xs
xsm
sm
md
lg

เปิดโผ Top 5 บริษัทไฮเทคจีนที่มาร์เกตแคปฯ รวมกันทะลุ 1 ล้านล้านดอลล์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



จากกรณีเมื่อวันจันทร์ที่ (20 ก.ค.) แอนท์ กรุ๊ป (Ant Group) เจ้าของอาลีเพย์ (Alipay) บริษัท ในเครืออาลีบาบาประกาศว่าบริษัทกำลังวางแผนที่จะ “เสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปพร้อมกัน” (Dual listing) ในตลาดหลักทรัพย์ของฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ โดยแอนท์ กรุ๊ป แถลงว่า บริษัทได้เริ่มกระบวนการนำหุ้นออกเสนอขายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ และตลาดหุ้นฮ่องกง ซึ่งโดยการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในกระดานหุ้นวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเทคโนโลยีของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ (SSE STAR) และตลาดหุ้นฮ่องกง (SEHK) ของแอนท์ กรุ๊ป จะสามารถส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบริการในประเทศจีน เข้าสู่ยุคดิจิทัลได้รวดเร็ว อีกทั้งผลักดันอุปสงค์ภายในประเทศให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ด้านนักวิเคราะห์คาดว่า มูลค่าตลาดของแอนท์ กรุ๊ป เมื่อนำหุ้นไอพีโอเสนอขายในตลาดหุ้นฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ อาจมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ โดยแอนท์กรุ๊ป เป็นบริษัทในเครืออาลีบาบา (BABA) อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของจีนซึ่งได้ทำสถิติเมื่อเปิดตัวในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท สูงถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2557 และยังคงเป็นไอพีโอที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกจนถึงปัจจุบัน

วันนี้มุมจีนจึงขอนำข้อมูล 5 ยอดบริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) รวมกันเกิน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 31.5 ล้านล้านบาท) มาเผยโฉมให้ดูกัน โดยจากการเติบโตที่รวดเร็วของ บ.เทคโนโลยีจีน และปริมาณนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เข้าสู่ตลาดมากถึงปีละ 1 แสนคน ในระยะเวลาอันใกล้นี้จากการคาดการณ์ของเว็บไซต์บิสิเนสไทม์ บ.ซอฟต์แวร์จีนน่าจะแซงเยอรมนี ญี่ปุ่น รวมถึงสหรัฐอเมริกา ภายในระยะเวลาไม่นานนัก

สอง เทนเซ็นต์ (Tencent หรือ 腾讯)

Tencent Holdings Ltd. เป็นบริษัทโฮลดิงส์ข้ามชาติที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2541 โดยบริษัทในเครือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการมากมายบนอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นข่าวสารข้อมูล บันเทิง เกม เทคโนโลยี รวมไปถึงแอปพลิเคชันสำหรับสนทนาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในจีน และได้รับความนิยมมากอันดับ 3 ของโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้มากกว่า 1 พันล้านคนทุกเดือน

ในประเทศไทยเป็นเจ้าของบริการดังๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ sanook, แพลตฟอร์มบริการฟังเพลง JOOX Music, แอปพลิเคชันดูวิดีโอสตรีมมิง WeTV, เกม PubG Mobile ฯลฯ โดยจากการประเมิน มูลค่าของเทนเซ็นต์เมื่อต้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ราว 534,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16.82 ล้านล้านบาท)

สาม อาลีบาบา (Alibaba หรือ 阿里巴巴)


Alibaba Group Holding Ltd. เป็นบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติที่ทำธุรกิจหลักด้านอีคอมเมิร์ซ เชี่ยวชาญด้านการค้าปลีกออนไลน์ และเทคโนโลยีต่างๆ ปัจจุบันอาลีบาบาถือเป็นบริษัทค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่โตที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการซื้อขายสินค้าบนอาลีบาบานั้นมากกว่าอีเบย์ และแอมะซอนรวมกันเสียอีก ทำให้ปัจจุบันอาลีบาบาถือเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในประเทศจีน

กลุ่มอาลีบาบาสยายปีกเข้าไปในธุรกิจการชำระเงิน และการธนาคาร โดยหัวใจหลักอยู่ที่ แอนท์ กรุ๊ป (蚂蚁金服) ที่กำลังจะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ทั้งยังเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพชื่อดังของสหรัฐฯ อีกหลายแห่ง เช่น สแนปแชต (Snapchat) แอปพลิเคชันสนทนาชื่อดัง, ลิฟท์ (Lyft) แอปพลิเคชันด้านการขนส่ง คู่แข่งสำคัญของอูเบอร์ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้ปัจจุบันอาลีบาบาได้รับการประเมิน มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ราว 481,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 15.15 ล้านล้านบาท)

สี่ ไป่ตู้ (Baidu หรือ 百度)

Baidu Inc. เป็นบริษัทเทคโนโลยีจีนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการออนไลน์ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เขตไห่เตี้ยน กรุงปักกิ่ง ทั้งยังถือเป็นหนึ่งในบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย

ไป่ตู้ก่อตั้งโดยนายโรบิน หลี่ หรือหลี่ เยี่ยนหง (李彦宏) ในปี 2543 โดยถือเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านโปรแกรมค้นหา (Search Engine) เบอร์หนึ่งของจีนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยมีการขยายบริการไปยังธุรกิจการให้บริการซอฟต์แวร์ฟรีอีกด้วย ล่าสุด มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดของไป่ตู้อยู่ที่ราว 59,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1.88 ล้านล้านบาท)


ห้า เสี่ยวหมี่ (Xiaomi หรือ 小米)

เสี่ยวหมี่ เป็นกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อตั้งในเดือนเมษายน 2553 ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง และได้รับฉายาว่าเป็น “แอปเปิลของจีน” สินค้าที่ได้รับความนิยมที่สุดของเสี่ยวหมี่คือสมาร์ทโฟน ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 มีส่วนแบ่งการตลาดในโลกเป็นอันดับที่ 4 (9.3%) โดยมียอดขาย 27,817,000 เครื่อง เพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2562 รองจาก ซัมซุง หัวเว่ย และแอปเปิล (จากรายงานของการ์ทเนอร์) และเป็นสมาร์ทโฟนเจ้าเดียวที่ยอดขายเติบโตแม้จะประสบกับวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

ในประเทศไทย สมาร์ทโฟนของเสี่ยวหมี่ ก้าวขึ้นมาครองส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนมากที่สุด 16.2% ในไตรมาสแรกปี 2563 จากการสำรวจของการ์ทเนอร์เมื่อเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ปัจจุบัน มาร์เกตแคปของเสี่ยวหมี่อยู่ที่ 56,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.77 ล้านล้านบาท)


กำลังโหลดความคิดเห็น