นครปักกิ่งตอนนี้คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวจีนและต่างชาติ ที่แห่แหนมาเพื่อชมกีฬา ดื่มด่ำบรรยากาศโอลิมปิกและไม่พลาดที่จะมาชื่นชมสถาปัตยกรรมสุดล้ำที่ผู้นำจีนตั้งใจเนรมิตขึ้นเพื่อต้อนรับโอลิมปิก 2008 โดยเฉพาะ ซึ่งถือเป็นความพยายามหนึ่งของจีนที่ต้องการแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นว่า จีนได้ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบประเทศที่ก้าวล้ำทันสมัยของโลกแล้ว
โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคาดว่าจีนมีการก่อสร้างสถานที่ใหม่ๆ เพื่อโอลิมปิกราว 10,000 แห่ง แต่หลายแห่งจนบัดนี้ก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ที่สร้างเสร็จทันและกลายเป็นดาวเด่นในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นสนามกีฬาลูกบาศก์น้ำ สนามกีฬารังนก ตึกสำนักงานใหญ่ซีซีทีวี และโรงละครไข่ยักษ์ เป็นต้น
สนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium)
สนามกีฬาแห่งชาติ หรือ รังนก (Bird Nest) พระเอกของงานครั้งนี้เป็นทั้งสถานที่จัดการแข่งขันกรีฑา การแข่งขันฟุตบอลและ ยังเป็นที่จัดพิธีเปิดและปิดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 ด้วย
รังนกเป็นผลงานการออกแบบร่วมระหว่างบริษัท Herzog and De Meuron Architekten AG แห่งสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ชนะรางวัลสถาปนิกโลก Pritzker Prize, บริษัท China Architecture Design Institute และบริษัท Ove Arup ของออสเตรเลีย เริ่มลงเสาก่อสร้างเมื่อปี 2004 โดยได้ไอเดียจากช่องหน้าต่างโบราณของจีนและลวดลายของเครื่องเคลือบกังไส
ตัวอาคารด้านนอกออกแบบโดยใช้เหล็กดิบสีเทาสานกันไปมาเสมือนกิ่งไม้ถักทอประสานกันจนกลายเป็นรังนก นับเป็นสนามกีฬาที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบมากที่สุดและก่อสร้างยากที่สุดในโลก นอกจากนี้อาคารยังไม่มีผนังปิดทึบ ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ในแง่ของขนาด รังนกยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด 258,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอย 204,000 ตารางเมตร อาคารสูง 68.5 เมตร กว้าง 297 เมตร ยาว 333 เมตร สามารถจัดวางที่นั่งสำหรับผู้ชมได้ถึง 91,000 ที่นั่ง โดยในจำนวนนี้ได้รวมส่วนที่เป็นเก้าอี้เสริมแล้ว 11,000 ที่นั่ง ใช้งบประมาณการก่อสร้างไปถึง 3,500 ล้านหยวน
สนามกีฬาทางน้ำ (National Aquatic Center)
ไม่ไกลจากสนามกีฬารังนกก็คือ สนามกีฬาทางน้ำ หรือลูกบาศก์น้ำ (Water Cube) ที่ใช้เป็นสถานที่แข่งกีฬาทางน้ำต่างๆ ทั้งว่ายน้ำ กระโดดน้ำ และระบำใต้น้ำ
สนามกีฬาแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2003 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร รองรับผู้ชมได้ 17,000 ที่นั่ง
