในการต่อต้านการเมืองของกลุ่มอำนาจและการเผชิญหน้าในค่าย กุมชะตาของตนเองอย่างแน่นหนาในกำมือเราเอง และไม่อนุญาตให้อิทธิพลต่างชาติใดๆ สร้างความแตกแยกและความตึงเครียดในภูมิภาค

เราต้องส่งเสริมภูมิปัญญาเอเชียอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงความหลากหลายของระบบสังคมระดับการพัฒนา และประเพณีวัฒนธรรมของประเทศในเอเชีย ส่งเสริมความเข้าใจและยอมเสียสละ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและการยอมรับความแตกต่างและไม่เปิดโอกาสให้อิทธิพลนอกภูมิภาคยั่วยุสร้างความขัดแย้ง แทรกแซงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค ตลอดจนทำให้ประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางต้องตกเป็นเหยื่อ

เราจะต้องปฏิบัติตามหลัก 5 ประการแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและ "จิตวิญญาณแห่งบันดุง" และดำเนินตามนโยบายว่าด้วยการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและมิตรภาพ ยึดมั่นในบทบาทสำคัญของอาเซียนในกรอบระดับภูมิภาค กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค และร่วมกันสร้างตัวแบบความมั่นคงของเอเชียตะวันออกในการเคารพซึ่งกันและกัน การเปิดกว้าง และอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง

เราต้องคำนึงถึงทั้งการพัฒนาและความมั่นคง ยึดมั่นในการมุ่งเน้นความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในระดับภูมิภาค ยึดมั่นในการสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้าง รักษาเสถียรภาพและความราบรื่นของห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานในเอเชียและทั่วโลก ร่วมกันส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เร่งดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2030 และส่งเสริมความมั่นคงที่ยั่งยืนผ่านการพัฒนาที่ยั่งยืน

จีนและไทยมีประวัติศาสตร์การไปมาหาสู่กันฉันมิตรมาเป็นเวลากว่าพันปี เป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เป็นพี่น้องที่สนิทชิดเชื้อและเป็นหุ้นส่วนที่มีความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือกัน 47 ปีนับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมา ภายใต้การเอาใจใส่และการชี้นำของผู้นำทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์จีน-ไทยได้ผ่านการพิสูจน์ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นานาทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค ยังคงรักษาการพัฒนาที่มั่นคงแข็งแรง และกลายเป็นต้นแบบของความร่วมมือที่เป็นมิตรระหว่างประเทศที่มีระบบสังคมที่แตกต่าง และระหว่างประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดประเทศแตกต่างกัน ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าที่สั่งสมมาในการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทย ไม่เพียงแต่จะวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในอนาคตเท่านั้น แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์สำหรับประเทศต่างๆ ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก

ปีนี้ครบรอบปีที่ 10 ของการสร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างจีนกับไทย โดยยืนอยู่บนจุดเริ่มต้นใหม่ทางประวัติศาสตร์ จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเชิงยุทธศาสตร์ กระชับความร่วมมือแบบเอื้อประโยชน์ร่วมกัน เพิ่มพูนการสื่อสารและการประสานงาน และร่วมกันสร้างคุณูปการมากขึ้นต่อการร่วมกันสร้างบ้านเมืองที่สันติและมีการพัฒนาในเอเชียตะวันออก


กำลังโหลดความคิดเห็น