มิอาจปฏิเสธได้ว่าในชีวิตประจำวันของเราทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับห้องน้ำอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เช้าเข้า กลางวันเข้า เย็นเข้า อย่างในประเทศจีนเอง เขาก็มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับห้องน้ำยาวนานกว่า 3,000 ปีก็ว่าได้ ไม่เพียงแต่ประชาชนต้องพึ่งพาห้องน้ำห้องท่า แม้แต่ฮ่องเต้ หรือเชื้อพระวงศ์ในประวัติศาสตร์จีนเอง ไม่ว่าจะสูงศักดิ์สักแค่นั้น ก็ยังต้องกิน ต้องดื่ม และปลดทุกข์เช่นกัน
ในประวัติศาสตร์ของจีนนั้น มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับห้องน้ำกับกลุ่มคนในชนชั้นปกครองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละเรื่องราวนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการทำธุระและสภาพห้องน้ำในแต่ละยุคสมัยนั่นเอง
ดังเช่นในคัมภีร์ประวัติศาสตร์ “จั่วจ้วน” ของจีนนั้น ได้มีบันทึกกล่าวถึงเรื่องราวของ “จิ้นจิ่งกง” เจ้าผู้ครองรัฐจิ้น ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคชุนชิวช่วงก่อนคริสตศักราช 599-581 ปี
เล่ากันว่า เคยมีหมอดูชื่อดังทำนายว่า จิ้นจิ่งกงจะมีชีวิตอยู่ไม่ถึงเสวยข้าวใหม่ของปีนี้ (ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้) เมื่อจิ้นจิ่งกงทรงทราบก็ให้พิโรธยิ่งนัก
บ่ายวันหนึ่งขณะที่พระองค์กำลังจะเสวยข้าวใหม่ของปีนั้น จู่ๆ ก็ทรงนึกถึงคำทำนายของหมอดูผู้นั้น จึงได้บัญชาให้ทหารไปจับกุมตัวหมอดูผู้นั้นมาให้นั่งดูพระองค์เสวยข้าวใหม่ เพื่อให้เห็นประจักษ์แก่ตาว่าคำทำนายของหมอดูนั้นไร้สาระและไม่เป็นความจริง
แม้ถึงเวลานี้แล้ว หมอดูชื่อดังก็ยังมั่นใจว่าพระองค์จะอยู่ไม่ถึงเสวยข้าวใหม่อย่างแน่นอน ทำให้จิ้นจิ่งกงทรงพิโรธมาก สั่งประหารชีวิตหมอดูผู้นั้น และในขณะที่พระองค์กำลังจะเสวยข้าวใหม่นั่นเอง จู่ๆ ก็ทรงรู้สึกปวดท้องอย่างรุนแรง จึงได้รีบเสด็จไปเข้าห้องน้ำ ด้วยความรีบร้อนไม่ทันระวัง ทำให้พระองค์พลัดตกลงไปในบ่ออุจจาระสิ้นพระชนม์
จิ้นจิ่งกงนั้นถือเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจยิ่งในประวัติศาสตร์จีน พระองค์เคยนำทัพไปสู้รบยังรัฐต่างๆ กระทั่งมีชัยเหนือรัฐฉู่ และรัฐฉี แต่นึกไม่ถึงว่าเจ้ารัฐผู้นี้จะมาสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุอันพิลึกพิลั่นและเหลือเชื่อเช่นนี้ เชื่อกันว่าจิ้นจิ่งกง