ตัวอาคารด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยบริษัท China Construction Design International (CCDI) ร่วมกับบริษัท PTW Architects และ Ove Arup ของออสเตรเลีย ได้ออกแบบผนังอาคารด้านนอกให้เป็นรูปฟองสบู่โดยใช้เยื่อหุ้มพลาสติกโปร่งใสทำจากเทฟลอนชนิด ETFE ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแกร่งคงทนมาก อีกทั้งยังช่วยดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวและสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกในฤดูร้อน จึงช่วยให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารเย็นสบายและยอมให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาได้ถึงร้อยละ 90
ในยามกลางวันเยื่อหุ้มพลาสติกรูปฟองสบู่สีฟ้าอ่อนสะท้อนแสงแดดดูงามตา แต่ที่งามยิ่งกว่าคือลูกบาศก์น้ำในยามค่ำคืนที่มีการเปิดไฟหลากสีขับให้สนามกีฬา Water Cube ทอประกายงดงามโดดเด่นยิ่ง ล่อตาล่อใจให้ผู้มาเยือนรัวชัตเตอร์เก็บภาพความประทับใจไว้ นอกจากนี้บนอาคารสนามกีฬายังมีตัวอักษรภาษาจีนและภาษาอังกฤษวิ่งเป็นระยะ อาทิ "One World One Dream”, “同一个世界, 同一个梦想”เป็นต้น
จากที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสสนามกีฬาแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสนามกีฬา "รังนก" (ชาวจีนเรียก "เหนี่ยวเฉา” 鸟巢) และสนามกีฬาลูกบาศก์น้ำ (ชาวจีนเรียก “สุ่ยลี่ฟาง” 水立方) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ "โอลิมปิกกรีน" (Olympic Green) ช่วงนี้มีทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติแห่กันไปเยี่ยมชมและถ่ายภาพสนามกีฬาทั้งสองแน่นขนัดเลยทีเดียว
แต่เพราะช่วงโอลิมปิกจีนเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมากจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่โอลิมปิก นักกีฬา นักข่าวลงทะเบียน ผู้ได้รับอนุญาตและคนที่ถือบัตรชมการแข่งขันภายในสนามกีฬาทั้งสองเข้าไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมชิ้นเอกระดับโลกแบบใกล้ชิดได้
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหลายคนจะได้เพียงชื่นชมอยู่ห่างๆ นอกเขตรั้วเหล็กกั้น ไม่สามารถเข้าไปชมข้างในได้ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าแก่การได้มายลโฉมสักครั้งในชีวิต
นอกจากนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว ก็ยังมีบางคนที่ต้องการแสดงออกว่าสนับสนุนโอลิมปิกปักกิ่งมาปักหลักทำกิจกรรมอยู่บริเวณนั้นด้วย อาทิ ชายพิการแขน 2 ข้าง และขาขวา 1 ข้าง มานั่งสาธิตการใช้เท้าปักผ้าเป็นรูปต่างๆ เกี่ยวกับโอลิมปิก รวมไปถึงบรรดาพ่อค้าตั๋วผีหลายสิบคนที่มาเดินเสนอขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันโอลิมปิกด้วยราคาแพงลิ่ว แม้ว่าล่าสุดจะมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบตัวพ่อค้าตั๋วผีเหล่านี้ไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเห็นพ่อค้าตั๋วบางส่วนหลบลงไปขายตามทางเดินรถไฟใต้ดินแทน
สำหรับการเดินทางมาเยี่ยมชมสนามกีฬาทั้ง 2 นั้น สามารถมาได้ง่ายๆ ด้วยการนั่งรถไฟใต้ดินสาย 10 มาลงที่สถานีเป๋ยถู่เฉิง (Beitucheng) แล้วออกมาทางประตู D2 จะพบป้ายรถเมล์พอดี จากนั้นก็นั่งรถเมล์สาย 1 หรือ 2 จากฝั่งเดียวกันมาลงตรงป้ายหน้าสนามกีฬา Water Cube หรือถ้าอยากไปชมสนามรังนกก็ให้นั่งรถเมล์สาย 113 มาลงที่ป้ายเป่ยเฉิงเฉียวซี (Beichengqiaoxi) ซึ่งป้ายนี้จะใกล้สนามรังนกมากกว่า
