เอเอฟพี – นักสิทธิมนุษยชนครวญหานักกีฬาโอลิมปิกผู้กล้า ร่วมวีรกรรมประท้วงจีน โดยกำลังกุมขมับ คิดหาสัญลักษณ์แปลกแหวกแนวให้นักกีฬาโอลิมปิกไว้ใช้ เพื่อไม่ล่วงละเมิดกฎบัตรโอลิมปิก
ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยและตรวจตราอย่างเข้มงวดเป็นที่สุดของจีน เพื่อไม่ให้เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นได้ระหว่างปักกิ่งเกมส์อันยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ยังมีการปลุกผีกฎบัตรโอลิมปิก ให้ลุกขึ้นมายืนเงื้อมง่า เตรียมบีบคอหอยเหล่านักกีฬา ที่ละเมิดกฎ
บรรดากลุ่มสิทธิมนุษยชนจึงต้องระดมสมองคิดค้นวิธีการให้นักกีฬาประท้วงอย่างแนบเนียนที่สุด เพื่อทะลุทะลวงด่านข้อห้าม ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลขีดไว้เฉียบขาดว่าห้าม“ การประท้วง หรือการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง,ศาสนา หรือเชื้อชาติทุกรูปแบบ”
จะใช้สัญลักษณ์อะไรกันดี? ผ้าคาดศีรษะ, สัญลักษณ์มือแสดงเครื่องหมายลับ หรือผลส้มปอกเปลือก นักกีฬาจึงจะไม่ต้องถูกลงโทษ
กลุ่มนักเคลื่อนไหวต้องการให้การต่อต้านมีพลังเหมือนเมื่อครั้งที่นักกรีฑาผิวหมึกชาวอเมริกัน ทอมมี สมิท และจอห์น คาร์ลอสเคยชูกำปั้น ซึ่งสวมด้วยถุงมือดำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เม็กซิโกเมื่อปี 1968 จนสร้างความสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่ว
กลุ่มรณรงค์เพื่อทิเบตเรียกร้องให้นักกีฬาทำสัญลักษณ์มือเป็นรูปตัว T เพื่อแสดงการสนับสนุนการต่อสู้ของชาวทิเบตให้รอดพ้นจากการกดขี่ของจีน
ด้านนักเคลื่อนไหวชาวยุโรปเตรียมใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ประท้วงเพื่อสิทธิมนุษยชน ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ขอร้องให้นักกีฬาสวมสายรัดข้อมือสำหรับนักกีฬา หรือหาวิธีการอื่น ๆ เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองของพวกตน
สำหรับสัญลักษณ์มือรูปตัว T ซึ่งคล้ายเวลาโค้ชทำสัญญาณหยุดพักในการแข่งขันบาสเกตบอลนั้น เป็นวิธีที่ง่าย และอาจเป็นสัญลักษณ์ประท้วงที่ได้ผล
“เพียงแต่ว่าตอนนี้ สิ่งที่เราต้องการก็คือนักกีฬาที่กล้าหาญจำนวนหนึ่ง ที่เต็มใจแสดงให้เห็นว่าพวกเขาใส่ใจเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการทำสัญลักษณ์มือรูปตัว T ในปักกิ่ง” แอนน์ โฮล์มส์ รักษาการณ์ผู้อำนวยการกลุ่ม “ฟรี ทิเบต แคมเปญ” (Free Tibet Campaign) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนระบุ
อีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษจากกฎบัตรโอลิมปิกได้แก่“ทีมดาฟูร์” ซึ่งประกอบด้วยนักกีฬาในอดีตและปัจจุบันกว่า 360 คนจาก 49 ประเทศ เพื่อหาทางยุติสงครามนองเลือดในภูมิภาคดาฟูร์ของซูดาน
จีน ซึ่งเป็นพันธมิตรสนิทของรัฐบาลกรุงคาร์ทูมถูกนานาชาติวิจารณ์อย่างหนัก ฐานนิ่งดูดายไม่ช่วยหาทางหยุดยั้งความขัดแย้งในภูมิภาคดังกล่าวเท่าที่ควรจะเป็น
สมาชิก“ทีมดาฟูร์” ซึ่งเตรียมลงแข่งขัน จะคาดศีรษะด้วยผ้าสีเขียวกับดำ นอกจากนั้น ยังจะสวมสายรัดข้อมือ ซึ่งทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะอีกด้วย
