เอเจนซี – ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำที่ผู้บริโภคหันมานิยมสินค้าราคาถูก ถือเป็นจังหวะที่ส่งให้จีนก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งจ้าวแห่งการค้าโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในโลก ทำให้หลายฝ่ายหวั่นวิตกว่าการค้าโลกกำลังจะเข้าสู่ยุคที่ไร้ดุลยภาพ
มูลค่าส่งออกของจีนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ส่งผลให้จีนแซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นประเทศส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก และอาจทำให้ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและชาติมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปปะทุขึ้นมาอีก
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ต.ค. สหภาพยุโรปได้ขยายการใช้กำแพงภาษีเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดของสินค้าจากจีน รวมถึงรองเท้าที่นำเข้าจากเวียดนามด้วย
การที่จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวแห่งการส่งออก ขณะที่ทั่วโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนสามารถป้อนสินค้าราคาถูกให้แก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีสินค้าที่นำเข้าจากจีนคิดเป็นร้อยละ 19 เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่คิดเป็นร้อยละ 15
ปรากฎการณ์ที่สินค้าจีนเข้าไปตีตลาดในประเทศต่างๆ จากญี่ปุ่นถึงแดนใต้สุดของยุโรปคืออิตาลี สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความสามารถของผู้ประกอบการจีน ในการปรับลดค่าจ้างแรงงานและต้นทุนการผลิตอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นายเหลียว หยวน หัวหน้าฝ่ายการค้าระหว่างประเทศของบริษัทฉางรุ่น การ์เมนต์ ในกว่างตง ผู้ส่งออกกางเกงยีนส์ในยังสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ กล่าวว่า เหตุที่ผู้ประกอบการจีนต้องทำเช่นนี้เพราะมีผู้ซื้อชาวอเมริกันเรียกร้องมา
“นับวันผู้ซื้อก็ยิ่งต่อรองให้ได้สินค้าราคาถูกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อชาวอเมริกัน ที่ต้องการซื้อกางเกงยีนส์ในราคาตัวละ 2.85 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 99.75 บาท) ทั้งที่ราคาน่าจะอยู่ที่ 7 เหรียญ (ราว 245 บาท)” นายเหลียวระบุ
ขณะที่ นายนิโคลาส อาร์. ลาร์ดี นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันปีเตอร์สันในกรุงวอชิงตัน ให้ความเห็นว่า การที่จีนผลิตสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก ทำให้การส่งออกของจีนเป็นไปด้วยดี แม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
“จีนมีข้อได้เปรียบ เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับตลาดได้รวดเร็ว และตลาดแรงงานก็มีความยืดหยุ่น” นายลาร์ดี ระบุ
อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งเสริมภาคส่งออกของจีนคือนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งการทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง การให้สินเชื่อทางภาษีและให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ส่งออก จนทำให้มูลค่าการส่งออกของจีนในทั่วโลกเฉพาะครึ่งแรกของปี 2552 มีถึง 521,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ตัวเลขดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า มูลค่าส่งออกของจีนลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้วถึงร้อยละ 22 แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าชาติใหญ่รายอื่นๆ โดยข้อมูลจากหน่วยบริการข้อมูลการค้าโลก ระบุว่า ในครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกในเยอรมนีลดลงร้อยละ 34 ในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 37 และในสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (14 ต.ค.) ทางการจีนเปิดเผยตัวเลขส่งออกเมื่อสิ้นสุดเดือนกันยายน ว่าลดลงเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นสถิติที่ดีกว่าเดือนสิงหาคม จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์มองว่า นี่คือสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และจะทำให้ภาคส่งออกของจีนกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง
สำหรับสินค้าส่งออกที่จีนครองส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่นั้น ยังคงเป็นสินค้าเดิมๆ ที่จีนเคยครองตลาด เช่น เฟอร์นิเจอร์ยังคงครองส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 54 ขณะที่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีนยังคงครองส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโควต้านำเข้าสิ่งทอจากจีนในสหภาพยุโรปหมดอายุลงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ส่วนในโรมาเนีย รองเท้านำเข้าจากอิตาลีไม่ได้ครอบงำตลาดอีกต่อไป เพราะรองเท้านำเข้าจากจีนเริ่มเข้าไปตีตลาดบ้างแล้ว