อีกทางเลือกหนึ่งคือ พอลงที่สถานีเป๋ยถู่เฉิง แล้วไปต่อรถไฟใต้ดินสาย 8 ซึ่งวิ่งตรงเข้าสู่โอลิมปิกกรีน ลงที่สถานีโอลิมปิก สปอร์ต เซนเตอร์ (Aotizhongxin) (แต่ในช่วงโอลิมปิกบุคคลทั่วไปที่ไม่มีบัตรเข้าชมการแข่งขันที่สนามจัดขึ้นในวันนั้นจะไม่สามารถขึ้นรถไฟใต้ดินสาย 8 ได้ อย่างไรก็ตามหลังโอลิมปิกปิดฉากคาดว่าจะเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้าได้)
สำหรับใครที่ต้องการเดินออกกำลังกาย หลังจากลงที่เป๋ยถู่เฉิงแล้วสามารถเดินขึ้นไปเรื่อยๆ ตามถนนเป่ยเฉินลู่ (Beichenlu) ก็จะเจอสนามกีฬารังนก ระหว่างทางจะผ่านสวนนิทรรศการชนชาติจีนขนาดใหญ่อยู่สองฟากถนน ภายในจำลองบ้านเรือน รูปแบบความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยในจีนทั้ง 56 ชนเผ่า มีการแสดงวัฒนธรรมการเต้นระบำของชนชาติต่างๆ จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และชิมอาหารท้องถิ่น อาทิ เหล้านมแพะ เป็นต้น ผู้ที่สนใจเข้าชมสามารถซื้อบัตรผ่านประตูเข้าไปชม สนนราคาใบละ 90 หยวน (ราว 450 บาท)
ตึก L คว่ำสำนักงานใหญ่ซีซีทีวี
รถไฟใต้ดินสาย 10 นอกจากจะนำเราไปสู่สถานีโอลิมปิกแล้ว ถ้านั่งเลยมาลงที่สถานีจินไถซีเจ้า (Jintaixizhao) หรือกั๋วเม่า (Guomao) เราก็ยังจะได้ยลโฉมอาคารใหม่สำนักงานใหญ่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีน หรือ ซีซีทีวี ซึ่งนิตยสารไทม์สได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 สถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมของโลก โดยตึกใหม่ซีซีทีวีตั้งอยู่ระหว่าง 2 สถานีนี้ หรือจะนั่งรถไฟใต้ดินสาย 1 ก็มาลงกั๋วเม่าได้เช่นกัน เพราะสถานีนี้เป็นสถานีเปลี่ยนระหว่างสาย 10 และสาย 1 และนับเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่มีทางเข้า-ออกมากที่สุดในจีน ถึง 8 ช่องทาง เพราะอยู่ในย่านธุรกิจ มีคนใช้บริการสถานีนี้แน่นชนัดเลยทีเดียว
ตึกซีซีทีวีใหม่นั้นเป็นผลงานการออกแบบของเรม คูลฮาซ จากบริษัทออกแบบ OMA (the Office for Metropolitan Architecture) โดยมีบริษัท Ove Arup รับผิดชอบด้านวิศวกรรม เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2004 ด้วยงบประมาณสูงถึง 5,000 ล้านหยวน ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ(CBD) บนถนนตงซันหวน เขตเฉาหยางของปักกิ่ง ซึ่งมีตึกสูงระฟ้ากระจุกตัวอยู่กว่า 300 ตึก
ตึกใหม่นี้สร้างขึ้นเพื่อรับหน้าที่สำคัญในการรายงานข่าวโอลิมปิกปักกิ่ง โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา ซีซีทีวีได้เปิดบ้านใหม่ให้นักข่าวทั้งจีน-เทศกว่า 150 คนเข้าเยี่ยมชมความอลังการและความทันสมัย ภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดอาวุธตรวจสอบหลักฐานของผู้ที่เข้าเยี่ยมชม หรือแม้กระทั่งคำสั่งห้ามนำของเหลวติดตัวเข้าไปด้วย เป็นต้น
ด้วยรูปทรงตึกที่แปลกตาแลดูคล้ายตัว L คว่ำ 2 ตัวพิงกันอยู่บนฐานเดียวกัน และตัวตึกที่สูงถึง 234 เมตร มี 52 ชั้น ไม่รวมชั้นใต้ดินอีก 3 ชั้น บนพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 380,000 ตารางเมตร ทำให้เราสามารถมองเห็นตึกได้อย่างชัดเจน แม้จะอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตรก็ตาม