“เพื่อให้โลกประจักษ์ว่า นักกีฬาของโลกจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อปกป้องประชาชนในดาฟูร์” พวกเขาอธิบายในเว็บไซต์
ด้านนักรณรงค์อีกกลุ่มหนึ่งถึงขั้นเรียกร้องให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แห่งสหรัฐฯ สวมสายรัดข้อมือ เพื่อแฉชะตากรรมผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือในจีนให้แดงโร่ในมหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก
“แนวร่วมเพื่อเสรีภาพของชาวเกาหลีเหนือ” ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ได้วอนขอบุชผ่านทางจดหมายเมื่อเดือนก่อน หลังจากผู้นำทำเนียบขาว กล่าวว่า จะเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันในวันที่ 8 สิงหาคม
เชื่อกันว่า ชาวเกาหลีเหนือถึง 3 แสนคนได้หลบหนีเข้ามายังจีน แต่จีนถือว่าคนเหล่านี้เป็นผู้อพยพเพื่อเหตุผลทางเศรษฐกิจ จึงมีการล่าตัวจับส่งกลับประเทศ โดยบางคนเมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ก็ถูกประหารชีวิต
ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนในยุโรปประกาศว่า ได้ค้นพบวิธีประท้วงแบบใหม่ ซึ่งเนียนเสียจนกระทั่งไม่มีทางที่ตำรวจแดนมังกรจะจับได้เด็ดขาด โดยกลุ่มที่ชื่อว่า “สีส้ม” (The Color Orange) ซึ่งก่อตั้งโดยเจนส์ กัลส์เชียต (Jens Galschiot) ประติมากรชาวเดนมาร์ก กำลังปลุกเร้าให้นักกีฬาและผู้ชมการแข่งขันพร้อมใจกันสวมใส่ “อะไรก็ได้ที่เป็นสีส้ม” อันเป็นสัญลักษณ์ประท้วงปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน
“ในสถานการณ์ที่เหมาะเหม็งเช่นนี้ แม้แต่การปอกผลส้ม ก็ถือเป็นการประกาศการต่อต้านที่ดังระเบิดแล้ว” กลุ่มสีส้มแสดงความเชื่อมั่นในเว็บไซต์
ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยและตรวจตราอย่างเข้มงวดเป็นที่สุดของจีน เพื่อไม่ให้เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นได้ระหว่างปักกิ่งเกมส์อันยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ยังมีการปลุกผีกฎบัตรโอลิมปิก ให้ลุกขึ้นมายืนเงื้อมง่า เตรียมบีบคอหอยเหล่านักกีฬา ที่ละเมิดกฎ
บรรดากลุ่มสิทธิมนุษยชนจึงต้องระดมสมองคิดค้นวิธีการให้นักกีฬาประท้วงอย่างแนบเนียนที่สุด เพื่อทะลุทะลวงด่านข้อห้าม ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลขีดไว้เฉียบขาดว่าห้าม“ การประท้วง หรือการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง,ศาสนา หรือเชื้อชาติทุกรูปแบบ”
จะใช้สัญลักษณ์อะไรกันดี? ผ้าคาดศีรษะ, สัญลักษณ์มือแสดงเครื่องหมายลับ หรือผลส้มปอกเปลือก นักกีฬาจึงจะไม่ต้องถูกลงโทษ
กลุ่มนักเคลื่อนไหวต้องการให้การต่อต้านมีพลังเหมือนเมื่อครั้งที่นักกรีฑาผิวหมึกชาวอเมริกัน ทอมมี สมิท และจอห์น คาร์ลอสเคยชูกำปั้น ซึ่งสวมด้วยถุงมือดำในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เม็กซิโกเมื่อปี 1968 จนสร้างความสะเทือนเลื่อนลั่นไปทั่ว
กลุ่มรณรงค์เพื่อทิเบตเรียกร้องให้นักกีฬาทำสัญลักษณ์มือเป็นรูปตัว T เพื่อแสดงการสนับสนุนการต่อสู้ของชาวทิเบตให้รอดพ้นจากการกดขี่ของจีน
