xs
xsm
sm
md
lg

5 ข้อเข้าใจผิดเกี่ยวกับสายตายาวตามวัย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

>>หากพูดถึงเรื่องปัญหาสายตาที่ส่วนใหญ่พบอยู่เป็นประจำ คงหนีไม่พ้นปัญหาสายตาสั้นหรือสายตาเอียง แต่นอกจากนี้ยังมีปัญหาสายตายาวตามวัยที่ทุกคนไม่เคยนึกถึง เพราะคิดว่าเป็นเรื่องซับซ้อนและไกลตัว วันนี้จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น มี 5 ข้อที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับสายตายาวตามวัย เพื่อจะสามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างถูกต้อง

ความเข้าใจผิดที่ 1 : สายตายาวตามวัยก็คือภาวะสายตายาวนั่นเอง

รู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วเรื่องของสายตายาวนั้น มีด้วยกัน 2 ประเภทหลักๆ อย่างแรก คือ ‘สายตายาวตั้งแต่กำเนิด’ จะเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด อีกอย่างหนึ่ง คือ ‘สายตายาวตามวัย’ ซึ่งอาการสายตายาว 2 ประเภทนี้จะแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยสายตายาวตั้งแต่กำเนิด เกิดจากขนาดของลูกตาที่มีขนาดเล็กเกินไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลไม่ไปโฟกัสบนจอประสาทตา จึงเป็นสาเหตุของการปวดตาและมองเห็นไม่คมชัด แต่ว่าสายตายาวตามวัยจะเกิดขึ้นหลังจากอายุ 40 ปี เป็นผลจากการปรับโฟกัสของเลนส์ตาแย่ลง ทำให้มองวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด ทำให้ต้องยืดแขนออก เพื่อมองให้ชัด เพราะฉะนั้น อย่าสับสนระหว่าง สายตายาวโดยกำเนิด และสายตายาวตามวัย เป็นอันขาด

ความเข้าใจผิดที่ 2 : สายตายาวตามวัยป้องกันได้

เมื่ออายุมากขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงของดวงตาหลายอย่าง เช่น รูม่านตามีขนาดเล็กลง ปริมาณของน้ำตาลดลง และการเกิดปัญหาสายตายาวตามวัย ซึ่งสายตายาวตามวัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของดวงตาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากเลนส์แก้วตามีความยืดหยุ่นน้อยลง ดังนั้น สายตายาวตามวัยจึงไม่ใช่โรค และในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ โดยจะเกิดขึ้นกับทุกคนไม่ว่าจะมีค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาปกติมาก่อนอายุ 40 ปีก็ตาม แม้แต่คนที่ทานอาหารบำรุงสายตาเป็นประจำ ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้

ความเข้าใจผิดที่ 3 : ยิ่งแก้ปัญหาสายตายาวตามวัย ก็จะยิ่งทำให้สายตาแย่ลง

ความจริง คือ เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาสายตายาวตามวัยและไม่แก้ไข จะทำให้ดวงตาของคุณรู้สึกเมื่อยล้า และหากปล่อยให้ปัญหาสายตายาวเกิดขึ้นต่อไปโดยไม่แก้ไข จะยิ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตที่ลำบากมากขึ้น เช่น อ่านตัวหนังสือขนาดเล็กได้ลำบาก, หรือเวลาอ่านหนังสือก็ต้องพยายามยืดแขนออก, มีปัญหาในการมองเห็นวัตถุระยะใกล้, ถ้ามีสายตาสั้นอยู่เดิม จะต้องถอดแว่นตาออกถึงจะมองใกล้ได้ชัดขึ้น ทางที่ดี ถ้าเรามีการแก้ไขที่ถูกต้องก็จะทำให้เรามองเห็นได้คมชัดเหมือนเดิม อีกทั้งยังไม่ต้องรู้สึกหงุดหงิดเพราะมองไม่ชัดเนื่องจากมีปัญหาค่าสายตาอีกต่อไป ที่สำคัญ คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ท่องเที่ยว หรือการออกกำลังกายได้เหมือนตอนก่อนอายุ 40

ความเข้าใจผิดที่ 4 : สามารถนำค่าสายตาสั้นมาหักลบค่าสายตายาวตามวัย เพื่อให้ค่าสายตากลับมาเป็นปกติได้

หากคุณมีความเชื่อแบบนี้ บอกได้เลยว่ากำลังเข้าใจผิดอยู่ เพราะการวัดว่าเรามีค่าสายตาสั้น เอียงหรือยาวโดยกำเนิด จะวัดกันที่การมองไกล ให้มองวัตถุที่วางอยู่ในระยะไกลและแก้ปัญหาด้วยการใส่ค่าสายตาที่ทำให้มองไกลชัด แต่สายตายาวตามวัยนั้นส่งผลต่อการมองใกล้ เกิดจากความเสื่อมของการโฟกัส ไม่ใช่ความเสื่อมที่เกิดจากแสงโฟกัสที่อยู่ในระยะไกล ฉะนั้น ปัญหาสายตายาวตามวัยและปัญหาสายตาอื่นๆ จึงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่สามารถนำหลักการทางคณิตศาสตร์มาใช้และนำค่าสายตามาหักลบกันได้

ความเข้าใจผิดที่ 5 : ไม่ค่อยมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาสายตายาวตามวัย

จริงๆ แล้วทางเลือกในการแก้ไขสายตายาวตามวัยมีได้หลายอย่าง เริ่มจากการใส่แว่นสายตายาวสำหรับอ่านหนังสือ (Reading Glasses) หรือในคนที่มีภาวะสายตาสั้นมาก่อนก็ต้องใช้แว่นชนิดโปรเกรสซีฟ (Progressive) หรือแว่น Bifocal ที่จะช่วยปรับการมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้-ไกล นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมใหม่ที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีค่าสายตายาว อย่างคอนแทคเลนส์สำหรับสายตายาวตามวัย (Multifocal contact lenses) ที่มีเทคโนโลยี INTUISIGHTTM (อินทูอิไซท์) ออกแบบโดยเน้นพื้นที่การมองเห็นบนคอนแทคเลนส์ให้เหมาะสมกับขนาดรูม่านตาซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไปตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นและค่าสายตาสั้น-ยาวอีกด้วย ส่วนข้อแนะนำสำหรับมือใหม่ก่อนที่จะเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ นักทัศนมาตรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสายตา เพื่อตรวจวัดสายตาและสุขภาพเบื้องต้น ทดลองเลนส์และรับคำแนะนำในการเลือกค่าสายตาที่เหมาะสม รวมถึงการใช้คอนแทคเลนส์อย่างถูกวิธี และควรเลือกใช้คอนแทคเลนส์ชนิดรายวัน จะดีกับสุขภาพตามากที่สุด

เพราะปัญหาสายตายาวตามวัยเกิดขึ้นได้กับทุกคน จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ควรสังเกตตัวเองเมื่อถึงเวลาที่สายตาเปลี่ยนแปลงและแก้ไขทันที เพื่อให้ใช้ชีวิตและสนุกกับทุกไลฟ์สไตล์ได้อย่างเต็มที่
กำลังโหลดความคิดเห็น