เดอะ วอลล์ สตรีต เจอร์นัล – จีนเร่งหาทางตรากฎหมายปกป้องสิทธิส่วนบุคคลให้เข้มงวดยิ่งขึ้น หลังจากมีการหมิ่นประมาทและละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางออนไลน์กันเกลื่อน
สิ่งที่ปรากฎในสังคมจีนเวลานี้ก็คือรัฐบาลจีนมีการคุมเข้มแหล่งข่าวต่างประเทศและห้ามการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองทางอินเตอร์เน็ต แต่ขณะเดียวกันระบบกฎหมายของจีนกลับมีการตรวจสอบและปกป้องการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลน้อยมาก
ดังนั้น จึงเปิดช่องให้มีการล่วงละเมิดความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้อื่นทางอินเตอร์เน็ตในหลากหลายรูปแบบ เช่น การตั้งกลุ่มนักสืบออนไลน์ ที่ชื่อว่า “เครื่องพินิจพิเคราะห์ร่างกายมนุษย์ ” นักสืบกลุ่มนี้จะขุดคุ้ย ตีแผ่รายละเอียดส่วนตัวของบุคคลที่พวกตนเห็นว่ามีพฤติกรรมละเมิดศีลธรรมอันดีของสังคม ให้ประชาชนได้รับรู้
“ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อประจานให้อับอาย, เฝ้าสอดส่อง และคว่ำบาตร หรือเพื่อการล้างแค้นส่วนตัว กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมจีน” แอน จาง อาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุ
ในระหว่างที่สังคมจีนกำลังเกิดข้อถกเถียงกันว่า พฤติกรรมทางอินเตอร์เน็ตเหล่านี้เป็นเรื่องเลยเถิดเกินไปหรือไม่นั้น ก็ได้เกิดคดีความในศาลที่กรุงปักกิ่งคดีหนึ่งขึ้นมา
คดีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการฆ่าตัวตายของผู้หญิงคนหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม หญิงคนนี้ได้เปิดบล็อกในอินเตอร์เน็ต เล่าเรื่องราวที่สามีตนนอกใจ เมื่อเธอฆ่าตัวตาย
หวัง เฟย ผู้เป็นสามีจึงถูกรุมประณามจนเละจากแฟน ๆ ชาวเน็ต จนในที่สุดเขาต้องยื่นฟ้องดำเนินคดีเอาผิดกับบริษัทออนไลน์ 2 ราย และเอกชนรายหนึ่ง ในข้อหาดูหมิ่นทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายจำเลยได้ปฏิเสธ กลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับกลุ่มผู้พิพากษากว่า 50 คน เกี่ยวกับประเด็นสิทธิส่วนบุคคล,ความรับผิดชอบของบริษัทอินเตอร์เน็ต และประเด็นศีลธรรมของประชาชน
คดี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะผู้พิพากษากรุงปักกิ่ง 3 คน เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐสภาจีนกำลังหาทางเพิ่มความเข้มงวดกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลพอดี
อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้มีการควบคุมการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางอินเตอร์เน็ตก็ก่อให้เกิดความวิตกในหมู่คนจำนวนหนึ่ง ที่เห็นว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเคลื่อนไหวในจีนถือเป็นกำลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยที่ผ่านมา แรงกดดันจากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทางอินเตอร์เน็ต เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้รัฐบาลจีนดำเนินการอย่างเปิดเผยระหว่างเกิดเหตุการณ์สำคัญ เช่น แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน และการจลาจลเผาโรงพักเมื่อเดือนมิถุนายนในมณฑลกุ้ยโจวจากกรณีการเสียชีวิตของเด็กนักเรียนหญิงชั้นมัธยมรายหนึ่ง
อาจารย์จางชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้จะต้องมีความชัดเจนอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนในสังคมเกิดอาการเฉยเมย หมดความกระตือรือร้น