น่าจะเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นองค์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่สิ้นพระชนม์อย่างอเนจอนาถเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม บันทึกเรื่องราวของจิ้นจิ่งกงนี้ทำให้อนุชนคนรุ่นหลัง พอจะจินตนาการได้ว่าสภาพห้องน้ำในยุคชุนชิวนั้น นอกจากเป็นห้องน้ำแคบๆ มีไม้กระดานสองอันวางพาดให้เหยียบขึ้นไปทำธุระเหนือปากบ่ออุจจาระแล้ว ยังทำให้พอคาดเดาได้ว่า บ่ออุจจาระนั้นต้องมีขนาดลึกมากถึงขนาดทำให้คนผู้หนึ่งตกลงไปและเสียชีวิตได้
หลังจากเกิดเหตุสลดกับจิ้นจิ่งกงแล้ว ห้องน้ำในพระราชสำนักได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม อย่างน้อยยุคต่อๆ มาก็ไม่มีบันทึกว่ามีเจ้าผู้ครองรัฐคนใดตกลงไปสิ้นพระชนม์อีก
กระทั่งมาถึงราชวงศ์ฮั่น ก็ได้มีบันทึกเกี่ยวกับการทำธุระของฮ่องเต้ ฮั่นเกาจู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยในบันทึกระบุว่า หากระหว่างการประชุมกับเสนาบดี และข้าราชบริพารต่างๆ ฮั่นเกาจู่ทรงรู้สึกปวดท้องเบาขึ้นมา เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาการประชุม พระองค์ก็จะทรงมีบัญชาให้ขุนนางฝ่ายบุ๋นผู้หนึ่งถอดหมวกขุนนางของเขาให้แก่พระองค์ จากนั้นก็จะทรงหันหลัง ทำธุระใส่ในหมวกใบนั้น
อาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากนิสัยการทำธุระของปฐมกษัตริย์ฮั่นนั่นเอง จึงทำให้ฮ่องเต้รัชกาลต่อๆ มากว่าครึ่งเริ่มหันมาใช้โถปัสสาวะแทนที่จะไปเข้าห้องน้ำ ดังเช่นในบันทึกปกิณกะเมืองซีจิง (เมืองซีจิง หมายถึง เมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) บันทึกไว้ว่า ในราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นนั้นนิยมใช้โถปัสสาวะทำจากหยก ฮ่องเต้จะมีผู้ติดตามคอยถือโถปัสสาวะตามไปทุกหนแห่ง เพื่อให้พระองค์ทรงทำธุระได้โดยสะดวกสบาย
แม้แต่ ฮั่นอู่ตี้ ฮ่องเต้ผู้ยิ่งยงแห่งราชวงศ์ฮั่น ก็มีเรื่องเล่าว่า พระองค์เคยทรงอนุญาตให้แม่ทัพใหญ่ เว่ยชิง เข้าเฝ้าในขณะที่พระองค์ทรงปลดทุกข์หนักอยู่ ตามที่บันทึกไว้ในตำราจี๋อั้นแห่งราชวงศ์ฮั่น แต่ในบันทึกมิได้ระบุไว้ว่า เว่ยชิงนั้นมีความรู้สึกอย่างไร แต่เชื่ออย่างหนึ่งว่า ในสายตาของฮั่นอู่ตี้แล้วจะต้องให้ความสำคัญแก่แม่ทัพเว่ยผู้นี้เป็นอย่างมาก ถึงขนาดให้เขาเข้าเฝ้าขณะที่ทรงทำธุระเลยทีเดียว
ห้องน้ำองค์หญิงฤาหอมหวนชวนดม
ว่ากันถึงเรื่องกลิ่นแล้ว ห้องน้ำที่ไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีกลิ่นไม่น่าพิสมัยทั้งนั้น เพราะเป็นที่ไว้ซึ่งสิ่งปฏิกูลต่างๆ แล้วห้องน้ำในพระราชสำนัก ของฮ่องเต้ ฮองเฮา และองค์หญิงเล่า จะมีกลิ่นเช่นเดียวกันหรือไม่
