xs
xsm
sm
md
lg

เรือบรรทุกเครื่องบินUS ดอดเข้าใกล้เกาะเตี้ยวอี๋ว์ จีนโชว์ภาพลับ “เรือดำน้ำ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ 2 ลำ แล่นอยู่ในทะเลจีนตะวันออก (ภาพ เว็บไซต์นาวีสหรัฐอเมริกา)
ASTVผู้จัดการออนไลน์--ในวันนี้(4 ต.ค.) สำนักข่าวซินหวา และกลุ่มสื่อจีน ได้เผยแพร่ภาพข่าว ที่พาดหัวว่า “เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯสองลำแล่นเข้าใกล้น่านน้ำเกาะเตี้ยวอี๋ว์”

รายงานข่าวของซินหวา ระบุว่ารัฐบาลญี่ปุนประกาศ “ซื้อ” เกาะเตี้ยวอี๋ว์ โดยไม่แยแสการประท้วงและคำเตือนของจีน อันเป็นเหตุให้กรณีพิพาทกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ระหว่างจีนและญี่ปุ่นซึ่งยืดเยื้อมาในประวัติศาสตร์ ปะทุตึงเครียดอย่างน่าอันตรายที่สุด

ต่อกรณีนี้ นักวิเคราะห์กลุ่มหนึ่ง ชี้ว่า รัฐบาลแดนปลาดิบกระทำการแต่ฝ่ายเดียวกดดันจีนโดยไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใด แต่บางกระแสวิเคราะห์ก็ชี้ว่า ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลญี่ปุ่น เท่ากับเป็นการผลักดันข้อพิพาทกรรมสิทธิเตี้ยวอี๋ว์ เป็น “วาระระดับชาติ” นี้ เพราะได้รับแรงสนับสนุนเต็มที่จากกองทัพสหรัฐฯ

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุนได้เดินทางไปเยือนกรุงวอชิงตัน ระหว่างการเยือนฯนี้ ญี่ปุนได้คุยกับผู้นำสหรัฐฯ นำข้อพิพาทเกาะเตี้ยวอี๋ว์ และสนธิสัญญาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯ (Treaty of Security and Safeguard Between Japan and United States) มาเกี่ยวข้องกัน

ระหว่างที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและญี่ปุนกำลังตึงเครียดจัดนี้ สหรัฐฯก็ได้ส่งเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ มายังบริเวณน่านน้ำทะเลจีนใต้ แถมแอบย่องเข้ามายังน่านน้ำทะเลจีนตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์

นอกจากนี้ สื่อจีนและกลุ่มสื่อเทศ รายงานว่าสหรัฐฯได้ส่งฝูงเครื่องบินลำเลียงทางทหาร MV-22 Osprey จำนวน 6 ลำ มาที่ฐานทัพสหรัฐฯ U.S. Marine Corps Air Station Futenma ในโอกินาวาของญี่ปุ่นเมื่อวันจันทร์(1 ต.ค.) จากฐานทัพฯแห่งนี้ Osprey ซึ่งเป็นเครื่องบินรบหลากหลายบทบาท บินขึ้นได้แบบเฮลิคอปเตอร์ และเหินแบบเครื่องบินรบ จะสามารถบินไปถึงเกาะเตี้ยว์อี๋ว์ภายในเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้ สหรัฐฯมีแผนส่ง Osprey มาที่ฐานทัพในโอกนาวา ทั้งสิ้น 12 ลำ

ในวันนี้ สื่อจีนรายงานสถานการณ์เผชิญหน้าในน่านน้ำรอบเกาะพิพาทฯ เรือตรวจการณ์สมุทรจีน 4 ลำ ได้แล่นไปยังบริเวณเกาะหวงเหว่ย (ญี่ปุน -โกบิ โช) ซึ่งเป็น“เขตต่อเนื่อง” (Contiguous Zone) ของหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์เมื่อเช้านี้(4 ต.ค.) ทั้งนี้ในสองวันมานี้ เรือตรวจการณ์สมุทรจีนได้แล่นลัดเลาะบริเวณรัศมีอธิปไตยดินแดน 12 ไมล์ทะเล และบริเวณเขตต่อเนื่อง ของเกาะเตี้ยวอี๋ว์