ที่สหรัฐฯ เมื่อปีนี้ นักศึกษาชาวจีนคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยดุ๊ก และ
ชายชาวทิเบตคนหนึ่งในรัฐยูท่าห์ ตกเป็นเป้าให้ผู้คนบนแดนมังกรวิจารณ์โจมตีอย่างโกรธแค้นจากกรณีปัญหาทิเบต และการวิ่งส่งคบเพลิงโอลิมปิก โดยมีส่งข้อความ แพร่กระจายข่าวทางโทรศัพท์มือถืออย่างหยาบคาย
ในประเทศที่ระบบกฎหมายมีความถี่ถ้วนมากกว่านี้ เช่นในอังกฤษ เหยื่อที่ถูกสบประมาททางออนไลน์สามารถร้องขอให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตถอดข้อความที่สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงออกไป หรือหากไม่ทำเช่นนั้น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก็อาจเสี่ยงตกเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้โฆษณา
ส่วนในสหรัฐฯ สามารถขอหมายศาลบีบให้ยุติการเปิดเผยรูปภาพและชื่อเสียงเรียงนามของบุคคลทางออนไลน์ได้แต่บนแดนมังกรแล้วไม่มีใครรู้จักวิธีจัดการลักษณะนี้ และความคิดเรื่องความเป็นอยู่ส่วนตัวก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
โดยสำหรับคดีของหวังนั้น จำเลยแย้งว่าไม่ได้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะข้อมูลส่วนตัวของหวังเผยแพร่ในที่อื่นด้วย ด้านทนายความของหวังเปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวทางออนไลน์กรณีภรรยาของหวังฆ่าตัวตายนั้น ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดมีการขู่ฆ่าและละเลงภาพวาดที่หน้าประตูบ้านลูกความของเขา นอกจากนั้น ยังมีการบีบให้หวังลาออก โดย“พลเมืองเน็ต” ตามไปราวีบริษัทโฆษณา ซาตชิแอนซาตชิ ( Saatchi & Saatchi) ซึ่งเป็นนายจ้างของหวังกันเลยทีเดียว
ด้านโฆษกของบริษัท Daqi.com จำเลยรายหนึ่งในคดีนี้ ระบุว่า บริษัทปราศจากความผิด ที่นำข้อความบางส่วนจากสมุดบันทึกประจำวันของภรรยาหวังมาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต เนื่องจากในการถกเถียงเรื่องนี้ บริษัทได้เผยแพร่ข้อมูลจากทั้งสองด้าน
ปัจจุบัน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนกว่า 250 ล้านคน และจากการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยสถาบันรัฐศาสตร์แห่งจีน เกี่ยวกับทัศนคติต่ออินเตอร์เน็ตในจีน พบว่า ร้อยละ 84 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่า ควรมีการบริหาร หรือควบคุมอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้น ร้อยละ 85 เห็นว่า รัฐบาลควรเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว
ขณะนี้ กำลังมีการดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลในจีนให้มากขึ้น เช่นมีการแก้ไขร่างกฎหมายอาญาฉบับหนึ่ง โดยระบุให้บริษัท,องค์กร และเอกชนปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการเข้าไปค้นหา ผู้ละเมิด จะต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 3 ปี
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ใหญ่หลายรายของจีนก็ขานรับเรื่องการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล โดยตู้ เป่ยหยวน หัวหน้าเวทีถกเถียงของชุมชนออนไลน์ Mop.com กล่าวว่า เขาเห็นด้วยที่รัฐบาลจะออกกฎระเบียบและคู่มือแนะนำเพิ่มเติม สำหรับ Mop.com ก็จะให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน
“ผู้ดูแลเว็บของเราจะจัดการลบ หรือปิดบังข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อนามสกุล” ตู้ยืนยัน
