นิวเดลี (8 ก.ค.) - ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงเผยให้เห็นความคืบหน้าการถอนตัวสองกิโลเมตรของทหารจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลดความขัดแย้งในลาดักห์ ที่ เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control--LAC) ซึ่งเป็นพรมแดนความยาว 4,057 กิโลเมตรและตัดผ่านแคว้นสามแคว้นในรัฐอินเดียตอนเหนือ: ทางตะวันตก (ลาดัคห์ กัศมีร์) ตอนกลาง (รัฐอุตตราขัณฑ์ รัฐหิมาจัลประเทศ) และทางตะวันออก (รัฐสิกขิม รัฐอรุณาจัลประเทศ)
ภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงล่าสุดนี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า "ขณะนี้จีนได้ถอนการควบคุมตามแนวชายแดนซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างอินเดียกับจีนอย่างแท้จริง"
ภาพหลายภาพของหุบเขากัลวาน ที่ NDTV สื่ออินเดียได้รับจาก MAXAR - เผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งของกองทัพจีนที่ชัดเจน
ภาพถ่ายก่อนหน้านี้ได้รับเมื่อวันที่ 28 มิถุนายนแสดงให้เห็นโครงสร้างของจีนตามแนวของเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control--LAC) ตำแหน่งของกองทหารจีนที่เป็นไปได้ในการป้องกันพื้นที่ และโครงสร้างหลายอย่างที่สามารถเป็นที่พักพิงสำหรับทหารที่สร้างขึ้นตามแนวหินของเส้นควบคุมฯ
หลังจากการเจรจาในวันอาทิตย์ (5 ก.ค.) นิวเดลีกล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะ "รับแนวทางจากฉันทามติของผู้นำ" และ "ไม่อนุญาตให้มีความแตกต่างในการโต้แย้ง" ยังเห็นพ้องกันด้วยว่า "ทั้งสองฝ่ายควรถอนจากพื้นที่ตามเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริงอย่างรวดเร็ว" คำแถลงกล่าวเสริม
ทั้งนี้ เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control--LAC) เป็นชื่อที่ นายกรัฐมนตรีจีน โจว เอินไหล ได้ใช้เป็นครั้งแรกในจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีอินเดีย ชวาหระลาล เนห์รู ลงวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1959
ในจดหมายลงวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 โจวเอินไหล กล่าวแก่เนห์รูว่า "เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง" ดังกล่าวประกอบด้วย "เขตแนวที่เรียกว่าแมกมาฮอนทางตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างทิเบตและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย เสนอโดย เซอร์เฮนรี่ แมคมาฮอน ผู้บริหารอาณานิคมอังกฤษ ที่ได้ขีดแบ่งในการประชุม ที่เมืองศิมลา ปี 1914 ระหว่างอังกฤษและผู้แทนของทิเบต โดยที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากจีน ทั้งที่เป็นการประชุมอนุสัญญาระหว่างสหราชอาณาจักร กับจีนและทิเบต จึงทำให้ อนุสัญญาศิมลาเป็นสนธิสัญญาที่ไม่ชัดเจน ในสถานะของทิเบตจะไปเจรจารับรองเส้นแนว อันจะผูกพันอาณาเขตสาธารณรัฐจีน ทิเบตและสหราชอาณาจักร เพราะเส้นดังกล่าวได้โยงมายังพื้นที่ซึ่งแต่ละฝ่ายปกครองอยู่"
ทั้งสองชาติ จีน อินเดีย ภายหลังประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร จึงมีความขัดแย้งกันมาตลอด เมื่อขัดแย้งกันยังดำเนินมาจนที่สุดสองชาติ ได้ลงนามในข้อตกลงจีน-อินเดีย ใน ค.ศ. 1993 และ ค.ศ. 1996 ข้อตกลงในปี ค.ศ. 1996 ระบุว่า "จะไม่มีกิจกรรมใด ๆ จากทั้งสองฝ่ายจะสามารถรุกล้ำเส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (Line of Actual Control--LAC)"