ในบันทึก “เรื่องเล่าชาวบ้าน” ระบุไว้ว่า ในราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265-316) ฮ่องเต้ จิ้นอู่ตี้ ได้ทรงคัดเลือกแม่ทัพใหญ่ หวังตุน ให้เป็นราชบุตรเขย อภิเษกสมรสกับองค์หญิงอู่หยัง
คืนวันอภิเษกสมรสนั่นเองเป็นครั้งแรกที่หวังตุนได้ใช้ห้องน้ำขององค์หญิง ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นห้องน้ำของราชนิกูลนั้นเขารู้สึกได้ว่า ห้องน้ำขององค์หญิงช่างงดงามโอ่โถง และหรูหรากว่าห้องน้ำของสามัญชนยิ่งนัก แต่เมื่อหวังตุนเดินเข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดกลับพบว่า ที่แท้จริงแล้ว ห้องน้ำในพระราชวังก็มีกลิ่นเหม็นเช่นกัน
หวังตุนเหลือบไปเห็นมุมหนึ่งของห้องน้ำ มีกล่องบรรจุพุทราแห้งวางไว้ เขาคิดในใจว่านี่คงเป็นขนมทานเล่นระหว่างทำธุระ จึงทานเสียเกลี้ยง หลังทำธุระเสร็จนางกำนันตรงรี่เข้ามาพร้อมชามใส่น้ำใบใหญ่ และชามกระเบื้องเคลือบบรรจุเม็ดถั่ว “เจ้าโต้ว” (澡豆)
หวังตุนเห็นเช่นนั้น ก็หยิบเม็ดถั่วแช่ลงน้ำ และดื่มน้ำในชามจนเกลี้ยง กลายเป็นที่ขบขันของบรรดานางกำนัลยิ่งนัก
อันที่จริงแล้ว พุทราแห้งนั้น เตรียมไว้ใช้ใส่เข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นของห้องน้ำ ส่วนถั่ว “เจ้าโต้ว” หรือ “ถั่วถูไคล” นั้น ใช้ต่างสบู่นั่นเอง
ส่วนปัญหาว่าสมัยก่อนชาวจีนใช้อะไรเช็ดก้นหลังจากทำธุระเสร็จนั้น สามารถเข้าไปหาคำตอบได้ในเรื่อง "สมัยโบราณคนจีนใช้อะไรเช็ดก้น?"
เรียบเรียงโดย สุกัญญา แจ่มศุภพันธ์
ในประวัติศาสตร์ของจีนนั้น มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับห้องน้ำกับกลุ่มคนในชนชั้นปกครองอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งแต่ละเรื่องราวนั้นก็สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการทำธุระและสภาพห้องน้ำในแต่ละยุคสมัยนั่นเอง
ดังเช่นในคัมภีร์ประวัติศาสตร์ “จั่วจ้วน” ของจีนนั้น ได้มีบันทึกกล่าวถึงเรื่องราวของ “จิ้นจิ่งกง” เจ้าผู้ครองรัฐจิ้น ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคชุนชิวช่วงก่อนคริสตศักราช 599-581 ปี
เล่ากันว่า เคยมีหมอดูชื่อดังทำนายว่า จิ้นจิ่งกงจะมีชีวิตอยู่ไม่ถึงเสวยข้าวใหม่ของปีนี้ (ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ในปีนี้) เมื่อจิ้นจิ่งกงทรงทราบก็ให้พิโรธยิ่งนัก