“เราจะพยายามสร้างวิธีการดูแลสอดส่องเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ไปแตะเรื่องส่วนตัว”
สิ่งที่ปรากฎในสังคมจีนเวลานี้ก็คือรัฐบาลจีนมีการคุมเข้มแหล่งข่าวต่างประเทศและห้ามการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมืองทางอินเตอร์เน็ต แต่ขณะเดียวกันระบบกฎหมายของจีนกลับมีการตรวจสอบและปกป้องการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลน้อยมาก
ดังนั้น จึงเปิดช่องให้มีการล่วงละเมิดความเป็นอยู่ส่วนตัวของผู้อื่นทางอินเตอร์เน็ตในหลากหลายรูปแบบ เช่น การตั้งกลุ่มนักสืบออนไลน์ ที่ชื่อว่า “เครื่องพินิจพิเคราะห์ร่างกายมนุษย์ ” นักสืบกลุ่มนี้จะขุดคุ้ย ตีแผ่รายละเอียดส่วนตัวของบุคคลที่พวกตนเห็นว่ามีพฤติกรรมละเมิดศีลธรรมอันดีของสังคม ให้ประชาชนได้รับรู้
“ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อประจานให้อับอาย, เฝ้าสอดส่อง และคว่ำบาตร หรือเพื่อการล้างแค้นส่วนตัว กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมจีน” แอน จาง อาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุ
ในระหว่างที่สังคมจีนกำลังเกิดข้อถกเถียงกันว่า พฤติกรรมทางอินเตอร์เน็ตเหล่านี้เป็นเรื่องเลยเถิดเกินไปหรือไม่นั้น ก็ได้เกิดคดีความในศาลที่กรุงปักกิ่งคดีหนึ่งขึ้นมา
คดีดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นจากการฆ่าตัวตายของผู้หญิงคนหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม หญิงคนนี้ได้เปิดบล็อกในอินเตอร์เน็ต เล่าเรื่องราวที่สามีตนนอกใจ เมื่อเธอฆ่าตัวตาย
หวัง เฟย ผู้เป็นสามีจึงถูกรุมประณามจนเละจากแฟน ๆ ชาวเน็ต จนในที่สุดเขาต้องยื่นฟ้องดำเนินคดีเอาผิดกับบริษัทออนไลน์ 2 ราย และเอกชนรายหนึ่ง ในข้อหาดูหมิ่นทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
ข้อกล่าวหาดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายจำเลยได้ปฏิเสธ กลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับกลุ่มผู้พิพากษากว่า 50 คน เกี่ยวกับประเด็นสิทธิส่วนบุคคล,ความรับผิดชอบของบริษัทอินเตอร์เน็ต และประเด็นศีลธรรมของประชาชน
คดี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะผู้พิพากษากรุงปักกิ่ง 3 คน เกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่รัฐสภาจีนกำลังหาทางเพิ่มความเข้มงวดกฎหมายสิทธิส่วนบุคคลพอดี
อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้มีการควบคุมการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางอินเตอร์เน็ตก็ก่อให้เกิดความวิตกในหมู่คนจำนวนหนึ่ง ที่เห็นว่าผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเคลื่อนไหวในจีนถือเป็นกำลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยที่ผ่านมา แรงกดดันจากการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทางอินเตอร์เน็ต เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้รัฐบาลจีนดำเนินการอย่างเปิดเผยระหว่างเกิดเหตุการณ์สำคัญ เช่น แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวน และการจลาจลเผาโรงพักเมื่อเดือนมิถุนายนในมณฑลกุ้ยโจวจากกรณีการเสียชีวิตของเด็กนักเรียนหญิงชั้นมัธยมรายหนึ่ง
อาจารย์จางชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้จะต้องมีความชัดเจนอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนในสังคมเกิดอาการเฉยเมย หมดความกระตือรือร้น
