ไชน่า เดลี- จีนกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มูลค่าธุรกิจเกี่ยวกับคนแก่เติบโตถึง 4 ล้านล้านหยวน และคาดว่าในปี 2593 ตลาดธุรกิจนี้ของจีนจะใหญ่ที่สุดในโลก
จีนเผยรายงานการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เมื่อต้นสัปดาห์ (23 ก.ย.) ที่ผ่านมา ระบุ ตลาดภาคบริการและผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภคสำหรับผู้สูงอายุ ในปีนี้ (2557) มีมูลค่าสูงถึง 4 ล้านล้านหยวน หรือราวๆ 20 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2593 มูลค่าของธุรกิจประเภทนี้จะไต่ขึ้นแตะ 33 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ทำให้จีนกลายเป็นตลาดสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเม็ดเงินที่อาจสะพัดมากถึง 106 ล้านล้านหยวน (ราวๆ 530 ล้านล้านบาท)
ดังนั้น เมื่อตลาดผู้สูงอายุโตขึ้น ธุรกิจหลักๆ สี่ประเภทคือ การเงิน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ภาคการบริการ และ ที่อยู่อาศัย จึงหันมาเน้นตลาดผู้สูงอายุมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้เชี่ยวชาญอย่างนายอู่ ยู่เฉา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการแห่งชาติจีนด้านผู้สูงอายุ จึงออกมาแสดงความเห็นในเชิงวิตกกังวลว่า รัฐบาลควรมีมาตรการกระตุ้นประชาชนที่เข้าวัยเกษียณซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้เตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตในวัยชราไว้
“อุตสาหกรรมสำหรับผู้สูงอายุเริ่มโตขึ้นเร็วมาก ถือว่าเป็นธุรกิจที่ไปได้ไกลมากในจีน” นายอู่ กล่าว “เหตุผลหลักที่ตลาดส่วนนี้โตขึ้น ก็เพราะจำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มมากขึ้น”
โดยนายอู่กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “นอกจากนี้ การที่บริษัทต่างๆ เดินหน้าเข้าหาธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุกันอย่างคึกคักนั้น ยังเป็นผลมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมและนโยบายที่ให้สิทธิพิเศษ”
ปัจจุบัน (ตัวเลขปี 2556) จีนมีผู้สูงอายุ เกิน 60 ปี อยู่ที่ 202 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.9 เปอร์เซ็นต์จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 480 ล้านคน ในปี 2593 รายงานดังกล่าวระบุไว้
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า “ยังคงมีช่องว่างขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อเทียบระหว่างแผ่นดินใหญ่กับประเทศพัฒนาแล้ว” นายตั๋ง จุนอู่ รองหัวหน้าสำนักวิจัยจีนด้านผู้สูงอายุ ระบุ
ในอเมริกา มีคนทำงานด้านการเงินถึง 6.21 ล้านคน โดยคนกลุ่มนี้ 60 เปอร์เซ็นต์ทำงานดูแลลูกค้าวัยเกษียณอายุ ในขณะที่จีนเอง มีตัวเลขคนทำงานด้านการเงินต่ำกว่านั้นเล็กน้อย คือ 5.27 ล้านคน แต่บริษัทการเงินของจีนกลับมีแผนบริการทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นายตั๋ง จุนอู่กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคเรื่องงานภาคบริการที่มีไม่สมดุลกับจำนวนผู้สูงอายุ รวมทั้งภาคธุรกิจยังละเลยเรื่องผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งยังขาดแผนการพัฒนาธุรกิจโดยรวมอย่างเป็นระบบ
“เราจำเป็นต้องมีนโยบายกระตุ้นให้ผู้สูงอายุใช้จ่ายเงินและต้องประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่พวกเขา” นายอู่กล่าว “หลักพื้นฐานอยู่ที่การพัฒนาระบบสวัสดิการไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งเงินบำนาญ และเงินอุดหนุนที่จำเป็น”