บ่ายวันหนึ่งขณะที่พระองค์กำลังจะเสวยข้าวใหม่ของปีนั้น จู่ๆ ก็ทรงนึกถึงคำทำนายของหมอดูผู้นั้น จึงได้บัญชาให้ทหารไปจับกุมตัวหมอดูผู้นั้นมาให้นั่งดูพระองค์เสวยข้าวใหม่ เพื่อให้เห็นประจักษ์แก่ตาว่าคำทำนายของหมอดูนั้นไร้สาระและไม่เป็นความจริง
แม้ถึงเวลานี้แล้ว หมอดูชื่อดังก็ยังมั่นใจว่าพระองค์จะอยู่ไม่ถึงเสวยข้าวใหม่อย่างแน่นอน ทำให้จิ้นจิ่งกงทรงพิโรธมาก สั่งประหารชีวิตหมอดูผู้นั้น และในขณะที่พระองค์กำลังจะเสวยข้าวใหม่นั่นเอง จู่ๆ ก็ทรงรู้สึกปวดท้องอย่างรุนแรง จึงได้รีบเสด็จไปเข้าห้องน้ำ ด้วยความรีบร้อนไม่ทันระวัง ทำให้พระองค์พลัดตกลงไปในบ่ออุจจาระสิ้นพระชนม์
จิ้นจิ่งกงนั้นถือเป็นกษัตริย์ผู้มีอำนาจยิ่งในประวัติศาสตร์จีน พระองค์เคยนำทัพไปสู้รบยังรัฐต่างๆ กระทั่งมีชัยเหนือรัฐฉู่ และรัฐฉี แต่นึกไม่ถึงว่าเจ้ารัฐผู้นี้จะมาสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุอันพิลึกพิลั่นและเหลือเชื่อเช่นนี้ เชื่อกันว่าจิ้นจิ่งกง น่าจะเป็นเจ้าผู้ครองแคว้นองค์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่สิ้นพระชนม์อย่างอเนจอนาถเช่นนี้
อย่างไรก็ตาม บันทึกเรื่องราวของจิ้นจิ่งกงนี้ทำให้อนุชนคนรุ่นหลัง พอจะจินตนาการได้ว่าสภาพห้องน้ำในยุคชุนชิวนั้น นอกจากเป็นห้องน้ำแคบๆ มีไม้กระดานสองอันวางพาดให้เหยียบขึ้นไปทำธุระเหนือปากบ่ออุจจาระแล้ว ยังทำให้พอคาดเดาได้ว่า บ่ออุจจาระนั้นต้องมีขนาดลึกมากถึงขนาดทำให้คนผู้หนึ่งตกลงไปและเสียชีวิตได้
หลังจากเกิดเหตุสลดกับจิ้นจิ่งกงแล้ว ห้องน้ำในพระราชสำนักได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม อย่างน้อยยุคต่อๆ มาก็ไม่มีบันทึกว่ามีเจ้าผู้ครองรัฐคนใดตกลงไปสิ้นพระชนม์อีก
กระทั่งมาถึงราชวงศ์ฮั่น ก็ได้มีบันทึกเกี่ยวกับการทำธุระของฮ่องเต้ ฮั่นเกาจู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น โดยในบันทึกระบุว่า หากระหว่างการประชุมกับเสนาบดี และข้าราชบริพารต่างๆ ฮั่นเกาจู่ทรงรู้สึกปวดท้องเบาขึ้นมา เพื่อมิให้เป็นการเสียเวลาการประชุม พระองค์ก็จะทรงมีบัญชาให้ขุนนางฝ่ายบุ๋นผู้หนึ่งถอดหมวกขุนนางของเขาให้แก่พระองค์ จากนั้นก็จะทรงหันหลัง ทำธุระใส่ในหมวกใบนั้น
อาจเป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากนิสัยการทำธุระของปฐมกษัตริย์ฮั่นนั่นเอง จึงทำให้ฮ่องเต้รัชกาลต่อๆ มากว่าครึ่งเริ่มหันมาใช้โถปัสสาวะแทนที่จะไปเข้าห้องน้ำ ดังเช่นในบันทึกปกิณกะเมืองซีจิง (เมืองซีจิง หมายถึง เมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก) บันทึกไว้ว่า ในราชสำนักของราชวงศ์ฮั่นนั้นนิยมใช้โถปัสสาวะทำจากหยก ฮ่องเต้จะมีผู้ติดตามคอยถือโถปัสสาวะตามไปทุกหนแห่ง เพื่อให้พระองค์ทรงทำธุระได้โดยสะดวกสบาย