ที่สหรัฐฯ เมื่อปีนี้ นักศึกษาชาวจีนคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยดุ๊ก และ
ชายชาวทิเบตคนหนึ่งในรัฐยูท่าห์ ตกเป็นเป้าให้ผู้คนบนแดนมังกรวิจารณ์โจมตีอย่างโกรธแค้นจากกรณีปัญหาทิเบต และการวิ่งส่งคบเพลิงโอลิมปิก โดยมีส่งข้อความ แพร่กระจายข่าวทางโทรศัพท์มือถืออย่างหยาบคาย
ในประเทศที่ระบบกฎหมายมีความถี่ถ้วนมากกว่านี้ เช่นในอังกฤษ เหยื่อที่ถูกสบประมาททางออนไลน์สามารถร้องขอให้ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตถอดข้อความที่สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงออกไป หรือหากไม่ทำเช่นนั้น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก็อาจเสี่ยงตกเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้โฆษณา
ส่วนในสหรัฐฯ สามารถขอหมายศาลบีบให้ยุติการเปิดเผยรูปภาพและชื่อเสียงเรียงนามของบุคคลทางออนไลน์ได้แต่บนแดนมังกรแล้วไม่มีใครรู้จักวิธีจัดการลักษณะนี้ และความคิดเรื่องความเป็นอยู่ส่วนตัวก็ยังคงเป็นเรื่องใหม่ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
โดยสำหรับคดีของหวังนั้น จำเลยแย้งว่าไม่ได้มีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพราะข้อมูลส่วนตัวของหวังเผยแพร่ในที่อื่นด้วย ด้านทนายความของหวังเปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวทางออนไลน์กรณีภรรยาของหวังฆ่าตัวตายนั้น ดุเดือดเลือดพล่านถึงขนาดมีการขู่ฆ่าและละเลงภาพวาดที่หน้าประตูบ้านลูกความของเขา นอกจากนั้น ยังมีการบีบให้หวังลาออก โดย“พลเมืองเน็ต” ตามไปราวีบริษัทโฆษณา ซาตชิแอนซาตชิ ( Saatchi & Saatchi) ซึ่งเป็นนายจ้างของหวังกันเลยทีเดียว
ด้านโฆษกของบริษัท Daqi.com จำเลยรายหนึ่งในคดีนี้ ระบุว่า บริษัทปราศจากความผิด ที่นำข้อความบางส่วนจากสมุดบันทึกประจำวันของภรรยาหวังมาเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต เนื่องจากในการถกเถียงเรื่องนี้ บริษัทได้เผยแพร่ข้อมูลจากทั้งสองด้าน
ปัจจุบัน มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในจีนกว่า 250 ล้านคน และจากการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยสถาบันรัฐศาสตร์แห่งจีน เกี่ยวกับทัศนคติต่ออินเตอร์เน็ตในจีน พบว่า ร้อยละ 84 ของผู้ถูกสำรวจเห็นว่า ควรมีการบริหาร หรือควบคุมอินเตอร์เน็ต นอกจากนั้น ร้อยละ 85 เห็นว่า รัฐบาลควรเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว
ขณะนี้ กำลังมีการดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิส่วนบุคคลในจีนให้มากขึ้น เช่นมีการแก้ไขร่างกฎหมายอาญาฉบับหนึ่ง โดยระบุให้บริษัท,องค์กร และเอกชนปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการเข้าไปค้นหา ผู้ละเมิด จะต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 3 ปี
ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ใหญ่หลายรายของจีนก็ขานรับเรื่องการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล โดยตู้ เป่ยหยวน หัวหน้าเวทีถกเถียงของชุมชนออนไลน์ Mop.com กล่าวว่า เขาเห็นด้วยที่รัฐบาลจะออกกฎระเบียบและคู่มือแนะนำเพิ่มเติม สำหรับ Mop.com ก็จะให้ความร่วมมือด้วยเช่นกัน
“ผู้ดูแลเว็บของเราจะจัดการลบ หรือปิดบังข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อนามสกุล” ตู้ยืนยัน
“เราจะพยายามสร้างวิธีการดูแลสอดส่องเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ไปแตะเรื่องส่วนตัว”