วันนี้เพจคุยกับหมอจิ๋ม ได้แชร์เรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือนว่า ไม่มีอะไรน่าเป็นกังวลเท่าการที่ประจำเดือนไม่มาหากคุณไม่ได้กำลังพยายามตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาเท่านั้น ยังมีอีกหลายสาเหตุที่สำคัญ
สาเหตุ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนผิดปกติ
1. คุณเครียดเกินไป
ความเครียดส่งผลกระทบหลายอย่างต่อชีวิตของเรา รวมถึงความผิดปกติของประจำเดือนด้วย บางครั้งที่เราเครียดมากๆ ร่างกายของเราจะผลิตฮอร์โมน GnRH ลดลง จึงไม่เกิดการตกไข่ตามรอบของประจำเดือน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำว่าคุณควรจะทำอะไรเพื่อเป็นการผ่อนคลายซึ่งช่วยให้ประจำเดือนกลับมาตรงตามรอบเดือนได้ดังเดิม แต่อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนขึ้นไป
2. คุณอาจเป็นโรคบางอย่าง
ความเจ็บป่วยต่างๆ ที่กระทบต่อประจำเดือน เช่น
* ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะกระทบต่อการผลิตฮอร์โมน GnRH ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
* ภาวะ PCOS หรือถุงน้ำรังไข่ ทำให้ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ 2-3 เดือนเป็นประจำเดือน 1 ครั้ง มักจะทำให้น้ำหนักขึ้น ขนดก หรือมีหนวดเพิ่มขึ้นด้วย
3. นาฬิกาชีวิตคุณเปลี่ยนไป
หากนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำงานเป็นกะ โดยเปลี่ยนจากการทำงานกลางวันเป็นกลางคืน หรือกลางคืนเป็นกลางวันบ่อยๆ อาจพบปัญหารอบเดือนเปลี่ยนแปลงได้ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงงานที่ทำให้ตารางชีวิตคุณผันผวน ก็จะสามารถทำให้รอบเดือนกลับมาปกติได้
4. ผลจากยาบางชนิด
การได้รับยาบางอย่างอาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ เช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด จะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จึงไม่มีประจำเดือน รวมถึงการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด หรือยาเม็ดคุมกำเนิด
5. คุณอ้วนเกินไป
โรคอ้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดไปครั้งละหลายเดือน เนื่องจากผิวหนังเปลี่ยนเซลล์ไขมันไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักลงมาได้จะสามารถกลับมามีรอบเดือนปกติได้ และมีบุตรได้ แม้จะยังถือว่าน้ำหนักเกินอยู่ตาม
6. คุณผอมเกินไป
ถ้าร่างกายคุณมีไขมันน้อยเกินไป อาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากนี้ อาการประจำเดือนไม่มามักพบบ่อยในผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเป็นนักกีฬา รวมถึงคนที่มีภาวะ anorexia ที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเนื่องจากกลัวอ้วน ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมน GnRH เช่นกัน
7. คุณคำนวณรอบเดือนผิด
รอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยมักจะอยู่ที่ 28 วัน แต่บางคนรอบเดือนอาจสั้นหรือยาวกว่านั้น และก็ไม่ได้คงที่ในทุกเดือนเสียด้วย บางเดือนก็มาเร็ว บางเดือนก็มาช้า ทำให้คุณอาจคำนวณรอบเดือนคลาดเคลื่อน แต่หากคุณรู้ว่าไข่ตกเมื่อไหร่ คุณก็จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าประจำเดือนจะมาในอีก 2 สัปดาห์หลังไข่ตก
8. คุณกำลังเข้าสู่วัยทอง
สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็คือ ความผันผวนของฮอร์โมน ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งวัยทองนี้เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป คุณอาจพบว่าประจำเดือนมีสีจางลงหรือเข้มขึ้น ประจำเดือนมาบ่อยขึ้นหรือบางทีก็ทิ้งช่วงไปนาน หากคุณไม่ต้องการมีบุตรในช่วงนี้ต้องแน่ใจว่าคุณคุมกำเนิดแล้ว เพราะแม้ไม่มีประจำเดือนแต่ก็ยังถือว่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์
ควรทำอย่างไรต่อไป
หากประจำเดือนไม่มาโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เช็กแล้วว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ในขั้นแรกแนะนำให้รออีกสักหนึ่งสัปดาห์และทำการทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง หากผลยังเหมือนเดิม ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาต้นเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา เพราะความผิดปกติภายในไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หากรู้เร็วจะได้แก้ไขได้ทันค่ะ
Cr.Haamor
เพจคุยกับหมอจิ๋ม