โดยสำนักงานใหญ่ ซีซีทีวีนั้นนับเป็นแหล่งรวมทุกขั้นตอนการผลิตรายการข่าวและโทรทัศน์ไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธุรการ ฝ่ายข่าว ฝ่ายธุรกิจ ห้องส่งกระจายสัญญาณ และฝ่ายผลิตรายการ
ภาพกราฟฟิกตึก TVCC ซึ่งอยู่ข้างๆ ตึก CCTV
นอกจากตึกซีซีทีวีที่เป็นตึกหลักแล้ว ในบริเวณเดียวกันยังมีตึก TVCC (Television Cultural Center) ซึ่งภายในประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ โรงละคร สตูดิโอ ร้านอาหาร และที่พักระดับ 5 ดาว กินพื้นที่ 60,ooo ตารางเมตร ส่วนที่เหลือมีพื้นที่ประมาณ 110,000 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่จอดรถ และอาคารรักษาความปลอดภัย
โรงละคร "ไข่ยักษ์"
จากสถานีกั๋วเม่า รถไฟใต้ดินสาย 10 เราเปลี่ยนมานั่งสาย 1 แล้วมาลงที่สถานีเทียนอันเหมินซี (Tiananmenxi) ซึ่งเป็นประตูสู่สถานที่สำคัญหลายแห่งของจีน อาทิ จัตุรัสเทียนอันเหมิน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระราชวังต้องห้าม มหาศาลาประชาคม และสถานที่สำคัญน้องใหม่อย่าง ศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติหรือโรงละครแห่งชาติใหม่ ที่ผู้นำจีนตั้งใจให้เป็นเรือธงในการสะท้อนวัฒนธรรม เวทีสันทนาการด้านวัฒนธรรมบันเทิงให้แก่แขกผู้มาเยี่ยมเยือนช่วงโอลิมปิก โดยผู้ที่ต้องการมาเยี่ยมชมโรงละครแห่งนี้ให้ออกจากสถานีรถไฟใต้ดินประตู C
โรงละครไข่ยักษ์เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ปอล อองโดร โดยเหตุที่เลือกออกแบบอาคารเป็นรูปไข่ ก็เพราะว่าไข่เป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาเกิดใหม่ เปลือกไข่ทำจากโลหะไททาเนียม 20,000 แผ่นและติดกระจกตรงกลาง ด้วยรูปแบบอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้โรงละครแห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีนักท่องเที่ยวทยอยกันมาถ่ายรูปกับไข่ยักษ์ไม่ขาด
หลายคนที่เพิ่งมาที่นี่เป็นครั้งแรกอาจสงสัยเรื่องทางเข้าของโรงละครเพราะโรงละครไข่ยักษ์นั้นตั้งอยู่กลางน้ำ ไม่มีทั้งประตูและสะพานข้ามใดๆ ดังเช่นหญิงชราชาวจีน2 คนที่เดินไปเดินมาอยู่พักหนึ่ง จึงตัดสินใจเดินมาถามทางเข้าโรงละครกับเรา อันที่จริงแล้วโรงละครไข่ยักษ์นั้นต้องเข้าจากทางชั้นใต้ดิน โดยปากทางเข้าอยู่ด้านหน้าห่างจากตัวตึกราว 70 เมตร
ทั้งนี้โรงละครไข่ยักษ์นั้น เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2001 แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2007 และเปิดการแสดงรอบประเดิมในเดือนกันยายนปีเดียวกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 118,900 ตารางเมตร ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ เวทีสำหรับการแสดงโอเปร่า ดนตรี ละคร ห้องโถงจัดแสดงงานศิลปะซึ่งจะเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนศิลปะ ตลอดจนร้านขายแผ่นวีซีดี,ดีวีดีเพลงและการแสดงต่างๆ