แม้แต่ ฮั่นอู่ตี้ ฮ่องเต้ผู้ยิ่งยงแห่งราชวงศ์ฮั่น ก็มีเรื่องเล่าว่า พระองค์เคยทรงอนุญาตให้แม่ทัพใหญ่ เว่ยชิง เข้าเฝ้าในขณะที่พระองค์ทรงปลดทุกข์หนักอยู่ ตามที่บันทึกไว้ในตำราจี๋อั้นแห่งราชวงศ์ฮั่น แต่ในบันทึกมิได้ระบุไว้ว่า เว่ยชิงนั้นมีความรู้สึกอย่างไร แต่เชื่ออย่างหนึ่งว่า ในสายตาของฮั่นอู่ตี้แล้วจะต้องให้ความสำคัญแก่แม่ทัพเว่ยผู้นี้เป็นอย่างมาก ถึงขนาดให้เขาเข้าเฝ้าขณะที่ทรงทำธุระเลยทีเดียว
ห้องน้ำองค์หญิงฤาหอมหวนชวนดม
ว่ากันถึงเรื่องกลิ่นแล้ว ห้องน้ำที่ไหนๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีกลิ่นไม่น่าพิสมัยทั้งนั้น เพราะเป็นที่ไว้ซึ่งสิ่งปฏิกูลต่างๆ แล้วห้องน้ำในพระราชสำนัก ของฮ่องเต้ ฮองเฮา และองค์หญิงเล่า จะมีกลิ่นเช่นเดียวกันหรือไม่
ในบันทึก “เรื่องเล่าชาวบ้าน” ระบุไว้ว่า ในราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265-316) ฮ่องเต้ จิ้นอู่ตี้ ได้ทรงคัดเลือกแม่ทัพใหญ่ หวังตุน ให้เป็นราชบุตรเขย อภิเษกสมรสกับองค์หญิงอู่หยัง
คืนวันอภิเษกสมรสนั่นเองเป็นครั้งแรกที่หวังตุนได้ใช้ห้องน้ำขององค์หญิง ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นห้องน้ำของราชนิกูลนั้นเขารู้สึกได้ว่า ห้องน้ำขององค์หญิงช่างงดงามโอ่โถง และหรูหรากว่าห้องน้ำของสามัญชนยิ่งนัก แต่เมื่อหวังตุนเดินเข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดกลับพบว่า ที่แท้จริงแล้ว ห้องน้ำในพระราชวังก็มีกลิ่นเหม็นเช่นกัน
หวังตุนเหลือบไปเห็นมุมหนึ่งของห้องน้ำ มีกล่องบรรจุพุทราแห้งวางไว้ เขาคิดในใจว่านี่คงเป็นขนมทานเล่นระหว่างทำธุระ จึงทานเสียเกลี้ยง หลังทำธุระเสร็จนางกำนันตรงรี่เข้ามาพร้อมชามใส่น้ำใบใหญ่ และชามกระเบื้องเคลือบบรรจุเม็ดถั่ว “เจ้าโต้ว” (澡豆)
หวังตุนเห็นเช่นนั้น ก็หยิบเม็ดถั่วแช่ลงน้ำ และดื่มน้ำในชามจนเกลี้ยง กลายเป็นที่ขบขันของบรรดานางกำนัลยิ่งนัก
อันที่จริงแล้ว พุทราแห้งนั้น เตรียมไว้ใช้ใส่เข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นของห้องน้ำ ส่วนถั่ว “เจ้าโต้ว” หรือ “ถั่วถูไคล” นั้น ใช้ต่างสบู่นั่นเอง
ส่วนปัญหาว่าสมัยก่อนชาวจีนใช้อะไรเช็ดก้นหลังจากทำธุระเสร็จนั้น สามารถเข้าไปหาคำตอบได้ในเรื่อง "สมัยโบราณคนจีนใช้อะไรเช็ดก้น?"
เรียบเรียงโดย สุกัญญา แจ่มศุภพันธ์