การที่สินค้าจากจีนครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับทุกประเทศ จนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าการค้าระหว่างประเทศจะเข้าสู่ภาวะไร้ดุลยภาพ ดังนั้น เรื่องค่าเงินหยวนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเป้าโจมตีอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากรัฐบาลจีนปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้นเมื่อปี 2548 ค่าเงินหยวนก็กลับมาผูกติดกับเงินดอลล่าร์อีกครั้งภายในเวลาอันรวดเร็ว และเมื่อเงินดอลล่าร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ภาคส่งออกของจีนก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย
ล่าสุด สหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้จีนลดการส่งสินค้าไปยังยุโรป และเรียกร้องให้ตรวจสอบนโยบายต่อต้านการทุ่มตลาด ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เรียกร้องให้จีนสร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้นตามเงินสกุลหลักๆ
ด้านรัฐบาลจากกรุงปักกิ่งก็มีความกังวลว่า หากปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้น ก็จะสร้างความเสียหายต่อการส่งออก และยังจะส่งผลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
แต่อีกด้านหนึ่ง บรรดาผู้นำจีนต่างตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนทิศทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก มาสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายในมากขึ้น และจริงๆ แล้วจีนก็ต้องการที่จะผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น อย่างเช่น แผ่นไมโครชิปในคอมพิวเตอร์ เรือบรรทุกเครื่องบิน และผลิภัณฑ์ยา เป็นต้น เพื่อทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางรายให้ความเห็นว่า เมื่อผู้บริโภคในจีนร่ำรวยขึ้น ขณะที่เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ก็จะส่งผลให้สินค้าจากสหรัฐฯ เข้าไปแข่งขันนตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น รวมถึงตลาดภายในของจีนด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ดุลยภาพของการค้าโลกก็จะกลับคืนมา
มูลค่าส่งออกของจีนที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ ส่งผลให้จีนแซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นประเทศส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลก และอาจทำให้ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและชาติมหาอำนาจ อย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปปะทุขึ้นมาอีก
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ต.ค. สหภาพยุโรปได้ขยายการใช้กำแพงภาษีเพื่อต่อต้านการทุ่มตลาดของสินค้าจากจีน รวมถึงรองเท้าที่นำเข้าจากเวียดนามด้วย
การที่จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นจ้าวแห่งการส่งออก ขณะที่ทั่วโลกเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจีนสามารถป้อนสินค้าราคาถูกให้แก่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีสินค้าที่นำเข้าจากจีนคิดเป็นร้อยละ 19 เพิ่มขึ้นจากการนำเข้าในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่คิดเป็นร้อยละ 15
ปรากฎการณ์ที่สินค้าจีนเข้าไปตีตลาดในประเทศต่างๆ จากญี่ปุ่นถึงแดนใต้สุดของยุโรปคืออิตาลี สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความสามารถของผู้ประกอบการจีน ในการปรับลดค่าจ้างแรงงานและต้นทุนการผลิตอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นายเหลียว หยวน หัวหน้าฝ่ายการค้าระหว่างประเทศของบริษัทฉางรุ่น การ์เมนต์ ในกว่างตง ผู้ส่งออกกางเกงยีนส์ในยังสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ กล่าวว่า เหตุที่ผู้ประกอบการจีนต้องทำเช่นนี้เพราะมีผู้ซื้อชาวอเมริกันเรียกร้องมา
“นับวันผู้ซื้อก็ยิ่งต่อรองให้ได้สินค้าราคาถูกลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ซื้อชาวอเมริกัน ที่ต้องการซื้อกางเกงยีนส์ในราคาตัวละ 2.85 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 99.75 บาท) ทั้งที่ราคาน่าจะอยู่ที่ 7 เหรียญ (ราว 245 บาท)” นายเหลียวระบุ
ขณะที่ นายนิโคลาส อาร์. ลาร์ดี นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันปีเตอร์สันในกรุงวอชิงตัน ให้ความเห็นว่า การที่จีนผลิตสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก ทำให้การส่งออกของจีนเป็นไปด้วยดี แม้ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