ภายในอาคารแบ่งเป็นโรงจัดการแสดงหลัก 3 แห่ง ได้แก่ โรงจัดการแสดงโอเปร่า (โอเปร่า ฮอลล์) ขนาด 2,416 ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักของการแสดงโอเปร่า การเต้นระบำ และบัลเล่ต์, โรงจัดการแสดงดนตรี (มิวสิค ฮอลล์) ขนาด 2,017 ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักในการจัดแสดงออร์เคสตรา และดนตรีพื้นบ้าน, และโรงจัดการแสดงละคร (ดราม่า ฮอลล์) ขนาด 1,040 ที่นั่ง จะเป็นเวทีสำหรับการแสดงละคร หรืออุปรากรท้องถิ่น รวมทั้งอุปรากรปักกิ่ง
โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคาดว่าจีนมีการก่อสร้างสถานที่ใหม่ๆ เพื่อโอลิมปิกราว 10,000 แห่ง แต่หลายแห่งจนบัดนี้ก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ที่สร้างเสร็จทันและกลายเป็นดาวเด่นในตอนนี้ก็คงหนีไม่พ้นสนามกีฬาลูกบาศก์น้ำ สนามกีฬารังนก ตึกสำนักงานใหญ่ซีซีทีวี และโรงละครไข่ยักษ์ เป็นต้น
สนามกีฬาแห่งชาติ (National Stadium)
สนามกีฬาแห่งชาติ หรือ รังนก (Bird Nest) พระเอกของงานครั้งนี้เป็นทั้งสถานที่จัดการแข่งขันกรีฑา การแข่งขันฟุตบอลและ ยังเป็นที่จัดพิธีเปิดและปิดกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 29 ด้วย
รังนกเป็นผลงานการออกแบบร่วมระหว่างบริษัท Herzog and De Meuron Architekten AG แห่งสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ชนะรางวัลสถาปนิกโลก Pritzker Prize, บริษัท China Architecture Design Institute และบริษัท Ove Arup ของออสเตรเลีย เริ่มลงเสาก่อสร้างเมื่อปี 2004 โดยได้ไอเดียจากช่องหน้าต่างโบราณของจีนและลวดลายของเครื่องเคลือบกังไส
ตัวอาคารด้านนอกออกแบบโดยใช้เหล็กดิบสีเทาสานกันไปมาเสมือนกิ่งไม้ถักทอประสานกันจนกลายเป็นรังนก นับเป็นสนามกีฬาที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบมากที่สุดและก่อสร้างยากที่สุดในโลก นอกจากนี้อาคารยังไม่มีผนังปิดทึบ ทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ในแง่ของขนาด รังนกยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนพื้นที่ทั้งหมด 258,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอย 204,000 ตารางเมตร อาคารสูง 68.5 เมตร กว้าง 297 เมตร ยาว 333 เมตร สามารถจัดวางที่นั่งสำหรับผู้ชมได้ถึง 91,000 ที่นั่ง โดยในจำนวนนี้ได้รวมส่วนที่เป็นเก้าอี้เสริมแล้ว 11,000 ที่นั่ง ใช้งบประมาณการก่อสร้างไปถึง 3,500 ล้านหยวน
สนามกีฬาทางน้ำ (National Aquatic Center)
ไม่ไกลจากสนามกีฬารังนกก็คือ สนามกีฬาทางน้ำ หรือลูกบาศก์น้ำ (Water Cube) ที่ใช้เป็นสถานที่แข่งกีฬาทางน้ำต่างๆ ทั้งว่ายน้ำ กระโดดน้ำ และระบำใต้น้ำ
สนามกีฬาแห่งนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2003 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 50,000 ตารางเมตร รองรับผู้ชมได้ 17,000 ที่นั่ง
ตัวอาคารด้านนอกมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยบริษัท China Construction Design International (CCDI) ร่วมกับบริษัท PTW Architects และ Ove Arup ของออสเตรเลีย ได้ออกแบบผนังอาคารด้านนอกให้เป็นรูปฟองสบู่โดยใช้เยื่อหุ้มพลาสติกโปร่งใสทำจากเทฟลอนชนิด ETFE ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่มีความแข็งแกร่งคงทนมาก อีกทั้งยังช่วยดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวและสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกในฤดูร้อน จึงช่วยให้อุณหภูมิภายในตัวอาคารเย็นสบายและยอมให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาได้ถึงร้อยละ 90
