ชินหมิง วีคลี่ - เป็นเวลากว่าสามทศวรรษที่ สตีเว่น เอ็น เอส ชุง (Steven N.S. Cheung) หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวจีน ได้เพิ่มพูนความรู้ของเขาด้วยการวิเคราะห์เศรษฐกิจจีน ยิ่งไปกว่านั้น เขายังคาดการณ์แนวโน้มการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนได้อย่างแม่นยำ
ในช่วงทศวรรษ 1960s และ1970s อาจารย์ชุง ได้กลายเป็นคนดังในแวดวงวิชาการของตะวันตกโดยการตีพิมพ์ชุดงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ชิ้นสำคัญ เช่น “ทฤษฎีเจ้าของที่ดินรวม” (The Theory of Share Tenancy) โครงสร้างสัญญาและทฤษฎีทรัพยากรที่ไม่ผูกขาด (The Structure of a Contract and the Theory of a Non-exclusive Resource) นิทานเปรียบเทียบเรื่องผึ้ง :การวิจัยเเบบเจาะลึกทางเศรษฐศาสตร์ (The Fable of the Bees: An Economic Investigation) ทฤษฎีการควบคุมราคาและสิทธิในทรัพย์สินและนวัตกรรม (A Theory of Price Control and Property Rights and Invention)
ในปี 1978 อาจารย์ชุง ใช้เวลาสามเดือน เขียนหนังสือเรื่อง ความลับของต้นทุนทางสังคม ให้กับสถาบันวิชาเศรษฐศาสตร์ในกรุงลอนดอน หนังสือนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน และต้นทุนของธุรกรรมต่างๆ หนึ่งปีให้หลัง รัฐบาลจีนใช้นโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ เขาก็เดินทางไปทั่วประเทศจีน อาจารย์ชุงแปลกใจกับประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำและล้าสมัยจนไม่น่าเชื่อในยุคนั้น ขณะเดียวกันเขาก็พบว่า สินค้าต่างๆกลับมีอย่างมากมายในตลาดมืด ประชาชนบางคนต่างแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ ตำราเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมอย่าง “The Wealth of Nations” ของ อดัม สมิท ตำราเศรษฐศาสตร์ของ Paul Samuelson และหนังสือเรื่อง Capitalism and Freedom ของ Milton Friedman มีแปลเป็นภาษาจีน
สองปีต่อมา อาจารย์ชุง เขียนหนังสือเรื่อง จีนจะมุ่งหน้าสู่ทุนนิยมหรือ? (Will China Go Capitalist?) โดยเขาได้เขียนถึงอนาคตของจีนว่า ลูกตุ้มนาฬิกาของจีนได้เริ่มแกว่งกลับมาในอีกทิศทางหนึ่งแล้ว แรงผลักของมันจะทำให้จีนจะต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันในระยะยาว นอกจากนี้ เขายังคาดการณ์ด้วยว่า ในที่สุดเเล้วจีนจะเปลี่ยนไปเป็นวิสาหกิจเอกชน (private enterprise)
หลายคนอาจคิดว่า อาจารย์ชุง คาดการณ์อนาคตของจีนเร็วไปสักหน่อย เเต่ในระหว่างที่อาจารย์ชุงใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น เขามีความสนใจเรื่องของแผ่นดินแม่อย่างมาก ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจีนจากเพื่อนและญาติทั้งในแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง ในปี1982 เขาเดินทางจากสหรัฐอเมริกา มาฮ่องกง เพื่อรับงานสอนที่มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเงินแห่งฮ่องกง ซึ่งทำให้เขาได้ศึกษาเรื่องของจีนได้ใกล้ชิดมากขึ้น อาจารย์ชุง ยังเป็นคอลัมนิสต์ วิเคราะห์เรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการก้าวเดินของนโยบายปฏิรูปของจีน บทความของเขาเป็นหน้าต่างสำหรับนักวิชาการและผู้ที่สนใจเรื่องจีน โดยบอกเล่าเกี่ยวกับตัวอย่างทางเศรษฐศาสตร์ในเรื่องต่างๆ และยังให้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจเกี่ยวกับชุมชนวิชาการอีกด้วย
ในขณะที่จีน ก้าวหน้าต่อไปในนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศ อาจารย์ชุง ก็มีโอกาสศึกษาอย่างลึกซึ้งมากขึ้น สำหรับเขาแล้ว จีนเป็นเหมือนห้องทดลองทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพลวัตรมากที่สุดในโลก
วันนี้ จีนเข้าสู่วาระสามสิบปีแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศ ซึ่งถูกต้องตามที่อาจารย์ชุงได้คาดการณ์ไว้ พวกเราจึงควรจดจำการคาดการณ์ที่แม่นยำของเขา ในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การปฏิรูปเศรษฐกิจจีน