“จีนมีข้อได้เปรียบ เพราะสามารถปรับตัวให้เข้ากับตลาดได้รวดเร็ว และตลาดแรงงานก็มีความยืดหยุ่น” นายลาร์ดี ระบุ
อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ส่งเสริมภาคส่งออกของจีนคือนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งการทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง การให้สินเชื่อทางภาษีและให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ส่งออก จนทำให้มูลค่าการส่งออกของจีนในทั่วโลกเฉพาะครึ่งแรกของปี 2552 มีถึง 521,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แม้ตัวเลขดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า มูลค่าส่งออกของจีนลดลงจากช่วงครึ่งแรกของปีที่แล้วถึงร้อยละ 22 แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าชาติใหญ่รายอื่นๆ โดยข้อมูลจากหน่วยบริการข้อมูลการค้าโลก ระบุว่า ในครึ่งแรกของปีนี้ การส่งออกในเยอรมนีลดลงร้อยละ 34 ในญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 37 และในสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (14 ต.ค.) ทางการจีนเปิดเผยตัวเลขส่งออกเมื่อสิ้นสุดเดือนกันยายน ว่าลดลงเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นสถิติที่ดีกว่าเดือนสิงหาคม จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์มองว่า นี่คือสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และจะทำให้ภาคส่งออกของจีนกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง
สำหรับสินค้าส่งออกที่จีนครองส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่นั้น ยังคงเป็นสินค้าเดิมๆ ที่จีนเคยครองตลาด เช่น เฟอร์นิเจอร์ยังคงครองส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ ถึงร้อยละ 54 ขณะที่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีนยังคงครองส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโควต้านำเข้าสิ่งทอจากจีนในสหภาพยุโรปหมดอายุลงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ส่วนในโรมาเนีย รองเท้านำเข้าจากอิตาลีไม่ได้ครอบงำตลาดอีกต่อไป เพราะรองเท้านำเข้าจากจีนเริ่มเข้าไปตีตลาดบ้างแล้ว
การที่สินค้าจากจีนครองส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น 10-20 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้จีนเกินดุลการค้ากับทุกประเทศ จนทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าการค้าระหว่างประเทศจะเข้าสู่ภาวะไร้ดุลยภาพ ดังนั้น เรื่องค่าเงินหยวนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเป้าโจมตีอีกครั้งหนึ่ง
หลังจากรัฐบาลจีนปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้นเมื่อปี 2548 ค่าเงินหยวนก็กลับมาผูกติดกับเงินดอลล่าร์อีกครั้งภายในเวลาอันรวดเร็ว และเมื่อเงินดอลล่าร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ภาคส่งออกของจีนก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย
ล่าสุด สหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้จีนลดการส่งสินค้าไปยังยุโรป และเรียกร้องให้ตรวจสอบนโยบายต่อต้านการทุ่มตลาด ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ เรียกร้องให้จีนสร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้นตามเงินสกุลหลักๆ
ด้านรัฐบาลจากกรุงปักกิ่งก็มีความกังวลว่า หากปล่อยให้เงินหยวนสูงค่าขึ้น ก็จะสร้างความเสียหายต่อการส่งออก และยังจะส่งผลต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
แต่อีกด้านหนึ่ง บรรดาผู้นำจีนต่างตระหนักดีถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนทิศทางการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากที่เคยพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก มาสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการบริโภคภายในมากขึ้น และจริงๆ แล้วจีนก็ต้องการที่จะผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น อย่างเช่น แผ่นไมโครชิปในคอมพิวเตอร์ เรือบรรทุกเครื่องบิน และผลิภัณฑ์ยา เป็นต้น เพื่อทำให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางรายให้ความเห็นว่า เมื่อผู้บริโภคในจีนร่ำรวยขึ้น ขณะที่เงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ก็จะส่งผลให้สินค้าจากสหรัฐฯ เข้าไปแข่งขันนตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น รวมถึงตลาดภายในของจีนด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ดุลยภาพของการค้าโลกก็จะกลับคืนมา