ในยามกลางวันเยื่อหุ้มพลาสติกรูปฟองสบู่สีฟ้าอ่อนสะท้อนแสงแดดดูงามตา แต่ที่งามยิ่งกว่าคือลูกบาศก์น้ำในยามค่ำคืนที่มีการเปิดไฟหลากสีขับให้สนามกีฬา Water Cube ทอประกายงดงามโดดเด่นยิ่ง ล่อตาล่อใจให้ผู้มาเยือนรัวชัตเตอร์เก็บภาพความประทับใจไว้ นอกจากนี้บนอาคารสนามกีฬายังมีตัวอักษรภาษาจีนและภาษาอังกฤษวิ่งเป็นระยะ อาทิ "One World One Dream”, “同一个世界, 同一个梦想”เป็นต้น
จากที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสสนามกีฬาแห่งชาติ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อสนามกีฬา "รังนก" (ชาวจีนเรียก "เหนี่ยวเฉา” 鸟巢) และสนามกีฬาลูกบาศก์น้ำ (ชาวจีนเรียก “สุ่ยลี่ฟาง” 水立方) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ "โอลิมปิกกรีน" (Olympic Green) ช่วงนี้มีทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติแห่กันไปเยี่ยมชมและถ่ายภาพสนามกีฬาทั้งสองแน่นขนัดเลยทีเดียว
แต่เพราะช่วงโอลิมปิกจีนเข้มงวดเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมากจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่โอลิมปิก นักกีฬา นักข่าวลงทะเบียน ผู้ได้รับอนุญาตและคนที่ถือบัตรชมการแข่งขันภายในสนามกีฬาทั้งสองเข้าไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมชิ้นเอกระดับโลกแบบใกล้ชิดได้
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าหลายคนจะได้เพียงชื่นชมอยู่ห่างๆ นอกเขตรั้วเหล็กกั้น ไม่สามารถเข้าไปชมข้างในได้ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าแก่การได้มายลโฉมสักครั้งในชีวิต
นอกจากนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว ก็ยังมีบางคนที่ต้องการแสดงออกว่าสนับสนุนโอลิมปิกปักกิ่งมาปักหลักทำกิจกรรมอยู่บริเวณนั้นด้วย อาทิ ชายพิการแขน 2 ข้าง และขาขวา 1 ข้าง มานั่งสาธิตการใช้เท้าปักผ้าเป็นรูปต่างๆ เกี่ยวกับโอลิมปิก รวมไปถึงบรรดาพ่อค้าตั๋วผีหลายสิบคนที่มาเดินเสนอขายตั๋วเข้าชมการแข่งขันโอลิมปิกด้วยราคาแพงลิ่ว แม้ว่าล่าสุดจะมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รวบตัวพ่อค้าตั๋วผีเหล่านี้ไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเห็นพ่อค้าตั๋วบางส่วนหลบลงไปขายตามทางเดินรถไฟใต้ดินแทน
สำหรับการเดินทางมาเยี่ยมชมสนามกีฬาทั้ง 2 นั้น สามารถมาได้ง่ายๆ ด้วยการนั่งรถไฟใต้ดินสาย 10 มาลงที่สถานีเป๋ยถู่เฉิง (Beitucheng) แล้วออกมาทางประตู D2 จะพบป้ายรถเมล์พอดี จากนั้นก็นั่งรถเมล์สาย 1 หรือ 2 จากฝั่งเดียวกันมาลงตรงป้ายหน้าสนามกีฬา Water Cube หรือถ้าอยากไปชมสนามรังนกก็ให้นั่งรถเมล์สาย 113 มาลงที่ป้ายเป่ยเฉิงเฉียวซี (Beichengqiaoxi) ซึ่งป้ายนี้จะใกล้สนามรังนกมากกว่า
อีกทางเลือกหนึ่งคือ พอลงที่สถานีเป๋ยถู่เฉิง แล้วไปต่อรถไฟใต้ดินสาย 8 ซึ่งวิ่งตรงเข้าสู่โอลิมปิกกรีน ลงที่สถานีโอลิมปิก สปอร์ต เซนเตอร์ (Aotizhongxin) (แต่ในช่วงโอลิมปิกบุคคลทั่วไปที่ไม่มีบัตรเข้าชมการแข่งขันที่สนามจัดขึ้นในวันนั้นจะไม่สามารถขึ้นรถไฟใต้ดินสาย 8 ได้ อย่างไรก็ตามหลังโอลิมปิกปิดฉากคาดว่าจะเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้าได้)
