เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- อัยการสั่งสอบผู้อำนวยการช่องข่าวการเงินและควบดูแลฝ่ายการตลาดของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีน (CCTV) ข้อหารับสินบน
ผู้บริหารอาวุโสของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีน ที่ดูแลค่าโฆษณา มูลค่าหลายพันล้านหยวน ถูกอัยการกักตัวเพื่อสอบสวนเหตุต้องสงสัยในการทุจริต
นายกัว เจิ้นสี วัย 49 ปี ผู้อำนวยการช่องข่าวการเงินของซีซีทีวี และนายเถียน ลี่อู่ โปรดิวเซอร์รายการฯ ต้องสงสัยว่ารับสินบน ทั้งสองจึงถูกควบคุมตัว “เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา” สำนักอัยการประชาชนสูงสุด แถลงเมื่อคืนวาน (1 มิ.ย.)
ก่อนหน้านี้ ไฉซิน สื่อผู้ทรงอิทธิพลของแผ่นดินใหญ่ อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผย ระบุว่า นายกัวถูกอัยการจากมณฑลจี้หลิน ควบคุมตัวไปแล้ว อย่างไรก็ตามทางซีซีทีวี ก็ไม่ออกมาแสดงความเห็นแต่อย่างใด
ไฉซิน ระบุว่า หลังจากที่ นายหลี่ ตงเซิง อดีตรองรัฐมนตรีกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ คนใกล้ชิดของอดีต “ซาร์” ความมั่นคงจีน นายโจว หย่งคัง ร่วงจากอำนาจเมื่อเดือนธ.ค. 2556 ก็มีข่าวว่า นายกัวผู้นี้เองที่คอยให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในการสอบสวนนายหลี่
นายกัว เริ่มเข้าวงการผู้ประกาศข่าวการเงินในปี 2535 และขึ้นเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดในปี 2541 ไฉซินรายงาน
ระหว่างปี 2548-2552 นายกัวควบสองตำแหน่งทั้งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของซีซีทีวี และ ผู้อำนวยการช่องข่าวการเงิน ซีซีทีวี2 ทว่า ในปี 2552 เขาก็ยุติบทบาทในฝ่ายการตลาด
ไชน่า เดลี รายงานว่า มูลค่าการประมูลการโฆษณาในซีซีทีวี เพิ่มขึ้นจาก 2,600 ล้านหยวน (ประมาณ 13,000 ล้านบาท) ในปี 2545 เป็น 15,900 ล้านหยวน หรือ ราวๆ 79,500 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา (2556)
ในฐานะผู้อำนวยการช่องข่าวการเงิน นายกัว รับดูแลรายการชื่อดังในแวดวงธุรกิจของแดนมังกร 2 รายการ คือ คนดังในแวดวงธุรกิจ และ รายการสิทธิผู้บริโภค
รายการบคนดังในแวดวงธุรกิจ ตีแผ่ชีวิตของผู้นำทางธุรกิจจำนวนมาก ส่วนรายการสิทธิผู้บริโภค หรือ 315 กาล่า ที่เริ่มออกอากาศตรงกับวันสิทธิผู้บริโภคโลก 15 มี.ค. ก็ส่งสายข่าวเข้าไปตรวจสอบการทำธุรกิจลับ
“จากตำแหน่งใหญ่โต ในองค์กรที่มีอำนาจมาก เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐที่มีอำนาจผูกขาด คุณจะเห็นเลยว่า คนจำนวนมากต่อคิวเข้าแถวให้สินบนเขา” นายเติ้ง อี้ว์เหวิน อดีตรองบรรณาธิการ สตัดดี้ ไทมส์ กล่าว
ในขณะที่ นายจัง จี้อัน อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัย ซุน ยัต เซน ให้ความเห็นว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่เลินเล่ออย่างมาก ที่ปล่อยให้หัวหน้าบรรณาธิการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขององค์ใหญ่ระดับซีซีทีวี เป็นคนๆ เดียวกัน
“ฝ่ายจัดทำเนื้อหาควรแยกขาดจากผู้ที่ดูแลผลประโยชน์ทางการค้า” นายจังกล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด ของนโยบายปราบปรามการทุจริตของจีน นับตั้งแต่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เข้าดำรงตำแหน่งในเดือน พ.ย. 2555 เป็นต้นมา
ผู้บริหารอาวุโสของสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีน ที่ดูแลค่าโฆษณา มูลค่าหลายพันล้านหยวน ถูกอัยการกักตัวเพื่อสอบสวนเหตุต้องสงสัยในการทุจริต
นายกัว เจิ้นสี วัย 49 ปี ผู้อำนวยการช่องข่าวการเงินของซีซีทีวี และนายเถียน ลี่อู่ โปรดิวเซอร์รายการฯ ต้องสงสัยว่ารับสินบน ทั้งสองจึงถูกควบคุมตัว “เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา” สำนักอัยการประชาชนสูงสุด แถลงเมื่อคืนวาน (1 มิ.ย.)