ด้านนักเคลื่อนไหวชาวยุโรปเตรียมใช้สีส้มเป็นสัญลักษณ์ประท้วงเพื่อสิทธิมนุษยชน ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ขอร้องให้นักกีฬาสวมสายรัดข้อมือสำหรับนักกีฬา หรือหาวิธีการอื่น ๆ เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองของพวกตน
สำหรับสัญลักษณ์มือรูปตัว T ซึ่งคล้ายเวลาโค้ชทำสัญญาณหยุดพักในการแข่งขันบาสเกตบอลนั้น เป็นวิธีที่ง่าย และอาจเป็นสัญลักษณ์ประท้วงที่ได้ผล
“เพียงแต่ว่าตอนนี้ สิ่งที่เราต้องการก็คือนักกีฬาที่กล้าหาญจำนวนหนึ่ง ที่เต็มใจแสดงให้เห็นว่าพวกเขาใส่ใจเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยการทำสัญลักษณ์มือรูปตัว T ในปักกิ่ง” แอนน์ โฮล์มส์ รักษาการณ์ผู้อำนวยการกลุ่ม “ฟรี ทิเบต แคมเปญ” (Free Tibet Campaign) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอนระบุ
อีกกลุ่มหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษจากกฎบัตรโอลิมปิกได้แก่“ทีมดาฟูร์” ซึ่งประกอบด้วยนักกีฬาในอดีตและปัจจุบันกว่า 360 คนจาก 49 ประเทศ เพื่อหาทางยุติสงครามนองเลือดในภูมิภาคดาฟูร์ของซูดาน
จีน ซึ่งเป็นพันธมิตรสนิทของรัฐบาลกรุงคาร์ทูมถูกนานาชาติวิจารณ์อย่างหนัก ฐานนิ่งดูดายไม่ช่วยหาทางหยุดยั้งความขัดแย้งในภูมิภาคดังกล่าวเท่าที่ควรจะเป็น
สมาชิก“ทีมดาฟูร์” ซึ่งเตรียมลงแข่งขัน จะคาดศีรษะด้วยผ้าสีเขียวกับดำ นอกจากนั้น ยังจะสวมสายรัดข้อมือ ซึ่งทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะอีกด้วย
“เพื่อให้โลกประจักษ์ว่า นักกีฬาของโลกจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อปกป้องประชาชนในดาฟูร์” พวกเขาอธิบายในเว็บไซต์
ด้านนักรณรงค์อีกกลุ่มหนึ่งถึงขั้นเรียกร้องให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แห่งสหรัฐฯ สวมสายรัดข้อมือ เพื่อแฉชะตากรรมผู้อพยพชาวเกาหลีเหนือในจีนให้แดงโร่ในมหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก
“แนวร่วมเพื่อเสรีภาพของชาวเกาหลีเหนือ” ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ได้วอนขอบุชผ่านทางจดหมายเมื่อเดือนก่อน หลังจากผู้นำทำเนียบขาว กล่าวว่า จะเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันในวันที่ 8 สิงหาคม
เชื่อกันว่า ชาวเกาหลีเหนือถึง 3 แสนคนได้หลบหนีเข้ามายังจีน แต่จีนถือว่าคนเหล่านี้เป็นผู้อพยพเพื่อเหตุผลทางเศรษฐกิจ จึงมีการล่าตัวจับส่งกลับประเทศ โดยบางคนเมื่อกลับถึงบ้านเกิดเมืองนอนแล้ว ก็ถูกประหารชีวิต
ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนในยุโรปประกาศว่า ได้ค้นพบวิธีประท้วงแบบใหม่ ซึ่งเนียนเสียจนกระทั่งไม่มีทางที่ตำรวจแดนมังกรจะจับได้เด็ดขาด โดยกลุ่มที่ชื่อว่า “สีส้ม” (The Color Orange) ซึ่งก่อตั้งโดยเจนส์ กัลส์เชียต (Jens Galschiot) ประติมากรชาวเดนมาร์ก กำลังปลุกเร้าให้นักกีฬาและผู้ชมการแข่งขันพร้อมใจกันสวมใส่ “อะไรก็ได้ที่เป็นสีส้ม” อันเป็นสัญลักษณ์ประท้วงปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน
“ในสถานการณ์ที่เหมาะเหม็งเช่นนี้ แม้แต่การปอกผลส้ม ก็ถือเป็นการประกาศการต่อต้านที่ดังระเบิดแล้ว” กลุ่มสีส้มแสดงความเชื่อมั่นในเว็บไซต์