สำหรับใครที่ต้องการเดินออกกำลังกาย หลังจากลงที่เป๋ยถู่เฉิงแล้วสามารถเดินขึ้นไปเรื่อยๆ ตามถนนเป่ยเฉินลู่ (Beichenlu) ก็จะเจอสนามกีฬารังนก ระหว่างทางจะผ่านสวนนิทรรศการชนชาติจีนขนาดใหญ่อยู่สองฟากถนน ภายในจำลองบ้านเรือน รูปแบบความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยในจีนทั้ง 56 ชนเผ่า มีการแสดงวัฒนธรรมการเต้นระบำของชนชาติต่างๆ จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และชิมอาหารท้องถิ่น อาทิ เหล้านมแพะ เป็นต้น ผู้ที่สนใจเข้าชมสามารถซื้อบัตรผ่านประตูเข้าไปชม สนนราคาใบละ 90 หยวน (ราว 450 บาท)
ตึก L คว่ำสำนักงานใหญ่ซีซีทีวี
รถไฟใต้ดินสาย 10 นอกจากจะนำเราไปสู่สถานีโอลิมปิกแล้ว ถ้านั่งเลยมาลงที่สถานีจินไถซีเจ้า (Jintaixizhao) หรือกั๋วเม่า (Guomao) เราก็ยังจะได้ยลโฉมอาคารใหม่สำนักงานใหญ่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศจีน หรือ ซีซีทีวี ซึ่งนิตยสารไทม์สได้ยกย่องให้เป็น 1 ใน 10 สถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมของโลก โดยตึกใหม่ซีซีทีวีตั้งอยู่ระหว่าง 2 สถานีนี้ หรือจะนั่งรถไฟใต้ดินสาย 1 ก็มาลงกั๋วเม่าได้เช่นกัน เพราะสถานีนี้เป็นสถานีเปลี่ยนระหว่างสาย 10 และสาย 1 และนับเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่มีทางเข้า-ออกมากที่สุดในจีน ถึง 8 ช่องทาง เพราะอยู่ในย่านธุรกิจ มีคนใช้บริการสถานีนี้แน่นชนัดเลยทีเดียว
ตึกซีซีทีวีใหม่นั้นเป็นผลงานการออกแบบของเรม คูลฮาซ จากบริษัทออกแบบ OMA (the Office for Metropolitan Architecture) โดยมีบริษัท Ove Arup รับผิดชอบด้านวิศวกรรม เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2004 ด้วยงบประมาณสูงถึง 5,000 ล้านหยวน ตั้งอยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ(CBD) บนถนนตงซันหวน เขตเฉาหยางของปักกิ่ง ซึ่งมีตึกสูงระฟ้ากระจุกตัวอยู่กว่า 300 ตึก
ตึกใหม่นี้สร้างขึ้นเพื่อรับหน้าที่สำคัญในการรายงานข่าวโอลิมปิกปักกิ่ง โดยเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา ซีซีทีวีได้เปิดบ้านใหม่ให้นักข่าวทั้งจีน-เทศกว่า 150 คนเข้าเยี่ยมชมความอลังการและความทันสมัย ภายใต้การรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดอาวุธตรวจสอบหลักฐานของผู้ที่เข้าเยี่ยมชม หรือแม้กระทั่งคำสั่งห้ามนำของเหลวติดตัวเข้าไปด้วย เป็นต้น
ด้วยรูปทรงตึกที่แปลกตาแลดูคล้ายตัว L คว่ำ 2 ตัวพิงกันอยู่บนฐานเดียวกัน และตัวตึกที่สูงถึง 234 เมตร มี 52 ชั้น ไม่รวมชั้นใต้ดินอีก 3 ชั้น บนพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 380,000 ตารางเมตร ทำให้เราสามารถมองเห็นตึกได้อย่างชัดเจน แม้จะอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตรก็ตาม
โดยสำนักงานใหญ่ ซีซีทีวีนั้นนับเป็นแหล่งรวมทุกขั้นตอนการผลิตรายการข่าวและโทรทัศน์ไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายธุรการ ฝ่ายข่าว ฝ่ายธุรกิจ ห้องส่งกระจายสัญญาณ และฝ่ายผลิตรายการ
