xs
xsm
sm
md
lg

ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน (วช.) แย้งซีซีทีวี หลังเสนอข้อมูลคลาดเคลื่อนโครงการขุดคอคอดกระ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

รายงานพิเศษของซีซีทีวี เรื่องเส้นทางสายไหมสู่อนาคต ตอนที่ 2 (Silk Road to the Future)
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตรวจสอบกับผู้ผลิตรายการให้ซีซีทีวี ระบุพบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการเผยแพร่รายงานพิเศษเรื่องเส้นทางสายไหมสู่อนาคต ตอนที่ 2 (Silk Road to the Future) ของซีซีทีวี โดยตอนนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการขุดคลองกระ ยืนยันรัฐบาลจีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับโครงการขุดคอคอดกระ ตามที่เป็นข่าวฯ

หลังจากที่สื่อทั้งของจีนและของไทย รายงานข่าวเรื่องรัฐบาลจีน มีโครงการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการขุดคอคอดกระของไทย เพื่อเปิดเส้นทางการเดินเรือใหม่ ที่จะช่วยย่นระยะทางการคมนาคมขนส่ง จากมหาสมุทรอินเดีย ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก โดยตัดผ่านคอคอดกระไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์ไทย-จีน หลายท่านเห็นความคลาดเคลื่อนของการนำเสนอรายการดังกล่าวของสื่อจีนจึงได้ตรวจสอบกับผู้ผลิตรายการให้ซีซีทีวี ซึ่งพบว่ามีข้อมูลคลาดเคลื่อนในหลายประเด็น

รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ยืนยันจากการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 ต.ค.ว่า หลังจากที่มีข่าวนี้แพร่ออกไป ได้ตรวจสอบกับผู้ผลิตรายการให้ CCTV ทันที ซึ่งก็พบว่ามีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนหลายประเด็น โดยเฉพาะในเรื่องที่กล่าวอ้างว่า รัฐบาลจีน กำลังเป็นผู้มีบทบาทนำในการศึกษาข้อเสนอต่างๆ เพื่อให้เงินสนับสนุนและก่อสร้างโครงการขุดคอคอดกระ รวมทั้งจุดที่ระบุในเนื้อข่าวว่า จีนจะดำเนินโครงการขุดคอคอดกระในเร็วๆ นี้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ One Belt One Road โครงการเชื่อมต่อจีน และภูมิภาคเอเชีย กับภูมิภาคส่วนอื่นๆ ของโลก

"ทางผู้ผลิตรายการให้ CCTV ปักกิ่งได้แจ้งข้อความผิดพลาดในรายงานข่าวนี้ คือ ตรงประโยคที่ว่า 1.China has taken the lead in studying proposals to fund and construct the canal. นี้ผิดแน่นอนค่ะ และ 2. Soon to be built as part of the belt and road initiative ก็ผิดด้วยค่ะ" รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวฯ

รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น ยังยืนยันจากข่าวเดิมที่สำนักข่าวซินหัวของจีน ได้เคยรายงานคำเปิดเผยของ นายหง เหลย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า รัฐบาลจีนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับโครงการขุดคอคอดกระ ตามที่เป็นข่าวฯ

ซีอาร์ไอ สำนักข่าวของทางการจีน เคยรายงานเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าหลังจากสื่อมวลชนสำคัญหลายแห่งของจีนต่างรายงานข่าวเกี่ยวกับ "จีนและไทยลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความร่วมมือโครงการคลองกระ" นายหง เหล่ยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนได้กล่าวว่า รัฐบาลจีนไม่มีแผนที่จะร่วมโครงการนี้ ขณะเดียวกัน ฝ่ายสารนิเทศสถานทูตไทยประจำจีนก็กล่าวว่า ได้ติดต่อกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องของไทยแล้วยืนยันว่า สองฝ่ายที่ลงนามข้อตกลงดังกล่าวเป็นหน่วยงานภาคเอกชน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐในปัจจุบัน เพียงแต่หารือความเป็นไปได้ของโครงการความร่วมมือนี้เท่านั้น

เมื่อเดือนสิงหาคมปี 2551 หน่วยงานสำรวจประชามติแห่งหนึ่งของไทยเคยจัดสำรวจประชามติพบว่า คนไทยประมาณ 28% สนับสนุนการขุดคลองกระ 33% เห็นว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขุดหรือไม่ขุดก็ได้ทั้งนั้น ผู้ที่สนับสนุนเห็นว่าการขุดคลองกระมีผลประโยชน์หลายด้านต่อไทยคือ หนึ่ง สร้างโอกาสการมีงานทำให้แก่ประชาชน เพราะผลการวิจัยแสดงว่าจะสร้างตำแหน่งงานแก่ไทย 30,000 ตำแหน่ง สอง สร้างผลกำไรให้กับประเทศ โดยคาดว่าแต่ละวันจะมีเรือลำใหญ่ 290 - 320 ลำผ่านคลองกระ สามารถเก็บค่าผ่านด่านจำนวนมาก สาม ประเทศไทยจะกลายเป็นชุมทางทางทะเล ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น จึงส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของทั่วประเทศด้วย แต่ผู้คัดค้านเห็นว่า การขุดคลองจะทำลายภาวะนิเวศอย่างร้ายแรง ที่สำคัญคือต้องลงทุนมหาศาล ซึ่งรัฐบาลยากที่จะรับไหว

ประเทศสมาชิกอาเซียนก็คัดค้านการขุดคลองกระอย่างหนัก โดยมีสิงคโปร์เป็นแกนนำ หลายร้อยปีที่ผ่านมา สิงคโปร์มีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ โดยอาศัยช่องแคบมะละกา พัฒนาเศรษฐกิจและขยับขึ้นที่เป็นศูนย์การค้าปิโตรเลียมที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากกรุงลอนดอนและนครนิวยอร์ก

Silk Road to the Future – Episode 2

Meanwhile, Thailand’s Kra Canal, soon to be built as part of the Belt and Road initiative, would cut twelve hundred kilometres off the existing sea route from one side of the country to the other. China has taken the lead in studying proposals to fund and construct the canal. Charan Lamduan, Chief Executive of Mamu District said that the canal could generate plenty of income for Thailand. Watch the video below to learn how the canal can be a major economic benefit.

Posted by CCTVNews on Sunday, October 4, 2015



กำลังโหลดความคิดเห็น