>>ในช่วงที่ลมหนาวมาเยือน สายการบินไทย (Thai Airways) จึงจัด “Trip for King” สู่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเชิญชวนให้คนไทยท่องเที่ยวตามรอยเท้าพ่อ พร้อมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ที่ประจักษ์แล้วว่าสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง และทรงคุณค่าเหนือคำบรรยาย
โดย Trip for King เริ่มออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเที่ยวบินที่ TG104 เวลา 08.45 น. ใช้เวลาในการเดินทางสู่สนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 55 นาที สำหรับการมาเยือนเชียงใหม่ครั้งนี้นับว่าเหมาะเจาะเป็นอย่างยิ่งเพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้อากาศยามบ่ายเย็นสบายไม่ร้อนมากนัก ซึ่งถึงแม้ว่าเชียงใหม่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างหลายอย่าง แต่เอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งทางด้านประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ก็ยังดำรงอยู่ ที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก้เร็วๆ นี้อีกด้วย
เมื่อเดินทางมาถึงก็มุ่งหน้าไปรับประทานอาหารกลางวันที่ “ร้านเฮือนเพ็ญ” ต้นตำรับอาหารเหนือแต้ๆ เจ้า... ที่เปิดมานานกว่า 50 ปี แต่ครั้งนี้แวะมากินที่สาขา 2 ซึ่งอยู่เส้นถนนรอบเมือง ใกล้กับอุทยานราชพฤกษ์ ทำให้การสัญจรสะดวกและรวดเร็ว เริ่มลิ้มรสด้วย ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ไส้อั่ว ไก่ทอด และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ แคปหมูที่กินคู่กับน้ำพริกหนุ่ม ตามมาด้วยเมนูเด็ดๆ ขึ้นชื่อของร้านอีกหลายรายการ
จากนั้นได้เดินทางไปกราบพระที่วัดพระธาตุดอยคำ เพื่อขอพรจากหลวงพ่อทันใจ ซึ่งวัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่บนดอยคำ มีอายุกว่า 1,300 ปี ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีเพียงเจ้าอาวาส คือ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ) โดยไม่มีพระลูกวัดเลย
บริเวณปากทางขึ้นไปยังวัด ทางด้านขวามือจะมี “ศาลปู่แสะ” และ “ย่าแสะ” ซึ่งตามตำนานเล่าว่า เทือกเขาถนนธงชัย ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญ และเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์ แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัย และล้านนาตามดำลับ
หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็กๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ “จิคำ” และ “ตาเขียว” มาก่อน ต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ-ย่าแสะ” มีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤาษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ” นั่นเอง
เมื่ออิ่มบุญแล้วจึงเดินทางลงมายัง “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” (Royal Park Rajapruk) ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่เคยใช้จัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” และ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554” เป็นสวนที่สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ปี พ.ศ. 2551 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จึงเข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ
โดยมีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ภายในโดดเด่นด้วย หอคำหลวง, หอคอยชมวิว, โลกแมลง, ร้านจำหน่ายของที่ระลึก, สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติ, สวนนานาชาติ, สวนความหลากหลายทางชีวภาพ และหอประชุมนิทรรศการ ก่อนที่เวลาเย็นจะเช็กอินเข้าพักที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-ลำพูน เป็นโรงแรมเก่าแก่แต่ยังคงพรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก
รุ่งเช้าวันถัดมา ได้เดินทางมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยัง “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” (Royal Agricultural Station Angkhang) ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อรถไต่ขึ้นเขาสูงก่อนถึงอ่างขางเส้นทางยิ่งคดเคี้ยวสองข้างทางสลับกับสวนผลไม้ และพืชผักเมืองหนาวของชาวบ้าน บางช่วงแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ณ เวลาประมาณ 11.00 น. ถนนจะถูกปกคลุมไปด้วยไอหมอกที่แทบจะมองไม่เห็นเส้นทางในระยะ 30 เมตรเลยทีเดียว