ขณะที่หน่วยยามฝั่งญี่ปุ่น รายงานว่า ในราวตีหนึ่งของวันนี้(4 ต.ค.) มีเรือลาดตระเวนไต้หวัน 1 ลำ เข้ามายังเขตต่อเนื่องของเกาะเตี้ยวอี๋ว์นี้ด้วย

ทั้งนี้ หมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ในทะเลจีนตะวันออก เป็นดินแดนพิพาทกรรมสิทธิระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นเรียกหมู่เกาะพิพาทนี้ ว่า เซงกากุ ขณะที่ไต้หวันก็อ้างกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะนี้ในนามของสาธารณรัฐจีน เตี้ยวอี๋ว/เซงกากุ เป็นดินแดนที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ ตั้งอยู่ตะวันออกของแผ่นดินใหญ่ ตะวันออกเฉียงของไต้หวัน ตะวันตกของเกาะโอกินาวา ตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะริวกิว
         
          ในปี 2511 มีการค้นพบความเป็นไปได้ว่า อาจมีแหล่งสำรองน้ำมันในบริเวณหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ ซึ่งอุดมด้วยทรัพยากรแร่ และการประมง สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีน (หรือไต้หวัน) ก็ได้เข้ามาอ้างกรรมสิทธิ จีนอ้างว่าเป็นผู้ค้นพบและดูแลหมู่เกาะนี้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ฝ่ายญี่ปุ่นควบคุมหมู่เกาะนี้มาแต่ปี 2438 (1895) เมื่อญี่ปุนยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯก็ได้เข้ามาดูแลปกครอง (2488-2515) ต่อมาวอชิงตันได้ถ่ายโอนอำนาจปกครองหมู่เกาะคืนแก่รัฐบาลญี่ปุ่นในปี 2515

ในวันที่ 4 ต.ค. กลุ่มสื่อจีนได้เผยแพร่ชุดภาพเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ 2 ลำ แล่นอยู่ในทะเลตะวันออก โดยระบุแหล่งที่มาภาพจากเว็บไซต์นาวีสหรัฐอเมริกา



เครื่องบินขับไล่ F-18 ที่ประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบินวอชิงตัน ฝึกซ้อมการขึ้น-ลง บริเวณทะเลตะวันออก
การซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุน
คลิป เครื่องบินรบอเมริกัน MV-22 Osprey จำนวน 6 ลำ มาถึงฐานทัพ U.S. Marine Corps Air Station Futenma ในโอกินาวา ประเทศญี่ปุน เมื่อวันจันทร์(1 ต.ค.)


แผนที่แสดงหมู่เกาะพิพาทเตี้ยวอี๋ว์ ระหว่างจีนและญี่ปุ่น ในทะเลจีนตะวันออก โดยมีไต้หวันร่วมอ้างสิทธิเหนือดินแดนนี้ด้วย
กองทัพจีนโชว์ภาพการฝึกซ้อมเรือดำน้ำ
วันเดียวกัน เว็บไซต์กระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้นำเผยแพร่ภาพการฝึกซ้อมเรือดำน้ำ ทั้งรุ่นแบบพลังขับเคลื่อนในรูปแบบ และรุ่นขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ กองทัพได้เก็บภาพการฝึกซ้อมเรือดำน้ำเหล่านี้เป็นความลับ

เรือดำน้ำนับเป็นจ้าวแห่งพลังในโลกใต้น้ำ ย่างสู่ศตวรรษใหม่ กองทัพนาวีได้รุดหน้าในการพัฒนาเรือดำน้ำทั้งรุ่นขับเคลื่อนด้วยพลังรูปแบบ รุ่นใหม่ๆ และรุ่นพลังงานนิวเคลียร์ ทะยอยเข้าประจำการอย่างต่อเนื่อง





กำลังโหลดความคิดเห็น