นายอู่ยังเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีประกันประเภทพิเศษคอยดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้ด้วย
จีนเผยรายงานการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เมื่อต้นสัปดาห์ (23 ก.ย.) ที่ผ่านมา ระบุ ตลาดภาคบริการและผลิตภัณฑ์อุปโภค บริโภคสำหรับผู้สูงอายุ ในปีนี้ (2557) มีมูลค่าสูงถึง 4 ล้านล้านหยวน หรือราวๆ 20 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2593 มูลค่าของธุรกิจประเภทนี้จะไต่ขึ้นแตะ 33 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี ทำให้จีนกลายเป็นตลาดสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเม็ดเงินที่อาจสะพัดมากถึง 106 ล้านล้านหยวน (ราวๆ 530 ล้านล้านบาท)
ดังนั้น เมื่อตลาดผู้สูงอายุโตขึ้น ธุรกิจหลักๆ สี่ประเภทคือ การเงิน อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ภาคการบริการ และ ที่อยู่อาศัย จึงหันมาเน้นตลาดผู้สูงอายุมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้เชี่ยวชาญอย่างนายอู่ ยู่เฉา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการแห่งชาติจีนด้านผู้สูงอายุ จึงออกมาแสดงความเห็นในเชิงวิตกกังวลว่า รัฐบาลควรมีมาตรการกระตุ้นประชาชนที่เข้าวัยเกษียณซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ให้เตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตในวัยชราไว้
“อุตสาหกรรมสำหรับผู้สูงอายุเริ่มโตขึ้นเร็วมาก ถือว่าเป็นธุรกิจที่ไปได้ไกลมากในจีน” นายอู่ กล่าว “เหตุผลหลักที่ตลาดส่วนนี้โตขึ้น ก็เพราะจำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มมากขึ้น”
โดยนายอู่กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “นอกจากนี้ การที่บริษัทต่างๆ เดินหน้าเข้าหาธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุกันอย่างคึกคักนั้น ยังเป็นผลมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมและนโยบายที่ให้สิทธิพิเศษ”
ปัจจุบัน (ตัวเลขปี 2556) จีนมีผู้สูงอายุ เกิน 60 ปี อยู่ที่ 202 ล้านคน หรือคิดเป็น 14.9 เปอร์เซ็นต์จากประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 480 ล้านคน ในปี 2593 รายงานดังกล่าวระบุไว้
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า “ยังคงมีช่องว่างขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อเทียบระหว่างแผ่นดินใหญ่กับประเทศพัฒนาแล้ว” นายตั๋ง จุนอู่ รองหัวหน้าสำนักวิจัยจีนด้านผู้สูงอายุ ระบุ
ในอเมริกา มีคนทำงานด้านการเงินถึง 6.21 ล้านคน โดยคนกลุ่มนี้ 60 เปอร์เซ็นต์ทำงานดูแลลูกค้าวัยเกษียณอายุ ในขณะที่จีนเอง มีตัวเลขคนทำงานด้านการเงินต่ำกว่านั้นเล็กน้อย คือ 5.27 ล้านคน แต่บริษัทการเงินของจีนกลับมีแผนบริการทางการเงินสำหรับผู้สูงอายุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นายตั๋ง จุนอู่กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคเรื่องงานภาคบริการที่มีไม่สมดุลกับจำนวนผู้สูงอายุ รวมทั้งภาคธุรกิจยังละเลยเรื่องผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ รวมทั้งยังขาดแผนการพัฒนาธุรกิจโดยรวมอย่างเป็นระบบ
“เราจำเป็นต้องมีนโยบายกระตุ้นให้ผู้สูงอายุใช้จ่ายเงินและต้องประกันความมั่นคงในชีวิตให้แก่พวกเขา” นายอู่กล่าว “หลักพื้นฐานอยู่ที่การพัฒนาระบบสวัสดิการไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งเงินบำนาญ และเงินอุดหนุนที่จำเป็น”
นายอู่ยังเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีประกันประเภทพิเศษคอยดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้ด้วย