ความตื่นเต้นเริ่มมาเยือนเมื่อมาถึงดอยอ่างขาง โดยเฉพาะสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เพราะแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าในหลวงจะเคยเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้มาก่อน และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านรวมกันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นชาวเขากลุ่มนี้ยังไว้แกละถักผมเปียยาว แต่งกายด้วยผ้าสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร
สถานีเกษตรหลวงจึงเกิดขึ้นบนดอยอ่างขางเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรแก่ชาวเขาให้บริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี สาลี่ ราสเบอรี พลับ กีวี และลูกไหน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังมีพืชผักเมืองหนาว ได้แก่ แครอต ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โดยมีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาลอีกด้วย
ในช่วงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวคลาคล่ำมากนัก โดยเฉพาะในช่วงวันธรรมดา เหมาะกับการเดินทางมาเยือนหุบเขามหัศจรรย์เช่นนี้ยิ่งนัก ดังนั้น หากมีเวลาพอที่จะให้กำไรชีวิตในช่วงที่ลมหนาวมาเยือนจึงไม่ควรพลาดมาเยือนจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อเดินทางกลับลงมาจากดอย จะพบกับร้านรวงที่ขายผลไม้ท้องถิ่นฤดูหนาวมากมาย บ้างก็มีตลาดเล็กๆ น่ารักๆ ที่ชาวบ้านได้ขนผักและผลไม้ท้องถิ่นมาจำหน่าย อาทิ ส้มสายน้ำผึ้ง พุทราจีนลูกใหญ่ สตรอเบอร์รี มะเขือม่วง และฟักทองญี่ปุ่น เป็นต้น
โดยคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับมหานครกรุงเทพ ได้แวะพักที่ “วีรันดา เชียงใหม่ รีสอร์ต” (Veranda Chiang Mai The High Resort) ซึ่งเป็นรีสอร์ตที่มีบรรยากาศเงียบสงบ เพราะอยู่นอกเมืองไปทางอำเภอหางดง ตัวรีสอร์ตตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันเขียวขจี แวดล้อมไปด้วยขุนเขา วิวทิวทัศน์ยามเช้างดงามของดอยต่างๆ สายหมอกที่เย็นสบาย อากาศที่บริสุทธิ์ สร้างความสดชื่นและรื่นรมย์ที่สุดจะบรรยาย
ทริปท่องเที่ยวตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียงสู่เชียงใหม่ ใน Trip for King ช่วงที่ลมหนาวมาเยือน จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำเสมอ และทำให้ได้มองย้อนกลับไปว่าประเทศไทยของเราน่าอยู่มาถึงทุกวันนี้ได้ก็เพราะมีในหลวง พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่จะคงสถิตอยู่ในความทรงจำตราบนานเท่านาน :: Text by FLASH
โดย Trip for King เริ่มออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเที่ยวบินที่ TG104 เวลา 08.45 น. ใช้เวลาในการเดินทางสู่สนามบินนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 55 นาที สำหรับการมาเยือนเชียงใหม่ครั้งนี้นับว่าเหมาะเจาะเป็นอย่างยิ่งเพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว ทำให้อากาศยามบ่ายเย็นสบายไม่ร้อนมากนัก ซึ่งถึงแม้ว่าเชียงใหม่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างหลายอย่าง แต่เอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งทางด้านประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ก็ยังดำรงอยู่ ที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเริ่มวางตัวเป็นนครสร้างสรรค์ และกำลังพิจารณาสมัครเข้าเป็นนครสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก้เร็วๆ นี้อีกด้วย
เมื่อเดินทางมาถึงก็มุ่งหน้าไปรับประทานอาหารกลางวันที่ “ร้านเฮือนเพ็ญ” ต้นตำรับอาหารเหนือแต้ๆ เจ้า... ที่เปิดมานานกว่า 50 ปี แต่ครั้งนี้แวะมากินที่สาขา 2 ซึ่งอยู่เส้นถนนรอบเมือง ใกล้กับอุทยานราชพฤกษ์ ทำให้การสัญจรสะดวกและรวดเร็ว เริ่มลิ้มรสด้วย ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ไส้อั่ว ไก่ทอด และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ แคปหมูที่กินคู่กับน้ำพริกหนุ่ม ตามมาด้วยเมนูเด็ดๆ ขึ้นชื่อของร้านอีกหลายรายการ
จากนั้นได้เดินทางไปกราบพระที่วัดพระธาตุดอยคำ เพื่อขอพรจากหลวงพ่อทันใจ ซึ่งวัดพระธาตุดอยคำ ตั้งอยู่บนดอยคำ มีอายุกว่า 1,300 ปี ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีเพียงเจ้าอาวาส คือ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ) โดยไม่มีพระลูกวัดเลย
บริเวณปากทางขึ้นไปยังวัด ทางด้านขวามือจะมี “ศาลปู่แสะ” และ “ย่าแสะ” ซึ่งตามตำนานเล่าว่า เทือกเขาถนนธงชัย ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญ และเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์ แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัย และล้านนาตามดำลับ
หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็กๆ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ “จิคำ” และ “ตาเขียว” มาก่อน ต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ-ย่าแสะ” มีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤาษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ” นั่นเอง
เมื่ออิ่มบุญแล้วจึงเดินทางลงมายัง “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” (Royal Park Rajapruk) ซึ่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่เคยใช้จัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” และ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554” เป็นสวนที่สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก ปี พ.ศ. 2551 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จึงเข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ
โดยมีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ภายในโดดเด่นด้วย หอคำหลวง, หอคอยชมวิว, โลกแมลง, ร้านจำหน่ายของที่ระลึก, สวนองค์กรเฉลิมพระเกียรติ, สวนนานาชาติ, สวนความหลากหลายทางชีวภาพ และหอประชุมนิทรรศการ ก่อนที่เวลาเย็นจะเช็กอินเข้าพักที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-ลำพูน เป็นโรงแรมเก่าแก่แต่ยังคงพรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก
รุ่งเช้าวันถัดมา ได้เดินทางมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปยัง “สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง” (Royal Agricultural Station Angkhang) ซึ่งใช้เวลาในการเดินทางกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อรถไต่ขึ้นเขาสูงก่อนถึงอ่างขางเส้นทางยิ่งคดเคี้ยวสองข้างทางสลับกับสวนผลไม้ และพืชผักเมืองหนาวของชาวบ้าน บางช่วงแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ณ เวลาประมาณ 11.00 น. ถนนจะถูกปกคลุมไปด้วยไอหมอกที่แทบจะมองไม่เห็นเส้นทางในระยะ 30 เมตรเลยทีเดียว
ความตื่นเต้นเริ่มมาเยือนเมื่อมาถึงดอยอ่างขาง โดยเฉพาะสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เพราะแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าในหลวงจะเคยเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้มาก่อน และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านรวมกันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นชาวเขากลุ่มนี้ยังไว้แกละถักผมเปียยาว แต่งกายด้วยผ้าสีดำ สะพายดาบ พระองค์จึงมีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร
สถานีเกษตรหลวงจึงเกิดขึ้นบนดอยอ่างขางเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรแก่ชาวเขาให้บริเวณใกล้เคียง สามารถชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม สตรอเบอรี สาลี่ ราสเบอรี พลับ กีวี และลูกไหน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังมีพืชผักเมืองหนาว ได้แก่ แครอต ผักสลัดต่างๆ ฯลฯ แปลงไม้ดอก เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โดยมีการจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาลอีกด้วย
ในช่วงต้นฤดูหนาวเช่นนี้ยังไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวคลาคล่ำมากนัก โดยเฉพาะในช่วงวันธรรมดา เหมาะกับการเดินทางมาเยือนหุบเขามหัศจรรย์เช่นนี้ยิ่งนัก ดังนั้น หากมีเวลาพอที่จะให้กำไรชีวิตในช่วงที่ลมหนาวมาเยือนจึงไม่ควรพลาดมาเยือนจังหวัดเชียงใหม่
เมื่อเดินทางกลับลงมาจากดอย จะพบกับร้านรวงที่ขายผลไม้ท้องถิ่นฤดูหนาวมากมาย บ้างก็มีตลาดเล็กๆ น่ารักๆ ที่ชาวบ้านได้ขนผักและผลไม้ท้องถิ่นมาจำหน่าย อาทิ ส้มสายน้ำผึ้ง พุทราจีนลูกใหญ่ สตรอเบอร์รี มะเขือม่วง และฟักทองญี่ปุ่น เป็นต้น
โดยคืนสุดท้ายก่อนเดินทางกลับมหานครกรุงเทพ ได้แวะพักที่ “วีรันดา เชียงใหม่ รีสอร์ต” (Veranda Chiang Mai The High Resort) ซึ่งเป็นรีสอร์ตที่มีบรรยากาศเงียบสงบ เพราะอยู่นอกเมืองไปทางอำเภอหางดง ตัวรีสอร์ตตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันเขียวขจี แวดล้อมไปด้วยขุนเขา วิวทิวทัศน์ยามเช้างดงามของดอยต่างๆ สายหมอกที่เย็นสบาย อากาศที่บริสุทธิ์ สร้างความสดชื่นและรื่นรมย์ที่สุดจะบรรยาย
ทริปท่องเที่ยวตามรอยเท้าพ่อ อยู่อย่างพอเพียงสู่เชียงใหม่ ใน Trip for King ช่วงที่ลมหนาวมาเยือน จึงเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำเสมอ และทำให้ได้มองย้อนกลับไปว่าประเทศไทยของเราน่าอยู่มาถึงทุกวันนี้ได้ก็เพราะมีในหลวง พระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่จะคงสถิตอยู่ในความทรงจำตราบนานเท่านาน :: Text by FLASH