เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- รัฐบาลท้องถิ่นทิเบตกำลังเร่งผ่านกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมการอนุรักษ์และส่งเสริมภาษาทิเบตให้ได้ภายในปีนี้ ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่ามรดกวัฒนธรมดังกล่าวจะสูญสลาย
สำนักข่าวซินหวาอ้างคำกล่าวของนายโชดรัค ประธานคณะกรรมาธิการทำงานด้านภาษาทิเบตของเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต รายงานวานนี้(8 เม.ย.)ว่า คณะกรรมาธิการฯ และเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นได้ดำเนินการร่างนโยบายเพื่อผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ภายในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้
โดยซินหวาระบุว่านโยบายดังกล่าวจะ “ช่วยให้ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ทิเบตมีสิทธิและอิสระในการใช้และพัฒนาภาษาของตนเอง” และการเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็ “แสดงให้เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าว”
ในการร่างกฎหมายดังกล่าวมีการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมกฎหมายเดิม อาทิ บทบัญญัติปี 2530 ว่าด้วยเรื่องการเรียนรู้ การใช้ และการพัฒนาภาษาทิเบตที่แก้ไขใหม่ในปี 2545
ด้านรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นในธรรมศาลา ประเทศอินเดีย กล่าวในเว็บไซด์ของตนเองว่า รัฐบาลกลางกีดกันการใช้ภาษาทิเบต และบังคับใช้ภาษาจีนกลางทั้งที่ภาษาทิเบตซึ่งประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นและภาษาพูดที่หลากหลายนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่คนเอเชียกลางจำนวนหลายล้านคน
“รัฐบาลกำลังกีดกันวัฒนธรรมทิเบตโดยทำให้ภาษานี้เป็นส่วนเกินในทุกองค์กร” ฝ่ายสนับสนุนการปกครองตนเองของทิเบตกล่าว
“ระบบการศึกษาของทิเบตที่มีจีนและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ควบคุมอยู่ทั้งหมด ถูกปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานต่างถิ่นชาวจีน”
อย่างไรก็ตาม นายโชดรัค ปฏิเสธคำกล่าวหาเหล่านั้น โดยระบุว่า “พวกข่าวลือที่ว่าภาษาทิเบตกำลังจะหายสาบสูญถือเป็นเพียงเรื่องหลักลอย”
ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหวารายงานว่า รัฐบาลกลางพยายามส่งเสริมการเรียนการสอนแบบสองภาษาในโรงเรียนทั้งในทิเบตและภูมิภาคที่มีชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ อาศัยอยู่ โดยมีการสอนภาษาจีนและภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่นนั้นๆ
สำนักข่าวซินหวาอ้างคำกล่าวของนายโชดรัค ประธานคณะกรรมาธิการทำงานด้านภาษาทิเบตของเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบต รายงานวานนี้(8 เม.ย.)ว่า คณะกรรมาธิการฯ และเจ้าหน้าที่ส่วนอื่นได้ดำเนินการร่างนโยบายเพื่อผ่านเป็นกฎหมายให้ได้ภายในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้
โดยซินหวาระบุว่านโยบายดังกล่าวจะ “ช่วยให้ชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ทิเบตมีสิทธิและอิสระในการใช้และพัฒนาภาษาของตนเอง” และการเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็ “แสดงให้เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าว”
ในการร่างกฎหมายดังกล่าวมีการขยายขอบเขตให้ครอบคลุมกฎหมายเดิม อาทิ บทบัญญัติปี 2530 ว่าด้วยเรื่องการเรียนรู้ การใช้ และการพัฒนาภาษาทิเบตที่แก้ไขใหม่ในปี 2545
ด้านรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นในธรรมศาลา ประเทศอินเดีย กล่าวในเว็บไซด์ของตนเองว่า รัฐบาลกลางกีดกันการใช้ภาษาทิเบต และบังคับใช้ภาษาจีนกลางทั้งที่ภาษาทิเบตซึ่งประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นและภาษาพูดที่หลากหลายนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่คนเอเชียกลางจำนวนหลายล้านคน
“รัฐบาลกำลังกีดกันวัฒนธรรมทิเบตโดยทำให้ภาษานี้เป็นส่วนเกินในทุกองค์กร” ฝ่ายสนับสนุนการปกครองตนเองของทิเบตกล่าว
“ระบบการศึกษาของทิเบตที่มีจีนและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ควบคุมอยู่ทั้งหมด ถูกปรับให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานต่างถิ่นชาวจีน”
อย่างไรก็ตาม นายโชดรัค ปฏิเสธคำกล่าวหาเหล่านั้น โดยระบุว่า “พวกข่าวลือที่ว่าภาษาทิเบตกำลังจะหายสาบสูญถือเป็นเพียงเรื่องหลักลอย”
ทั้งนี้ สำนักข่าวซินหวารายงานว่า รัฐบาลกลางพยายามส่งเสริมการเรียนการสอนแบบสองภาษาในโรงเรียนทั้งในทิเบตและภูมิภาคที่มีชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นๆ อาศัยอยู่ โดยมีการสอนภาษาจีนและภาษาอังกฤษควบคู่ไปกับภาษาท้องถิ่นนั้นๆ