นอกจากตึกซีซีทีวีที่เป็นตึกหลักแล้ว ในบริเวณเดียวกันยังมีตึก TVCC (Television Cultural Center) ซึ่งภายในประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ โรงละคร สตูดิโอ ร้านอาหาร และที่พักระดับ 5 ดาว กินพื้นที่ 60,ooo ตารางเมตร ส่วนที่เหลือมีพื้นที่ประมาณ 110,000 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่จอดรถ และอาคารรักษาความปลอดภัย
โรงละคร "ไข่ยักษ์"
จากสถานีกั๋วเม่า รถไฟใต้ดินสาย 10 เราเปลี่ยนมานั่งสาย 1 แล้วมาลงที่สถานีเทียนอันเหมินซี (Tiananmenxi) ซึ่งเป็นประตูสู่สถานที่สำคัญหลายแห่งของจีน อาทิ จัตุรัสเทียนอันเหมิน พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระราชวังต้องห้าม มหาศาลาประชาคม และสถานที่สำคัญน้องใหม่อย่าง ศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติหรือโรงละครแห่งชาติใหม่ ที่ผู้นำจีนตั้งใจให้เป็นเรือธงในการสะท้อนวัฒนธรรม เวทีสันทนาการด้านวัฒนธรรมบันเทิงให้แก่แขกผู้มาเยี่ยมเยือนช่วงโอลิมปิก โดยผู้ที่ต้องการมาเยี่ยมชมโรงละครแห่งนี้ให้ออกจากสถานีรถไฟใต้ดินประตู C
โรงละครไข่ยักษ์เป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ปอล อองโดร โดยเหตุที่เลือกออกแบบอาคารเป็นรูปไข่ ก็เพราะว่าไข่เป็นสัญลักษณ์ของการกลับมาเกิดใหม่ เปลือกไข่ทำจากโลหะไททาเนียม 20,000 แผ่นและติดกระจกตรงกลาง ด้วยรูปแบบอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้โรงละครแห่งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีนักท่องเที่ยวทยอยกันมาถ่ายรูปกับไข่ยักษ์ไม่ขาด
หลายคนที่เพิ่งมาที่นี่เป็นครั้งแรกอาจสงสัยเรื่องทางเข้าของโรงละครเพราะโรงละครไข่ยักษ์นั้นตั้งอยู่กลางน้ำ ไม่มีทั้งประตูและสะพานข้ามใดๆ ดังเช่นหญิงชราชาวจีน2 คนที่เดินไปเดินมาอยู่พักหนึ่ง จึงตัดสินใจเดินมาถามทางเข้าโรงละครกับเรา อันที่จริงแล้วโรงละครไข่ยักษ์นั้นต้องเข้าจากทางชั้นใต้ดิน โดยปากทางเข้าอยู่ด้านหน้าห่างจากตัวตึกราว 70 เมตร
ทั้งนี้โรงละครไข่ยักษ์นั้น เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี 2001 แล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2007 และเปิดการแสดงรอบประเดิมในเดือนกันยายนปีเดียวกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 118,900 ตารางเมตร ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ เวทีสำหรับการแสดงโอเปร่า ดนตรี ละคร ห้องโถงจัดแสดงงานศิลปะซึ่งจะเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนศิลปะ ตลอดจนร้านขายแผ่นวีซีดี,ดีวีดีเพลงและการแสดงต่างๆ
ภายในอาคารแบ่งเป็นโรงจัดการแสดงหลัก 3 แห่ง ได้แก่ โรงจัดการแสดงโอเปร่า (โอเปร่า ฮอลล์) ขนาด 2,416 ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักของการแสดงโอเปร่า การเต้นระบำ และบัลเล่ต์, โรงจัดการแสดงดนตรี (มิวสิค ฮอลล์) ขนาด 2,017 ที่นั่ง จะเป็นเวทีหลักในการจัดแสดงออร์เคสตรา และดนตรีพื้นบ้าน, และโรงจัดการแสดงละคร (ดราม่า ฮอลล์) ขนาด 1,040 ที่นั่ง จะเป็นเวทีสำหรับการแสดงละคร หรืออุปรากรท้องถิ่น รวมทั้งอุปรากรปักกิ่ง