xs
xsm
sm
md
lg

อังกฤษยกนักวิทย์ฯ จีน ถอดรหัสตัดต่อยีนสู้เอชไอวี หนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลวิทยาศาสตร์ 2019

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ศาสตราจารย์เติ้ง หงขุย (邓宏魁)  แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นหนึ่งใน 10 ผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดทางวิทยาศาสตร์ในปี 2019 เนื่องจากเขามีส่วนร่วมในระบบการตัดต่อยีนเพื่อต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี (ภาพไชน่าเดลี)
ไชน่าเดลี (19 ธ.ค.) วารสารวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ Nature ได้เลือก ศาสตราจารย์เติ้ง หงขุย (邓宏魁) แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นหนึ่งใน 10 ผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดทางวิทยาศาสตร์ในปี 2019 เนื่องจากเขามีส่วนร่วมในการถอดรหัสตัดต่อยีนเพื่อต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี

Nature กล่าวถึงเติ้งในฐานะนักถอดรหัสยีน CRISPR - "นักวิทยาศาสตร์จีนแสดงให้เห็นว่า การแก้ไขยีน CRISPR สามารถทำได้อย่างปลอดภัยในผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวี" บทความฯ ยังบรรยายการทดลองทางคลินิกของเติ้งและทีมของเขา รวมทั้งผลการวิจัยฯ

เพื่อสรุปความสำเร็จของผู้ป่วยชาวเบอร์ลินรายหนึ่งประสบความสำเร็จในการกำจัดไวรัสเอชไอวี หลังจากการปลูกถ่ายไขกระดูกในปี 2551 ทีมของเติ้งจึงใช้วิธีการแก้ไขยีนเพื่อสร้าง CCR5 ซึ่งเป็นโปรตีนที่เอชไอวีใช้ในกระบวนการแพร่กระจายติดเชื้อ ทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกัน

“เขาจับเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดที่สร้างภูมิคุ้มกันจากไขกระดูกของผู้บริจาค แก้ไขด้วย CRISPR-Cas9 แล้วปลูกถ่ายให้คนที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและติดเชื้อเอชไอวี” บทความกล่าว

ทั้งนี้เพื่อคำนึงถึงความปลอดภัยและความยากในการแก้ไขเซลล์ ขั้นตอนแรกจึงจำกัดใช้เซลล์ที่ถูกดัดแปลงแล้วประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ในการปลูกถ่ายฯ ซึ่งประมาณสองปีต่อมา การติดเชื้อเอชไอวี ของผู้ป่วยยังคงอยู่และเซลล์ที่ถูกแก้ไขบางส่วนยังคงอยู่ในเลือดของผู้ป่วยในปัจจุบัน

กระทั่งล่าสุด เมื่อวันที่ 12 กันยายน วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์รายสัปดาห์ ได้รับรายงานผลความสำเร็จของเติ้งและทีมของเขาว่าการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดยีนที่แก้ไขแล้วนั้น เป็นผลดีกับคนที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและเอชไอวี

เติ้งกล่าวในเดือนกันยายนว่า ขั้นตอนแรกของการทดลองแสดงให้เห็นว่าเซลล์ที่ถูกแก้ไขสามารถคงอยู่และปลอดภัยในเลือดของผู้คน “คณะแพทย์ผู้วิจัยฯ จะปรับปรุงประสิทธิภาพของการแก้ไขยีนและปรับแผนการรักษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการรักษา” เขากล่าว

สำหรับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ที่วารสาร Nature ยกให้เป็นผู้ทรงอิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ในปีนี้ ได้แก่

ริคาร์โด กัลเฟา (RICARDO GALVÃO): นักฟิสิกส์กลายเป็นวีรบุรุษของชาติ ผู้เผชิญวิกฤติในอเมซอน โดยการท้าทายรัฐบาลของบราซิล

วิคตอเรีย แคสพี (VICTORIA KASPI): นักสืบท้องฟ้า นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ ผู้ไล่ล่าคลื่นวิทยุที่ลึกลับเหมือนคลื่นแรงระเบิดด้วยกล้องวิทยุโทรทรรศน์

เนแนด เซสแทน (NENAD SESTAN): นักประสาทวิทยาฟื้นฟูสมอง ที่ท้าทายคำจำกัดความของชีวิตและความตาย

ซานดร้า ดีแอซ (SANDRA DÍAZ): ผู้พิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ นักนิเวศวิทยาและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งประเมินระบบนิเวศของโลกและเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างจริงจัง

ฌอง-ฌาร์คส มูเยมเบ (JEAN-JACQUES MUYEMBE TAMFUM): นักสู้กับโรคอีโบล่า Ebola ผู้ร่วมค้นพบของเชื้ออีโบลา กับการต่อสู้ครั้งยากที่สุดกับไวรัสในประเทศคองโก

โยฮานเนสส เฮล-เซลาสซี่ (YOHANNES HAILE-SELASSIE): นักบรรพชีวินวิทยา ผู้ค้นหาแหล่งกำเนิดตระกูลมนุษย์ด้วยการค้นพบกะโหลกศีรษะอายุ 3.8 ล้านปีที่เก็บรักษาไว้อย่างน่าทึ่ง

โรเจอร์ส เวนดี้ (WENDY ROGERS) : นักจริยธรรมปลูกถ่าย นักวิชาการเปิดเผยความล้มเหลวทางจริยธรรมในการศึกษาของจีนเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะ

จอห์น มาร์ตินิส (JOHN MARTINIS): ผู้สร้างควอนตัม นักฟิสิกส์ผู้นำการสาธิตครั้งแรกของคอมพิวเตอร์ควอนตัม Google ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป

เกรต้า ธุนเบิร์ก (GRETA THUNBERG): วัยรุ่นชาวสวีเดน ผู้เร่งปฏิกิริยาปกป้องสภาพภูมิอากาศ

.....
หมายเหตุ - CRISPR (clustered regularly interspaced short palindromic repeats) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยี genome editing สำหรับการศึกษาหน้าที่ของยีน (gene function) โปรตีน CRISPR-associated (Cas) พบในแบคทีเรียหลายชนิดโดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม archaea bacteria ตัว CRISPR-Cas จะเป็นการทำงานร่วมกันของ ลำดับเบสที่ออกแบบไว้อย่างจำเพาะ (RNA guided sequence)
กำลังโหลดความคิดเห็น