เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- เอกสารด้านการทหารจีนเผย กองทัพเดินหน้าเพิ่มจำนวนหัวรบนิวเคลียร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันขีปนาวุธของตนเอง สวนกระแสการปรับลดหัวรบนิวเคลียร์ของนานาชาติ
กองทัพปลดแอกประชาชน เดินหน้าเพิ่มจำนวนหัวรบทั้งหัวรบนิวเคลียร์ และพวกที่บรรจุสารเคมีให้แก่ศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันขีปนาวุธของตนเอง แหล่งข่าวทางการทหารระบุ อ้างเอกสารการทหารที่เผยแพร่ออกมาก
โดยศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์จะเพิ่มหัวรบตามแบบหรืออาวุธสามัญและพัฒนาหัวรบที่ไม่ใช่หัวรบนิวเคลียร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าขีปนาวุธพิสัยไกล (ICBM) จะเป็นแกนหลักของการป้องกันทางทหาร แต่นักยุทธศาสตร์ทางทหารก็ยังมองกันว่าว่าขีปนาวุธติดหัวรบที่ไม่ใช่นิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ “ใช้คล่องกว่า”
นอกจากนี้ กองทัพจีนยังจะเพิ่มศักยภาพในการจู่โจมระบบดาวเทียมและความสามารถในการทำลายล้างขีปนาวุธของศัตรูอีกด้วย โดยกองทัพฯ มีอิสระการสนับสนุนศูนย์บัญชาการขีปนาวุธฯ และย้ำว่าจีนไม่ได้แข่งขันกับนานาชาติในการสะสมอาวุธนิวเคลียร์
ทว่า จีนก่อตั้งศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ขึ้นมาในทศวรรษ 1960 เพื่อตอบโต้อำนาจของอเมริกาและบรรดาประเทศผู้นำทางด้านอาวุธนิวเคลียร์
กองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ หรือ กองบัญชาการทหารปืนใหญ่ที่ 2 โดยหลักแล้ว มีบทบาทหลักในการพัฒนาระบบป้องปรามด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์ของชาติและเป็นหน่วยงานที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของจีนในการเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอาวุธนิวเคลียร์ของโลก
ในขณะที่สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI) ระบุว่า จีนมีหัวรบนิวเคลียร์ในครอบครอง 250 หัวรบ ส่วนรัสเซียครอบครองอยู่ 4,500 หัวรบ และอเมริกามีอยู่ 2,100 หัวรบ
ทั้งนี้ แม้เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์จะได้รับการพัฒนาไปมาก แต่ก็มีการห้ามใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
ในด้านหนึ่ง การต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วยการทำลายหัวรบนิวเคลียร์ทิ้ง จึงทำให้ขีปนาวุธแบบอื่นมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมา
กองทัพปลดแอกประชาชน เดินหน้าเพิ่มจำนวนหัวรบทั้งหัวรบนิวเคลียร์ และพวกที่บรรจุสารเคมีให้แก่ศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบป้องกันขีปนาวุธของตนเอง แหล่งข่าวทางการทหารระบุ อ้างเอกสารการทหารที่เผยแพร่ออกมาก
โดยศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์จะเพิ่มหัวรบตามแบบหรืออาวุธสามัญและพัฒนาหัวรบที่ไม่ใช่หัวรบนิวเคลียร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าขีปนาวุธพิสัยไกล (ICBM) จะเป็นแกนหลักของการป้องกันทางทหาร แต่นักยุทธศาสตร์ทางทหารก็ยังมองกันว่าว่าขีปนาวุธติดหัวรบที่ไม่ใช่นิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ “ใช้คล่องกว่า”
นอกจากนี้ กองทัพจีนยังจะเพิ่มศักยภาพในการจู่โจมระบบดาวเทียมและความสามารถในการทำลายล้างขีปนาวุธของศัตรูอีกด้วย โดยกองทัพฯ มีอิสระการสนับสนุนศูนย์บัญชาการขีปนาวุธฯ และย้ำว่าจีนไม่ได้แข่งขันกับนานาชาติในการสะสมอาวุธนิวเคลียร์
ทว่า จีนก่อตั้งศูนย์บัญชาการขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ขึ้นมาในทศวรรษ 1960 เพื่อตอบโต้อำนาจของอเมริกาและบรรดาประเทศผู้นำทางด้านอาวุธนิวเคลียร์
กองกำลังขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ หรือ กองบัญชาการทหารปืนใหญ่ที่ 2 โดยหลักแล้ว มีบทบาทหลักในการพัฒนาระบบป้องปรามด้วยขีปนาวุธนิวเคลียร์ของชาติและเป็นหน่วยงานที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของจีนในการเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอาวุธนิวเคลียร์ของโลก
ในขณะที่สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์ม (SIPRI) ระบุว่า จีนมีหัวรบนิวเคลียร์ในครอบครอง 250 หัวรบ ส่วนรัสเซียครอบครองอยู่ 4,500 หัวรบ และอเมริกามีอยู่ 2,100 หัวรบ
ทั้งนี้ แม้เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์จะได้รับการพัฒนาไปมาก แต่ก็มีการห้ามใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง
ในด้านหนึ่ง การต่อต้านการใช้อาวุธนิวเคลียร์ด้วยการทำลายหัวรบนิวเคลียร์ทิ้ง จึงทำให้ขีปนาวุธแบบอื่นมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมา