เอเจนซี่ส์ – ฟิตช์ เรทติ้งส์คาดการณ์ ภาคการธนาคารจีนต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากในปีนี้ หลังจากผ่านช่วงรุ่งโรจน์ในปีที่แล้ว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและนโยบายการเงินที่บีบรัดของประเทศ
ฟิตช์ เรทติ้งส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการเงินชื่อดังของโลก ออกรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ว่า ผลประกอบการของภาคการธนาคารจีนในปี 2007 อยู่ในระดับดีเยี่ยม และดีที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะได้รับอานิสงค์จากสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รายได้จากค่าธรรมเนียมบริการบริหารสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ไม่เกิดรายได้ลดลง
อย่างไรก็ตาม จูเซี่ยเหลียน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายจัดอันดับสถาบันการเงินแห่งฟิตช์ เรทติ้งส์ประจำปักกิ่ง ได้เน้นในรายงานว่า สำหรับในปีนี้ อัตราการเติบโตของผลประกอบการของภาคการธนาคารจีนจะชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง นโยบายการเงินที่บีบรัดของธนาคารกลางจีน และผลกระทบจากการปรับตัวของตลาดหุ้นจะทำให้รายได้จากค่าธรรมเนียมลดลง นับเป็นความท้าทายที่ภาคการธนาคารจีนต้องเผชิญในปีนี้
จูเซี่ยเหลียนกล่าวว่า “ปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราได้เห็นทางการจีนออกมาประกาศโควตาสินเชื่อประจำไตรมาส และโควตาสินเชื่อของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนจับตาดูการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อในปีนี้อย่างจริงจังมากขึ้น และจะออกกฎมากุมบังเหียนให้แน่นขึ้นอีกเร็วๆ นี้”
นอกจากนี้ ถึงแม้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจีนจะพัฒนาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ฟิตช์ เรทติ้งส์จะยังคงจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะการบัญชีและความโปร่งใสด้านข้อมูลของธนาคารเหล่านี้ยังคงมีปัญหา การอบรมพนักงานสินเชื่อให้มีคุณสมบัติยังไม่เพียงพอ และการปฏิรูปการบริหารความเสี่ยงยังไม่สมบูรณ์
จูเซี่ยเหลียนกล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารจีนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่ออกมาเปิดเผยถึงความเสี่ยงจากวิกฤตซับไพร์ม ขณะที่ธนาคารหลายแห่งยังมีปัญหาเรื่องการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะแบงก์ ออฟ ไชน่า (บีโอซี) พร้อมย้ำว่า “ฟิตช์ เรทติ้งส์จะเฝ้าดูสิ่งที่ธนาคารจีนจะเปิดเผยในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้”
ถึงแม้สถานการณ์แวดล้อมจะไม่เอื้ออำนวยต่อผลประกอบการของธนาคารจีน แต่หากภาวะเศรษฐกิจไม่พลิกผัน ฟิตช์ เรทติ้งส์ ยังเชื่อว่าภาพรวมของภาคการธนาคารจีนปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะหากผลสำเร็จของการปฏิรูประลอก 2 ปรากฏอย่างชัดเจน ผลการประเมินธนาคารจีนแต่ละแห่งจะถูกปรับขึ้นอีก
การปฏิรูปดังกล่าวได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมการปล่อยสินเชื่อที่เน้นการควบคุมความเสี่ยงมากขึ้น การยกระดับการบริหารสินเชื่อ การควบคุมความเสี่ยงของตลาด พัฒนาธุรกิจให้หลากหลาย และเพิ่มความสามารถทางด้านการเงิน.
ฟิตช์ เรทติ้งส์ บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือด้านการเงินชื่อดังของโลก ออกรายงานเมื่อเร็วๆ นี้ชี้ว่า ผลประกอบการของภาคการธนาคารจีนในปี 2007 อยู่ในระดับดีเยี่ยม และดีที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะได้รับอานิสงค์จากสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รายได้จากค่าธรรมเนียมบริการบริหารสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ไม่เกิดรายได้ลดลง
อย่างไรก็ตาม จูเซี่ยเหลียน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายจัดอันดับสถาบันการเงินแห่งฟิตช์ เรทติ้งส์ประจำปักกิ่ง ได้เน้นในรายงานว่า สำหรับในปีนี้ อัตราการเติบโตของผลประกอบการของภาคการธนาคารจีนจะชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนอย่างต่อเนื่อง นโยบายการเงินที่บีบรัดของธนาคารกลางจีน และผลกระทบจากการปรับตัวของตลาดหุ้นจะทำให้รายได้จากค่าธรรมเนียมลดลง นับเป็นความท้าทายที่ภาคการธนาคารจีนต้องเผชิญในปีนี้
จูเซี่ยเหลียนกล่าวว่า “ปีนี้จะเป็นปีแรกที่เราได้เห็นทางการจีนออกมาประกาศโควตาสินเชื่อประจำไตรมาส และโควตาสินเชื่อของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนจับตาดูการขยายตัวของการปล่อยสินเชื่อในปีนี้อย่างจริงจังมากขึ้น และจะออกกฎมากุมบังเหียนให้แน่นขึ้นอีกเร็วๆ นี้”
นอกจากนี้ ถึงแม้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจีนจะพัฒนาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ฟิตช์ เรทติ้งส์จะยังคงจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะการบัญชีและความโปร่งใสด้านข้อมูลของธนาคารเหล่านี้ยังคงมีปัญหา การอบรมพนักงานสินเชื่อให้มีคุณสมบัติยังไม่เพียงพอ และการปฏิรูปการบริหารความเสี่ยงยังไม่สมบูรณ์
จูเซี่ยเหลียนกล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารจีนเพียงหยิบมือเท่านั้นที่ออกมาเปิดเผยถึงความเสี่ยงจากวิกฤตซับไพร์ม ขณะที่ธนาคารหลายแห่งยังมีปัญหาเรื่องการเปิดเผยข้อมูลโดยเฉพาะแบงก์ ออฟ ไชน่า (บีโอซี) พร้อมย้ำว่า “ฟิตช์ เรทติ้งส์จะเฝ้าดูสิ่งที่ธนาคารจีนจะเปิดเผยในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้”
ถึงแม้สถานการณ์แวดล้อมจะไม่เอื้ออำนวยต่อผลประกอบการของธนาคารจีน แต่หากภาวะเศรษฐกิจไม่พลิกผัน ฟิตช์ เรทติ้งส์ ยังเชื่อว่าภาพรวมของภาคการธนาคารจีนปีนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะหากผลสำเร็จของการปฏิรูประลอก 2 ปรากฏอย่างชัดเจน ผลการประเมินธนาคารจีนแต่ละแห่งจะถูกปรับขึ้นอีก
การปฏิรูปดังกล่าวได้แก่ การสร้างวัฒนธรรมการปล่อยสินเชื่อที่เน้นการควบคุมความเสี่ยงมากขึ้น การยกระดับการบริหารสินเชื่อ การควบคุมความเสี่ยงของตลาด พัฒนาธุรกิจให้หลากหลาย และเพิ่มความสามารถทางด้านการเงิน.