xs
xsm
sm
md
lg

“โรคปอดอักเสบอู่ฮั่น” ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร?

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ตัวการก่อเหตุ “ปอดอักเสบอู่ฮั่น” เป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ชนิดหนึ่ง เมื่อวันที่ 12 ม.ค.2020 องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อว่า coronavirus 2019 ชื่อย่อคือ 2019-nCoV

*โรคปอดบวมจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถติดต่อระหว่างคนกับคน ยังไม่มีวัคซีนหรือยาเฉพาะสำหรับรักษา ดังนั้น การป้องกันจึงเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดในขณะนี้


(01)

อาการของ “ปอดอักเสบอู่ฮั่น”

กรณีผู้ติดเชื้อฯส่วนใหญ่ มีอาการเบากว่ามาก
“เป็นไข้ อ่อนเพลีย ไอ ค่อยๆมีอาการหายใจลำบาก (ผู้ป่วยบางคน มีอาการเริ่มแรกเบามาก ไม่มีไข้)

“อาการโรคระบบหายใจฉับพลัน พิษติดเชื้อ (septic shock) ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic Acidosis) การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (coagulation disorders)...

สถานการณ์ของหลายกรณี ผู้ป่วยมีอาการไม่หนัก และจะค่อยๆฟื้นตัว มีเพียงผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่อาการทรุดลงถึงขีดอันตรายและเสียชีวิต


(02)

มีวิธีการป้องกันอย่างไร?

การระบาดของไวรัสโคโรนามาสู่คน เป็นไปได้สองวิธี
แพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดใหญ่ แพร่กระจายโดยการสัมผัส
ดังนั้น หลักสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ

- หลีกเลี่ยงย่านที่มีผู้คนแออัด สวมหน้ากากอนามัย เมื่อออกนอกบ้าน สวมหน้ากากอนามัย
เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปกับฝอยละอองขนาดใหญ่ หน้ากากที่ใช้ต้องเป็นแบบที่เจ้าหน้าที่ใช้ในโรงพยาบาลหรือN95 ส่วนหน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าหรือหน้ากากกระดาษทั่วไปไม่ได้ผล

-  หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือโดนตัวผู้ที่จามไอ และมีไข้
หลีกเลี่ยงจับพวกสัตว์ปีก ล้างมือบ่อยๆ

- พยามยามเปิดน้ำไหลล้างมือ ใช้สบู่หรือน้ำยาล้างมือ

- อย่าไปตลาดอาหารทะเลสด ตลาดขายสัตว์ปีกตัวเป็นๆ และตลาดสินค้าเกษตร
อย่าโดนตัวสัตว์ป่า สัตว์ปีก

- ไม่กินผลิตภัณฑ์อาหารสดหรือดิบ ได้แก่ อาหารประเภทนม ไข่ และเนื้อ ควรปรุงสุกๆ ไม่กินแบบดิบๆ


คำเตือนอย่างยิ่ง: ระหว่างเดินทางท่องเที่ยว หากมีไข้หรือไอ หรือรู้สึกร่างกายไม่สบาย ควรสวมหน้ากากอนามัยแบบที่โรงพยาบาลใช้ รีบแจ้งไกด์นำเที่ยวหรือเจ้าหน้าที่โรงแรมทันที ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ที่สำคัญแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลว่าได้ไปที่อู่ฮั่นหรือไม่


(03)

กลุ่มคนไหนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ?

ผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
1. ผู้ที่อยู่กับผู้ป่วย เรียน ทำงาน หรือติดต่อกับผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
2. ผู้ที่รักษา ดูแล ไปเยี่ยมผู้ป่วย โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่ดีพอ
3. เมื่อต้องเดินทางหรือโดยสารพาหนะ/ช่องทางคมนาคมร่วมกับผู้ป่วย รักษาระยะห่าง

หากคุณได้รับแจ้งจากหน่วยควบคุมโรคว่า เป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้กัก/แยกตัว 14 วัน และให้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินอาการ


กำลังโหลดความคิดเห็น