ก่อนหน้านี้ ไฉซิน สื่อผู้ทรงอิทธิพลของแผ่นดินใหญ่ อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผย ระบุว่า นายกัวถูกอัยการจากมณฑลจี้หลิน ควบคุมตัวไปแล้ว อย่างไรก็ตามทางซีซีทีวี ก็ไม่ออกมาแสดงความเห็นแต่อย่างใด
ไฉซิน ระบุว่า หลังจากที่ นายหลี่ ตงเซิง อดีตรองรัฐมนตรีกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ คนใกล้ชิดของอดีต “ซาร์” ความมั่นคงจีน นายโจว หย่งคัง ร่วงจากอำนาจเมื่อเดือนธ.ค. 2556 ก็มีข่าวว่า นายกัวผู้นี้เองที่คอยให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในการสอบสวนนายหลี่
นายกัว เริ่มเข้าวงการผู้ประกาศข่าวการเงินในปี 2535 และขึ้นเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดในปี 2541 ไฉซินรายงาน
ระหว่างปี 2548-2552 นายกัวควบสองตำแหน่งทั้งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของซีซีทีวี และ ผู้อำนวยการช่องข่าวการเงิน ซีซีทีวี2 ทว่า ในปี 2552 เขาก็ยุติบทบาทในฝ่ายการตลาด
ไชน่า เดลี รายงานว่า มูลค่าการประมูลการโฆษณาในซีซีทีวี เพิ่มขึ้นจาก 2,600 ล้านหยวน (ประมาณ 13,000 ล้านบาท) ในปี 2545 เป็น 15,900 ล้านหยวน หรือ ราวๆ 79,500 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา (2556)
ในฐานะผู้อำนวยการช่องข่าวการเงิน นายกัว รับดูแลรายการชื่อดังในแวดวงธุรกิจของแดนมังกร 2 รายการ คือ คนดังในแวดวงธุรกิจ และ รายการสิทธิผู้บริโภค
รายการบคนดังในแวดวงธุรกิจ ตีแผ่ชีวิตของผู้นำทางธุรกิจจำนวนมาก ส่วนรายการสิทธิผู้บริโภค หรือ 315 กาล่า ที่เริ่มออกอากาศตรงกับวันสิทธิผู้บริโภคโลก 15 มี.ค. ก็ส่งสายข่าวเข้าไปตรวจสอบการทำธุรกิจลับ
“จากตำแหน่งใหญ่โต ในองค์กรที่มีอำนาจมาก เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐที่มีอำนาจผูกขาด คุณจะเห็นเลยว่า คนจำนวนมากต่อคิวเข้าแถวให้สินบนเขา” นายเติ้ง อี้ว์เหวิน อดีตรองบรรณาธิการ สตัดดี้ ไทมส์ กล่าว
ในขณะที่ นายจัง จี้อัน อาจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัย ซุน ยัต เซน ให้ความเห็นว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่เลินเล่ออย่างมาก ที่ปล่อยให้หัวหน้าบรรณาธิการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดขององค์ใหญ่ระดับซีซีทีวี เป็นคนๆ เดียวกัน
“ฝ่ายจัดทำเนื้อหาควรแยกขาดจากผู้ที่ดูแลผลประโยชน์ทางการค้า” นายจังกล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุด ของนโยบายปราบปรามการทุจริตของจีน นับตั้งแต่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เข้าดำรงตำแหน่งในเดือน พ.ย. 2555 เป็นต้นมา