xs
xsm
sm
md
lg

“เห็นจะๆ”...มะกันเผยภาพดาวเทียมชี้ จีนสร้างรันเวย์แห่งที่สามในแดนพิพาททะเลจีนใต้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ภาพถ่ายดาวเทียมแสดง แนวปะการังมิสชีฟ (Mischief Reef) เมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2558 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงแนวปะการังมิสชีฟ (Mischief Reef) เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2555 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)

รอยเตอร์ส/เอเจนซี--ดูเหมือนจีนกำลังก่อสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน (airstrip) แห่งที่สามในดินแดนพิพาททะเลจีนใต้ ทั้งนี้จากการกล่าวอ้างของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯเมื่อวานนี้(14 ก.ย.) โดยอ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียมชุดล่าสุด

รายงานข่าวระบุว่าภาพถ่ายดาวเทียมชุดนี้จัดทำเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา สำหรับสำนักคลังสมองคือศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน

ภาพถ่ายดาวเทียมชุดล่าสุด แสดงการก่อสร้างบนเกาะเทียมของแนวปะการังมิสชีฟ (Mischief Reef) ประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาว 3,000 เมตร นาย เกรจ โพลิ่ง (Greg Poling) ผู้อำนวยการองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของ CSIS กล่าว

ทั้งนี้จีนสร้างเกาะเทียมหลายๆแห่งบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ ทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นดินแดนพิพาทเรื่องการอ้างกรรมสิทธิระหว่างเพื่อนบ้านเอเชีย ได้แก่ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไต้หวัน บรูไน มาเลเซีย

“เห็นได้ชัดว่าการก่อสร้างนี้จะต้องเป็นทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน 3,000 เมตร และเรายังเห็นงานก่อสร้างต่างๆที่จะเป็นท่าเรือ”

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงกล่าวว่าความยาวของทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินนี้ สามารถรองรับการบินขึ้นลงของเครื่องบินกองทัพจีนเกือบทุกรุ่นได้ ซึ่งจะช่วยให้จีนเข้าถึงทะลุทะลวงน่านน้ำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ซึ่งเป็นดินแดนพิพาทกรรมสิทธิ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านแถบนี้

รายงานข่าวจีนดำเนินการก่อสร้างบนดินแดนพิพาทนี้ เผยแพร่ออกมาก่อนที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เดินทางเยือนวอชิงตันในสัปดาห์หน้า และเป็นที่คาดเก็งกันว่าประเด็นจีนรุกการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้ จะเป็นวาระถกเถียงระหว่างการเยือนวอชิงตันของสี จิ้นผิง

การก่อสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินบนแนวปะการังมิสชีฟ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะที่จีนสร้างขึ้นนี้ จะยิ่งสร้างความวิตกโดยเฉพาะกับฟิลิปปินส์ คู่ปฏิปักษ์ในศึกชิงดินแดนทะเลจีนใต้

หากการก่อสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินทั้งสามแห่งแล้วเสร็จ จีนก็จะสามารถควบคุมการจราจรทางอากาศเหนือดินแดนพิพาททะเลจีนใต้ และยิ่งโหมกระแสวิตกว่าจีนอาจจะสร้างระบบป้องกันอากาศยานที่ทันสมัย

จากภาพถ่ายดาวเทียมก่อนหน้านี้ ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา แสดงว่าการก่อสร้างทางวิ่งเครื่องบินยาว 3,000 เมตร บนแนวปะการัง ไฟเออรี ครอสส์ รีฟ (Fiery Cross Reef) เกือบเสร็จเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายดาวเทียมในต้นปี แสดงการบุกเบิกพื้นที่สร้างเกาะเล็กเกาะน้อยบนแนวปะการัง ซูบี รีฟ (Subi Reef) นายโพลิ่งอ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียมชุดล่าสุดนี้ ยืนยันว่ามีการสร้างทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบินบน ซูบี รีฟ

ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้ว (2557) จีนเร่งขยายการสร้างเกาะเทียมในทะเลจีนใต้ เป็นเหตุให้ผู้นำในวอชิงตันออกมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างแรง

ในที่ประชุมข่าวเมื่อวานนี้ (14 ก.ย.) นาย หง เล่ย โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับแนวปะการังมิสชีฟ โดยยืนยันอีกครั้งถึงการอ้าง “อธิปไตยที่มิอาจโต้แย้ง” เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ของฝ่ายจีน รวมทั้งสิทธิในการจัดตั้งเครื่องเคราทางการทหารที่นั่นด้วย

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดง แนวปะการัง ไฟเออรี ครอสส์ รีฟ (Fiery Cross Reef) เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2558 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดง แนวปะการัง ไฟเออรี ครอสส์ รีฟ (Fiery Cross Reef) เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2549 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)

ภาพถ่ายดาวเทียม แนวปะการัง ซูบี รีฟ (Subi Reef) เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2558 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)

ภาพถ่ายดาวเทียม แนวปะการัง ซูบี รีฟ (Subi Reef) เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2555 จัดทำโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสเขตน่านน้ำทะเลเอเชีย (AMTI) ของศูนย์การศึกษายุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน (ภาพ รอยเตอร์ส)



กำลังโหลดความคิดเห็น