สาเหตุ ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนผิดปกติ
1. คุณเครียดเกินไป
ความเครียดส่งผลกระทบหลายอย่างต่อชีวิตของเรา รวมถึงความผิดปกติของประจำเดือนด้วย บางครั้งที่เราเครียดมากๆ ร่างกายของเราจะผลิตฮอร์โมน GnRH ลดลง จึงไม่เกิดการตกไข่ตามรอบของประจำเดือน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำว่าคุณควรจะทำอะไรเพื่อเป็นการผ่อนคลายซึ่งช่วยให้ประจำเดือนกลับมาตรงตามรอบเดือนได้ดังเดิม แต่อาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนขึ้นไป
2. คุณอาจเป็นโรคบางอย่าง
ความเจ็บป่วยต่างๆ ที่กระทบต่อประจำเดือน เช่น
* ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จะกระทบต่อการผลิตฮอร์โมน GnRH ซึ่งทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ
* ภาวะ PCOS หรือถุงน้ำรังไข่ ทำให้ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ 2-3 เดือนเป็นประจำเดือน 1 ครั้ง มักจะทำให้น้ำหนักขึ้น ขนดก หรือมีหนวดเพิ่มขึ้นด้วย
3. นาฬิกาชีวิตคุณเปลี่ยนไป
หากนาฬิกาชีวิตเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำงานเป็นกะ โดยเปลี่ยนจากการทำงานกลางวันเป็นกลางคืน หรือกลางคืนเป็นกลางวันบ่อยๆ อาจพบปัญหารอบเดือนเปลี่ยนแปลงได้ หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงงานที่ทำให้ตารางชีวิตคุณผันผวน ก็จะสามารถทำให้รอบเดือนกลับมาปกติได้
4. ผลจากยาบางชนิด
การได้รับยาบางอย่างอาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ เช่น การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก หรือการให้ยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งทุกชนิด จะไปทำลายรังไข่ ทำให้รังไข่ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ จึงไม่มีประจำเดือน รวมถึงการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาฉีดคุมกำเนิด หรือยาเม็ดคุมกำเนิด
5. คุณอ้วนเกินไป
โรคอ้วนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนขาดไปครั้งละหลายเดือน เนื่องจากผิวหนังเปลี่ยนเซลล์ไขมันไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน FSH และฮอร์โมน LH ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ คุณแม่ส่วนใหญ่ที่ลดน้ำหนักลงมาได้จะสามารถกลับมามีรอบเดือนปกติได้ และมีบุตรได้ แม้จะยังถือว่าน้ำหนักเกินอยู่ตาม
6. คุณผอมเกินไป
ถ้าร่างกายคุณมีไขมันน้อยเกินไป อาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้เช่นกัน การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติได้ นอกจากนี้ อาการประจำเดือนไม่มามักพบบ่อยในผู้หญิงที่ออกกำลังกายอย่างหนัก หรือเป็นนักกีฬา รวมถึงคนที่มีภาวะ anorexia ที่ไม่ยอมรับประทานอาหารเนื่องจากกลัวอ้วน ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมน GnRH เช่นกัน
7. คุณคำนวณรอบเดือนผิด
รอบประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยมักจะอยู่ที่ 28 วัน แต่บางคนรอบเดือนอาจสั้นหรือยาวกว่านั้น และก็ไม่ได้คงที่ในทุกเดือนเสียด้วย บางเดือนก็มาเร็ว บางเดือนก็มาช้า ทำให้คุณอาจคำนวณรอบเดือนคลาดเคลื่อน แต่หากคุณรู้ว่าไข่ตกเมื่อไหร่ คุณก็จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าประจำเดือนจะมาในอีก 2 สัปดาห์หลังไข่ตก
8. คุณกำลังเข้าสู่วัยทอง
สัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็คือ ความผันผวนของฮอร์โมน ทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งวัยทองนี้เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป คุณอาจพบว่าประจำเดือนมีสีจางลงหรือเข้มขึ้น ประจำเดือนมาบ่อยขึ้นหรือบางทีก็ทิ้งช่วงไปนาน หากคุณไม่ต้องการมีบุตรในช่วงนี้ต้องแน่ใจว่าคุณคุมกำเนิดแล้ว เพราะแม้ไม่มีประจำเดือนแต่ก็ยังถือว่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์
ควรทำอย่างไรต่อไป
หากประจำเดือนไม่มาโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่เช็กแล้วว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ในขั้นแรกแนะนำให้รออีกสักหนึ่งสัปดาห์และทำการทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้ง หากผลยังเหมือนเดิม ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาต้นเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา เพราะความผิดปกติภายในไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หากรู้เร็วจะได้แก้ไขได้ทันค่ะ
Cr.Haamor
เพจคุยกับหมอจิ๋ม