xs
xsm
sm
md
lg

จีนเล็งขยายเวลาคุมราคาปุ๋ย ปกป้องความมั่นคงอาหารจีน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ไชน่าเดลี่-จีนจะขยายเวลาบังคับใช้นโยบายควบคุมราคาปุ๋ยออกไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ เล็งลดภาระเกษตรกรขณะเริ่มทำการเพาะปลูก คลายความกังวลประเด็นต้นทุนราคาปุ๋ย และปกป้องความมั่นคงด้านอาหารของจีน เจ้าหน้าที่อาวุโสของคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน(NDRC) เผย

ทั้งนี้ ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำการเกษตร ดังนั้น ราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้น จะกระทบเกษตรกรอย่างหนัก

เจ้าหน้าที่ระบุ โรงงานผลิตปุ๋ยของรัฐบาลกลางไม่ควรขึ้นราคายูเรียหน้าโรงงาน ,โรงงานผลิตปุ๋ยของรัฐบาลท้องถิ่นควรคุมเข้มราคาหน้าโรงงานของ ยูเรีย,ปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยเชิงประกอบ และบริษัทผลิตปุ๋ยรายอื่นๆต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ก่อนขึ้นราคาปุ๋ย

ทั้งนี้ นโยบายของรัฐบาลระบุ ผู้คุมกฎราคาและตลาด มีอำนาจสั่งการให้บริษัทต่างๆปรับเปลี่ยนราคาสู่ระดับปกติ หรือสั่งลดช่วงกว้างการปรับเพิ่มของราคาหากพิจารณาว่าสูงเกินไป

สถิติของ NDRCชี้ ราคาหน้าโรงงานของยูเรีย และปุ๋ยเชิงประกอบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปอยู่ที่ 1,725 หยวนต่อตัน และ 2,600 หยวนต่อตัน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ปีต่อปี ซึ่งก่อนหน้าการแทรกแซงราคาปุ๋ยของรัฐบาล มีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่า ราคาปุ๋ยจะถีบตัวสูงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่

ด้านนักวิเคราะห์ชี้ว่า ราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวพันกับราคาปุ๋ยระหว่างประเทศ,ต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงการที่จีนขาดแคลนแหล่งฟอสฟอรัสและโพแทสซียม ซึ่งราคายูเรียจากทะเลดำในต่างประเทศพุ่งแตะ 400 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 30% จากปีก่อนหน้า และโมโนแอมโมเนียม ฟอสเฟต(MAP)ในจีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปุ๋ย พุ่งขึ้นแตะ 3,100 หยวนต่อตัน จาก 1,800 หยวนต่อตันเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว

“ราคายูเรียพุ่งสูงเกือบครึ่งจากปีที่แล้ว ขณะที่ราคาธัญพืชเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และช่วงไม่กี่ปีมานี้ ราคาข้าวอยู่ที่ราว 1.6 หยวนต่อกิโลกรัมเท่านั้น ทำให้เราได้กำไรน้อยมาก หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้เกษตรกรขาดทุนอย่างหนัก”สีว์เซาฮัว เกษตรกรในมณฑลหูหนันกล่าว

อย่างไรก็ดี ปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ออกนโยบายพิเศษมากมายเพื่อเพิ่มรายได้ และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาวชนบททั่วประเทศ โดยนักรียนชนบทราว 150 ล้านคน ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียนในช่วงการศึกษาภาคบังคับ และคนชนบทมากกว่า 200 ล้านคน ได้รับเงินช่วยช่วยเหลือในด้านต่างๆจากทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ด้วยเกรงว่าช่องว่างระหว่างรายได้ และสภาพเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้นมากจะบีบรัดจนทำให้ชาวชนบทไม่พอใจ

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันพืชสำหรับบริโภค,นม,ไข่ และปิโตรเลียมเหลวที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดันดัชนีราคาผู้บริโภค(ซีพีไอ)เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 4.6% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2007 ขณะที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 3% และซีพีไอเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 6.9% ซึ่งเป็นค่าซีพีไอรายเดือนที่สูงสุดในรอบ 11 ปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น